การห้ามกินดอกเบี้ย

อิสลามเป็นศาสนาที่นอกจะสอนเรื่องการปฏิบัติส่วนตัวอันเป็นหน้าที่ระหว่างตนกับพระเจ้าแล้ว ยังสอนและแนะนำวิธีการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมหมายถึงการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องถ้อยที่ถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบเดียดฉันท์รักใคร่กลมเกลียวและช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน ซึ่งที่อิสลามรังเกียจที่สุด คือ การกดขี่และการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม อัล-กุรอาน กล่าวเตือนเสมอว่า ผู้ศรัทธาทุกคนเป็นพี่น้องกัน

อัล-กุรอาน กล่าวห้ามเรื่องการกดขี่ข่มเหง การฉ้อฉล ตลอดจนการเอารัดเอาเปรียบไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใครก็ตาม และไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาเดียวกับท่านหรือไม่ก็ตาม แม้แต่มดหรือปลวกอิสลามก็ห้ามมิให้ทำร้ายสัตว์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเหยียบย่ำให้ตายหรือการปัสสาวะลงรูมดปลวก โดยหลักการดังกล่าวนี้จะเห็นว่าหนึ่งในบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับมารยาทของการขับถ่าย คือ ห้ามยืนขับถ่าย ห้ามขับถ่ายลงบนพื้นแข็ง ห้ามถ่ายบนรูโดยเฉพาะรูอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ และอื่นๆ อีกหลายประการ อัล-กุรอาน กล่าวเสมอว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเกลียดชังผู้กดขี่ทั้งหลาย  

บรรดาสรรพสัตว์ที่พระเจ้าทรงสร้างมาเพื่อเป็นอาหารแก่มนุษย์ พระองค์ทรงกำชับว่าหากเจ้าจะบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านั้นจงบริโภคในนามของข้า หมายถึงเจ้าจงเชือดโดยการเอ่ยนามของข้า มิฉะนั้น แล้วไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับเจ้าให้บริโภค สัตว์สักตัวที่ต้องการบริโภคยังต้องเอ่ยพระนามของพระองค์ ขออนุญาตพระองค์ในการสังหารชีวิตสัตว์นั้น แล้วจะนับประสาอะไรกับชีวิตมนุษย์ที่พระองค์สั่งห้ามสังหารชีวิตผู้อื่นโดยเด็ดขาด ยกเว้นเพื่อลงโทษไปตามกรรมที่ก่อเอาไว้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่บรรดาสั่งสอนและเน้นย้ำเอาไว้ คือ การไม่เอาเปรียบผู้อื่นหรือกดขี่ตนเอง ซึงหนึ่งในการเอาเปรียบและเป็นการกดขี่ที่เลวที่สุดที่จะขอกล่าว ณ ที่นี้คือ การกินดอกเบี้ย อิสลามกำชับอย่างเด็ดขาดว่าการกินดอกเบี้ยเป็นฮะรอม (บาป) สำหรับมุสลิมทุกคน

อัล-กุรอาน หลายโองการกล่าวถึง ดอกเบี้ย เอาไว้ตัวอย่างเช่น อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 130 - 132 กล่าวว่า "โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ทบทวีคูณ และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ เพื่อสูเจ้าจะได้รับผลสำเร็จ และจงระวังไฟนรก ซึ่งถูกเตรียมไว้สำหรับพวกปฏิเสธ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และเราะซูล เพื่อสูเจ้าจะได้รับความเมตตา   

ความหมายของ “อัรริบาอฺ”

อัรริบาอฺ ในภาษาอาหรับหมายถึง การเพิ่มพูน

อัรริบาอฺ ในหลักการศาสนาคือ การเพิ่มค่าตอบแทนที่เป็นเงินตราต่อเงินตรา

โองการนี้และอีกสองสามโองการถัดไป สาธยายถึงแนวทางและโครงสร้างของเศรษฐกิจ สังคม และการอบรมสั่งสอน อันเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอัล-กุรอาน นำเสนอแนวทางการต่อสู้กับการหลงทาง และวางรากฐานแก่สังคม ซึ่งเป็นการสร้างสังคมไปที่ละน้อยตามขั้นตอน รวมทั้งแนะนำแนวความคิดที่เป็นปัจจัยก่อความเสียหายแก่สังคม เมื่อสังคมพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เมื่อนั้นจึงมีการออกบัญญัติสั่งห้ามกระทำเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่นำไปสู่การสร้างความเสียหาย และบาปกรรมที่ยิ่งใหญ่

อัล-กุรอาน นำเสนอว่าสังคมใดก็ตามที่มีความบริสุทธิ์ใจ เสียสละ มีการแข่งขันกันสร้างความดี เชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำ จะประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน แม้แต่เรื่องการสงคราม แต่สังคมที่เคารพบูชาเงินตรา ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้นำ หมกมุ่นอยู่กับการทำบาป ย่อมเป็นสังคมที่ตายแล้วมีแต่ความพินาศล่มจม

ที่มาของความอับโชคทางสังคมเริ่มจาก การกระทำที่ไม่ดี และการกดขี่ทางสังคม ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอาน จึงขุดรากถอนโคนการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ โดยสั่งห้ามการกินดอกเบี้ยอย่างสิ้นเชิง โดยแบ่งคำสั่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1. อัล-กุรอาน บท อัรโรม โองการที่ 39 นับเป็นครั้งแรกที่มีคำสั่งห้ามกินดอกเบี้ย โดยสั่งในเชิงที่เป็นศีลธรรม โดยกล่าวว่า และสิ่งที่สูเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สินในฐานะดอกเบี้ย เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของปวงชน มันจะไม่เพิ่มพูน ณ ที่อัลลอฮฺ แต่สิ่งที่สูเจ้าจ่ายไปในฐานะของซะกาต (ทานบังคับ)  เพื่อแสวงความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ บุคคลที่กระทำเช่นนี้ เขาจะได้การตอบแทนอย่างทวีคูณ

ฉะนั้น การกินดอกเบี้ยเฉพาะกลุ่มชนที่เป็นนายทุนเท่านั้นที่ได้รับกำไร แต่ ณ ที่พระเจ้าสิ่งนั้นมิได้เป็นกำไร มันเป็นการกดขี่และเอาเปรียบผู้ที่ด้อยโอกาส แต่ทานบังคับ (ซะกาต) หรือการบริจาคในหนทางของพระเจ้าต่างหากที่เงินทุนของเขาจะงอกเงย ณ พระองค์

2. อัล-กุรอาน บท อันนิซาอ์ โองการที่ 161 กล่าวท้วงติงประเพณีที่ไม่ถูกต้องาของยะฮูดีย์ ซึ่งได้แก่การกินดอกเบี้ย กล่าวว่า  เนื่องด้วย พวกเขาเอาดอกเบี้ย ทั้ง ๆ ที่พวกเขาถูกห้ามในเรื่องนั้น

3. อัล-กุรอาน บท อัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 275 – 279 ห้ามการกินดอกเบี้ยในทุกรูปแบบ โดยกล่าวเสริมว่า การกินดอกเบี้ยเป็นการทำสงครามกับพระเจ้า

4. สุดท้ายคืออัล-กุรอาน โองการที่กำลังกล่าวถึง ซึ่งห้ามการกินดอกเบี้ยอย่างตรงไปตรงมา อันเป็นดอกเบี้ยประเภททบทวีคูณหลายเท่า

โองการข้างต้นกล่าวห้ามการกินดอกเบี้ยประเภททบทวีคูณหลายเท่า โดยกล่าวว่า อัฎอะฟัน มุฎอะฟะฮฺ จุดประสงค์ของดอกเบี้ยทบทวีคูณหมายถึง การปล่อยเงินกู้ในลักษณะที่มีดอกผลงอกเงยเป็นหลายเท่า โดยหลักการอิสลามถือว่า เป็นการกดขี่ที่น่าเกียจที่สุด

 โองการถัดมา กล่าวเน้นเรื่องการสำรวมตนจากความชั่ว โดยกล่าวว่า จงระวังไฟนรก ซึ่งถูกเตรียมไว้สำหรับพวกปฏิเสธ

จากการที่โองการกล่าวโดยใช้คำว่า พวกปฏิเสธ (กาฟิรอน) บ่งบอกว่า โดยพื้นฐานแล้วการกินดอกเบี้ย ไม่เข้ากันกับธรรมชาติของจิตวิญญาณ และความศรัทธา เนื่องจากผู้กินดอกเบี้ยล้วนเป็นสหายของไฟนรก ซึ่งรอคอยผู้ปฏิเสธ หรือเป็นหุ้นส่วนของผู้ปฏิเสธ

อีกนัยหนึ่งเข้าใจได้ว่า ไฟนรก โดยหลักการแล้วถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ปฏิเสธ คนบาปทั้งหลาย หรือผู้กระทำความผิดที่รุนแรง ที่เทียบเท่าผู้ปฏิเสธ

โองการถัดมากล่าวสนับสนุนผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และเราะซูล เพื่อสูเจ้าจะได้รับความเมตตา ซึ่งเป็นเหตุผลที่ยืนยันให้เห็นว่าสาเหตุสำคัญที่มุสลิมพ่ายแพ้ในสงครามอุฮุด คือ การไม่เชื่อฟังคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากท่านศาสดาสั่งให้ระวังรักษาพื้นที่ ซึ่งเป็นฐานที่ได้เปรียบและอย่าละทิ้งเนินเขาอุฮุด แต่พวกที่มีหน้าที่คอยปกป้องฐาน ละโมบทรัพย์สินเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ศัตรูได้ละทิ้งไว้จึงพากันวิ่งกรูลงมา เพื่อแย่งชิงทรัพย์สิน เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และศัตรูได้เข้าโจมตีกองทัพมุสลิมจากทางด้านนั้น ฉะนั้น โองการจึงเน้นว่า ถ้าเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และเราะซูล ความพ่ายแพ้ก็จะไม่เกิดกับเจ้าอย่างเด็ดขาด

ประเภทของดอกเบี้ย 

บางครั้งดอกเบี้ยหมายถึงการเพิ่ม กล่าวคือ การแลกเปลี่ยนประเภทเงินตราหรือสินค้า (บางชนิด) โดยไม่เท่าเทียมกัน

ดอกเบี้ยประเภทผลประโยชน์ของหนี้สิน กล่าวคือ การเรียกผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่อหนี้สินเมื่อให้ผู้อื่นขอยืมไป

ปัญหาคาใจของมวลผู้ศรัทธาจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ คือ การนำเงินไปฝากธนาคารผลที่ประโยชน์ที่ธนาคารมอบให้จะรับได้หรือไม่ได้ และถือว่าเป็นดอกเบี้ยหรือไม่ สิ่งนี้เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันซึ่งนักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เพราะเงินปันผลดังกล่าวไม่ว่าท่านจะนำเงินไปฝากที่ธนาคารใดท่านก็จะต้องได้รับเงินปันผลนั้น ไม่ว่าจะเป็นธนาคารอิสลามหรือไม่ใช่อิสลามก็ตาม

ถ้าหากเป็นธนาคารอิสลามก็จะเรียกเงินปันผลนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เรียกว่าเงินปันผลที่ลงทุนร่วมกัน (มุฎอเราะบะฮฺ) แต่โดยหลักการของการทำมุฏอเราะบะฮฺในรูปแบบอิสลามก็คือ ถ้าห้าการลงทุนขาดทุนเจ้าของเงินต้องขาดทุนด้วย แต่ในความเป็นจริงธนาคารจะเป็นผู้ขาดทุนเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่มีผลกระทบกับเจ้าของเงินแต่อย่างใด ซึ่งท่านอาจรับเงินปันผลนั้นได้รายเดือน หรือรายปีแล้วแต่ตกลงกัน

ส่วนธนาคารที่ไม่ใช่ธนาคารอิสลามจะเรียกเงินส่วนนั้นว่า ดอกเบี้ย อย่างตรงไปตรงมา และมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนตายตัวท่านสามารถรับเงินปันผลนั้นได้รายเดือนหรือรายปี เมื่อขาดทุนธนาคารเป็นฝ่ายขาดทุนไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าของเงิน

ธนาคารทั้งสองลักษณะได้นำเงินฝากจากลูกค้าไปลงทุนทำกิจการ เมื่อสิ้นปีทั้งสองธนาคารได้นำเงินปันผลมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ผู้ฝากเงิน จะแตกต่างกันตรงที่ว่ากิจการที่ธนาคารนำเงินไปลงทุนเป็นกิจการหรือธุรกิจประเภทใด แน่นอน ถ้าเป็นกิจการที่ต้องห้ามในอิสลามเงินปันผลนั้นท่านไม่อาจรับได้ เช่น นำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับกิจการทำสุรา ข้าสิ่งของที่ต้องห้าม เป็นต้น

แต่ถ้าธนาคารนำเงินไปลงทุนกิจการที่มิได้เป็นที่ต้องห้ามตามหลักการศาสนา เช่น อสังหาริมทรัพย์ เมื่อสิ้นปีนำเงินปันผลมาเฉลี่ยจ่าย จะมีปัญหาอะไรถ้าท่านจะรับเงินปันผลนั้น

กรณีที่ไม่อาจตรวจสอบได้ว่าธนาคารนำเงินของท่านไปลงทุนกิจการใด ท่านจะทำอย่างไร ยังจะสามารถรับเงินปันผลนั้นได้หรือไม่ สิ่ง

สิ่งนี้เป็นหัวข้อที่ตกทำความเข้าใจกันเนืองจากท่านอยู่ในสังคมที่มิได้เป็นมุสลิม ท่านจะทำอย่างไร