บทที่ 2 แบบอย่างของความเสียสละและการยืนหยัด

กัรบะลาอฺคือเวทีแห่งการเสียสละและการถวายชีวิตอีกทั้งเป็นการยืนยันของสุภาพบุรุษที่ยึดมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้สอนให้มนุษย์รู้จักความเสียสละอย่างมากมาย

1. ความเสียสละและการยืนหยัดของท่านอิมาม (อ.)

1.1 ท่านอิมาม (อ.) เป็นอิสระชนผู้กล้าหาญท่านได้เสียสละในหนทางของพระเจ้า จนกระทั่งเลือดหยดสุดท้าย ท่านได้เสียสละชีวิตบุตร และธิดาและบุตรหลานคนอื่นๆ แห่งอะฮุลุลบัยตฺ (อ.) ในหนทางแห่งสัจธรรม ท่านได้ถวายชีวิตหมู่มวลมิตรและสหายที่เป็นที่รักยิ่ง ซึ่งพวกเขาต่างได้รับการเชือดพลีในหนทางของพระเจ้าทั้งสิ้น

ท่านอิมาม (อ.) พึ่งพอใจที่จะสละชีวิตของท่านและครอบครัว และยอมจำนนที่จะเห็นบุตรหลานของท่านถูกจับเป็นเชลย เนื่องจากศาสนาของพระเจ้าต้องการผู้ทำนุบำรุงและคนช่วยเหลือ ซึ่งเลือดทุกหยาดหยดของเหล่าบรรดาชะฮีดที่ได้ถูกหลั่งออกไป ได้กลายเป็นเลือดที่ชุบเลี้ยงให้อิสลามดำรงสืบต่อมา หมายถึงอัลลอฮฺ  (ซบ.) ทรงประสงค์ที่จะเห็นพวกเขาเป็นเฉกเช่นนั้น[1]

แน่นอน นี่คือท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะที่ศัตรูได้ยิงท่านด้วยธนูท่านได้เอาฝ่ามือรองรับเลือดที่ไหลของจากร่างกาย แล้วนำเอาไปทาบนตัวและเสื้อผ้า พร้อมกับกล่าวว่าข้าต้องการกลับคืนสู่อัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยสภาพที่แปดเปื้อนเลือดเช่นนี้[2]

1.2 เมื่อศัตรูได้สัญญาที่แอบแฝงด้วยเล่ห์เพทุบายแก่ท่านอิมาม (อ.) แต่ท่านมิได้หลงกลในเล่ห์เพทุบายเหล่านั้น ท่านมิได้ยอมรับ[3] และยังยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูอีกด้วย

1.3 เหตุการณ์ที่ยากลำบาก เนื่องจากการตัดสินใจของท่านอิมาม (อ.) เป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เมื่อท่านทราบข่าวการเป็นชะฮีดของท่านมุสลิม บุรตของอะกีล และอานียฺ ท่านกล่าวว่า ไม่มีความดีงามอีกต่อไปที่จะดำรงชีวิตอยู่หลังจากการถูกสังหารของพวกเขา

หลังจากชะฮาดัตของอะลีอักบัร ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า หลังจากการเป็นชะฮีดของเจ้าแล้วโลกมีแต่ความตกต่ำ[4]

2. ความเสียสละและการยืนหยัดของสาวก

1.1 ค่ำอาชูรอคือมาตรวัดความเสียสละสูงสุด

ท่านอิมาม (อ.) มีสหายที่ซื่อสัตย์ขณะที่พวกเขาต่างทราบกันเป็นอย่างดีว่า พรุ่งนี้พวกเขาทุกคนจะถูกสังหาร แต่พวกเขาก็ยังพร้อมที่จะอยู่ร่วมชะตากรรมกับท่านไม่มีผู้ใดปลีกตัวไปจากอิมาม ซึ่งพวกเขาได้แสดงความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ที่มีต่อท่านอิมาม  พวกเขาต่างรู้ดีว่าการตายร่วมกับท่านอิมาม (อ.) เป็นความดีงามและความประเสริฐสำหรับพวกเขา

الحمد لله الذی شرفنا بالقتل معک[5]

2.2 เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวถามกอซิม บุตรของท่านอิมามฮะซัน (อ.) หลังจากบุตรของท่านได้ชะฮีดว่า โอ้ ลูกรักของพ่อความตายในทัศนะของเจ้าหมายถึงอะไร กอซิมได้ตอบท่านอิมาม (อ.) ว่า ความตายในทัศนะของฉันหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้งเสียอีก[6]

(ياعم احلی من العسل)

2.3 เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถอดถอนสัตยาบันจากเหล่าสหายของท่าน และกล่าวแนะนำว่าหากผู้ใดที่จะกลับไป ก็ขอให้กลับออกไปในท่ามกลางความืดมิดนี้

ซุเฮร กล่าวว่า โอ้ บุตรของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) พวกเราปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับท่าน และปรารถนาที่จะถูกสังหารในหนทางของพระเจ้าพร้อมกับท่าน มากยิ่งกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างอัปยศอดสู พวกเราพร้อมที่จะตายร่วมกับท่านและมีชีวิตฟื้นขึ้นมาใหม่ ดังนั้น หากพวกเราเกิดและตายเช่นนี้เป็น 100 ครั้ง พวกเราก็จะขออยู่ร่วมกับท่าน[7]

2.4 เมื่ออับดุลลอฮฺ บุตรของ อะมีร กะอฺบี (วะฮับ) ได้ออกไปสู้รบในวันอาชูรอเขาได้สังหารศัตรูเดินเท้าตายไป 10 คน และศัตรูที่ขี่ม้าตายไป 12 คน หลังจากนั้นเขาได้ถูกจับเป็นเชลย เขาได้ยืนท่ามกลางศัตรูเยี่ยงชายชาติทหาร อุมะริบสะอัด แม่ทัพของศัตรูพูดว่า เจ้าเก่งนักหรือ หลังจากนั้นเขาสั่งให้ทหารตัดศีรษะของอับดุลลอฮฺ และขว้างไปยังกองคาราวานของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

แต่มารดาของอับดุลลอฮฺ ได้หยิบศีรษะนั้นและขว้างกลับมายังกองทัพของศัตรู[8]

2.5 เมื่อเกส บุตรของมุสะฮัร ผู้ถือสาส์นของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ถูกจับที่หน้าประตูทางเข้าเมืองกูฟะฮฺเขาถูกนำตัวไปยังเมืองกูฟะฮฺ และถูกบังคับให้ขึ้นไปยืนบนมิมบัร (ธรรมมาสเทศนาธรรม) เพื่อสาปแช่งอิมาม (อ.) เขายินยอมแต่โดยดี แต่เมื่อขึ้นไปยืนบนมิมบัรแล้วเขาได้กล่าวสรรเสริญท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านอิมามอะลีและบุตรหลานของท่าน เขาได้สาปแช่งอุบัยดิลลาฮฺ บุตรของซิยาด

หลังจากนั้นเขาได้ถูกนำตัวขึ้นไปบนด้านฟ้าของราชวังและถูกผลักให้ตกลงมา กระดูกของเขาแตกหักทั่วร่างกาย แต่เขามิยอมแพร่งพรายข่าวการมาของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แก่ศัตรูแม้แต่น้อย ในที่สุดเขาได้รับชะฮีดอย่างสมเกียรติ ซึ่งเขามิได้เอ่ยนามสหายที่จงรักภักดีต่อท่านอิมาม (อ.) แม้แต่คนเดียว[9]

2.6 ท่านอิมาม (อ.) มีสหายที่จงรักภักดีและซื่อสัตย์ตราบที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่ พวกเขาไม่ยินยอมให้ท่านอิมาม (อ.) และลูกหลานของท่านออกไปสู้รบแม้แต่ครั้งเดียว ทว่าพวกเขาได้เป็นผู้ออกไปสู้รบแทนโดยพวกเขาได้แก่งแย่งกันออกไปคนแล้วคนเล่า จนกระทั่งพวกเขาได้ชะฮีดทั้งหมดหลังจากนั้น บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จึงได้มีโอกาสออกไปสู้รบ[10]

2.7 สหายของท่านอิมาม (อ.) ได้ออกไปสู้รบก่อนอะฮฺลุลบัยตฺ

ในค่ำอาชูรอบุคคลทั้งสองกลุ่ม กล่าวคือลูกหลานฝ่ายบนูฮาชิมและสหายของท่านอิมาม (อ.) ได้นั่งปรึกษาหารือกัน และตัดสินใจว่าบนูฮาชิมจะออกไปสู้รบก่อน แต่ในทางปฏิบัติเหล่าบรรดาสหายไม่ยอมพวกเขาขอเป็นฝ่ายออกไปสู้รบก่อน โดยพวกเขาแก่งแย่งกันออกไปคนแล้วคนเล่าคนแรกที่ออกไปคือ โฮร คนต่อมาคือซุเฮร และเรียงกันไปที่ละคนจนกระทั่งทั้งหมดได้รับชะฮีด[11] ในที่สุดเหลือเฉพาะอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เท่านั้นที่อารักขาท่านอิมาม (อ.) (ซึ่งต่อมาพวกเขาก็ชะฮีดทั้งหมด)[12]

2.8 การแข่งขันการเป็นชะฮีด

เหล่าสหายของท่านอิมาม (อ.) นอกจากจะมีความจงรักภักดีต่อท่านอิมามแล้ว พวกเขายังกระหายที่จะเป็นชะฮีดอย่างยิ่ง พวกเขายินดีก้าวไปสู่ความตายทว่าในเรืองนี้พวกเขาได้แข่งขันกัน หมายถึงการเป็นชะฮีดนั้นพวกเขาช่วงชิงกันออกไป มีรายงานกล่าวว่า

فكان الرجل يستقبل الرماح والسيوف بصدره ووجهه ليصل الى منزلة من الجنة

สหายบางคนของท่านอิมาม (อ.) ได้เอาศีรษะและทรวงออกของพวกเขารองรับคมดาบและลูกธนูของศัตรูอย่างหาญกล้า เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ฐานันดรอันสูงศักดิ์แห่งสรวงสวรรค์[13]

รายงานกล่าวว่าการแข่งขันกันเพื่อจะไปชะฮีดของเหล่าบรรดาสหาย เกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาทราบว่าพวกเขาต้องได้รับชะฮีดอย่างแน่นอน ซึ่งพวกเขาไม่อาจต้านทานศัตรูไว้ได้[14] ในตอนค่ำของวันอาชูรอบรรดาบนูฮาชิมได้ร่วมปรึกษาหารือกัน ท่านอับบาส กล่าวว่า พรุ่งนี้ท่านขอเป็นบุคคลแรกที่จะก้าวออกไปสู้รบ[15]

เช่นเดียวกันสหายของท่านอิมาม (อ.) ก็ได้ร่วมประชุมกันตามลำพัง ท่านฮะบีบ บุตรของมะซอเฮร กล่าวว่า พรุ่งนี้เมื่อแสงสีทองจับขอบฟ้าคนแรกที่จะออกไปสู้รบคือท่าน (อับบาส)

2.9 บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้ออกไปสู้รบก่อนอิมาม (อ.)

หลังจากบรรดาสหายของท่านอิมาม (อ.) ได้ชะฮีดจนหมดแล้ว ครอบครัวของท่านอิมามก็ได้ออกไปสู้รบที่ละคนจนชะฮีดทั้งหมด ซึ่งทุกคนได้ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้าเคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านอิมาม (อ.) ตราบที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่ พวกเขาไม่ยอมให้ท่านอิมามออกไปต่อสู้

อะฮฺลุลบัยตฺคนแรกที่ออกไปต่อสู้คือ ท่านอะลีอักบัร บุตรชายของท่านอิมาม (อ.) และคนสุดท้ายที่ออกไปต่อสู้กับศัตรูคือท่านอิมาม (อ.)[16]

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้กล่าวถึงอบุลฟัฏลฺว่า ขออัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงโปรดปรานท่าน ซึ่งท่านได้เสียสละเพื่อปกป้องชีวิตของพี่ชายจนกระทั่งแขนทั้งสองข้างถูกตัดขาด

(فدای اخاه بنفسه حتی قطعت يداه)[17]

ในความเป็นจริงแล้วอะลีอักบัร คือบุคคลแรกที่ก้าวเท้าออกไปสู้รบ ซึ่งการเป็นชะฮีดของท่านถือว่าเป็นแบบอย่างสำหรับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺคนต่อมา เป็นบทเรียนและสาส์นอันยิ่งใหญ่สำหรับบรรดาชีอะฮฺตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หมายถึงบุคคลใดที่ใกล้ชิดกับวิลายะฮฺมากความซื่อสัตย์ และความเสียสละของเขาย่อมมีมากตามไปด้วย

ท่านอิมาม (อ.) ได้เสียสละอะลีอักบัร เพื่อแสดงให้เห็นว่าเหล่าผู้นำมุสลิมทั้งหลาย มีหน้าที่เสียสละสิ่งที่ตนรักมากที่สุดเป็นอันดับแรกาในหนทางของพระเจ้า[18]



[1]  เมาซูอะฮฺ หน้า 329
[2] อ้างแล้ว หน้า 508, 509, ลุฮูฟ หน้า 124 บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 54 , อะมาลี เชคซะดูก หน้า 138
[3] อ้างแล้ว หน้า 4721
[4]  เมาซูอะฮฺ หน้า 460
[5]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 298
[6]  เมาซูอะฮฺ หน้า 402
[7]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 316
[8] เมาซูอะฮฺ หน้า 435 บิฮารุลอันวาร เล่ม 45 หน้า 17
[9] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 370
[10]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 319
[11] บิอารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 319
[12]  เมาซูอะฮฺ หน้า 459
[13] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 98
[14] เมาซูอะฮฺ หน้า 448
[15] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 409
[16]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 460, 462
[17]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 298
[18]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 321 (บางรายงานกล่าวว่าบุคคลแรกของอะฮฺลุลบัยตฺ ที่ออกไปต่อสู้คือ อับดุลลอฺ บุตรของมุสลิม)