อินญีลในช่วงประทานอัล-กุรอาน

จุดประสงค์คำว่าอินญีลในช่วงประทานอัล-กุรอาน

ก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงเรื่องคัมภีร์อินญีลหรือไบเบิลไปบ้างแล้ว ณ จุดนี้จะกล่าวถึงจุดประสงค์ของอินญีลในช่วงของการประทานอัล-กุรอานว่า หมายถึงอะไร

จากคำอธิบายที่ผ่านมาทำให้เข้าใจได้ทันที่ว่าจุดประสงค์ของอัล-กุรอาน หมายถึง ข้อเขียนที่คริสเตียนได้บันทึกและรวบรวมเอาไว้ในขณะนั้น อัล-กุรอาน ได้สำทับพวกเขาว่าจงปฏิบัติตามและยึดมั่นต่อสิ่งที่บันทึกอยู่ ณ พวกเจ้า ดังนั้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าช่วงสมัยที่อิสลามปรากฏบนคราบสมุทรอาหรับนั้น อินญีล ตามความเข้าใจของคริสเตียนในสมัยนั้นหมายถึงอะไร

สิ่งที่กล่าวผ่านมาสรุปได้ดังนี้ว่า คริสเตียนยอมรับว่าคัมภีร์อินญิลทั้งหมดที 27 ฉบับ นับตั้งแต่ศตวรรษแรกเป็นต้นมา ในขณะที่ปัจจุบันมีคัมภีร์ฉบับอื่นที่ถูกใช้ควบคู่กับอินญีลอีกนามว่า อโปคาลิปติก (Apocalyptic) ซึ่งถูกใช้อยู่ในหมู่ของคริสเตียนปัจจุบัน แต่จุดประสงค์ที่ต้องการกล่าวคือ เมื่อัล-กุรอานกล่าวถึง อินญิล จุดประสงค์ของอัล-กุรอานหมายถึงอินญิลเล่มใด

อีกนัยหนึ่งเมื่ออัล-กุรอาน กล่าวถึง อะฮฺลิอินญีล ต้องถือตามความหมายเป็นจริงที่ประทานลงมา และตัดสินไปตามนั้น ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า

บรรดาผู้ที่ได้รับอัล-อินญีล จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺ ประทานลงมาแล้วพวกเขาคือผู้ที่ละเมิด (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 47)

ท่านศาสดาซึ่งอยู่กับพวกเขาได้ถูกบันทึกอยู่ในเตารอตและอินญีล

พวกเขาพบนบีถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีลโดยที่เขาจะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามมิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบ และจะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และสิ่งที่เลวทั้งหลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขา และจะปลดเปลื้องภาระหนักและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขาออก ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขาและให้ความสำคัญแก่เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขาพวกเขา คือ ผู้ที่สำเร็จ  (อัล-กุรอาน บทอัล-อะอฺรอฟ โองการที่ 157) 

เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้องบันทึกไปตามความจริงที่ประทานลงมาในสมัยนั้น ไม่สามารถตั้งสมมุติตามความพอใจว่านั่นคือ คัมภีร์ แต่ถ้าต้องการกล่าวเป็นสมมุตฐานสามารถกล่าวถึงสมมุติฐานได้หลายลักษณะคือ

สมมุติฐานแรก ถ้าเป็นพันธสัญญาใหม่ (New Testament)

ประมาณ คริสศักราชที่ 2 หลังจากการบันทึกของบรรดาสาวก และเซนต์ปอลของคริสเตียน ได้ถูกรู้จักในนามของ พันธะสัญญาใหม่ (New Testament) ซึ่งบรรดานักเขียนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น กอสเปล (Gospel) หรือที่เรียกว่า พระวรสาร แอคท์ (Act) หรือที่เรียกว่า พระบัญญัติ อีปีสโตลารี่ (Epistolary) เป็นหมวดว่าด้วยจดหมายเหตุบันทึกเหตุการณ์และกิจการของเซนต์ปอลและของสาวกคนอื่น และอโปคาลิปติก (Apocalyptic) หรือเรียกอีกอย่างว่า หมวดเทพเจ้านิมิต ทั้งหมดต่างมีความเชื่อว่า พวกเขากำลังถ่ายทอดอินญีลของเยซูไปสู่ประชาชน ปอล ในฐานะที่เป็นคนจดบันทึกถ้อยคำของเยซูเป็นคนแรก เขาเชื่อว่าตัวเองกำลังแบกถือคัมภีร์อินญีลของเยซูและอินญีลของพระเจ้าอยู่ในเวลาเดียวกัน และชาวคริสยังมีความเชื่ออีกว่า การที่เฉพาะเจาะจงบางส่วนของคัมภีร์โดยให้ชื่อว่า อินญีล แน่นอน เป็นการตั้งชื่อในปลายศตวรรษที่สองซึ่งเกือบจะหมดเวลาลงแล้ว แม้ว่าชาวคริสต์ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อว่าคัมภีร์ดังกล่าวเป็นการดลใจของดวงวิญญาณบริสุทธิ์ที่มีต่อบรรดานักเขียนก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงพวกเขาถือคัมภีร์อินญีลเพียงเล่มเดียว ชาวคริสต์กล่าวว่า โบสถ์ในยุคแรกกล่าวเตือนเสมอว่าเรามีคัมภีร์อินญีลเพียงเล่มเดียว ขณะเดียวกันพันธสัญญาใหม่ (New Testament) ก็ไม่เคยใช้คำว่า อินญีล ในรูปพหูพจน์ (อะนาญีล) เลยแม้แต่ครั้งเดียว ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าพันธสัญาฉบับใหม่จะกล่าวถึงเฉพาะ อินญีลเท่านั้น (N.E.C., 6/367)

นักเขียนชาวคริสคนหนึ่งกล่าวว่า นับตั้งแต่อดีตคัมภีร์ทั้งสี่ได้อธิบายถึงชีวประวัติของศาสดาอีซา ได้ถูกเรียกว่า อะนาญีล เป็นต้นมา มิเช่นนั้นแล้ว อีซามะซีฮฺ ท่านก็เป็นบุคคลหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่อินญีลของท่านต้องเป็นฉบับเดียวกัน ขณะที่ยังมีอินญ๊ลฉบับอื่นอีกเช่น มัธทาย โลเกีย (Logia) แต่เรากล่าวว่าจุดประสงค์จากทั้งสองคือ อินญิลเล่มเดียวกัน ซึ่งได้ถูกแยกบันทึกเป็น มัทธาย มาระโก โลเกีย และโยฮัน ดังที่ดวงวิญญาณบริสุทธิ์ได้ดลใจบรรดาสาวกผู้บันทึกคัมภีร์ในการบันทึกคัมภีร์ ดวงวิญญาณนั้นได้ชี้นำบรรดาบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเขียนคัมภีร์ใหม่เช่นกัน

บางทีอาจเป็นไปได้ว่าการทีเรียกคัมภีร์ทั้งสี่ว่า อินญีล นั้นเป็นเพราะว่าคัมภีร์ดังกล่าวบันทึกถ้อยคำของพระเยซูไว้มากกว่ากอสเปล (Gospel) แอคท์ (Act) อีปีสโตลารี่ (Epistolary) และอโปคาลิปติก (Apocalyptic) และนอกจากคัมภีร์ที่เอ่ยนามมาแล้ว ยังมีคัมภีร์เล่มอื่นที่บันถึกถ้อยคำของอีซาเอาไว้ไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเรียกคัมภีร์เหล่านั้นว่า อินญีล ได้เช่นกัน ดังเช่น เซ็นต์ปอลได้กล่าวแนะนำหลายต่อหลายครั้งว่า สิ่งที่ตนบันทึกไว้คือ อินญีล เช่นกัน

สิ่งที่กล่าวมาจะเห็นว่าบรรดาคริสเตียนเน้นถึงความเป็นเดียวของอินญีล ประกอบกับการพิจาณาที่คำว่า อินญีล และการนำเอาคำนี้ไปใช้ประโยชน์ในพันธสัญญาฉบับใหม่ในรูปของคำ เอกพจน์ ดังนั้น จึงไม่ควรมีคำถามว่าทำไมอัล-กุรอาน จึงกล่าวถึงเฉพาะ อินญีล เท่านั้น ทำไม่ไม่กล่าวว่า อะนาญีล หรือกล่าวถึงอิลญีลเล่มใดเล่มหนึ่งจากทั้งสี่เล่ม ซึ่งเป็นเช่นนั้นอัล-กุรอาน ต้องกล่าวระบุถึงอินญีลเล่มใดหนึ่งเป็นการเฉพาะจากญินญีลทั้งสี่เล่ม หรือกล่าวถึง อินญีลอโปคาลิปติก (Apocalyptic) แน่นอน

แต่จุดประสงค์ของอัล-กุรอาน คือ อินญีล คัมภีร์ซึ่งเชิญชวนพระเยซูให้กระทำความดีงาม ส่วนสัญญาฉบับใหม่ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลตามความเป็นจริงทั้งหมดของอินญีลอยู่ก็ตาม แต่ก็ถือว่าบันทึกข้อมูลบางส่วนจากพระเยซูเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า อินญีล ได้ถูกบันทึกอยู่ในคัมภีร์ดังกล่าวมาไม่มากก็น้อย

อัล-กุรอาน กล่าวถึงความไม่ครอบคลุมในการบันทึกคัมภีร์ของพระเยซูไว้ว่า …

บรรดาผู้ที่กล่าวว่า พวกเราเป็นคริสต์นั้นเราได้เอาสัญญาจากพวกเขา แต่แล้วพวกเขาก็ลืมส่วนหนึ่งจากสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนไว้ ความเป็นศัตรูและการเกลียดชังกันจนกระทั่งวันแห่งการฟื้นคืนชีพจึงได้เกิดขึ้นระหว่างพวกเขา และอัลลอฮฺ ทรงบอกเขาเหล่านั้นถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระทำมาก่อน (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 14)

สิ่งที่ควรพิจารณาคืออัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 13 และ 14 เป็นโองการในลักษณะของการเน้นคำสั่งที่ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเอาสัญญาจากคริสเตียนและชาวยิว แต่พวกเขาได้ลืมบางส่วนที่ถูกประทานลงมาตักเตือนสั่งสอนพวกเขา แสดงให้เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวบ่งชี้ถึงประเด็นที่กล่าวว่า ทั้งคริสเตียนและยิวที่ได้รวบรวมทั้งพันธสัญญาใหม่ (New Testament) พันธสัญญาเดิม (Old Testament) ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดของเรื่องราวที่ได้วะฮฺยูลงมาทั้งในศาสนายิวและศาสนาคริส รายงานที่อธิบายโองการที่ว่า แต่แล้วพวกเขาก็ลืมส่วนหนึ่งจากสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนไว้ ว่า หมายถึงคัมภีร์แห่งฟากฟ้าของชาวยิวและชาวคริส (ฏ็อบรีย์ เล่ม 2/216, ซุยูฎียฺ เล่ม 3/14)

สรุปได้ว่าแม้ว่าคัมภีร์อินญีลฉบับแท้จริงจะมีการบันทึกไว้ แต่ประวัติศาสตร์มิได้มีการรายงานดังกล่าวไว้เลยแม้แต่น้อย ดังนั้น บรรดาคัมภีร์ทั้งหลายภายใต้ชื่อพันธสัญญาใหม่ (New Testament) ได้บันทึกบางส่วนของคัมภีร์อินญีลไว้เท่านั้น ดังนั้น อัล-กุรอาน จึงเรียกคัมภีร์ดังกล่าวว่า อินญีล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้ใช้อินญีลที่ไม่มีผู้ใดรู้จักเป็นข้อมูลในการโต้แย้งกับชาวคริสต์ จุดประสงค์ของอินญีลที่กล่าวถึงคือ คัมภีร์ เฉพาะที่พระเจ้าทรงประทานลงมาแก่พระเยซู

บางครั้งชาวคริสต์ทั่วไปมีการกล่าวสนับสนุนสมมุติฐานข้างต้นโดยเรียร พันธสัญญาฉบับใหม่ว่า อินญีล เช่นกัน อีกการพิมพ์พันธสัญญาฉบับใหม่เป็นภาษาต่าง ๆ ยังได้ใช้ชื่อว่า อินญีล เหมือนกัน เช่น อินญีลของอีซามะซีฮฺ พันธสัญญาฉบับใหม่ พิมพ์ที่อังกฤษ 1997, อินญีลชรีฟ สำนักพิมพ์คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก 1976, พันธสัญญาฉบับใหม่ คือ อินญีล อันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเจ้าและผู้ให้การช่วยเหลือเราคืออีซา มะซีอฺ  (อินญีลแปลเป็นภาษาอาหรับ พันธสัญญาใหม่ 1982)

สมมุติฐานที่สอง อินญีล Diatesseron

กล่าวว่าจนถึงปี คริสต์ศักราชที่ 400 คัมภีร์ฉบับเป็นทางการของชาวคริสต์ในแถบพื้นที่ตะวันออกกลางมีเพียงฉบับเดียว ซึ่งได้รวบรวมอินญีลทั้งสี่ฉบับเข้าไว้ด้วยกันโดยใช้ชื่อว่า  Diatesseron โดยเขียนเป็นภาษาซีรีแอค (ภาษาซีเรียโบราณ) ซึ่งคาดได้ว่าอินญีลในช่วงที่อัล-กุรอานประทานลงมาบนคาบสมุทรอาหรับสมัยนั้น เป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนคริสเตียนโดยทั่วไปไม่มากก็น้อย แต่ปัจจุบันคัมภีร์อินญีลฉบับจริงไม่สามารถพบได้ซึ่งมีแต่ฉบับแปลบางส่วนของคัมภีร์เป็นภาษาต่าง ๆ เท่านั้น (Britanica, 4/69)

สมมุติฐานที่สาม หนึ่งในคัมภีร์อะนาญีล อโปคาลิปติก (Apocalyptic)

อาจตั้งสมมุติฐานได้ว่าช่วงที่อัล-กุรอานประทานลงมา หนึ่งในคัมภีร์อินญีลอันเป็นที่รู้จักของชาวคริสเตียนบนคาบสมุทธอาหรับคือ อโปคาลิปติก (Apocalyptic) ในระหว่างนั้นยังสามารถกล่าวถึงคัมภีรอินญีลอีกฉบับหนึ่งคือ อินญีลอาหรับฉบับเด็ก (Arabic Infancy Gospel) ซึ่งกล่าวถึงช่วงชีวิตในวัยเด็กของพระเยซู มีความใกล้เคียงกับเรื่องราวที่อัล-กุรอาน กล่าวถึง

เกี่ยวกับสมมุติฐานดังกล่าวสิ่งจำเป็นต้องกล่าว คือ เรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูและเหตุการณ์ในสมัยของท่านที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอานมีมากว่า ที่กล่าวไว้ในหนังสือเพียงเล่มเดียวอีกทั้งเป็นหนังสือที่ยังมีความเคลือบแคลงสงสัย และเชื่อถือไม่ได้ของอาหรับคริสเตียนแห่งคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเหตุผลที่ยืนยันให้เห็นถึงคำพูดที่ไม่ถูกต้องของบุคคลที่กล่าวหาว่า ท่านศาสดา (ขออัลลอฮฺทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน) ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพระเยซูและคริสเตียนมาจากอินญีลที่เชื่อถือไม่ได้ และชาวอาหรับที่นับถือศาสนาคริสต์ในสมัยนั้น เนื่องจากว่าการรายงานของอัล-กุรอาน เกี่ยวกับเหตุการณ์ในยุคสมัยของอีซา (อ.) มีบันทึกอยู่ในอินญีลทั้งสี่ฉบับด้วยเช่นกัน เช่น กุรอาน กล่าวถึงเรื่องราวของยะฮฺยา ซักกะรียา (อ.) และการถือกำเนิดของอีซาบุตรของมัรยัม (อ.) ดังที่กล่าวว่า

38. ณ ที่นั่น ซะกะรียา (เห็นความดีงามของมัรยัม) ได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของเขา กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ได้ทรงโปรดประทานบุตรที่ดีจากพระองค์แก่ฉัน แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน

39. มลาอิกะฮฺได้เรียกเขา ขณะที่เขายืนขอพรอยู่ ณ หอนมัสการว่า อัลลอฮฺทรงแจ้งข่าวดีเรื่อง ยะฮฺยาแก่ท่าน ผู้ยืนยันถ้อยจำนรรจ์จากอัลลอฮฺ เป็นผู้นำ เป็นผู้รักษาความบริสุทธิ์ และเป็นศาสนทูตจากหมู่กัลยาณชน

40. เขากล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันจะมีบุตรได้อย่างไร ขณะที่ความชราภาพได้ลุถึงฉันแล้ว และภริยาของฉันเป็นหมัน พระองค์ตรัสว่า กระนั้นก็ตาม อัลลอฮทรงกระทำที่พระองค์ทรงประสงค์

41. เขา (ซะกะรียา) กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของฉัน ได้ทรงโปรดกำหนดสัญญาณแก่ฉัน  พระองค์ตรัสว่าสัญญาณของเจ้าคือ เจ้าจะต้องไม่พูดกับผู้คนสามวัน เว้นแต่โดยการแสดงสัญลักษณ์ จงรำลึกถึงพระผู้อภิบาลของเจ้า (ขอบคุณความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่) ให้มาก และจงกล่าวสดุดีทั้งในยามค่ำและยามรุ่งอรุณ

42. และจงรำลึกถึง เมื่อมลาอิกะฮฺ กล่าวว่ามัรยัมเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเลือกเธอ และทรงทำให้เธอบริสุทธิ์ และได้ทรงเลือกเธอให้เหนือบรรดาหญิงแห่งประชาชาติทั้งหลาย

43. มัรยัมเอ๋ย (เพื่อขอบคุณความโปรดปราน) จงนอบน้อมต่อพระผู้อภิบาลของเธอ และจงกราบ และโค้งคารวะ ร่วมกับบรรดาผู้โค้งคารวะ

44. (โอ้ ศาสดา) นี่คือส่วนหนึ่งของข่าวที่เร้นลับ ซึ่งเราได้ดลแก่เจ้า และเจ้ามิได้อยู่ในหมู่พวกเขา ขณะที่พวกเขาโยนปากกาของพวกเขาลงในน้ำ (เพื่อเสี่ยงทายว่า) ผู้ในหมู่พวกเขาควรจะอุปการะมัรยัม และเจ้ามิได้อยู่ในหมู่พวกเขา ขณะพวกเขาวิวาทกัน (เมื่อผู้รู้ของพวกเขาแก่งแย่งกันเป็นใหญ่)

45. จงรำลึกถึง เมื่อมลาอิกะฮฺ กล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย แท้จริง อัลลอฮฺ ได้ทรงแจ้งข่าวดีแก่เธอซึ่งถ้อยจำนรรจ์หนึ่งจากพระองค์ ชื่อของเขาคือ อัลมะซีฮฺ อีซาบุตรของมัรยัม ผู้มีเกียรติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า จากมวลผู้ใกล้ชิด (พระเจ้า)

46. และเขาจะพูดแก่ผู้คน ขณะอยู่ในเปล และในวัยกลางคน และอยู่ในหมู่กัลญาณชน

47. (มัรยัม) กล่าวว่า พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันจะมีบุตรได้อย่างไร ขณะที่ไม่มีบุรุษใดต้องฉันเลย พระองค์ตรัสว่า อัลลอฮฺ ทรงบังเกิดที่พระองค์ทรงประสงค์ เมื่อพระองค์ทรงกำหนดกิจการใด พระองค์เพียงประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็น

48. และพระองค์ทรงสอนคัมภีร์ วิทยปัญญา เตารอต และอินญีล แก่เขา

49. และ (ทรงแต่งตั้งเขาให้เป็น) ทูตแก่วงศ์วานอิสรออีล (กล่าวแก่พวกเขาว่า) แน่นอน ฉันได้นำสัญญาณจากพระผู้อภิบาลของพวกท่านมายังพวกท่าน คือฉันจะปั้นนกด้วยดินสำหรับพวกท่าน หลังจากนั้นฉันจะเป่าไปบนมัน โดยคำสั่งของอัลลอฮฺมันกลายเป็นนก และโดยอนุมัติของอัลลอฮฺ ฉันรักษาคนตาบอดโดยกำเนิด คนโรคเรื้อนให้หายปกติ และฉันให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้นโดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และฉันจะแจ้งแก่พวกท่านถึงสิ่งที่พวกท่านบริโภคและสิ่งที่พวกท่านสะสมไว้ในบ้านของพวกท่าน แท้จริง ในนั้นมีสัญญาณสำหรับพวกท่าน  ถ้าพวกท่านเป็นผู้ศรัทธา (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 39 – 47, โลเกีย (Logia) 1/13-19, 1/26-35)

แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีบันทึกอยู่ในอินญีลฉบับทางการ เช่น อินญีลอาหรับฉบับเด็ก (Arabic Infancy Gospel)

ทำนองเดียวกันรายงานบางส่วน เช่น การสนทนาของอีซาขณะอยู่ในเปล การเป่าดวงวิญญาณเข้าไปบนร่างนกที่ตายแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์อินญีลฉบับมาตรฐาน แต่มีปรากฏอยู่ในอินญีลที่ไม่เป็นทางการ เช่น อินญีลอาหรับฉบับเด็ก (Arabic Infancy Gospel) 

เช่นเดียวกันบางเรื่องที่อัล-กุรอาน กล่าวถึงพระเยชู แต่ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของคริสเตียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจุดประสงค์ของอัล-กุรอาน คือ อินญีลมะซีฮฺในยุคของกระประทานคือ พันธสัญญาใหม่ก็ตาม แต่อัล-กุรอานมิได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซู หรือศาสดาองค์อื่น ๆ มาจากเตารอตและอินญิล ทว่าสิ่งที่อัล-กุรอานกล่าวเป็นวะฮฺยูหรือพระดำรัสของพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและลูกหลานของท่าน) ซึ่งอัล-กุรอาน นั้นครอบคลุมเหนือคัมภีร์อื่นทั้งหมด

บางเรื่องราวอัล-กุรอานย้อนไปหาอินญีล

ดังที่กล่าวผ่านมาแล้ว อัล-กุรอานยืนยันว่าในตัมภีร์อินญีล ได้บันทึกเรื่องราวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และสาวกบางท่านไว้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันดีของชาวคริสต์โดยทั่วไป วันนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าคัมภีร์เล่มใดของคริสเตียนในปัจจุบันมีเรื่องราวเหล่านี้อยู่บ้าง

คำตอบ สามารถกล่าวได้ว่าตามทัศนะของอัล-กุรอานเรื่องราวดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในคัมภีร์ของคริสเตียนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ถ้าสมมุติว่าไม่มีประเด็นเหล่านี้อยู่จริงจนถึงบัดนี้พวกเขาต้องปล่อยข่าวทั่วไปหมดแล้วว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) มุสา เนื่องจากในสมัยนั้นคริสเตียนและยะฮูดียฺอาหรับที่อาศัยอยู่แถบมะดีนะฮฺ ได้นำเอาบันทึกของตนมาหาท่านศาสดา และให้ท่านช่วยชี้ถึงนามชื่อของท่านที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของพวกเขา ถ้านบีไร้ความสามารถข่าวคงแพร่หลายไปนานแล้ว ในทางกลับกันยะฮูดียฺและคริสเตียนจำนวนมากมายยอมรับสารภาพว่า นามชื่อของท่านศาสดาและคุณลักษณะพิเศษของท่านได้บันทึกอยู่ในคัมภีร์ของพวกเขาจริง (เตาฟีกียฺ / 29)

ประเด็นนี้มีความสำคัญมากกล่าวคือ นักวิชาการตะวันตกที่เคยเป็นคริสเตียนมาก่อน กล่าวว่าคริสเตียนร่วมสมัยกับศาสดาอิสลามแตกต่างไปจากคริสเตียนตะวันตกในปัจจุบัน เนื่องจากพวกเขาไม่เคยแต่งเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูที่ปรากฏอยู่ในอัล-กุรอานให้กลายเป็นอย่างอื่น ทว่าพวกเขามีความศรัทธามันคงกว่าคริสเตียนในปัจจุบันนี้อย่างมาก (โรบินสัน 149)

ประเด็นเกี่ยวกับนามชื่อของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และสาวกของท่านที่ปรากฏอยู่ในอินญีล จำเป็นต้องกล่าวว่าประเด็นดังกล่าวมีทั้งการยืนยันด้วยคำพูด และมีบันทึกอยู่ในคัมภีร์บางฉบับที่อยู่ร่วมสมัยกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ในนครมะดีนะฮฺ แม้แต่ในปัจจุบันก็สามารถค้นหาประเด็นดังกล่าวได้อย่างไม่อยากเย็นนัก

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้ว่า

1. ทุกวันนี้สิ่งที่ชาวคริสต์ถือว่าเป็นก่นแท้ของคัมภีร์ และเรียกว่าอินญีลของพระเยซูนั้นมิได้มีคำกล่าวของพระเยซูและมิใช่อินญีลตามทัศนะของอัล-กุรอาน เนื่องจากอินญีลมะซีฮฺในปัจจุบันจัดพิมพ์ขึ้นประกอบไปด้วยการอวตารของพระเจ้า ไม้กางเขน และการฟื้นคืนชีพของเยซูในโลกนี้ ซึ่งอัล-กุรอานปฏิเสธความคิดดังกล่าว

2. อินญีลที่อัล-กุรอานกล่าวถึงในฐานะของคัมภีร์หรือหลักคำสอนของอีซา ไม่แตกต่างกับสิ่งที่พันธสัญญาฉบับใหม่ซึ่งเรียกว่าอินญีลกล่าวถึง เนื่องจากบางส่วนอันเป็นประโยชน์และเป็นแก่นแท้ของอินญีลได้ถูกกล่าวถึง

3. เมื่ออัล-กุรอาน กล่าวถึงอินญีลร่วมสมัยขณะที่อัล-กุรอานถูกประทานลงมา มิได้เจาะจงถึงอินญีลเล่มใดเล่มหนึ่ง เนื่องจากคัมภีร์เหล่านั้นมีชื่อเฉพาะ หรือไม่ก็สัมพันธ์ไปยังบุคคลที่เฉพาะคนใดคนหนึ่ง เช่น อินญีลโยฮันนา โลกา มัทธายเป็นต้น ดังนั้น ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งอ่านคัมภีร์ตามที่กล่าวมาจำเป็นต้องระบุชื่อให้ชัดเจน

4. บางเรื่องราวที่อัล-กุรอาน กล่าวถึงอินญีลร่วมสมัยการประทาน สามารถค้นพบได้จากคัมภีร์อินญีลมะซีฮฺ ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่าคัมภีร์เล่มอื่นก็ใช้ประโยชน์จากอินญีลร่วมสมัยกับอัล-กุรอานในการอ้างอิงเช่นกัน