๑๑. ช่วงเวลาอ่านอัล-กุรอาน

การกล่าวพรรณนาถึงพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากการสนทนากับผู้ที่เป็นที่รักไม่มีเวลาเฉพาะสามารถสนทนาได้ตลอดเวลา คนรักย่อมคอยโอกาสอย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อไหร่คนรักของตนจะมีเวลาว่าง เพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดและพุููดคุยด้วยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า จงอ่านอัล-กุรอานไม่ว่าเจ้าจะอยู่ในสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดก็ตาม (วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๔ บาบ ๔๗ ฮะดีซที่ ๑)

อัล-กุรอานบางโองการและริวายะฮฺของอฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานบางช่วงเวลาก็เหมาะสมและบางช่วงก็ไม่เหมาะสม ซึ่งจะอธิบายทั้งสองกรณีดังนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

- ช่วงเดือนเราะมะฎอน อันจำเริญซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาาลของอัล-กุรอาน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอาน ๑ โองการในเดือนเราะมะฎอนเสมือนได้อ่านอัล-กุรอานจบ ๑ ครั้งในเดือนอื่น (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๑๗-๖๑๘)

- เช้าตรู่ของทุกวันที่บรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายต่างนอนหลับไหล แต่บุคคลที่มีความรักในพระผู้เป็นเจ้าได้ตื่นขึ้นเหมือนแสงเทียนที่กำลังลุกโชติช่วง รินหลั่งน้ำตาและระลึกถึงคนรักของตนอย่างใจจดใจจ่อ ริวายะฮฺบางบทจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)ได้กล่าวสนับสนุนการอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนเข้านอนได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก (เล่มเดิม)

- การอ่านอัล-กุรอานขณะนมาซที่นอกเหนือไปจากซูเราะฮฺวาญิบที่ต้องอ่าน ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า บุคคลใดอ่านโองการต่าง ๆ จากอัล-กุรอานขณะยืนปฏิบัตินมาซ อัลลอฮฺจะบันทึกแต่ละคำเท่ากับ ๑๐๐ ความดี (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๑๑ – ๖๑๒)

- บางโองการได้กล่าวย้ำเน้นว่าให้อ่านอัล-กุรอานทุกเช้าและขณะดวงอาทิตย์ตกดิน โดยกล่าวว่า และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรงและโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลเรอ (อะอฺรอฟ ๒๐๕) ซึ่งอัล-กุรอานเป็นตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า

หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงกลางคืนให้เป็นกลางวัน ช่วงเวลหนึ่งได้เข้ามาแทนที่อีกเวลหนึ่ง เป็นการเตือนสำทับให้มนุษย์ได้คิดถึงตัวเองและอายุขัยของตนที่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนเวลากลางวันและกลางคืน

ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมสำหรับอ่านอัล-กุรอาน

- บางริวายะฮฺกล่าวว่า ช่วงเวลาที่เปลือยเปล่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะอยู่ในห้องน้ำ) หรือช่วงเวลาที่ทำการชำระล้าง และช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ (วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๑ บาบที่ ๗ อะฮฺกามการขับถ่าย)

- บางริวายะฮฺกล่าวว่า อ่านอัล-กุรอานทุกช่วงแม้แต่ช่วงเวลาที่อยู่ในห้องน้ำถือว่าดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ไม่เป็นไรหากเจ้าจะทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านกำลังปัสสาวะอยู่ก็ตาม เนื่องจากว่าการรำลึกถึงอัลลอฮฺดีตลอดเสมอ ฉะนั้นจงอย่างเผอเรอการรำลึกถึงพระองค์ (เล่มเดิม)

ข้อสังเกต จะเห็นว่าริวายะฮฺทั้งสองขัดแย้งกัน แต่สามารถรวมริวายะฮฺทั้งเข้าด้วยกันบนความหมายที่ว่า ทุกครั้งที่อ่่านอัล-กุรอานถ้าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานถือว่าไม่อนุญาต แต่ถ้าไม่ถือว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานและเป็นการรำลึกถึงพระองค์ ถือว่าอนุญาต

ข้อควรจำ การอ่านอัล-กุรอานที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบสำหรับสตรีที่มีรอบเดือน หรืออยู่ในช่วงของนิฟาซ (มีโลหิตหลังการคลอดบุตร) หรือบุคคลที่มีอยู่ญูนุบ เป็นฮะรอม (ไม่อนุญาต) แต่ถ้าเป็นบทที่ไม่มีซัจดะฮฺวาญิบอนุญาตให้อ่านได้ไม่เกิน ๗ โองการ

๑๒. จำนวนการอ่านอัล-กุรอาน

ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเท่าใดก็ตามสำหรับการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ถือว่าน้อยทั้งสิ้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัล-กุรอานตามแต่สะดวกเถิด (มุซัมมิล ๒๐)

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กำหนดว่า อย่างน้อยที่สุดควรอ่านอัล-กุรอานคืนละ ๑๐ โองการ

ท่านอิมามบากิร (อ.) รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานทุกคืน ๆ ละ ๑๐ โองการเขาจะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในหมู่หลงลืม (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๑ หน้าที่ ๖๑๒ ฮะดีซที่ ๕)

แต่ริวายะฮฺส่วนมากได้ระบุว่าควรอ่านอัล-กุรอานอย่างน้อยวันละ ๕๐ โองการ

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อัล-กุรอานคือพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเป็นการดีที่มนุษย์ควรใส่ใจต่อสัญญาของตนที่ได้ตกลงไว้ และควรอ่านข้อสัญญาอย่างน้อยวันละ ๕๐ โองการ (เล่มเดิม หน้าที่ ๖๐๙)

ริวายะฮฺจำนวนมากได้กล่าวแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานให้จบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนเราะมะฎอน แต่ห้ามที่จะให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้แนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความปราณีตตั้งใจและอ่านอย่างมีท่วงทำนอง (เล่มเดิม หน้าที่ ๖๑๗ ฮะดีซที่ ๒)

ตำเตือน สำหรับสตรีที่มีรอบเดือน นิฟาซ และบุคคลที่มีญินาบัตเป็นมักรูฮฺ ถ้าจะอ่านอัล-กุรอานที่นอกเหนือจากบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเกิน ๗ โองการ แต่ถ้าเป็นบทที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบเป็นฮะรอม

๑๓. การฟังและนิ่งเงียบ

มารยาทของผู้ฟังขณะอัญเชิญอัล-กุรอานคือการนิ่งเงียบ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า และเมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟังอัล-กุรอานและจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดู (อะอฺรอฟ ๒๐๔)

จากโองการข้างต้นสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

๑. หน้าที่ประการแรกของผู้ฟังอัล-กุรอานคือนิ่งเงียบ

๒. หน้าที่ประการที่สองของผู้ฟังอัล-กุรอานคือการฟังดัวยความตั้งใจในความหมายของโองการ ซึ่งแตกต่างไปจากการฟังโดยทั่วไปที่เพียงแค่ได้ยินผ่านหูไปมาเท่านั้น และการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสถึงการฟังก่อนการนิ่งเงียบตามโองการข้างต้น อาจเป็นเพราะการให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น เพราะโดยธรรมชาติแล้วการนิ่งเงียบต้องมาก่อนการฟัง

๓. บุคคลใดก็ตามฟังอัล-กุรอานด้วยความตั้งใจทั้งจิตวิญญาณ พร้อมทั้งนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการเตรียมจิตด้านในเพื่อรอรับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า บางโองการได้กล่าวย้ำเน้นถึงการตั้งใจฟังโองการต่าง ๆ สำหรับผู้ศรัทธาว่าเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาและเป็นการมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้นคือ ผู้ที่เมื่อกล่าวถึงอัลลอฮฺหัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา ความศรัทธาของพวกเขาก็จะเพิ่มพูน และแด่พระเจ้าของพวกเขาเท่านั้นที่พวกเขามอบไว้วางใจ (อันฟาล ๒)

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดฟังการอ่านอัล-กุรอาน โดยที่เขาไม่ได้อ่าน อัลลอฮฺจะลบล้างหนึ่งในบาปพร้อมทั้งบันทึกความดีให้แก่เขา และยกฐานันดรของเขาให้สูงส่ง (อุซูลการฟียฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๑๒ ฮะดีซที่ ๖)

ข้อควรจำ

๑. การนิ่งเงียบและฟังขณะได้ยินเสียงอ่านอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ

๒. ถ้าไม่ฟังและส่ออาการของการไม่ใส่ใจต่ออัล-กุรอาน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม แต่สำหรับงานมัจลิซ (ชุมนุมเกี่ยวกับศาสนา) หรืองานอ่านฟาติฮะฮฺให้กับผู้ตาย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการพูดคุยกับบ้างแต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดูถูกอัล-กุรอานไม่เป็นไร (อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า ๑๔๗ ข้อที่ ๑๒)

๓. การกล่าวคำพูดบางอย่างระหว่างที่อ่านอัล-กุรอานในมัจลิซ หรือที่มีการประกวดแข่งขันอ่านอัล-กุรอาน เช่นคำว่า อะฮฺซันตะ หรือ ฏอยยิบัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร แต่คำพูดเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับมารยาทาของการฟังอัล-กุรอานด้วย

๑๔. ระวังเรื่องการให้เกียรติอัล-กุรอาน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการดูถูกอัล-กุรอานเป็นฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมุสลิมนอกจากจะไม่มีสิทธิ์ดูถูกอัล-กุรอานแล้ว ต่อหน้าอัล-กุรอานยังต้องเอาใจใส่เรื่องมารยาทอย่างเป็นพิเศษชนิดที่กล่าวได้ว่าท่านกำลังยืนอยู่ต่อหน้าอาจารย์ แน่นอนการให้เกียรติต่ออัล-กุรอ่านในแต่ละพื้นที่มีประเพณีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นที่เหมือนกันดังนี้

๑.เก็บรักษาอัล-กุรอานในสถานที่ ๆ มีความเหมาะสมมองเห็นได้ชัดเจน ปลอดภัย และมีความสะอาด

๒. นั่งอย่างมีมารยาทเมื่ออยู่ต่อหน้าอัล-กุรอาน

๓. ควรมีที่วางอัล-กุรอาน เช่น หมอนหรือระฮาเป็นต้น

๔.ควรนั่งหันหน้าตรงกับกิบละฮฺขณะอ่านอัล-กุรอาน และควรอ่านด้วยความตั้งใจ

๕. ไม่ควรละเว้นการอ่านอัล-กุรอานในบ้าน เพราะวันกิยามะฮฺสิ่งหนึ่งที่จะฟ้องต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คืออัล-กุรอานที่ไม่ได้ถูกอ่านปล่อยทิ้งไว้จนฝุ่นละอองเกาะ (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๑ หน้าที่ ๖๑๓ ฮะดีซที่ ๓)

๖. ไม่ควรอ่านอัล-กุรอานในช่วงเวลาและสถานที่ ๆ ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการดูถูก

๗. ไม่ควรวางสิ่งของบนอัล-กุรอาน

๘. ถ้าหากอัล-กุรอานตกลงบนพื้นควรเก็บขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยความเคารพ

๙.ไม่ควรวางอล-กุรอานลงบนสิ่งที่เป็นนะยิซ เช่น รอยเลือด หรือเลือด เป็นฮะรอม และเป็นวาญิบให้หยิบขึ้นโดยเร็ว

๑๐. กรณีที่ปก หรือกระดาษ หรือลายเส้นของอัล-กุรอานเื้ปื้้อนนะยิซ ต้องรีบล้างโดยเร็ว

ท่านเฟฎ กาชานียฺ นักตัฟซีรอัล-กุรอานผู้ทรงคุณวุฒิได้เขียนว่า นักอ่านอัล-กุรอานทั้งหลายควรรักษามารยาทหน้าตาของตนให้เหมาะสม และเวลาอ่านเป็นการดีให้หันหน้าตรงกับกิบละฮฺ และก้มศีรษะขณะอ่าน

ขณะอ่านอัล-กุรอานให้นั่งขัดสมาธิ และไม่สมควรนั่งพิงกับสิ่งใด เมื่อมองดูแล้วต้องมิใช่การนั่งที่มีใบหน้าบ่งบอกถึงความเหย่อหยิ่งจองหอง

ถ้านั่งคนเดียวไม่สมควรนั่งเสมอกับครู หรือมองดูแล้วเท่าเทียมกับครู (อัล มะฮัจตุลบัยฎออฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๒๑๙)

แม้ว่าการระวังรักษาและการให้เกียรติอัล-กุรอาน จะเป็นเรื่องที่สติปัญญารับได้ทุกคนก็ตาม กระนั้นริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ยังได้สำทับให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้อีก มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺ (ซบ.) จะตรัสถึงอัล-กุรอานว่า ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศ ความสูงส่ง และอำนาจของฉันว่า วันนี้ฉันจะให้เกียรติแก่บุคคลที่เคยให้เกียรติเจ้า และฉันจะทำให้ต่ำต้อยบุคคลที่เคยทำให้เจ้าต่ำต้อย (วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๔ หน้า ๘๒๗)

๑๕.ซัจะฮฺขณะอ่านบทที่มีโองการซัจดะฮฺ

มีอัล-กุรอานอยู่ ๑๕ โองการขณะที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านต้องซัจดะฮฺ ๑ ครั้งได้แก่

ก. อัล-กุรอาน ๔ โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ ซึ่งเรียกว่า ซูเราะฮฺซัจดะฮฺ หรือ ซูเราะฮฺอะซาอิม ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัซ ซัจดะฮฺ โองการที่ ๑๕

- ซูเราะฮฺอัล-ฟุซซิลัต โองการที่ ๒๗

- ซูเราะฮฺอัน นัจมุ โองการที่สุดท้าย

- และซูเราะฮฺอัล อะลัก โองการสุดท้าย

ข. อัล-กุรอาน ๑๑ โองการต่อไปนี้เมื่ออ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่าน เป็นมุุซตะฮับให้ซัจดะฮฺ ประกอบด้วย

- ซูเราะฮฺอัล อะอฺรอฟ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺอัร เราะอฺดุ โองการที่ ๑๕

- ซูเราะฮฺอัล นะฮฺลิ โองการที่ ๕๐

- ซูเราะฮฺอัล อัซรอ โองการที่ ๑๐๙

- ซูเราะฮฺมัรยัม โองการที่ ๕๘

- ซูเราะฮฺอัล ฮัจญฺ โองการที่ ๑๘ และ ๗๗

- ซูเราะฮฺอัล ฟุรกอน โองการที่ ๖๐

- ซูเราะฮฺอัล นัมลิ โองการที่ ๒๖

- ซูเราะฮฺอัซ ซ็อด โองกาีรที่ ๒๔

- ซูเราะฮฺอัน อินชิกอก โองการที่ ๒๑

อะฮฺกามเฉพาะสำหรับโองการซัจดะฮฺ

๑.บุคคลที่อ่านหรือได้ยินคนอื่นอ่านโองการซัจดะฮฺวาญิบโองการใดโองการหนึ่ง หลังจากจบแล้วต้องลงซัจดะฮฺทันที แต่ถ้าลืมเมื่อนึกขึ้นได้ให้ซัจดะฮฺ

๒.การซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่จำเป็นต้องหันหน้าตรงกิบละฮฺ หรือต้องมีวุฎูอฺ และเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องสะอาด และอนุญาตให้ซัจดะฮฺลงบนทุกสิ่งได้ยกเว้น สิ่งของที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่ม

๓.กรณีที่ไ้ด้ยินโองการซัจดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเทป ซึ่งไม่ได้เป็นการได้ยินโดยตรงจากผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซัจดะฮฺ

แต่ถ้าได้ยินจากเครื่องขยายเสียงที่เป็นเสียงของคนอ่านโดยตรง เป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ

หมายเหตุ เกี่ยวกับเรื่องนี้บรรดามัรญิอฺในยุคปัจจุบันวินิจฉัยตรงกัน เช่น

ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ริซาละฮฺเตาฎีฮุลมะซาอิล ข้อที่ ๑๐๙๖

ท่านอายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้าที่ ๑๐๕

ท่านอายะตุลลอฮฺ ฟาฎิล ลันกะรอนียฺ ทั้งสองกรณีเป็นวาญิบต้องซัจดะฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ขอที่ ๑๑๑๗ , อิซติฟตาอานกุรอาน หน้าที่ ๓๐

๔.กล่าวว่า การกล่าวซิกรฺในซัจดะฮฺวาญิบกุรอาน ไม่เป็นวาญิบ เพียงแค่เอาหน้าผากไปจรดพื้นถือว่าเพียงพอ แต่ดีกว่าให้กล่าวซิกรฺต่อไปนี้ รายงานโดยท่านอิมามอะลี (อ.)

لاَ اِلهَ اِلاَّ اللّه حَقًّا حَقًّاَ لاَ اِلهَ اِلاَّ اللّهَ اِيْمَانًا وَ تَصْدِيْقًا لاَ اِلهَ اِلاَّ اللّه عبدوية ورقًا سَجَدْتُ لكَ يَارَبَّ تَعبدًا ورقًا لا مستكبرًا و لا مستنكفًا بَل أنَا عبد ذَليل خَائفٌ مستَجِيرَ

หมายถึง แน่นอนไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอศรัทธา และขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันขอแสดงควมเคารพภักดีและขอมอบตนเป็นข้าทาส โอ้พระผู้อภิบาล ฉันได้กราบ (ซัจดะฮฺ) ต่อพระองค์โดยการยอมจำนนเป็นข้าทาส ไม่ขอแสดงตนเป็นผู้ทรนงหรือผู้ดื้อดึง หากแต่ว่าฉันคือบ่าวที่ต่ำต้อย มีความเกรงกลัวจึงขอความคุ้มครองพระองค์ (อุรวะตุลวุซกอ เล่ม ๑ ฟัซลฺ ฟี ซาอิริ อักซามิลซุญูด)

๑๖. อ่่านด้วยความใจเย็น

ความใจเย็นในการปฏิบัติทุกภารกิจการงาน ถือว่าเป็นสาเหตุนำไปสู่ความสำเร็จ และความถูกต้อง ส่วนการีบเร่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหายและความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้จากการอ่านอัล-กุรอาน

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเตือนนักอ่่านอัล-กุรอานทั้งหลายว่า จงหลีกเลี่ยงการรีบร้อนการอ่านอัล-กุรอาน ทว่าจงอ่านด้วยท่วงทำนองที่มีความไพเราะ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงเรื่องสวรรค์ ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอรางวัลสรวงสวรรค์จากพระองค์ และเมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงนรก ให้หยุดเล็กน้อยเพื่อขอความคุ้มครองและพึ่งพาพระองค์ (อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๖๑๗ , ๖๑๘ ฮะดีซที่ ๒ , ๕)

แน่นอนเมื่อผู้อ่านอัล-กุรอาน อ่่านอย่างใจเย็นยอ่มทำให้มีเวลาตรึกตรองในความหมายเหล่านั้นมากขึ้น ส่วนการอ่านอย่างรีบเร่งเขาจะไม่ได้รับการชี้นำใด ๆ จากอัล-กุรอานนอกจากผลบุญ และการออกเสียงถูกต้องตามหลักการอ่าน

๑๗.อ่านอัล-กุรอานอย่างคนมีความรัก

บรรดาผู้ศรัทธาเมื่ออ่านอัล-กุรอานจะเห็นว่าอัล-กุรอานเกิดผลสะท้อนกับในทางบวก เขาจะอยู่ในสภาพของคนอยากรู้อยากเห็นอย่างใจจดใจจ่อ มีความหวาดกลัวซึ่งในบางจะเห็นว่ามีน้ำ้ตาไหลพรากอาบแก้มทั้งสอง ซึ่งการร้องไห้บางเกิดจากความตื่นตันใจ และบางครั้งก็เกิดจากความรัก จะเห็นว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากได้เน้นให้อ่านอัล-กุรอานด้วยความรัก เช่น

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ไม่มีดวงตาคู่ใดที่ร้องไห้ขณะอ่านอัล-กุรอาน นอกเสียจากว่าเขาจะมีความสุขในวันกิยามะฮฺ (มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๘๙)

อัล-กุรอานกะรีมได้อธิบายมนุษย์ไว้ ๒ ลักษณะ ซึ่งหนึ่งในนั้นเมื่อได้ยินอัล-กุรอานพวกเขาจะร้องไห้ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذَا تُتْلَى عَلَيْهِمْ آيَاتُ الرَّحْمَن خَرُّوا سُجَّدًا وَبُكِيًّا

เมื่อบรรดาโองการของพระผู้ทรงกรุณาปรานีถูกอ่านแก่พวกเขา พวกเขาจะก้มลงสุญูดและร้องให้ (มัรยัม / ๕๘)

ประเด็นที่น่าสนใจ มีริวายะฮฺจำนวนมากแนะนำว่าให้อ่านอัล-กุรอานด้วยสำเนียงที่ไพเราะ บางริวายะฮฺกล่าวว่าให้ร้องไ้ห้อ่านอัล-กุรอาน หมายถึงอ่านพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความรักและอ่านอย่างมีศิลปะในการอ่าน

๑๘. การอ่านห้จบ

ขั้นตอนการอ่านให้จบ ริวายะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าควรจบการอ่านอัล-กุรอานทุกครั้งด้วยประโยคที่ว่า เซาะดะกอลลอฮุล อะลียุล อะซีม หมายถึงสัจจะยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและยิ่งใหญ๋ (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๙๕ หน้าที่ ๔๐๐ , เล่มที่ ๕๗ หน้าที่ ๒๔๓)

ดุอาอฺหลังจากการอ่าน ผู้ที่อ่านอัล-กุรอานทุกท่านถือว่าอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของอุ่นไอแห่งพระดำรัส ฉะนั้น หลังจากอ่่านอัล-กุรอานแล้วสมควรอย่างยิ่งที่ต้องดุอาอฺเป็นการส่งท้ายเพื่อการตอบรับในสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติลงไป

ดุอาอฺที่อ่านหลังการอ่่านอัล-กุรอานไม่ว่าจะเอ่ยด้วยภาษาใดก็ตามถือว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น แต่ริวายะฮฺบางบทได้สนับสนุนให้กล่าวอุอาอฺดังต่อไปนี้ (อ้างแล้ว เล่มที่ ๘๙ หน้าที่ ๒๐๗)

اَللَّهُمَّ ارْحَمْنِى بِالْقُرآنِ ، وَاجْعَلْهُ لِى اِمَامًا وَ نُوْرًا وَ هُدىً وَ رَحْمَةً، اَللَّهُمَّ ذَكَّرْنِى مِنْهُ مَا نَسِيْتُ، وَ عَلِّمْنِى مِنْهُ مَا جَهِلْتُ ، وَ ارْزُقْنِى تِلاَوَتَهُ آنَاءَ اللَّيْلِ وَ النَّهَارِ ، وَ اجْعَلْهُ حُجَّةً لِى يَارَبَّ الْعَلَمِيْنَ

“โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเมตตาต่อข้าฯด้วยสื่อจากคัมภีร์อัล-กุรอาน และโปรดบันดาลใด้คัมภีร์เป็นผู้ชี้นำ เป็นแสงสว่าง เป็นทางนำ และเป็นความเมตตา โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดทำให้ข้าฯรำลึกถึงสิ่งที่ข้าฯได้หลงลืม โปรดสอนข้าฯในสิ่งที่ข้าฯไม่รู้ โปรดให้ข้าฯสัมฤทธิ์ผลการอ่านอัล-กุรอานทั้งในยามค่ำคืนและยามกลางวัน และโปรดบันดาลให้อัล-กุรอานเป็นข้อพิสูจน์สำหรับข้าฯ โอ็พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก (มะฮัจญฺตุลบัยฎออฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๒๗)

๑๙. การอ่านอัล-กุรอานให้จบ

การอ่านอัล-กุรอานคือการสนทนากับพระผู้เป็นเจ้ายิ่งอ่านมากเท่าใดยิ่งเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะอยู่ในสถาการณ์แบบใดหรืออยู่ในช่วงไหนให้อ่านอัล-กุรอานเป็นการดีที่สุด

ส่วนริวะยะฮฺบางบทกล่าวเน้นไว้อย่างมากว่าให้อ่านอัล-กุรอานให้จบ หมายถึงให้เริ่มอ่านตั้งแต่แรกจนกระทั่งจบเล่ม

๑. คุณค่าและความประเสริฐของการอ่านอัล-กุรอานให้จบเล่ม ได้มีผู้ถามท่านอิมามซัจญาด (อ.) ว่าการงานใดที่มีคุณค่ามากที่สุด

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุด มีผู้ถามว่า อะไรคือผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุด

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า คือผู้ที่ได้เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและได้อ่านจนกระทั่งจบทุกครั้งที่เขาได้เปิดอ่าน ตั้งแต่ช่วงแรกจนถึงช่วงสุดท้ายของอัล-กุรอาน (บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๔)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่่า ผู้เริ่มต้นผู้ทำให้สิ้นสุดคือ ผู้เริ่มต้นอ่านอัล-กุรอานและอ่านจนกระทั่งจบดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ ณ อัลลอฮฺ ( อ้างแล้ว เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๕)

๒. คุณค่าการอ่านอัล-กุรอานจบในมักกะฮฺ หนึ่งในอมัลที่ได้รับการสนับสนุนไว้อย่างมากคือการอ่านอัล-กุรอานให้ครบหนึ่งจบที่มักกะฮฺ ดังเช่นที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดอ่านอัล-กุรอานจบ ณ นครมักกะฮฺ เขาจะไม่ตายจนกว่าเขาจะได้เห็นท่านศาสดามุฮัมมัด และได้เห็นตำแหน่งของเขา ณ สรวงสวรรค์ (อ้างแล้วเล่มเดิม)

๓. ดุอาอฺเมื่อจบอัล-กุรอาน ดุอาอฺทุกบทที่อ่านหลังจากจบอัล-กุรอานล้วนแล้วแต่ดีทั้งสิ้น แต่เป็นสิ่งที่ดีกว่าที่เราจะเรียรู้วิธีการดุอาอฺของบรรดาผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุอาอฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งท่านจะอ่านทุกครั้งเมื่ออ่านอัล-กุรอานจบ

اَللَّهُمَّ اشْرَحْ بِالقُرْآنِ صَدْرِى ، وَ اسْتَعْمِلْ بِالقُرْآنِ بَدَنِى، وَ نَوِّرْبِالْقُرْآنِ بَصَرِى، وَ اَطْلِقْ بِالْقُرْآنِ لِسَانِى، وَاَعِنِّى عَلَيْهِ مَا اَبْقَيْتَنِى، فَاِنَّهُ لاَ حَوْلَ وَ لاَ قُوَّةَ اِلاَّ بِكَ

โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเปิดหัวอกของข้าฯด้วยสื่อของอัล-กุรอาน โปรดทำให้ร่างกายของข้าฯได้ปฏิบัติตามอัล-กุรอาน โปรดบันดาลให้สายตาของข้าฯสว่างไสวด้วยอัล-กุรอาน โปรดบันดาลให้ลิ้นของข้าฯรำพันแต่อัล-กุรอาน โปรดช่วยเหลือข้าฯบนหนทางนี้ตราบที่ข้าฯยังมีชีวิตอยู่ เพราะไม่มีพลังและการเคลื่อนไหวใดนอกจากโดยสื่อจากพระองค์ (อ้างแล้ว เล่ม ๘๙ หน้า ๒๐๙)