บทเรียนต่างๆ ในวิถีการต่อสู้แห่งอาชูรอ

เมื่อพิจารณาถึงระบบการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ก็จะพบประเด็นที่มีความระเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ซี่งท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ให้ความใส่ใจต่อประเด็นเหล่านั้น และได้บทสรุปว่าท่านอิมาม (อ.) เป็นเหมือนผู้บัญชาการแห่งกองทัพที่ชาญฉลาด ได้ผ่านการฝีกฝนจากมหาวิทยาลัยทหารที่ดีที่สุดของโลก และได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีเป็นพิเศษ การต่อสู้ของท่านอิมามในการยืนหยัดแห่งอาชูรอได้ให้บทเรียนต่างๆ มากมาย ซึ่งจะขอนำเสนอบางประการดังนี้

1. การใส่ใจต่อเทคนิคของกองทัพและปัญหาเรื่องความปลอดภัย

ประเด็นดังกล่าวนี้โปรดพิจารณาหัวข้อต่อไปนี้

1.1 ขณะที่อยู่ในมะดีนนะฮฺ เมื่อวะลีด (ผู้ปกครองมะดีนะฮฺตัวแทนยะซีด) ต้องการที่จะเจรจาตกลงกับท่านอิมาม (อ.) และเขาต้องการไปพบท่านอิมามที่บ้าน ซึ่งอิมาม (อ.) รู้ได้ท้นที่ว่ามุอาวิยะฮฺถึงแก่กรรมแล้ว ท่านจึงกล่าวกับเขาว่าเดี๋ยวฉันจะกลับมาหลังจากนี้ ในช่วงเวลาระหว่างนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้เลือกกลุ่มพิทักษ์ขึ้นจากบรรดาสาวกและชายหนุ่มที่อยู่รอบๆ ท่าน และกล่าวกับพวกเขาว่าจงซ่อนดาบไว้ในเสื้อ และออกไปประจำการอยู่นอกบ้าน ท่านอิมาม (อ.) ได้ให้รหัสแก่พวกเขาเพื่อเป็นสัญญาณ ซึ่งเมื่อใดที่ท่านอิมามกล่าวถึงคำนี้ให้พวกเขาเข้ามาในบ้านทันที และทุกสิ่งที่ท่านสั่งให้พวกเขาจงปฏิบัติตาม รหัสที่ท่านอิมามเลือกคือ ยาอาลิเราะซูลอุดดะคุลู (โอ้ ครอบครัวของศาสดาจงเข้าไป) ริวายะฮฺบางบทกล่าวว่า ท่านอิมามกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามได้ยินเสียงดังให้พวกเจ้าเข้าบ้านทันที สิ่งที่ควรพิจารณาก็คือ ขณะเจรจาเสียงท่านอิมามดังขึ้นพวกเขากรูเข้ามาในบ้านอิมามทันทีพร้อมอาวุธครบมือ ในเวลานั้นท่านอิมามกล่าวกับพวกเขาว่า กลับออกไปเถิด (เนื่องจากหมดอันตรายแล้ว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้บทเรียนกับเราว่า เมื่อใดที่เผชิญหน้ากับศัตรูต้องใส่ใจต่อปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ ตลอดจนต้องเข็มงวดเรื่องการพิทักษ์ปกป้อง

1.2 เมื่อท่านอิมาม (อ.) เผชิญหน้ากับกองทหารของโฮร กองกำลังทั้งสองได้ร่วมนมาซญะมาอะฮฺด้วยกัน โดยให้ท่านอิมาม (อ.) เป็นอิมามนำนมาซ เมื่อนมาซเสร็จสิ้นแล้วท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวสุนทรพจน์กับกองกำลังทั้งสองฝ่าย ขณะที่มือของท่านนั้นถือดาบอยู่[1]

เช่นเดียวกันในช่วงบ่ายของวันที่ 9 มุฮัรรอม ท่านอิมาม (อ.) ได้นั่งสงบสติอารมณ์อยู่ข้างๆ เต้นที่พัก ซึ่งในมือของท่านถือดาบไว้ตลอดเวลา

การเตรียมพร้อมในกองทัพของผู้บัญชาการรบที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งในขณะที่ปฏิบัตินมาซหรือกล่าวสุนทรพจน์ ก็มิได้ลืมเลือนเรื่องความปลอดภัย

1.3 เมื่อท่านอิมาม (อ.) และผู้ร่วมขบวนการได้เผชิญกับกองทหารของโฮร ท่านได้ออกคำสั่งให้ตั้งค่ายทันที่ หมายถึงจัดตั้งฐานที่มั่นและกองทหาร

1.4 ท่านอิมาม (อ.) และเหล่าสหาย เมื่อเห็นกองทหารของโฮรชักดาบออกมาพวกเขาก็ได้ชักดาบออกมาเช่นเดียวกันพร้อมกับเอาอิมามะฮฺ (ผ้าโพกศีรษะ) สวมไว้บนศีรษะทันทีเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า พวกเราก็เตรียมพร้อมเรื่องการรบเสมอ[2]

1.5 เมื่อท่านอิมาม (อ.) เห็นกองทัพของโฮร ท่านได้ถามซุเฮรว่า ท่านพอที่จะหาหรือรู้จักสถานที่กำบัง หรือเนินเขาสูงๆ แถบนี้บ้างไหมเพื่อที่จะให้กองคาราวานของท่านตั้งมั่นอยู่บนที่สูงกว่า เพื่อจะได้สังเกตเห็นทหารฝ่ายตรงข้ามได้อย่างชัดเจน[3]

ซุเฮร ตอบท่านอิมามด้วยประโยคสั้นๆ ว่า (ذی جثم) เนินเขา ซีญะซัม นั้นเหมาะสมกับการหยุดและตั้งฐานที่มั่น

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ท่านอิมาม (อ.) ได้ถามซุเฮร ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าอิมาม (อ.) สรรหาเขตภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสมสำหรับเผชิญหน้ากับศัตรู ในลักษณะทีว่าฝ่ายศัตรูนั้นไม่สามารถจู่โจมพวกเขาได้ทุกด้าน หรือจู่โจมเข้าห้อมล้อมพวกเขาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการพิจารณาประเด็นดังกล่าวทำให้มองเห็นประเด็นที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยสุดทำให้รู้ว่าจำนวนทหารของโฮรนั้นมีมากกว่ากองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) (ทหารของโฮรมีประมาณ 2,000 คน)[4]

1.6 เมื่อท่านอิมาม (อ.) ระมัดระวังทุกคำพูดและเสียงตะโกน แม้กระทั่งการตักบีรไม่ถูกที่ ฉะนั้น เมื่อสหายคนหนึ่งกล่าวตักบีรเสียงดัง ท่านอิมาม (อ.) ถามเขาว่า เจ้าตักบีรทำไม

ตอบว่า ฉันเห็นต้นอินทผลัมเต็มไปหมด แต่บนีอะซัด กล่าวว่าเราเคยอยู่ในที่นี้ (ใกล้กับกัรบะลาอฺ) แต่ไม่เคยเห็นต้นอินทผลัม จากคำพูดของคนสองคนท่านอิมาม (อ.) ได้สืบเสาะหาความจริง จนกระทั่งรู้ว่ากองทหารของโฮรได้เคลื่อนทัพมายังกองคาราวานของท่าน ซึ่งมองดูแต่ไกลเหมือนกับต้นอินทผลัม

1.7 การเลือกผู้นำทางเพื่อตรวจสอบเส้นทาง

หลังจากได้เผชิญหน้ากันระหว่างกองทัพของโฮร และกองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) โฮรได้กล่าวกับอิมาม (อ.) ว่า ท่านจงอย่าเดินทางไปมะดีนะฮฺและกูฟะฮฺ จงเลือกเส้นทางที่สาม

ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวแก่บรรดาสหายว่า มีใครรู้จักทางบ้านไหม

ฏูรมาฮฺ บุตรของอะดี ฏออียฺ ประกาศว่าฉันพร้อมที่จะรับหน้าที่นั้น เขาจึงได้ถูกเลือกให้เป็นผู้นำกองคาราวานโดยเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ท่านอิมาม (อ.) และกองคาราวานได้เดินติดตามเขาไป[5]

1.8   ไม่เชื่อมั่นต่อสาส์นและข่าวการเมืองและกองทหารที่ไม่ชัดเจน

เมื่อจดหมายฉบับแรกจากชาวกูฟะฮฺได้มาถึงมือท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ประมาณวันที่ 10 เดือนรอมฎอน ขณะที่ท่านพำนักอยู่ในมักกะฮฺ อิมาม (อ.) มิได้ตอบจดหมายของพวกเขา (เนื่องจากไม่มั่นใจ) จนกระทั่งถึงวันที่ 12 รอมฎอน ได้มีจดหมายจำนวน 150 ฉบับส่งมาอีก ต่อมาวันที่ 14 รอฎอนมีจดหมายส่งมาอีกจำนวนหนึ่ง เวลานั้นท่านอิมาม (อ.) ถามผู้ถือจดหมายมายังท่านว่า (ขณะที่เขียนจดหมายมาใครอยู่บ้าง)[6]

หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้ส่งมุสลิลมบุตรของอะกีลไปตรวจสอบประชาชนว่า พวกเขาได้เขียนจดหมายส่งมาจริงหรือไม่

บทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์ดังกล่าว จะเห็นว่าท่านอิมาม (อ.) ไม่เชื่อทุกข่าวและทุกคนที่ส่งข่าวมายังท่าน ท่านจะปฏิบัติทุกสิ่งด้วยความระมัดระวัง

1.9 ระมัดระวังชีวิตของผู้บัญชาการ

เมื่ออุมะริสสะอัด ได้ส่งตัวแทนในฐานะของผู้ถือสาส์นมายังท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) สหายสองคนของท่านอิมามคือ อบูซะมามะฮฺ ซออิดียฺ และซะเฮร บุตรของเกน ซึ่งเป็นผู้รักษาการอยู่หน้าเต้น ได้เข้ากีดขวางและปลดอาวุธของพวกเขาหลังจากนั้นจึงอนุญาตให้เข้าพบท่านอิมาม (อ.) ในขณะนั้นมีคนหนึ่งจากเผ่าสับบะอีน (ฟุลานบุตรของอับดุลลอฮฺสับบะอีนียฺ) ไม่ยอมปลดอาวุธพวกเขาจึงไม่อนุญาตให้เข้าพบอิมาม โดยที่ไม่ทันจะส่งข่าวให้ท่านอิมามทราบเขาได้ถูกส่งตัวกลับไปเสียก่อน[7]

เช่นเดียวกันอุมัรบุตรของกุรเฏาะฮฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในสหายที่ซื่อสัตย์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เขาจะพกพาคันธนูและดาบติดตัวอยู่ตลอดเวลา เขาจะทำหน้าที่ตรวจเวนยามอยู่รอบๆ ท่านอิมาม เขาจะเข้าออกไปๆ มาๆ รอบท่านอิมาม และตราบที่เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่ท่านอิมามไม่เคยได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่เล็กน้อย[8]

เช่นเดียวกันในช่วงนมาซซุฮฺของวันอาชูรอมีสหายสองคนของท่านอิมาม (อ.) นามว่าซุเฮร บุตรของเกนและสะอีด บุตรของอับดุลลอฮฺ ยืนขวางอยู่ด้านหน้าของท่านอิมามเพื่อรอให้ท่านนมาซจนเสร็จ[9]

ฮิลาล บุตรของนาฟิอฺ ในเวลากลางคืนจะเป็นยามรักษาการให้ท่านอิมาม (อ.) เขาจะคอยถือดาบคอยพิทักษ์ท่านอิมามตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลคับขันและมีอันตรายจะเห็นว่าฮิลาลอยู่ใกลัชิดท่านอิมามมากที่สุด และเวลาส่วนใหญ่เขาจะใช้ไปเพื่อพิทักษ์ท่านอิมาม เนื่องจากฮิลาลเป็นชายหนุ่มที่มองการไกล[10]

1.10 เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต้องการนมาซญะมาอะฮฺในตอนของวันอาชูรอ ซึ่งท่านได้นมาซพร้อมกับสหายครึ่งหนึ่งของกองคาราวาน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเผชิญหน้ากับศัตรูอยู่ในสนามรบ[11] เหตุการณ์ดังกล่าวได้สอนให้รู้ว่าจำเป็นจะต้องเอาใส่ใจใส่อย่างสมบูรณ์ และพึงระมัดระวังไม่ว่าจะอยู่ในช่วงสงครามหรือช่วงปฏิบัติภารกิจศาสนา

1.11 การใช้ประโยชน์จากกองกำลังตามความสามารถและความเหมาะสม

เมื่อฝ่ายศัตรูเรียกร้องการต่อสู้กับท่านอิมาม (อ.) ทำให้เหล่าบรรดาสหายที่จงรักภักดีกับท่านเสนอตัวเข้าสู้รบกับศัตรู แต่ท่านเลือกสรรบุคคลที่จะออกไปต่อสู้ จนกระทั่งช่วงหนึ่งท่านอิมามได้ให้ความสำคัญกับอับดุลลอฮฺ อะมีร บุตรของกัลบี มากกว่าฮะบีบและบุรีร เนื่องจากเขามีหน่วยก้านที่สูงใหญ่ มืช่วงมือยาวและแข็งแรง มีความเหมาะสมกับการสู้รบในช่วงนั้น

1.12 การให้ความสำคัญต่อความระมัดระวังในช่วงที่ไม่ได้อยู่ในสงคราม

เมื่อท่านอับบาสได้รับมอบหมายหน้าที่จากท่านอิมาม (อ.) เพื่อตรวจสอบเจตนาและเป้าหมายของศัตรู (มีการเคลื่อนไหวในวันที่ 9 มุฮัรรอม) ท่านอับบาสได้เดินทางไปพร้อมกับสหายจำนวน 20 คน เมื่อไปถึงยังหน้าค่ายที่พักของฝ่ายศัตรูท่านได้ตะโกนถามพวกเขา[12]

ทำนองเดียวกันเมื่อท่านอับบาสได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปน้ำมาในเวลากลางคืน ท่านได้เดินทางไปพร้อมกับสาวกจำนวน 23 เพื่อไปนำน้ำมาตามคำสั่งของท่านอิมาม[13]

ทำนองเดียวกันเมื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต้องการเจรจากับอุมะริบนิสะอัดแม่ทัพของยะซีด ท่านได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับสาวกจำนวน 20 คน ซึ่งสองคนคืออะลีอักบัร และอับบาสได้รับมอบหมายในฐานะผู้พิทักษ์ขณะที่อิมามร่วมเจรจากับอุมะริบสะอัด ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามก็ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับที่อิมามได้ปฏิบัติ[14]

1.13 ตอนกลางคืนของวันอาชูรอ ทาสรับใช้คนหนึ่งของอบูซัรได้เตรียมดาบให้ท่านอิมาม (อ.) โดยเขาได้ตรวจสอบความคมของดาบ[15] ในวันอาชูรออิมาม (อ.) ได้ออกสู่สนามรบด้วยดาบที่ถูกเตรียมพร้อมไว้ แม้ว่าท่านจะออกไปตามลำพังและอาวุธที่ใช้สู้รบจะไม่เพียงพอก็ตาม

ในค่ำของวันอาชูรอเหล่าบรรดากองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) สาระวนอยู่กับการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าวันพรุ่งนี้พวกเขาทุกคนจะได้ชะฮีด ขณะที่แสดงความเคารพภักดีนั้นพวกเขาก็ได้เตรียมพร้อมอาวุธไว้ด้วย

1.14 การทดสอบสาวกเพื่อการสงคราม

ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ในค่ำของวันอาชูรอได้กล่าวกับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ว่า ท่านตรวจสอบจิตใจของสาวกแล้วหรือ น้องรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง

ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ตอบว่า ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พี่ได้ทดสอบพวกเขาแล้ว ในหมู่พวกเขไม่มีบุคคลใดไร้ความสามารถ หรือไม่จริงใจ หรืออ่อนแอ พวกเขายินดีที่จะสละชีวิตประหนึ่งทารกน้อยที่ชื่นชอบกับเต้านมของมารดา[16]

การเรียกสัตยาบันซ้ำสองจากเหล่าบรรดาสาวกในตอนค่ำของวันอาชูรอ โดยท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)  เป็นการทดสอบเหล่าบรรดาสาวกของท่าน ดังที่รายงานบางบทในประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงเรื่องราวดังกล่าวเอาไว้[17]

1.15 การตรวจสอบเวรยามตลอด 24 ชั่วโมงบริเวณรอบๆ กองคาราวาน

อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ท่านมั่นตรวจสอบบริเวณรอบๆ กองคาราวานตลอดเวลา เพื่อที่จะไม่ลืมหรือเหม่อลอยอันเป็นสาเหตุให้ฝ่ายศัตรูเข้าจู่โจมทันที[18]



[1] เมาซูอะฮฺ หน้า 355 จากอัลฟะตูฮฺ เล่ม 5 หน้า 85 , มักตัลคอรัซมียฺ เล่ม 1 หน้า 231
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 353
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 354,353 ตารีคฏ็อบรี เล่ม 3 หน้า 305 อัลอิรชาด หน้า 323 บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 375
[4]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 353
[5]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 360
[6]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 311,312
[7] อ้างแล้วเล่มเดิม 380
[8] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 442
[9]  เมาซูอะฮฺ หน้า 445
[10] เมาซูอะฮฺ หน้า 406
[11] อ้างแล้วเล่มเดียว หน้า 445
[12]  อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 391
[13] อัลฟุตูฮฺ เล่ม 5 หน้า 102 , ตารีคฏ็อบรียฺ เล่ม 3 หน้า 313, อัลลุฮูฟ หน้า 38 , อัลอะวาลัม เล่าจากเมาซูอะฮฺ หน้า 386
[14]  เมาซูอะฮฺ หน้า 378
[15] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 404
[16] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 491
[17] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 410
[18] อ้างแล้วเล่มเดิมหน้า 406