การสร้างแบบอย่าง

หนึ่งในแนวทางที่จะอบรมสั่งสอนมนุษย์คือการสร้างแบบอย่าง หรือการทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น อีกด้านหนึ่งเป้าหมายของศาสนาคือ การให้การอบรมแก่บรรดามนุษยชาติและการนำเสนอแบบอย่างแก่มวลมนุษย์ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นนำไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิต

ในหมู่บรรดานบีทั้งหลายและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ถือว่าอยู่สถานภาพพิเศษนั้น ดังที่อัล-กุรอาน ได้กล่าวแนะนำว่านบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) คือแบบอย่างอันจำเริญสำหรับมวลมนุษย์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ

แน่นอน เราะซูลของอัลลอฮฺคือแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้า[1]

ท่านอิมามฮุซ้ยนฺ (อ.) ครั้งเมื่อกล่าวสุนทรพจน์แก่สหายและเหล่าทหารของโฮร ณ สถานที่แห่งหนึ่งนามว่า อัลบัยฏอ ท่านได้กล่าวแนะนำตัวเองว่า ท่านคือแบบอย่างอันดีงามสำหรับพวกเขา[2]

บางที่อาจเป็นเพราะเรื่องนี้นั่นเองทำให้พบว่า ปรัชญาแห่งการรำลึกถึงความโศกเศร้าของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และบรรดาอิมามท่านอื่นถูกรักษาไว้อย่างมีชีวิตชีวา เนื่องจากเรื่องราวดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้พบว่า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างอันงดงามสำหรับสังคม

ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลายจึงกล่าวถึง การสร้างแบบอย่างในการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)  ซึ่งจะขอร่วมพิจารณาและร่วมกันวิเคราะห์ไปพร้อมกับท่านผู้อ่าน

แนวทาง (ความจริงแห่งกัรบะลาอฺ) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

ประเด็นดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากแนวทางดังต่อไปนี้

1. การให้ความสำคัญต่ออาชูรอ และการรำลึกถึงท่านอิมาม (อ.) ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

2. การให้ความสำคัญต่อแผ่นดินกัรบะลาอฺและการแวะเวียนไปเยี่ยมคารวะสถานฝังพระศพของท่านอิมาม (อ.)

ฃ3. การอธิบายถึงผลบุญในการร่ำไห้รำลึกถึงท่านอิมาม (อ.) และการ่ำไห้ของหมู่เหล่าสหาย[3]

4. การคาดหวังว่าจะได้เข้าร่วมขบวนการกับท่านอิมาม (อ.) ในบทซิยาเราะฮเราจึงกล่าวว่า

یالیتنی کنت معکم فافوزمعکم فوزا عظیما

โอ้ พระเจ้า ถ้าข้าฯได้อยู่กับท่าน คงได้รับชัยชนะร่วมกับท่าน ซึ่งเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่

5. การสาปแช่งกลุ่มชนที่รวมสังหารท่านอิมาม (อ.) พร้อมกับกองคาราวาน[4]

6. บทซิยาเราะฮฺหลากหลายที่รำพันถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในช่วงเวลาและสถานที่ต่างๆ[5] (เช่น ซิยาเราะฮฺอาชูรอ ซิยาเราะฮฺอิมามในค่ำคืนแห่งลัยละตุลก็อดรฺ และค่ำอีดต่างๆ) ตลอดจนการรำลึกถึงท่านอิมาม (อ.) ในดุอาอฺนุดบะฮฺ และดุอาอฺต้นอื่นๆ

ประโยชน์และผลในการสร้างแบบอย่าง

แบบอย่างในการยืนหยัดแห่งอาชูรอมีมรรคผลอย่างมากมายในหมู่มุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชีอะฮฺ ซึ่งจะขอกล่าวบางประเด็นของประโยชน์เหล่านั้น

1. แนวความคิดตลอดหน้าประวัติศาสตร์ในหลาศตวรรษที่ผ่านมาได้ยึดแบบอย่างของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และยึดถือคุณลักษณะและการกระทำของท่านเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เช่น การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  (อ.) ความอิสรเสรี การไม่ยอมรับความตกต่ำ การถวิลหาการพลีชีพเพื่อสัจธรรม

2. การสร้างความหวาดกลัวแก่เหล่าศัตรูผู้อธรรมในอนาคตกาล ด้วยการก่อให้เกิดผลแก่จิตใจในทางอ้อม ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ขั้นสูงสุดสำหรับการยึดแบบอย่างจากอาชูรอ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการป้องกันอิสลามให้รอดปลอดภัยจากน้ำมือของศัตรูอิสลาม

3. อีกหนึ่งในผลสะท้อนที่เกิดจากแบบอย่างของอาชูรอคือ การเตรียมพร้อมของประชาชนสำหรับการยืนหยัดต่อสู้และเป็นการฝึกฝนเพื่อเตรียมพร้อมตนเองในทุกๆ ปี เมื่อพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้เวียนมาถึง หมายความถึงเพียงพอแล้วกับการได้มะตั่ม และจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามด้วยการการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในรูปแบบของการจัดพิธีรำลึกถึง ตลอดจนคำรำพันต่างๆ ที่กล่าวในพิธีกรรมรำลึกให้เปลี่ยนเป็นแนวทางการปฏิวัติอันยิ่งใหญ่เหนือบรรดาผู้กดขี่แห่งกาลเวลา ดั่งเช่นการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้ยึดถือแนวทางของท่านอิมาม (อ.) เป็นหลักในโค่นล้มรัฐบาลผู้กดขี่

การแบบอย่างแก่บรรดามุสลิมทว่าเป็นแบบอย่างแก่มวลมนุษยชาติทั้งหลาย

สามารถปฏิบัติตามบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ในทุกกรณี

1. คำพูดของบรรดาอิมาม (อ.) ซึ่งคำพูดและคำสั่งของท่านครอบคลุมทั้งด้านจริยธรรม ความเชื่อ และหลักปฏิบัติ

 2. การกระทำของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เช่น การสร้างสันติไม่ตรี การสงคราม และรูปแบบในการปฏิบัติทั้งสองกรณี ตลอดจนการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้าและอื่นๆ

3. การแสดงความนิ่งเฉยต่อการปฏิบัติของบุคคลอื่น ถ้าหากท่านอิมาม (อ.) มิได้กล่าวห้ามหรือขัดขวางการกระทำเหล่านั้น หรือให้การสนับสนุนการกระทำดังกล่าว (ถ้ามิใช่การตะกียะฮฺ)

แน่นอน ผลของการยอมรับแบบอย่างของท่านอิมามฮุซ้ยนฺ (อ.) สามารถยอมรับได้จากการเล่าเรืองและรายงานที่ถูกต้อง ตลอดจนพิจารณาจากการกระทำและคำพูดของท่านอิมาม (อ.)

แน่นอนการยืนหยัดของท่านอิมาม (อ.) เป็นแบบอย่างและแนวทางสำหรับบรรดามุสลิมทั้งหลาย ทว่าเป็นแบบอย่างสำหรับมนุษยชาติทั้งหมด และเป็นสารสำหรับทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย สาส์นของท่านได้แจ้งแก่มวลมนุษยชาติว่า

-          เมื่อใดที่ผู้อธรรมได้ปกครองโลกสูเจ้าจงยืนหยัดต่อสู้

-          จงอย่ายอมรับการกดขี่ข่มเหงและจงทำตนให้เป็นอิสระชน

-          การตายอย่างมีเกียรติย่อมดีกว่าชีวิตที่อัปยศอดสู

-          จงปกป้องศาสนา หลักความเชื่อไว้ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน

-          จงเป็นสหายผู้จงรักภักดีและเสียสละด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อวิลายะฮฺและอิมามะฮฺ

ขอบข่ายการปฏิบัติตามแบบอย่าง

ประเด็นดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนมาก่อนหน้านี้แล้ว หมายถึงในการปฏิบัติตามคำพูดหรือแม้แต่การนิ่งเฉยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ถือได้ว่าเป็นแนวทางสำหรับมวลมนุษชาติทุกคน ทว่าขอบข่ายของการปฏิบัติตามสิ้นสุดลง ณ จุดใด ฉะนั้น ประเด็นดังกล่าวสามารถอธิบายได้ 2 กรณีดังต่อไปนี้

1. การปฏิบัติตามแบบอย่างของบรรดาอิมาม  (อ.) สำหรับชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้า

สาส์นดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นความสำคัญสำหรับบรรดาศาสดา (อ.) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ทุกท่าน เนื่องจากท่านได้สอนมนุษย์ว่าสำหรับความเจริญผาสุกทางโลกนี้และโลกหน้าของมนุษย์ ได้ถูกตระเตรียมพร้อมไว้แล้ว ซึ่งบรรดาอิมามคือแบบอย่างสำหรับศาสนาทั้งด้านการกระทำ คำพูด และการดำรงอยู่ของท่าน ด้งนั้น จะเห็นได้ว่าความประพฤติของบรรดาอิมาม (อ.) ถือเป็นแบบอย่างสำหรับการดำเนินทางโลกนี้ และเป็นความผาสุกอีกทั้งเป็นการช่วยให้โลกหน้าของมนุษย์ได้รับความปลอดภัย

ถ้าหากศาสนานั้นได้ถูกกำหนดไว้เพื่อชะตากรรมแห่งปรโลก หรืออิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ยืนหยัดต่อสู้พร้อมกับเสียสละชีวิตเพื่อการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้รอดพ้นในโลกหน้า หรือหลักการปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนจริยธรรมและความเชื่อที่ได้ถูกสั่งสอนแก่มวลมนุษย์ มิได้เกี่ยวข้องกับชีวิตทางโลกนี้แม้แต่น้อย หรือมิได้เกี่ยวข้องกับผู้กดขี่ทั้งหลายบนโลก ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วละก็มีความสลักสำคัญอย่างไรที่ท่านอิมาม (อ.) ต้องต่อสู้กับการกดขี่และความไม่ถูกต้อง และทำไมท่านต้องเลือกการพลีชีพในหนทางของพระเจ้าด้วย

บรรดาผู้กดขี่และผู้อธรรมทั้งหลายตลอดหน้าประวัติศาสตร์ทีผ่านมา มิเคยหวาดหวั่นต่อบรรดาผู้ที่ปลีกวิเวกไปแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า (อิบาดะฮฺและยึดมั่นศาสนาแต่เพียงด้านเดียว) ทว่าบางครั้งการกระทำตนเช่นนั้นถือเป็นพิษร้ายที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนา และอุดมการณ์

บรรดาอิมาม (อ.) ได้แสดงความห่วงใยต่อศาสนา โดยที่ท่านได้ปรุงแต่งวิถีชีวิตมนุษย์ทางโลกนี้ ด้วยการวางแผนและการการวางนโยบายสำหรับการปกครอง และการดำเนินชีวิตของประชาชน ท่านกล่าวถึงหลักการปฏิบัติ สิทธิและการตอบแทนตลอดจนได้แสดงแบบอย่างและวิธีการสำหรับการปกครองสังคม

2. สาส์นของอาชูรอและการยืนหยัดของท่านอิมามมี 2 ลักษณะ

ประการที่หนึ่ง แบบอย่างของท่านอิมาม (อ.) นั้นถือได้ว่าเป็นสาส์นและเป็นแบบอย่างโดยทั่วไป ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้ทุกกาลเวลาและสถานที่

เช่น ความเป็นอิสระชน และการดำเนินชีวิตอย่างผู้มีความอิสระโดยไม่ยอมรับการกดขี่ข่มเหง ความตกต่ำ และการตกเป็นทาสของบุคคลอื่น สาส์น ของท่านอิมาม (อ.) มิได้เน้นความเป็นบ่าวของพระเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าได้เรียกร้องการปกป้องศาสนาด้วยชีวิต การพลีชีพเพื่อปกป้องสัจธรรม และการไม่กลัวความตาย

ประการที่สอง สาส์นของท่านอิมาม (อ.) มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับระบบการปกครอง และการเมืองบนเงือนไขอันเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ซึงการปฏิบัติตามแบบอย่างดังกล่าวจะอยู่ในช่วงเวลาที่มีความสำคัญ และมีความละเอียดอ่อน เช่น  เงื่อนไขในการเกิดของสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยการรักษาประเด็นและเงือนไขของมัน

ในบางครั้งจะเห็นว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ใส่ใจเป็นพิเศษต่อกาลเวลา สถานที่ สภาวะ และสภาพของการเมืองในขณะนั้น ก่อนการตัดสินใจทางด้านการทหารและการเมืองของท่าน หรือบางครั้งฝ่ายปกครองได้ออกกฎมา ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติได้บนเงื่อนไขอื่น เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ของท่านอิมาม (อ.) และการนมาซญะมาอะฮฺพร้อมกับกองกำลังฝ่ายศัตรู ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเงื่อนไขดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้ และท่านอิมาม (อ.) ก็ได้แสดงให้เห็นแล้ว[6]

แต่ในปัจจุบันนี้การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะและเงื่อนไขต่างๆ ทางสังคมทำให้มุสลิมไม่สามารถปฏิบัตินมาซญะมาอะฮฺร่วมกับศัตรูได้ ทว่าบนเงื่อนไขดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติได้ด้วยซ้ำไป เว้นเสียแต่ว่าการกล่าวสุนทรพจน์จะผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์นั่นเอง

ประเด็นเกี่ยวกับความฝันของท่านอิมาม (อ.) ทั้งที่อยู่ในมะดีนะฮฺและกัรบะลาอฺ จำเป็นต้องกล่าวว่า[7] หน้าที่ความรับผิดชอบของท่านอิมามกับบุคคลอื่นมีความแตกต่างกัน



[1] อัล-กุรอาน บทอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 21
[2]  เมาซูอะฮฺ หน้า 316 เล่ามาจากแหล่งอ้างอิงหลากหลาย
[3] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 278
[4] อ้างแล้วเล่มเดิม
[5]  ค้นคว้าได้จากหนังสือดุอาอฺและหนังสือซิยาเราะฮฺ เช่น มะติฮุลญันนาน เชคอับบาส กุมมี
[6]  เมาซูอะฮ์ หน้า 355 เล่ามาจากแหล่งอ้างอิงหลากหลาย
[7]  บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 314 - 313