ธรรมชาติ

คำว่า ฟิตรัฏ อยู่บนรูปของ คิลกัต หมายถึงความรู้สึกต่าง ๆ อันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏในตัวมนุษย์ ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ หรือโค้ชคอยฝึกสอนแต่อย่างใด เป็นความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวมนุษย์และมีอยู่ตลอดไปในทุกที่ทุกเวลาและทุกโอกาส ความรู้สึกนี้บางครั้งก็เรียกว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกหรือความต้องการ แต่โดยปกติแล้วความรู้สึกนั้นจะมีอยู่ทั้งในมนุษย์และสัตว์ เช่น ความรู้สึกหิวโหย หรือกระหายเป็นต้น แน่นอน สัญลักษณ์ของธรรมชาติของสิ่งหนึ่งก็คือ ความครอบคลุมของสิ่งนั้น เช่น ความอาลัยรักของมารดาที่มีต่อบุตรของตน

ธรรมชาติ คือ ความรู้สึกหนึ่งที่แฝงอยู่ในตัวมนุษย์โดยไม่ต้องการครูผู้ฝึกสอน มันซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่เขาถูกสร้างขึ้นมา และจะครอบคลุมเหนือตัวเขาในทุกที่และทุกเวลาหรือทุกการปกครอง ดังนั้น ไม่ว่าจะตกอยู่ในสภาพเช่นไรท่านก็จะเห็นความรักความผูกพันของมารดาเสมอ

แน่นอน ในบางครั้งอาจมีปัจจัยอื่นเป็นตัวการทำให้ความรู้สึกนั้นหนักหรือเบาลงไปตามลำดับ เนื่องจากความรู้สึกด้านในมีชัยเหนือความรู้สึกอื่น ๆ ดังนั้น ในตัวมนุษย์จึงมีความรู้สึกรักในทรัพย์สินเงินทอง ความสวยงาม และการมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ขณะที่แต่ละคนมีความรู้สึกนี้ไม่เท่ากัน บางคนอาจหลงใหลในทรัพย์สินเงินทองถึงกับเอาเงินทองถวายให้ชีวิต หรือบางคนเอาชีวิตถวายแลกกับเงินทองก็มี ดังที่ปรากฏมาแล้วในยุคทมิฬของชนอาหรับที่หลงใหลในเกียรติยศจอมปลอม โดยคิดว่าการมีบุตรสาวเป็นเรื่องอัปรีย์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตน จนกลายเป็นสาเหตุทำให้เหล่าบิดาในยุคนั้นถอดทอนความรักออกจากบุตรธิดาของตน พวกเขาจึงได้ฝังบุตรสาวของตนให้ตายทั้งเป็น

ด้วยเหตุนี้ ความหมายของคำว่า ฟิตรัฏ จึงมิได้หมายความว่า ในการกระทำนั้นมนุษย์ต้องติดตามธรรมชาติของตนตลอดเวลา เนื่องจากมีธรรมชาติตั้งมากมายที่ปกคลุมธรรมชาติด้วยกันไว้

หนึ่งในผลพวงของปัญหาเรื่องฟิฏรัต หรือธรรมชิต ก็คือความรู้สึกเป็นเกียรติ ฉะนั้น บุคคลใดก็ตามที่ขับเคลื่อนชีวิตของตนไปบนเขตแดนของธรรมชาติ จะทำให้มีความรู้สึกว่าตนมีความสุข เหมือนมารดาที่กอดบุตรน้อยไว้แนบอกของตน จะมีความรู้สึกว่าอบอุ่นและมีความสุขใจเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าจะเป็นมารดาที่ไม่ค่อยใส่ใจต่อบุตรก็ตาม แน่นอน ความรู้สึกเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากฟิฏรัต หรือธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง

ศาสนาธรรมชาติคืออะไร

 เมื่อเรากล่าวถึงศาสนาธรรมชาติ นั้นหมายถึงราก

รากและกิ่งก้านของศาสนา จริยธรรม วิชาการ และพื้นฐานของศาสนาซึ่งเข้ากันได้กับธรรมชาติของมนุษย์ได้ ฉะนั้น รอยยิ้มก็คือรางวัลส่วนความโกรธก็คือ การลงโทษต่อการกระทำของท่าน และสิ่งนี้ตรงกันข้าม

 แน่นอน แนวทางในการแสดงความเคารพภักดี เช่น นมาซ สมควรปฏิบัติอย่างไร มีขั้นตอนการปฏิบัติ และสมควรกล่าวด้วยภาษาอะไร จำเป็นต้องปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว หมายถึงพิจารณาดูว่าบรรดา ผู้ชี้นำศาสนาปฏิบัติอย่างไร หรือทำแบบอย่างอันใดไว้ให้เราปฏิบัติตาม ฉะนั้น ตามหลักการของศาสนาที่มีพื้นฐานเป็นธรรมชาติจำเป็นต้องมี 2 หลักการควบคู่กัน กล่าวคือ การเชื่อฟังโดยดุษณี และการใช้สติปัญญาหยั่งคิดหาเหตุผลและเหตุปัจจัยต่าง ๆ

ธรรมชาติในมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน

คำว่า ธรรมชาติ หรือฟิฏรัต ปรากฏใน อัล-กุรอานเพียงครั้งเดียว แต่อัล-กุรอาน หลายโองการกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับฟิฏรัต (ธรรมชาติ) ซึ่งจะขอนำเสนอเป็นสังเขปดังนี้

1. โองการที่กล่าวว่า ผู้ที่ซื้อทางหลงผิด ด้วยทางแห่งทางนำ

أُوْلَئِكَ الَّذِينَ اشْتَرُوُاْ الضَّلاَلَةَ بِالْهُدَى

 (อัล-กุรอาน บท อัลบะเกาะฮฺ โองการที่ 16) เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีมีหนทางแห่งทางนำอันเป็นธรรมชาติอยู่ในตัว แต่น่าเสียดายว่าพวกเขาได้เปลี่ยนมันด้วยหนทางแห่งการหลงผิด

2. โองการที่กล่าวว่า พวกเขาได้ลืมพระเจ้า

نَسُواْ اللّهَ فَنَسِيَهُمْ

 (อัล-กุรอาน บท อัตเตาบะฮฺ โองการที่ 67) เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าพวกเขามีความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแต่พวกเขาได้หลงลืม

3. โองการที่กล่าวให้มนุษย์หันกลับมาพิจารณาตนเอง เช่น กล่าวว่า โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจำเป็นต้องปกป้องตัวเอง

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ عَلَيْكُمْ أَنفُسَكُمْ

 (อัล-กุรอาน บท อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 105)

หรือโองการที่กล่าวคล้ายกันว่า สูเจ้ากำชับให้ผู้อื่นกระทำความดีโดยที่สูเจ้าลืมตัวเองกระนั้นหรือ

أَتَأْمُرُونَ النَّاسَ بِالْبِرِّ وَتَنسَوْنَ أَنفُسَكُمْ

(อัล-กุรอาน บท อัลบะเกาะฮฺ โองการที่ 44)

4. โองการที่กล่าวอธิบายถึงการสำนึกผิดของมนุษย์ เช่น โอ้ ความวิบัติพึงมีแก่ฉัน หากฉันไม่คบกับ (คนหลงผิด) เป็นเพื่อน

يَا وَيْلَتَى لَيْتَنِي لَمْ أَتَّخِذْ فُلَانًا خَلِيلًا

 (อัล-กุรอาน บท อัลฟุรกอน โองการที่ 28)

5. โองการที่กล่าวถึงการตักเตือน และการเตือนสำทับต่าง ๆ เช่น จงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวันของอัลลอฮฺ

وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ اللّهِ

 (อัล-กุรอาน บท อิบรอฮีม โองการที่ 5)  

หรือที่กล่าวว่า และจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนจะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา

وَذَكِّرْ فَإِنَّ الذِّكْرَى تَنفَعُ الْمُؤْمِنِينَ

 (อัล-กุรอาน บท อัซซารียาต โองการที่ 55)

6. คำถามต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานได้ถามมนุษย์ ซึ่งคำถามต่าง ๆ เหล่านั้นบ่งชี้ให้เห็นว่าจิตใจด้านในของมนุษย์รู้เรื่องราวและมีความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นอย่างดี อัล-กุรอานจึงทวงถามพวกเขา เช่น บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่ใคร่ครวญ

هَلْ يَسْتَوِي الَّذِينَ يَعْلَمُونَ وَالَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ

 (อัล-กุรอาน บท อัซซุมัร โองการที่ 9)

7. โองการที่กล่าวถามในเชิงปริศนาว่า สูเจ้าจะเดินทางไปไหนกัน เช่น ทำไมพวกเจ้าจึงถูกหันเหออกจากพระองค์เล่าว่า

فَأَنَّى تُؤْفَكُونَ

(อัล-กุรอาน บท อัลฆอฟิร โองการที่ 62) โองการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นไม่เหมือนกับภาชนะว่างเปล่าที่จะนำสิ่งของจากภายนอกไปเติมให้เต็ม ทว่ามนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดด้านในมีจิตใจที่สูงส่ง

8. โองการที่กล่าวว่ามนุษย์นั้นรู้จักจิตใจของตนเป็นอย่างดี เช่นกล่าวว่า ทว่า มนุษย์นั้นรู้สภาพตัวของเขาเอง

بَلِ الْإِنسَانُ عَلَى نَفْسِهِ بَصِيرَةٌ

 (อัล-กุรอาน บท อัลกิยามัต โองการที่ 14)

9. โองการที่กล่าวถึงพันธะสัญญาที่มนุษย์ได้ให้ไว้แก่พระองค์ว่า พวกเจ้ามิได้ให้สัญญาแก่เราดอกหรือ

أَلَمْ أَعْهَدْ إِلَيْكُمْ يَا بَنِي آدَمَ

(อัล-กุรอาน บท ยาซีน โองการที่ 60 )

คำถาม อาจมีผู้ถามว่า ถ้าหากการเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวเป็นฟิฏรัต (ธรรมชาติ) ของมนุษย์แล้ว ทำไมมนุษย์บางจำพวกจึงไม่เชื่อในพระเจ้า และไม่นับถือศาสนา

คำตอบ ศาสนาเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ แต่อาจเป็นไปได้ที่ว่ามนุษย์นั้นผิดพลาดในการจำแนกแหล่งที่มาของการมีอยู่ เหมือนกับเด็กทารกที่ค้นหาน้ำนมมารดาจากทรวงอก แต่ดูดน้ำนมจากเต้านมมารดา