หมวดที่ ๔ ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน

ในหมวดนี้ต้องการนำเสนอศัพท์บางคำที่เป็นกุญไขไปสู่ความหมาย และข้อมูลที่เฉพาะสำหรับอัล-กุรอาน และประวัติโดยสรุปของคัมภีร์

๑. คำว่ากุรอาน

นามดังกล่าวอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ และสอนมนุษย์ให้รู้จักคัมภีร์แห่งฟากฟ้าโดยใช้คำว่า กุรอาน โดยกล่าวว่า  (انه لقرآن كريم ) แท้จริงนี่คือ กุรอานอันทรงเกียรติ[๑]

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลนะฮฺลิ กล่าวว่า

فَإِذَا قَرَأْتَ الْقُرْآنَ فَاسْتَعِذْ بِاللّهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ  

ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัล-กรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง[๒]

คำว่า กุรอาน ในหมู่นักวิชาการและนักวิจัยมีทัศนะความเห็นแตกต่างกัน กล่าวคือ

๑. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ไม่ได้ผันมาจากศัพท์คำใดทั้งสิ้น คำ ๆ นี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าตั้งแต่แรกเริ่ม

๒. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะระอะ หมายถึงการอ่าน กล่าวคือ กุรอาน คือคัมภีร์ที่ถูกอ่านแล้ว

๓. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่าิ กุรอาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า เกาะระนะ หมายถึง การประชิดติด การแนบสนิท การติดกัน การแสดงสัมพันธภาพ เนื่องจากคำ โองการต่าง ๆ และซูเราะฮฺประชิดติดกันจึงเรียกว่า กุรอาน

๔. บางทัศนะกล่าวว่าคำว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะรออิน ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า กะรีนะฮฺ หมายถึงสัญลักษณ์ เนื่องจากโองการอัล-กุรอานเป็นสัญลักษณ์ที่สนับสนุนกันและกันจึงเรียกว่า กุรอาน

ข้อควรพิจารณา แน่นอนว่ากุรอานกะรีม มีชื่อและคุณลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟุรกอน หมายถึง การจำแนกความจริงและความเท็จ กิตาบ ซิกรฺ ตันซีล นูร ฮุดายฺ มะญีด และอื่น ๆ อีกมากมาย

๒. อายะฮฺ

คำว่า อายะฮฺ ในเชิงภาษามีหลายความหมายด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์ เครื่องหมาย การรวบรวม สิ่งมหัศจรรย์ และความแปลกประหลาด

ส่วน อายาตกุรอาน ได้ถูกจัดวางบนความหมายทุกความหมายที่มีความเหมาะสมในเชิงภาษา เช่น

๑. ทุกอายะฮฺอัล-กุรอาน แสดงให้เห็นถึงการนำมาซึ่งความสัจจริง การไร้ความสามารถของผู้เป็นปรปักษ์ และการการจำแนกออกจากสิ่งตรงข้าม

๒. ทุกอายะฮฺ ได้รวบรวมจากอักษร คำต่าง ๆ และประโยค

๓. ทุกอายะฮฺ อาจเป็นไปได้ที่บ่งบอกถึงความมหัศจรรย์ ถ้าหากพิจารณาจากคำและมาตรฐานของอัล-กุุอาน

อายะฮฺในทัศนะของนักปราชญ์หมายถึง บางส่วนจากอักษร หรือคำ หรือประโยค ซึ่งริวายะฮฺได้กำหนดขอบเขตที่แน่นอนของสิ่งเหล่านี้ไว้แล้ว

การรู้จักโองการอัล-กุรอานถือเป็น เตาฟีกกียฺ หมายถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กำหนดไว้เีรียบร้อยแล้ว กล่าวคือ ขณะที่ท่านอ่านโองการท่านได้หยุดเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจขอบเขตของโองการ

อัล-กุรอานมีทั้งสิ้น ๖๒๓๖ โองการ ตามการกำหนดหมายเลยในปัจจุบัน ไม่รวม บิซมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺอื่น ๆ  ซึ่งไม่ถือว่าเป็นโองการแยกต่างหากจากซูเราะฮฺ ยกเว้น บิซมิลลาฮฺ ในซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ที่นับว่าเป็นโองการแยกต่างหาก

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ การเรียบเรียงโองการต่าง ๆ และซูเราะฮฺเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามการชี้นำของท่านญิบรออีล

นักวิชาการอุลูมกุรอาน (ศาสตร์เกี่ยวกับกุรอาน) กล่าวว่า ทุกครั้งที่อัล-กุรอานถูกประทานลงมา ท่่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกผู้จดบันทึกมาและสั่งให้จดบันทึกโองการต่าง ๆ ไว้ในซูเราะฮฺที่แตกต่างกันอย่างเป็นระเบียบ แม้แต่บิซมิลลาฮฺ ท่านก็ได้สั่งให้บันทึกไว้เหนือซูเราะฮฺต่าง ๆ ยกเว้นซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๓. ซูเราะฮฺ

คำว่า ซูเราะฮฺ ในเชิงภาษาแบ่งออกเป็นหลายความหมายด้วยกัน

๑. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ เป็นคำที่แปลงมาจากคำว่า ซุเราะฮฺ หมายถึงของที่กินเหลือ หรือน้ำที่เหลือค้างภาชนะจากการดื่ม และเนื่องจากซูเราะฮฺอัล-กุรอาน เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๒. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึงการห้อมล้อม การล้อมกรอบ หรือกำแพงเมือง และการที่เรียกซูเระาฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เสมือนว่าซูเราะฮฺได้ล้อมกรอบโองการต่าง ๆ ให้อยู่ในการควบคุมของตน ด้วยเหตุนี้จึงเีรียกว่า ซูเราะฮฺ  

๓. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ซิวาร หมายถึง สายสร้อย หรือกำไล และการที่เรียกซูเราะฮฺอัล-กุรอานว่า ซูเราะฮฺ เนื่องจากว่า โองการต่าง ๆ ได้ถูกร้อยเข้าด้วยกันอย่างเป็นลูกโซ่

๔. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ หมายถึง ตำแหน่ง หรือฐานันดรที่สูงส่ง และเนื่องจากว่าพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้านั้นมีฐานะภาพอันสูงส่ง จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

๕. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่า ซูเราะฮฺ มาจากคำว่า ตะเซาวุร หมายถึง การทำให้สูงขึ้น หรือการผสมผสาน เนื่องจากว่าซูเราะฮฺต่าง ๆ ได้เรียงซ้อนแลดูว่าสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ซูเราะฮฺ

ซูเราะฮฺในหความหมายของนักปราชญ์

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้ทัศนะว่า ซูเราะฮฺ คือส่วนหนึ่งของโองการอัล-กุรอานที่มีการเริ่มต้นและมีการสิ้นสุด หรือบางส่วนของโองการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง ๒ บิซมิลลาฮฺ

จำนวนซูเราะฮฺต่าง ๆ อัล-กุรอานทีทั้งสิ้น ๑๑๔ ซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺที่เล้กที่สุดคือ ซูเราะฮฺเกาซัร มีทั้งสิ้น ๓ โองการ และซูเราะฮฺทีใหญ่ที่สุดคือ ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ มีทั้งสิ้น ๒๘๖ โองการ

การเีรียงซูเราะฮฺ

การเีรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานเริ่มต้นจากซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ และสิ้นสุดที่ซูเราะฮฺ อันนาซ แน่นอนการเีรียบเรียงดังกล่าวขัดแย้งกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน ซึ่งเริ่มต้นจากซูเราะฮฺ อัล อะลัก และสิ้นสุดที่ซูเราะฮฺ อันนัซรฺ

การเรียบเรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานเป็นเตาฟีกกียฺหรือไม่ หมายถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้สั่งให้เรียบเีรียง ประเด็นดังกล่าวนักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ทัศนะดังนี้

๑. กลุ่มที่หนึ่ง กล่าวว่าการเรียบเรียงอัล-กุรอานเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยอ้างว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้กำหนดโองการต่าง ๆ ว่าให้วางไว้ตรงที่ใด นอกเหนือจากนั้นแล้วอัล-กุรอาน ได้ถูกเรียบเรียงในสมัยของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ)

๒. กุล่มที่สอง ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการฝ่ายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน กล่าวว่า การเรียบเีรียงซูเราะฮฺอัล-กุรอานในปัจจุบันมิใช่เตาฟีกียฺ แต่เป็นการวินิจฉัยซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือ เซาะฮาบะของท่านศาสดา และสิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

๓. กลุ่มที่สาม เชื่อว่าการเีรียบเรียงซูเราะฮฺส่วนใหญ่เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ซึ่งบางส่วนเท่านั้นที่บรรดามุสลิมได้เรียบเียขึ้นภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว

การตั้งชื่อซูเราะฮฺ

ซูเราะฮฺบางบทได้รับการตั้งชื่อในสมัยของท่านศาสดา (ศ้อลฯ) เช่น ซูเราะฮฺฮัม ริวายะฮฺบางบทกล่าวว่าซูเราะฮฺนี้ในสมัยของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ถูกเีรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทแห่งคัมภีร์)

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ลักษณะชื่อเช่นนี้ได้ถูกกำหนดโดยวะฮฺยู

แต่ทว่าซูเราะฮฺบางบทและโองการบางกลุ่มหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สิ้นชีพไปแล้ว ได้ถูกตั้งชื่อขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากเนื้อหาได้ครอบคลุมบางเรื่องที่เฉพาะเจาะจง จึงตั้งชื่อซูเราะฮฺด้วยนามที่มีชื่อเรียกตามนั้น ไม่ใช่เตาฟีกียฺและวะฮฺยูก็ไม่ได้กำหนดนามเหล่านั้น

ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่านามชื่อซูเราะฮฺต่าง ๆ นั้นได้ถูกเรียกตามความเหมาะสม และตามความสำคัญของเนื้อหาสาระในสมัยนั้น ประกอบกับไม่มีเหตุผลอ้างอิงแม้แต่นิดเดียวว่า การตั้งซื่อซูเราะฮฺอัล-กุรอานใหม่เป็นสิ่งต้องห้าม เช่น ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ ได้ถูกตั้งชื่อนี้เนื่องจาก เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัวของพวกบนีอิสรอเอล ได้ถูกอธิบายไว้ในบทนี้จึงเรียกซูเราะฮฺนี้ว่า บะเกาะเราะฮฺ หมายถึงวัว ขณะที่ซูเราะฮฺบทนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ฟิซฏอฏุลกุรอาน (คัยมะฮฺแห่งกุรอาน) อัล ฟิรเดาซฺ (สรวงสวรรค์) หรือซินามุลกุรอาน (ขุนเขาแห่งอัล-กุรอาน) เป็นต้น

การตั้งชื่อซูเราะฮฺฮัม เนื่องจากซูเราะฮฺดังกล่าวเป็นปฐมบทของคัมภีร์จึงเรียกว่า ฟาติฮะตุลกิตาบ (ปฐมบทของคัมภีร์)  และยังมีนามอื่นอีก เข่น ฮัมดฺ อุมมุลกิตาบ (แม่บทแห่งคัมภีร์) ฟาติฮะตุลกุรอาน อุมมุลกุรอาน อัซซับอุลมะซานียฺ อัลวาฟียะฮฺ อัลกาฟียะฮฺ และอื่น ๆ อีกหลายชือ

ซูเราะฮฺนิซาอฺ ได้ถูกเรียกว่า นิซาอฺ เนื่องจากอัล-กุรอานบทนี้ได้กล่าวอธิบายอะฮฺกามเกีียวกับผูหญิงโดบละเอียด จึงตั้งชื่อว่า ซูเราะฮฺนิซาอฺ

ส่วนต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน

ตามริวายะฮฺของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) กล่าวว่าอัล-กุรอานแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้

๑. ซับอุฏิวาล หมายถึง ๗ ซูเราะฮฺที่ยาวที่สุดประกอบด้วย ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน ซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ ซูเราะฮฺ อัลมาอิดะฮฺ ซูเราะฮฺ อัลอันอาม ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ และซูเราะฮฺ อัลอันฟาลร่วมกับซูเราะฮฺเตาบะฮฺ

๒. มิอีน หมายถึงซูเราะฮฺต่าง ๆ ที่มีประมาณ ๑๐๐ โองการประกอบด้วย ซูเราะฮฺบนีอิสรออีล ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟิ ซูเราะฮฺมัรยัม ซูเราะฮฺ ฏอฮา ซูเราะฮฺอัมบิยาอฺ ซูเราะฮฺฮัจญฺ และซูเราะฮฺมุอฺมินูน

๓. มะซานียฺ หมายถึง ซูเราะฮฺต่าง ๆ หลังจากมิอีน และมีโองการน้อยกว่า ๑๐๐ โองการ (การให้ความหมายเช่นนี้มีควาขัดแย้งกัน)

๔.มุฟัซซัล หมายถึงซูเราะฮฺทีมี ฮามีม และรวมไปถึงซูเราะฮฺเล็ก ๆ การให้ความหมายเช่นนี้มีความขัดแย้งกัน

ปรัชญาของการแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่าง ๆ นักวิชาการฝ่ายอุลูมอัลกุรอานกล่าวว่า การแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺต่าง ๆ มีประโยชน์มากมายแฝงอยู่ กล่าวคือ

- มาตรฐานความมหัศจรรย์อัล-กุรอานคือ ๑ ซูเราะฮฺ เช่น ซูเราะฮฺเกาซัร และซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ ซึ่งทั้งสองซูเราะฮฺถือว่าเป็น ๒ ความมหัศจรรย์

- ง่ายและสะดวกในการท่องจำ

- ง่ายต่อการสอนเด็ก ๆ ให้เีรียนรู้อัล-กุรอาน

- การจัดระเบียบซูเราะฮฺของอัล-กุรอานได้กลายเป็นแบบอย่างในการจัดทำหนังสืออื่น ๆ

-  การจัดแบ่งอัล-กุรอานเป็นซูเราะฮฺำทำให้ผู้ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย

ประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งชื่อซูเราะฮฺ

การตั้งชื่อซูเราะฮฺต่าง ๆ ทำให้มองเห็นองค์สำคัญดังต่อไปนี้

๑. นามต่าง ๆ ทีเป็นธรรมชาติ เช่น อันตีน (ผลมะเดื่อ) อัชชัมซิ (ดวงตะวัน)

๒. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อของกาลเวลา เช่น ลัยนฺ (กลางคืน)  อัฎฎุฮา (ตอนสาย) วัลอัซรฺ อัลญุมอะฮฺ เป็นต้น

๓. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อสัตว์ เช่น อัล-บะเกาะเราะฮฺ (วัว) อัลนะฮฺลิ (ผึ้ง) อันนัมลิ (มด)

๔. นามต่าง ๆ ที่เป็นขื่อคนและบรรดาศาสดา เช่น อันนาซ (ประชาชน) มุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) อิบรอฮีม (อ.)

๕. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อกิยามะฮฺ เช่น อัลกอริอะฮฺ (การตอก ทุบ) อัลวากิอะฮฺ อัดดุคอน อัลฮากเกาะฮฺ

๖. นามต่าง ๆ ที่เป็นชื่อสถานที่ เช่น อัรรูม อัลบะลัด

๗. นามต่าง ๆ ที่เป็นพระนามและเป็นซิฟัตของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ฟาฏิร นูร เราะฮฺมาน มุลกฺ

๘. นามต่าง ๆ ที่เป็นซิฟัตของอัล-กุรอาน เช่น ฟุรกอน ฟุซซิลัต

๙. นามต่าง ๆ ที่เป็นอุซูลุดดีน และฟุรุอุุดดีน เช่น เตาฮีด (อิคลาซ) ฮัจญฺ ซัจญฺดะฮฺ

๑๐. นามต่าง ๆ ที่เรื่องราวเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น อัตเตาบะฮฺ อัชชูรอ

๑๑. นามต่าง ๆ ที่เป็นอักษรย่อ เช่น ซ็อด นูน ก๊อฟ และอื่น ๆ

๔. ข้อมูลเกี่ยวกับอัล-กุรอาน

โองการแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ๕ โองการแรกจากซูเราะฮฺ อัลอะลัก

โองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือโองการที่ ๒๘๑ ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ

وَاتَّقُواْ يَوْمًا تُرْجَعُونَ فِيهِ إِلَى اللّهِ ثُمَّ تُوَفَّى كُلُّ نَفْسٍ مَّا كَسَبَتْ وَهُمْ لاَ يُظْلَمُونَ

และพวกเจ้าจงยำเกรงวันหนึ่ง ซึ่งพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮฺในวันนั้น แต่ละชีวิตจะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนตามที่ชีวิตนั้นได้แสวงหาไว้ และพวกเขาจะไดไม่ถูกอธรรม

เมื่อโองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ให้นำไปบันทึกในซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ หลังจากนั้นสองสามวันท่านก็ได้อำลาจากโลกไป

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) คือ ซูเราะฮฺ อัลอะลัก

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺสมบูรณ์ที่ถูกประทานให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นซูเราะฮฺสุดท้ายคือ ซูเราะฮฺ อัลนัซรฺ

วันที่อัล-กุรอานเริ่มประทานลงมาเป็นครั้งแรกแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ ลัยละตุลก็อดรฺ (ค่ำคืนแห่งอานุภาพ) ซึ่งอาจเป็นค่ำที่ ๒๓ ของเดือนเราะมะฎอน

นักวิชาการบางท่านมีความเชื่อเรื่อง การประทานอัล-กุรอานทั้งดัฟอียฺ (ลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด) และตัดรีญียฺ (ทยอยลงมาตลอด ๒๓ ปี)

จำนวนอักษรที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน ๓๒๑๒๕๐ ตัว

จำนวนคำที่ถูกใช้ในอัล-กุรอาน ๗๗๔๓๗ คำ

จำนวนโองการที่มีในอัล-กุรอาน ๖๒๓๖ โองการ

จำนวนซูเราะฮฺที่มีในอัล กุรอาน ๑๑๔ ซูเราะฮฺ

จำนวนฮิซบฺต่าง ๆ ที่มีในอัล กุรอาน ๑๒๐ (ทุก ๆ ๔ ฮิซบเท่ากับ ๑ ญซ)

จำนวนญุซทีีมีในอัล กุรอาน ๓๐ ญุุซ

คำที่อยู่ตรงกลางอัล-กุรอานคือ ( وليتلطف )  ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟิ โองกาีรที่ ๑๙


[๑]อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล วากิอะฮฺ ๗๗

[๒]อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-นะฮฺลิ ๙๘