บทที่ 33 อัล-กุรอานบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลง

บทนำ

ดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าเหตุผลของความจำเป็นในการเป็นนบี บ่งบอกว่า สารต่าง ๆ ของพระเจ้าที่มาถึงมือของมนุษย์ทั้งหลายสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อมนุษย์จะได้สามารถใช้สารนั้นเป็นสื่อในการดำเนินชีวิตไปสู่ความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ ความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอาน จนกว่าจะไปถึงการเผยแผ่แก่ประชาชนไม่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดอันเหมือนกับคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่น ๆ ทว่าดั่งที่เป็นทีรับทราบกันเป็นอย่างดีว่าคัมภีร์ฟากฟ้าฉบับอื่น หลังจากได้ถูกประกาศสั่งสอนแล้วได้อยู่ในความรับผิดชอบของมนุษย์ ไม่มากก็น้อยคัมภีร์เหล่านั้นได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือหลังจากเวลาผ่านพ้นไปไม่นานคัมภีร์เหล่านั้นก็ถูกลืมเลือน ดังเช่นทุกวันนี้จะเห็นว่าคัมภีร์ของท่านศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม (อ.) ไม่มีร่องรอยหลงเหลืออยู่ ตลอดจนต้นฉบับเดิมคัมภีร์ของท่านศาสดามูซา (อ.) และศาสดาอีซา (อ.) ก็ไม่อาจค้นพบได้ เมื่อพิจารณาถึงประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น มีคำถามว่า มนุษย์จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่กล่าวว่าเป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้ายแห่งฟากฟ้าที่อยู่ในมือของประชาชน คือคัมภีร์ซึ่งได้ถูกประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ ) จะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง หรือได้รับการเพิ่มเติมหรือลดน้อยลงไปแต่อย่างใด หรือไม่มีสิ่งใหม่เพิ่มเติมลงไปในนั้น

แน่นอน สำหรับผู้ที่รู้จักมักคุ้นกับประวัติศาสตร์อิสลามและชนชาติมุสลิมบ้างเล็กน้อย เขาเข้าใจได้ทันทีว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พร้อมกบตัวแทนผู้บริสุทธิ์ของท่านให้ความสำคัญและล่วงรู้ถึงการจดบันทึกโองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน ประกอบกับบรรดามุสลิมได้ให้ความสำคัญต่อการท่องจำอัล-กุรอานกันอย่างถ้วนหน้า ดั่งเป็นที่ประจักษ์ว่าในสงครามหนึ่งมีนักท่องจำอัล-กุรอา ถูกทำชะฮีดไปถึง 70 คน ด้วยกัน รวมไปถึงรายงานที่เชื่อถือได้กล่าวว่า มีการให้ความสำคัญต่อการนับจำนวนโองการ คำ และพยัญชนะหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันของอัล-กุรอานตลอด 14 ศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น แม้แม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่อาจคาดคิดได้ว่าคัมภีร์ฉบับดังกล่าวได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าไม่พิจารณาถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้เหล่านี้  เราก็ยังสามารถเชื่อได้ว่าอัล-กุรอานปราศจาการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ด้วยหลักฐานประกอบทางสติปัญญาและหลักฐานจากการจดบันทึก หรือสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการเหล่านี้กล่าวคือ

 ประการแรก สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญาว่าไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมในอัล-กุรอาน และหลังจากพิสูจน์แล้วว่า อัล-กุรอานฉบับนี้ถูกประทานมาจากพระเจ้าด้วยคำยืนยันของโองการที่ว่า ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมหรือถูกทำให้ลดหรือดัดแปลงไปจากอัล-กุรอาน

ด้วยเหตุนี้ ประเด็นที่กล่าวว่าอัล-กุรอาน บริสุทธิ์จากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสามารถกล่าววิพากได้ใน 2 หัวข้อดังต่อไปนี้

ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมในอัล-กุรอาน

ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมในอัล-กุรอาน เป็นสิ่งที่บรรดามุสลิมทั้งหลายเห็นพร้องต้องกัน ทว่าเป็นความคิดเห็นของคนทั้งโลกก็ว่าได้ ซึ่งไม่มีการกระทำอันใดเป็นตัวบ่งบอกได้ว่ามีสิ่งเพิ่มเติมในอัล-กุรอาน อีกทั้งไม่มีหลักฐานอื่นเป็นปัจจัยประกอบพอที่จะคาดคิดได้ว่า อัล-กุรอาน ถูกเพิ่มเติมด้วยสิ่งแปลกใหม่ ขณะเดียวกันสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่าการเพิ่มเติมนั้นสามารถหักล้างได้ด้วยเหตุผลทางสติปัญญา ด้วยคำอธิบายที่กล่าวว่า

สมมุติว่า มีประเด็นสมบูรณ์เพิ่มเติมอยู่ในอัล-กุรอาน ในความหมายก็คือ มีความเป็นไปได้ที่จะนำสิ่งทีคล้ายคลึงกันอัล-กุรอานมา ทว่าสมมุติฐานดังกล่าวไม่เข้ากันกับการกล่าวว่า อัล-กุรอานเป็นสิ่งมหัศจรรย์และมนุษย์ไร้ความสามารถที่จะประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงกับอัล-กุรอาน แต่ถ้าตั้งสมมุติฐานว่า คำพูดหนึ่งคำ หรือหนึ่งโองการสั้น ๆ เช่น (สรวงสวรรค์) ทั้งสองเขียวชอุ่ม (1) ได้เพิ่มเติมอยู่ในอัล-กุรอานแล้วละก็ ในความหมายก็คือ เท่ากับได้ทำลายระบบของการกล่าวปราศรัย โครงสร้างของการพูด และเท่ากับได้ออกไปจากรากเหง้าของความมหัศจรรย์ เมื่อนั้นจึงจะสามารถลอกเรียนแบบหรือประดิษฐ์สิ่งที่คล้ายคลึงกันได้ เนื่องจากความเป็นระบบระเบียบของปาฏิหาริย์ในด้านประโยค และโครงสร้างของอัล-กุรอานก็คือ การเลือกใช้คำและพยัญชนะที่มีความเกี่ยวข้องและต่อกันและกัน ดังนั้น ถ้าความเกี่ยวข้องดังกล่าวถูกทำลายหรือถูกตัดขาดไปความสัมพันธ์ด้านความมหัศจรรย์ก็จะจบสิ้นลงด้วย

ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวว่าอัล-กุรอาน เป็นสิ่งมหัศจรรย์ การถูกพิทักษ์ปกป้องมิให้มีสิ่งใดเพิ่มเติมในอัล-กุรอานก็จะถูกพิสูจน์ไปด้วยโดยปริยาย ในทำนองเดียวกันเท่ากับเป็นการปฏิเสธเหตุผลที่กล่าวว่าอัล-กุรอาน ถูกลดคำพูดหรือประโยคให้น้อยลงไป อันเป็นสาเหตุทำให้โองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอาน หลุดสภาพความมหัศจรรย์ไปด้วย ส่วนการที่กุรอานหนึ่งบทหรือหนึ่งประเด็นที่มีความสมบูรณ์มิได้ถูกตัดทอนออกไปจากอัล-กุรอาน ในลักษณะที่ว่าโองการอื่น ๆ ที่ยังคงเหลืออยู่มิได้ตกสภาพของการเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ต้องอาศัยเหตุผลอื่นเป็นปัจจัยประกอบ

ไม่มีสิ่งใดลดน้อยไปจากอัล-กุรอาน

นักวิชาการและนักปราชญ์ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลามทั้งอะฮิลุซซุนนะฮฺ และชีอะฮฺต่างกล่าวเน้นย้ำไว้ว่า ดังเช่นที่ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมในอัล-กุรอาน ก็ไม่มีสิ่งใดถูกทำให้ลดน้อยไปจากอัล-กุรอานด้วยเช่นกัน และสำหรับประเด็นดังกล่าวมีเหตุผลมากมายกล่าวอ้างไว้ แต่น่าเสียดายที่ว่ามีรายงานที่อุปโลกน์ขึ้นซึ่งถูกบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซทั้งสองนิกาย ประกอบกับความเข้าใจผิดของรายงานบางรายงานที่เชื่อถือได้เหล่านั้น (2) บางคนคิดหรือสนับสนุนด้วยซ้ำไปว่ามีบางโองการของอัล-กุรอานถูกตัดขาดหายไป

นอกจากจะมีข้ออ้างอิงที่เชื่อถือได้ในประวัติศาสตร์ที่กล่าวว่า อัล-กุรอานบริสุทธิ์จากการถูกตัดต่อเพิ่มเพิ่มและการถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งปวง และนอกจากการตัดต่ออันเป็นสาเหตุให้ความเป็นระบบของความมหัศจรรย์ถูกทำลายทิ้งก็ถูกหักล้างด้วย เหตุผลของความเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน ดังนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอาน ที่ทั้งโองการและบทมิได้ถูกตัดทอนให้ลดน้อยลงไป

หมายถึงหลังจากที่ได้พิสูจน์แล้วว่าอัล-กุรอานทั้งหมดที่มีอยู่เป็นพระดำรัสของพระเจ้า ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมหรือตัดต่อทั้งสิ้น เนื่องจากโองการต่าง ๆ อยู่ในฐานะของเหตุผลและข้อพิสูจน์ที่แข็งแรงที่สุด ทั้งเป็นเหตุผลอ้างอิงและการปฏิบัติตาม ดังเช่นโองการหนึ่งของอัล-กุรอานที่กล่าวกับมวลมนุษย์ว่า พระเจ้าทรงรับรองและรับประกันความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอานจากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งปวง อันแตกต่างไปจากคัมภีร์แห่งฟ้าฉบับอื่น ซึ่งการพิทักษ์ดูแลคัมภีร์เหล่านั้นอยู่ในความรับผิดชอบของ (3)

อัล-กุรอานบทอัล-ฮิจรญฺ โองการที่ 9 กล่าวว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ  

 แท้จริงเราได้ประทานข้อตักเตือน(อัล-กุรอาน) ลงมา และเราเป็นผู้พิทักษ์ดูแลแน่นอน

โองการอัล-กุรอาน ข้างต้นประกอบขึ้นด้วยสองประโยค ซึ่งประโยคแรกกล่าวว่า แท้จริงเราได้ประทานข้อตักเตือน(อัล-กุรอาน) ลงมา ในความหมายคือ ประโยคดังกล่าวเน้นย้ำว่าอัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาโดยพระเจ้า ซึ่งขณะที่ประทานไม่มีสิ่งใดแทรกแซงหรือล่วงเกินบนโองการแต่อย่างใด ส่วนประโยคที่สองที่กล่าวว่า และเราเป็นผู้พิทักษ์ดูแลแน่นอน จะเห็นว่าอัล-กุรอานได้เน้นใช้คำที่บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ ซึ่งรูปคำที่กล่าวเน้นย้ำเช่นนี้ เป็นการบ่งบอกให้เห็นถึงความต่อเนื่องและการถูกปกป้องรักษาของอัล-กุรอาน ให้รอดพ้นจากการถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตลอดไป

โองการข้างต้นบ่งบอกว่าอัล-กุรอานไม่ได้ถูกเพิ่มเติมหรือถูกตัดต่อแต่อย่างใด แต่สำหรับการพิสูจน์ว่าอัล-กุรอานสาบานตนว่าไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการพิสูจน์แบบวนอยู่ที่เดิม เนื่องจากสมมุติว่ามีสิ่งเพิ่มเติมในอัล-กุรอานจริง โองการดังกล่าวก็รวมอยู่ด้วยเหมือนกัน ซึ่งการหักล้างสมมุติฐานดังกล่าวด้วยโองการนี้จึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ เราจึงหักล้างสมมุติฐานข้างต้นด้วยการสัมพันธ์ไปยังความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอาน หลังจากนั้นความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอาน ได้พิสูจน์โดยใช้ประโยชน์จากโองการที่กล่าวว่า อัล-กุรอานถูกพิทักษ์รักษาให้บริสุทธิ์จากการถูกตัดต่อหรือเพิ่มเติม ทั้งโองการและบทที่เป็นเอกเทศ (อันเป็นสาเหตุทำให้ระบบอันเป็นความมหัศจรรย์ของอัล-กุรอานถูกทำลายทิ้ง) ฉะนั้น ความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอานจากการถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยเพิ่มเติมให้มากขึ้น หรือถูกทำให้ลดน้อยลง หรือการอธิบายโดยใช้เหตุผลทางสติปัญญาและข้อบันทึกก็ถูกพิสูจน์ไปโดยปริยาย

สรุป สิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งที่สมควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ จุดประสงค์ที่กล่าวว่าอัล-กุรอานบริสุทธิ์จากการถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น มิได้หมายความว่าทุกที่ ๆ  พบเห็นคัมภีร์นามว่าอัล-กุรอานจะบริสุทธิ์จากการพิมพ์หรืออ่านผิดไปทั้งหมด หรือไม่มีการตีความแบบผิด ๆ หรือความหมายมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง หรือมิได้หมายความว่าโองการหรือบทต่าง ๆ ของอัล-กุรอานถูกประทานลงมาอย่างเป็นระเบียบเรียงตามลำดับ ทว่าจุดประสงค์ของความบริสุทธิ์คือ อัล-กุรอานที่ยังคงอยู่ท่ามกลางประชาชาติที่แสวงหาความจริง สามารถพิสูจน์และใช้ประโยชน์จากทุกโองการตามที่ประทานลงมาได้เหมือนเดิม ดังนั้น ความบกพร่องหรือผิดพลาดของกุรอานบางฉบับ หรือการอ่านที่แตกต่างกัน หรือการจัดวางโองการหรือบทที่ไม่ตรงกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน หรือการเปลี่ยนแปลงความหมายของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ตามทัศนะตนเอง ถือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ขัดแย้งกับประเด็นที่กล่าวว่า อัล-กุรอาน บริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ดังที่กำลังวิพากกันอยู่ในขณะนี้



[1] อัล-กุรอาน บทอัรเราะฮฺมาน โองการ 64
[2] เช่นรายงานในฐานะของคำอธิบายอัล-กุรอาน และตำราอ้างอิงบางฉบับ หรือรายงานที่อยู่ในฐานะของการหักล้างคำอธิบายอัล-กุรอาน ที่ผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย ซึ่งได้รับจากสิ่งเหล่านั้นที่บ่งบอกถึงการตัดบางคำหรือบางประโยคไปจากอัล-กุรอาน
[3] ประชาชน ดังที่อัล-กุราน อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 44 กล่าวถึงบรรดาผู้รู้และนักปราชญ์ชาวยิวและชาวคริสต์ไว้ดังนี้ว่า พวกเขาเป็นพยานยืนยันในคัมภีร์นั้น