การพบปะกับท่านซ้ยยิด มุฮัมมัดบากิรศอดร์

ข้าพเจ้ากับอบูชุบบารได้ไปยังบ้านท่านซัยยิด มุฮัมมัด บากิรศอดร์ ในระหว่างทางเขาหยอกล้อข้าพเจ้า และพูดกับข้าพเจ้าเกี่ยวกับผู้ทรงความรู้ ซึ่งมีชื่อเสียงผู้นั้นเกี่ยวกับการปฏิบัติของประชาชน ตามการตัดสินทางหลักศาสนาของเขา และพูดถึงเรื่องต่างๆจนเราถึงบ้านของท่าน เราพบท่านซัยยิด ศอดร์ ซึ่งนั่งอยู่ล้อมรอบด้วยนักศึกษาหน่มโพกศีรษะทุกคน ท่านซัยยิด ได้ยืนขึ้นและทักทายปราศรัยกับเรา แล้วข้าพเจ้าก็ได้รับการแนะนำตัวต่อท่าน

ท่านต้อนรับข้าพเจ้าอย่างอบอุ่นและให้ข้าพเจ้านั่งข้างๆท่าน หลังจากนั้นท่านจึงเร่ิมถามข้าพเจ้าเกี่ยวกับประเทศตูนิเซีย อัลจิเรีย และเกี่ยวกับบรรดาผู้มีความรู้ที่มีชื่อเสียง เช่น อัลคิดร์ ฮุซัยนฺ และอัฎฎอฮีร อิบนิอัซฮุร และคนอื่นๆอีก ข้าพเจ้ารู้สึกสนุกต่อการพูดคุยของท่าน ทั้งๆที่ท่านมีตำแหน่งสูง และได้รับการเคารพนับถือจากนักศึกษาของท่านอย่างมาก ข้าพเจ้าก็รู้สึกสบายใจและรู้สึกเหมือนกับว่าข้าพเจ้าได้รู้จักกับท่านมาก่อนฉะนั้น

ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากการพบปะครั้งนั้น เพราะข้าพเจ้าได้ยินคำถามซึ่งนักศึกษาถาม และฟังคำตอบ ซึ่งท่านตอบแก่นักศึกษานั้น และแลเห็นคุณค่ามากถึงการนำเอาการตัดสินของท่านไปปฏิบัติ ผู้ทรงความรู้นั้นสามารถตอบคำถามได้ทุกชนิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้าพเจ้าจึงเลยกลายเป็นผู้ที่แน่ใจว่า ชีอะฮฺนั้นคือ มุสลิมที่เคารพสักการะอัลลอฮฺองค์เดียว และพวกเขาเชื่อในรายงานของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)อย่างแท้จริง

ในตอนแรกข้าพเจ้าสงสัยว่า ส่ิงที่ข้าพเจ้าเห็นเป็นเพียงการแกล้งทำเท่านั้น หรือบางทีอย่างที่เขาเรียกว่า “ตะกียะฮ์”คือการแสดงออกในส่ิงที่พวกเขาไม่เชื่อ แต่การสงสัยนั้นได้หายไปสิ้น เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่าประชาชนเป็นร้อยๆที่ข้าพเจ้าเห็นหรือได้ยินจะร่วมใจกันแกล้งทำขึ้นเช่นนั้น และทำไมพวกเขาจะต้องแกล้งทำขึ้นด้วย นอกจากนี้ข้าพเจ้าเป็นใครกัน และทำไมพวกเขาจะต้องมาเอาใจใส่ต่อข้าพเจ้า โดยจะต้องทำ “ตะกียะฮ์” ต่อข้าพเจ้า

หนังสือของพวกเขาทั้งหมดนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่าที่เขียนขึ้นเมื่อหลายศตวรรษมาแล้วหรือที่เขียนขึ้นใหม่ ก็ยอมรับเอกภาพแห่งองค์อัลลอฮฺ(ซบ.) และสรรเสริญท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ) ข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่บ้าน ของท่านซัยยิด มุฮัมมัดบากิร ศอดร์ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทางศาสนาทั้งในและนอกประเทศอิรัก ทุกครั้งที่นามของท่านศาสดาถูกกล่าวขึ้น ผู้ฟังทั้งหมดจะกล่าวดังๆเป็นเสียงเดียวกันว่า “ขออัลลอฮฺทรงประทานพรให้ท่านศาสดามุฮัมมัดและลูกหลานของท่านด้วย” นั่นคือการกล่าวศอละวาตนั่นเอง

เมื่อได้เวลานมาซ เราออกจากบ้านนั้นไปยังมัสยิดที่อยู่ถัดไปท่านซัยยิด มุฮัมมัด ศอดร์ ได้นำการนมาซหลังเที่ยงและตอนบ่าย ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่าอยู่ในหมู่สาวกของท่านศาสดามุฮัมมัดทีเดียว เพราะมีการขอพรอย่างสงบและจริงใจจากผู้มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสะเทือนใจมาก และเมื่อการขอพรยุติลงผู้ฟังทั้งหมดก็กล่าวพร้อมกันว่า “ขออัลลอฮฺทรงประทานพรให้ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)และมาถึงลูกหลานที่ดีและบริสุทธิ์ของท่านเป็นอันดับสุดท้าย

หลังจากการนมาซแล้ว ท่านซัยยิดก็นั่งอยู่ที่เมียะฮ์รอบ(ช่องสำหรับนำการนมาซ)แล้วประชาชนได้มาทักทายปราศรัยท่าน บางคนถามท่านถึงเรื่องส่วนตัว และบางคนถามท่านถึงเรื่องทั่วไป และท่านก็ตอบคำถามคนเหล่านั้นไป ตามที่พวกเขาถามมา เมื่อผู้ใดได้ทราบคำตอบจากการถามของเขาแล้ว พวกเขาก็จูบมือท่านแล้วออกไป ช่างเป็นโชคดีของประชาชนเสียนี่กระไร ที่พวกเขามีอิมามที่คงแก่เรียนและมีเกียรติสูง ผู้มีประสบการณ์มากมายสามารถแก้ปัญหาของพวกเขาได้

ท่านซัยยิดแสดงความเอาใจใส่ และเอื้ออารีต่อข้าพเจ้า มากเหลือเกินจนทำให้ข้าพเจ้าลืมเรื่องครอบครัวและวงศ์ญาติของข้าพเจ้าเสียส้ิน ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าข้าพเจ้าอยู่กับท่านสักเดือนหนึ่ง ข้าพเจ้าคงได้เป็นชีอะฮฺคนหนึ่งอย่างแน่นอน เนื่อจากมารยาท ความถ่อมตนและความเอื้ออารีของท่านนั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้ามองไปยังท่าน ท่านจะยิ้มและถามข้าพเจ้าว่าต้องการอะไรบ้าง ข้าพเจ้าอยู่กับท่านโดยมิได้ห่างจากท่านเลยในระยะเวลา 4วัน นอกจากเวลานอนเท่านั้น

มีแขกจำนวนมากจากทั่วโลก มาเยี่ยมเยียนท่าน เช่น ชาวชีอะฮฺจากซาอุดิอารเบีย เมืองฮิญาซ จากประเทศบะห์เรน กาตาร์ ยูไนเต็ดอาหรับอิมิเรต เลบานอน ซีเรีย อิหร่าน อาฟกานิสถาน ตุรกีและแอฟริกา ท่านซัยยิด ได้พูดคุยกับเขาแต่ละคนและช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขา แล้วพวกเขาก็ลากลับด้วยความพอใจและสบายใจ

ณ ที่นี้ข้าพเจ้าอยากกล่าวสักกรณีหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาให้ท่านซัยยิดแก้ปัญหา ในขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ร่วมกับท่าน ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมากต่อแนวทางแก้ปัญหาของท่าน ที่ข้าพเจ้าต้องการเล่าเรื่องนี้ก็เพราะเป็นความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อว่ามุสลิมจะได้ทราบว่าอะไรที่พวกเขาจะสูญเสียไปเมื่อเขาละทิ้งคำสั่งขององค์อัลลอฮฺ(ซบ.)คือ

มีชาย 4 คน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นชาวอิรัก เพราะสังเกตจากการพูดจาของพวกเขา ได้มาหาท่านซัยยิด มุฮัมมัดบากิร ศอดร์ คนหนึ่งได้รับบ้านหลังหนึ่งเป็นมรดกจากปู่ของเขา ซึ่งถึงแก่กรรมสองสามปีมาแล้ว เขาขายบ้านหลังนั้นให้ชายคนที่สองซึ่งอยู่ ณ ที่นั่นด้วย ปีหนึ่งผ่านไปหลังจากการขายบ้านนั้น พี่น้องสองคนของเขาได้มาหาเขา และพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาทั้งสองเป็นทายาททางกฎหมายของผู้ตาย ทั้ง4คนนั่งข้างหน้าท่านซัยยิด แต่ละคนได้เสนอกระดาษหลายแผ่นและโฉนดให้ท่านซัยยิดอ่านดู

หลังจากท่านซัยยิดได้พูดคุยกับพวกเขาสองสามนาที ท่านก็ได้ตัดสินอย่างยุติธรรม ท่านได้ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อบ้านอย่างเต็มที่ ขอร้องให้ผู้ขายบ้านจ่ายรายได้จากการขายนั้นให้พี่น้องทั้งสองนั้นด้วย ซึ่งทั้งหมดก็ตกลงกันได้ หลังจากนั้นพวกเขาได้ยืนขึ้นจูบมือท่านซัยยิดและสวมกอดซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจในเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก และได้ถามอบูชุบบาร “เรื่องจบลงแล้วหรือ” เขาตอบว่า “ใช่ ทุกๆคนได้รับสิทธิ์ของตนเอง ขอขอบคุณอัลลอฮฺ(ซบ.)”ในกรณีเช่นนี้ และในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ คือสองสามนาทีเท่านั้น ที่การแก้ปัญหาได้สิ้นสุดลง กรณีเช่นนี้ถ้าเกิดในประเทศของเรา คงต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีทีเดียว เพื่อแก้ปัญหานั้น โจทก์บางคนอาจถึงแก่กรรมไปและลูกๆของเขาเข้ามารับหน้าที่เป็นโจทก์แทนมีอยู่เสมอ ที่ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีทางกฎหมายนั้นมากว่าค่าบ้านเสียอีก เพราะกรณีพิพาทจะเริ่มจากศาลต้นไปยังศาลอุทธรณ์ จากศาลอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา สุดท้ายก็ไม่มีผู้ใดพอใจในการตัดสินและยังสร้างความเกลียดชังระหว่างกันและกัน และระหว่างเครือญาติอีกด้วย

อบูชุบบารวิจารณ์ว่า “เราได้รับส่ิงทีี่เหมือนกันกับกรณีนั้น ถ้าไม่เลวไปกว่านั้น” ข้าพเจ้าถามเขาว่า “อย่างไรเล่า” เขาตอบว่า “ถ้าประชาชนนำเรื่องดังกล่าวนั้นไปสู่ศาลของรัฐบาล เขาก็ต้องได้รับความยุ่งยากอย่างที่คุณได้กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเขาได้ดำเนินเรื่องตามหลักการทางศาสนาและยอมปฏิบัติตามกฎหมายอิสลาม โดยนำเรื่องเสนอให้ท่านซัยยิดทราบ ปัญหานั้นก็จะได้รับการแก้ไขภายในสองสามนาทีเท่านั้น อย่างที่คุณเห็นอยู่แล้ว แล้วอะไรเล่าจะดีไปกว่ากฎหมายของอัลลอฮฺ(ซบ.) สำหรับประชาชนที่มีความเข้าใจ และท่านซัยยิดก็มิได้เรียกร้องเงินจากพวกเขาแม้สักบาทเดียว แต่ถ้าพวกเขาดำเนินเรื่องตามกฎหมายของรัฐบาลแล้ว เขาคงต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ทีเดียว”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ขอสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ผมแทบไม่เชื่อในส่ิงที่ได้เห็นนั้น และถ้าผมไม่เห็นด้วยตาของผมเองแล้ว ผมคงไม่เชื่อเป็นแน่”

อบูชุบบารกล่าวว่า “คุณไม่จำเป็นต้องปฏิเสธมันหรอก เรื่องนี้เป็นเรื่องย่อยเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวพันกับเลือดเนื้อปนอยู่ด้วย กระนั้นก็ตามบรรดาเจ้าหน้าที่ทางศาสนาก็ได้พิจารณาเรื่องนั้น โดยใช้เวลาเพียงสองสามชั่วโมงเท่านั้นในการแก้ปัญหา” ข้าพเจ้ากล่าวด้วยความแปลกใจว่า “ถ้าเช่นนั้นคุณก็มีสองรัฐบาลในอิรักใช่ไหม คือรัฐบาลทางโลกและรัฐบาลทางธรรม” เขาตอบว่า “เปล่า เรามีรัฐบาลทางโลกอย่างเดียวเท่านั้น แต่มุสลิมนิกายชีอะฮฺ เพราะมิได้เป็นรัฐบาลอิสลาม พวกเขายอมขึ้นอยู่กับรัฐบาลนั้น เพราะพวกเขาเป็นประชาชนของรัฐ ต้องเสียภาษีต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและมีสภาพเการเป็นประชาชนอยู่ ดังนั้นหากมุสลิมทะเลาะวิวาทกับผู้ที่มิได้เป็นมุสลิมคดีก็ต้องนำขึ้นสู่ศาลของรัฐบาลทางโลก เพราะว่าผู้ที่มิได้เป็นมุสลิมย่อมไม่ยอมรับการพิจารณาตัดสินจากมะรอเญียะอ์ดีนี อย่างไรก็ดีถ้าคู่ทะเลาะวิวาทเป็นมุสลิมทั้งคู่ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่ิงใดก็ตามที่มัรเญียะอ์ดีนีตัดสินไป จะได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่าย ดังนั้นคดีทั้งมวลที่มาสู่มัรเญียะอ์ดีนี จะถูกตัดสินปัญหาอยู่ทุกวัน โดยที่คดีอื่นๆ นัั้นจะยืดเยื้อเป็นเดือนเป็นปีทีเดียว”

นับเป็นเหตุการณ์หนึ่ง ที่ทำให้ข้าพเจ้าพอใจกับคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซบ.) ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจในอัล-กุรอานที่ว่า “.....และผู้ใดที่มิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาชนเหล่านี้เป็นผู้ปฏิเสธ”(บทที่ 5โองการที่ 44)

และ “…..และผู้ใดที่มิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมา ชนเหล่านนี้แหละเป็นผู้อยุติธรรม” (บทที่ 5 โองการที่ 45)

และ “.....และผู้ใดที่มิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมา ชนเหล่านี้แหละ เป็นผู้ที่ละเมิด”(บทที่ 5 โองการที่ 47)

เหตุการณ์นั้นได้กระตุ้นข้าพเจ้าให้รู้สึกโกรธเคือง และไม่พอใจต่อพวกที่เปลี่ยนแปลงคำสั่งอันยุติธรรมของอัลลอฮฺ(ซบ.)ให้เป็นส่ิงที่ไม่ยุติธรรม คือ เป็นคำสั่งที่มนุษย์ทำขึ้นเอง และพวกเขายังดำเนินไปย่ิงกว่านั้นอีก คืออวดดีและเยาะเย้ย พวกเขาได้วิจารณ์คำสั่งของพระเจ้าและประณามคำสั่งนั้นว่า ป่าเถื่อนและไม่มีมนุษยธรรม และว่าคำสั่งนั้นจำกัดขอบเขต เช่น ตัดมือผู้ลักขโมย ขว้างผู้กระทำผิดประเวณีด้วยหิน และฆ่าผู้ที่ฆ่าผู้อื่น เป็นต้น ดังนั้นทฤษฎีเหล่านี้มาจากไหน ซึ่งไม่เหมือนทฤษฎีของเรา และไม่เหมือนกับวัฒนธรรมของเราเลย ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันต้องมาจากตะวันตกและมาจากศัตรูอิสลาม พวกเขารู้ว่าการนำเอาคำสั่งของอัลลอฮฺมาใช้ย่อมหมายถึงการทำลายล้าง ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะพวกเขาเป็นขโมยเป็นผู้ทรยศ เป็นผู้กระทำผิดประเวณี เป็นอาชญากร และเป็นฆาตรกร

ข้าพเจ้าได้มีการอภิปรายหลายครั้งกับท่านซัยยิด ศอดร์ในระหว่างที่พักอยู่กับท่าน และข้าพเจ้าได้ถามท่านเกือบทุกสิ่ง ที่ข้าพเจ้ารู้มาจากมิตรสหาย ที่พูดคุยกับข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ และความคิดเกี่ยวกับสาวกของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ) รวมทั้งเรื่องท่านอิมามอะลี(อ.)และบุตรของท่าน...... นอกจากนี้ยังมีเรื่องปัญหาอื่นๆที่เราไม่เคยเห็นพ้องกันมาก่อนด้วย

ข้าพเจ้าถามท่านซัยยิด ศอดร์เกี่ยวกับท่านอิมามอะลี(อ.)ว่า “ทำไมพวกเขาจึงต้องปฏิญาณเวลาอะซาน(เรียกร้องให้มุสลิมไปนมาซ)ว่าท่านเป็นวะลียุลลอฮ์ด้วย”ท่านตอบข้าพเจ้าดังนี้

“ผู้นำแห่งมวลผู้ศรัทธา คือท่านอิมามอะลี(อ.) เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ(ซบ.)ผู้หนึ่ง พระองค์ทรงเลือกและให้เกียรติท่าน โดยการมอบความรับผิดชอบให้แก่ท่านต่อจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ) บ่าวผู้นี้เป็นผู้พิทักษ์ของท่านศาสดา(ซ็อล ฯ) เนื่องจากศาสดาแต่ละท่านย่อมมีผู้พิทักษ์คนหนึ่ง ท่านอะลี อิบนิอบีฏอลิบ จึงเป็นผู้พิทักษ์ของท่าน เราสนับสนุนท่านเหนือบรรดาวสาวกอื่นๆ เพราะอัลลอฮฺสนับสนุนท่าน ซึ่งเรามีหลักฐานมากมายในเรื่องนั้น

หลักฐานบางอย่างเราสรุปอย่างมีเหตุผล แต่บางอย่างเราพบได้ในอัล-กุรอานและในวจนะของท่านศาสดา หลักฐานเหล่านั้นไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป เพราะได้รับการพิจารณาแล้ว และถูกพิสูจน์ว่าถูกต้อง โดยผู้ทรงความรู้ของเราเอง(ซึ่งเขียนหนังสือหลายเล่มในเรื่องน้้ัน) และหลักฐานจากชาวซุนนีมัซฮับต่างๆอีกด้วย ทางฝ่ายอุมัยยะฮ์นั้นได้พยายามอย่างย่ิงที่จะปกปิดความจริงนี้และต่อสู้กับท่านอิมามอะลี(อ.) และบุตรของท่านจนพวกท่านต้องส้ินชีวิตลง

ย่ิงไปกว่านั้น พวกเขายังได้สั่งให้ประชาชนสาปแช่ง พวกท่านโดยใช้กำลังบังคับเป็นบางครั้งอีกด้วย ดังนั้น บรรดาผู้ดำเนินตามท่านอิมามอะลี(อ.)จึงเร่ิมปฏิญาณว่า ท่านอิมามอะลีเป็นวะลีย์ของอัลลอฮฺ ไม่มีผู้ใดหรอกที่จะสาปแช่งวะลีย์ยุลลอฮได้ จนกระทั่งในที่สุดเกียรติอันสูงสุดเป็นของอัลลอฮฺ เป็นของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)และเป็นของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งมวล และยังเป็นหลักปักปันเขตแดนทางประวัติศาสตร์ ระหว่างชนรุ่งต่างๆเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้ต้นเหตุที่ยุติธรรมของท่านอะลี(อ.)และการกระทำที่ผิดๆของศัตรูของท่านด้วย ดังนั้น ผู้คงแก่เรียนของเรา จึงได้ดำเนินต่อไปเกี่ยวกับการปฏิญาณว่าท่านอิมามอะลีนั้นเป็นวะลีย์แห่งอัลลอฮฺในเวลาเรียกร้องมุสลิมมานมาซ ซึ่งเป็นส่ิงควรกระทำอย่างยิ่ง ยังมีส่ิงที่ควรกระทำอีกหลายอย่างในพิธีทางศาสนา ทำนองเดียวกับการกระทำอย่างธรรมดาอื่นๆ เกี่ยวกับทางโลก และมุสลิมนั้นจะได้รับการตอบแทนจากการกระทำเช่นนั้น แต่จะไม่ถูกลงโทษเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น เป็นส่ิงควรกระทำสำหรับมุสลิมหลังจากชะฮาดะฮ์(การปฏิญาณตน)และมีความเชื่อในส่ิงต่อไปนี้อีกคือ “สวรรค์นั้นมีจริง นรกนั้นมีจริง และอัลลอฮฺ(ซบ.) จะทรงทำให้ผู้ที่ตายไปแล้วฟื้นคืนชีพจากหลุมฝังศพของเขา”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ผู้ทรงความรู้ของเราสอนเราว่า ผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ก่อนใครก็คือ ท่านอบูบักร อัซซิดดีก ต่อมาก็คือท่านอุมัร อัลฟารุก และต่อมาก็คือ ท่านอุศมาน และสุดท้ายก็คือ ท่านอิมามอะลี ขออัลลอฮฺทรงประทานพรให้ทุกท่านด้วย”ท่านซัยยิด น่ิงเงียบไปชั่วขณะหนึ่งแล้วตอบข้าพเจ้าว่า “ก็ให้พวกเขากล่าวตามที่พวกเขาต้องการเถิด แต่เป็นไปไม่ได้ สำหรับพวกเราที่จะพิสูจน์ด้วยเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักศาสนา นอกจากนี้ ส่ิงที่พวกเขาพูดก็ขัดกับหนังสือของเขาที่กล่าวว่า บุคคลที่ดีที่สุดคือ อบูบักร ต่อมาคือ อุศมาน แต่ไม่ยอมกล่าวถึงท่านอะลีเลย เพราะพวกเขาคิดว่าท่านเป็นเหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ภายหลัง ก็ได้เริ่มกล่าวถึงท่านว่าเป็นคุละฟาอุรรอชิดีน(ผู้สืบทอดตำแหน่งของผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง)คนหนึ่ง”

หลังจากนั้นข้าพเจ้า ถามท่านเกี่ยวกับดินชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเขาตั้งหน้าผากลงบนนั้นเวลานมาซ ที่พวกเขาเรียกว่า “อัตตุรบะตุล ฮุซัยนียะฮ์” ท่านตอบว่า “เราทั้งหมดก้มลงกราบบนดิน แต่มิใช่กราบดินอย่างที่บางคนอ้างว่าชาวชีอะฮฺกระทำ เพราะการกราบนั้นกระทำเฉพาะอัลลอฮฺ(ซบ.)เท่านั้น มันเป็นการกระทำขึ้นที่ดีอย่างหนึ่งในหมู่พวกเรา ก็เช่นเดียวกับที่ชาวซุนนีซึ่งกล่าวว่า การกราบที่เป็นที่โปรดปรานที่สุดคือการกราบบนพื้นดินหรือบนผลิตผลของพื้นดินที่กินไม่ได้ และเป็นการไม่ถูกต้องที่กราบบนส่ิงอื่นใด ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)เคยนั่งบนดิน และท่านมีดินชิ้นหนึ่งผสมกับฟางซึ่งท่านได้กราบลงบนมัน ท่านสอนบรรดาสาวกของท่านให้กราบบนพื้นดินหรือบนหิน ท่านยังห้ามพวกเขามิให้กราบลงบนชายเสื้อของพวกเขา เราถือว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นส่ิงจำเป็นและสำคัญด้วย

ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน อะลี อิบนิฮุซัยนฺ(อ.)ได้เอาตุรบะฮ์(ดินช้ินหนึ่ง)จากใกล้สถานที่ฝังศพของบิดาของท่าน คืออบาอับดุลลอฮ์เพราะว่าดินที่นั่นบริสุทธิ์และเป็นสิริมงคล เนื่องจากเลือดของซัยยิดุชชุฮะดาอ์ไหลนองบนนั้น ดังนั้น บรรดาผู้ดำเนินตามทั้งหลายจึงได้ปฏิบัติตามมาจนกระทั่งทุกวันนี้

“เรามิได้กล่าวว่าการกราบนั้นมิถูกห้ามนอกจากบนดินเท่านั้น แต่เราขอกล่าวว่าการกราบนั้น เป็นการถูกต้องถ้ากระทำบนดินหรือบนหินที่มีสิริมงคล และก็เป็นการถูกต้องที่จะกราบบนเสื่อ ที่ทำมาจากใบต้นปาล์มหรือส่ิงที่คล้ายคลึงกันนั้น”

ข้าพเจ้าได้ถามท่านซัยยิดเกี่ยวกับเรื่องราวของท่านอิมามฮุซัยนฺ(อ.) “ทำไมชาวชีอะฮฺจึงร้องไห้และตีอกชกตัวจนกระทั่งเลือดออก เพราะสิ่งนี้เป็นส่ิงต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)ได้กล่าวไว้ว่า ใครก็ตามที่ตีแก้ม ฉีกกระเป๋าและดำเนินตามกระทำของพวกญาฮิลียะฮ์(บรรพชนยุคก่อนอิสลาม)ผู้นั้นก็ไม่ใช่พวกเรา”

ท่านซัยยิดตอบว่า “ที่กล่าวนั้นเป็นความจริง”ไม่มีข้อสงสัยแต่ประการใด แต่วจนะนี้ถูกยกเว้นไว้กรณีของท่านอิมามฮุซัยนฺ(อ.) เพราะผู้เรียกร้องการแก้แค้นอิมามฮุซัยนฺและได้ดำเนินตามแนวทางนั้น การเรียกร้องนั้นจึงมิได้เป็นญาฮาลียะฮ์(อวิชชา)แต่ประการใด นอกจากนี้ชาวชีอะฮฺก็เป็นมนุษย์ธรรมดานี่่เอง ในหมู่พวกเขาจะมีผู้มีความรู้และไม่มีความรู้ปะปนกัน และพวกเขาเป็นผู้มีความรู้สึกและอารมณ์เหมือนกัน ถ้าหากอารมณ์ของพวกเขาชนะพวกเขาได ในระหว่างวันครบรอบปีแห่งการพลีชีพของท่านอิมามฮุซัยนฺ(อ.)แล้ว พวกเขาก็จะทำการระลึกท่านอิมาม ระลึกถึงส่ิงที่บังเกิดแก่ท่าน แก่ครอบครัวและแก่สหายของท่าน เพราะศัตรูของท่านทำให้ท่่านเสื่องเสียเกียรติด้วยการกักขัง และในที่สุดได้สังหารท่าน การกระทำการระลึกถึงนั้น พวกเขาควรได้รับรางวัลเนื่องจากเจตนาที่ดี พวกเขาทำไปเพื่ออัลลอฮฺ(ซบ.)ผู้ทรงให้รางวัลแก่ประชาชนตามเจตนาที่พวกเขากระทำ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้าพเจ้าอ่านรายงานทางราชการของรัฐบาลอิยิปต์เกี่ยวกับการกระทำอัตตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย)ตามการตายของกะมัล อับดุลนาซีร(นัสเซอร์)มีผู้กระทำเช่นนั้นถึง 8 ราย เช่น กระโดดตึกตายบ้าง กระโดดให้รถทับตายบ้าง นอกนั้นก็มีคนเจ็บอีกหลายคน เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้จากการที่อารมณ์มีอำนาจเหนือเหตุผลของประชาชน ซึ่งพวกเขาบังเอิญเป็นมุสลิม และได้ฆ่าตนเองตายตามกะมัล อับดุลนาซีร ผู้ซึ่งถึงแก่กรรมตามธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นการถูกต้องที่เราจะประณามชาวซุนนีและตัดสินว่าเขาผิด อีกประการหนึ่งเป็นการไม่ถูกต้องที่ชาวซุนนีกล่าวหาชาวชีอะฮฺว่าผิด ที่พวกเขาร้องไห้ต่อการพลีชีวิตในทางของอัลลอฮฺของนายของเขา ประชาชนเหล่านี้มีชีวิตมาแล้วและกำลังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันสำหรับความเศร้าสลดของท่านอิมามฮุซัยนฺ(อ.)แม้แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)ยังร้องไห้ต่อการตายของหลานของท่านคือ อัลฮุซัยนฺและญิบรออีลก็ยังร้องไห้เช่นกัน”

ข้าพเจ้าถามต่อไปว่า “ทำไมชีอะฮฺจึงได้ประดับประดาหลุมฝังศพของวะลีย์ของเขาด้วยทองและเงิน ทั้งๆที่ความจริงมีอยู่ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นส่ิงต้องห้ามในอิสลาม” ท่านซัยยิดบากิร ศอดร์ตอบว่า “ส่ิงน้ิมิได้กระทำโดยชีอะฮฺเท่่านั้น และไม่ใช่ส่ิงที่ต้องห้าม จงดูมัสยิดของพี่น้องซุนนีในอิรักหรืออิยิปต์ หรือตุรกี หรือที่อื่นๆในโลกอิสลาม มันถูกตกแต่งด้วยทองและเงินทั้งสิ้น ย่ิงไปกว่านั้น มัสยิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺในนครมะดีนะฮ์อัลมุเนาวะเราะฮ์ และกะอ์บะฮ์ในนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติยังถูกคลุมด้วยผ้า ซึ่งตกแต่งด้วยทองมีค่านับล้านทุกปี ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่มีเฉพาะแต่ชีอะฮฺเท่่าน้ัน”

ข้าพเจ้าได้ถามต่อไปว่า “ผู้ทรงความรู้ชาวซาอุดิอารเบียกล่าวว่า “การกระทบสถานที่ฝังศพ และการขอพรต่อบรรดาวะลีย์นั้นเป็นการตั้งภาคีอย่างหนึ่ง ท่านมีความเห็นอย่างไร” ท่านซัยยิด บากิร ศอดร์กล่าวว่า “ถ้าการกระทบสถานที่ฝังศพและการเรียกร้องต่อผู้ตาย ด้วยความเข้าใจว่า เขาเหล่านั้นจะทำให้เกิดผลดีหรือผลร้ายแล้ว นั่นเป็นการตั้งภาคีอย่างไม่ต้องสงสัย มุสลิมนั้นเป็นผู้เคารพสักการะพระเจ้าองค์เดียว และเขารู้ว่าอัลลอฮฺ(ซบ.)องค์เดียวเท่านั้นที่สามารถบันดาลความชั่ว หรือความดีได้ แต่การเรียกร้องต่อวะลีย์หรือบรรดาอิมามด้วยความเข้าใจว่า พวกเขาจะเป็นสื่อกลางไปยังอัลลอฮฺ(ซบ.)นั้น มิได้เป็นการตั้งภาคีแต่ประการใด

มุสลิมทั้งหลายทั้งซุนนีและชีอะฮฺเห็นชอบในแง่นี้ มาตั้งแต่สมัยท่านศาสดามุฮัมมัดมาแล้ว จนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากชาววะฮะบีย์เท่านั้นที่ไม่เห็นชอบในแง่นี้ ผู้ทรงความรู้แห่งซาอุดิอารเบีย ขัดแย้งกับมุสลิมทั้งมวล เพราะนิกายของพวกเขา เกิดขึ้นมาใหม่ในศตวรรษนี้ ความศรัทธาของพวกเขา ทำให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากในหมู่มุสลิม พวกเขากล่าวหาว่ามุสลิมอื่นล้วนเป็นผู้นอกศาสนาทั้งนั้น พวกเขาทำให้เกิดการนองเลือดจนกระทั่งตีผู้แสวงบุญที่ชราที่เดินทางไปบำเพ็ญฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ ด้วยเหตุเพียงเขากล่าวคำว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ขอความสันติจงมีแด่ท่าน” เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ยอมให้ใครไปแตะหลุมฝังศพของท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นอันขาด พวกเขามีการอภิปรายกันกับผู้ทรงความรู้ของเราหลายครั้ง แต่พวกเขาก็ยังดันทุรังด้วยความดื้อด้าน และเต็มไปด้วยความหย่ิงยะโส

ท่านซัยยิดชารอฟุดดีน ผู้ทรงความรู้ชาวชีอะฮฺคนหนึ่งได้ไปแสวงบุญยังบัยตุลลอฮ์ ในสมัยที่อับดุลอะซีซ อิบนิ สะอูด เป็นกษัตริย์ ท่านเป็นผู้มีความรู้คนหนึ่งที่ถูกเชิญไปยังพระราชวังของกษัตริย์เพื่อฉลองในวันอีดิ้ลอัฎฮา ตามประเพณีที่กระทำกัน ณ ที่นั่น เมื่อถึงเวลาที่เขาต้องไปสัมผัสมือกับกษัตริย์ ท่านซัยยิด ชารอฟุดดีน ได้มอบอัล-กุรอานหุ้้มด้วยหนังแกะให้พระองค์เป็นของขวัญเล่มหนึ่ง กษัตริย์รับอัล-กุรอานนั้นแตะที่หน้าผากและจูบมัน

ท่านซัยยิด ชารอฟุดดีนเห็นดังนั้นจงกล่าวว่า “โอ้ท่านผู้เป็นกษัตริย์ทำไมพระองค์จึงจูบและยกย่องปกหนัง ซึ่งทำด้วยหนังแกะเล่า” กษัตริย์ทรงตอบว่า “เราหมายความว่า เรายกย่องให้เกียรติกับอัล-กุรอาน ไม่ใช่ยกย่องหนังแกะนั้น”ท่านซัยยิด ชารอฟุดดีน จึงตอบว่า “โอ้ท่านผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ตรัสดีมาก เรากระทำอย่างเดียวกัน เมื่อเราจูบหน้าต่างหรือประตูสถานที่ฝังศพของท่านศาสดา(ซ็อล ฯ)นั่นเอง เรารู้ว่ามันทำด้วยเหล็กซึ่งไม่ได้ให้คุณหรือให้โทษแต่ประการใด แต่เราหมายถึงส่ิงที่อยู่เบื้องหลังเหล็กหรือไม้นั้นต่างหาก เราหมายถึงการให้เกียรติต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ซบ.) ในทำนองเดียวกันกับที่พระองค์ทรงให้เกียรติแก่อัลกรุอานด้วยการจูบปกหนังสือที่หุ้มด้วยหนังแกะนั่นเอง”

ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นมีความประทับใจ ในคำกล่าวของท่านซัยยิดเป็นอันมากและได้กล่าวว่า “ท่านพูดถูกแล้ว”กษัตริย์นั้นถูกบังคับให้ยอมให้ผู้แสวงบุญไปขอพรต่อสถานที่ฝังศพของท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ)ได้ แต่ต่อมาคำสั่งนั้นก็ถูกเปลี่ยนแปลงกัลับอย่างเดิม โดยทายาทของกษัตริย์ ปัญหานั้นมิใช่ว่าพระองค์จะทรงกลัวประชาชน เอาส่ิงหนึ่งส่ิงใดมาเทียบเคียงอัลลอฮฺ(ซบ.) แต่มันเป็นปัญหาการเมือง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการเป็นศัตรูกัน และการเข่นฆ่ามุสลิมเพื่อรวบอำนาจหน้าที่ และพลังเหนือมุสลิมทั้งมวล ประวัติศาสตร์ เป็นพยานต่อส่ิงที่พวกเขาได้กระทำต่อประชาชาติของท่านศาสดามุฮัมมัดมาแล้ว

ข้าพเจ้าได้ถามท่านเกี่ยวกับแนวทางซูฟี ท่านได้ตอบอย่างย่อๆว่า “เรื่องแนวทางของซูฟีน้ันมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ ทางแง่บวกนั้นคือการสร้างวินัยแก่ตนเอง การมีชีวิตอยู่อย่างประหยัด การสละความสุขสบายในโลกนี้และแยกตัวเองไปสู่โลกแห่งจิตวิญญาณ ส่วนทางแง่ลบนั้นคือ การอยู่อย่างโดดเดี่ยว การง่วนอยู่กับการกล่าวพระนามแห่งอัลลอฮฺ(ซบ.) หรือการปฏิบัติอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน อิสลามนั้นเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยอมรับในแง่บวกและปฏิเสธในแง่ลบ เราจึงกล่าวได้ว่า หลักการและคำสอนของอิสลามนั้น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานทางแง่บวกคือความถูกต้องเท่านั้น