โองการตับลีฆ

ส่วนนี้จะกล่าวเฉพาะ เรื่องอิมามมัตเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเน้นเรื่องการทำความรู้จักอิมามัตผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยจะนำเสนอหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งอัล-กุรอาน และฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

การรวบรวมหลักฐานและเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นหนึ่งในแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการรู้จักท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมาม (อ.) และสำคัญที่สุดคือ ความช่วยเหลืออันเป็นสัจธรรมยิ่งสำหรับความสำเร็จในการกล่าวถึงเรืองดังกล่าว

อันดับแรกจะขออธิบายถึงโองการอัล-กุรอานที่กล่าวถึงอิมามัตโดยเฉพาะ ซึ่งโองการเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนดังนี้

๑. โองการที่กล่าวถึงเรื่องอิมามโดยตรง

๒. โองการที่ไม่ได้กล่าวถึงอิมามโดยตรง

แม้ว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้จะมีโองการมากมายกล่าวถึง แต่ ณ ที่นี้จะคัดเลือกเอาเฉพาะโองการที่กล่าวอยู่ในขอบเขต ๒ ประเด็นข้างต้น

โองการที่กล่าวถึงเรื่องอิมามโดยตรงประกอบด้วย

๑. โองการตับลีฆ และเหตุการณ์เกี่ยวกับเฆาะดีรคุม

๒. โองการวิลายะฮฺ

๓. โองการอูลิลอัมริ

๔. โองการซอดิกีน

๕. โองการกุรบา

ส่วนที่สองจะกล่าวถึงโองการที่กล่าวถึงความประเสริฐของต่าง ๆ  ซึ่งจะพยายามนำเสนอโองการที่มิได้กล่าวถึงอิมามัต แต่กล่าวถึงความประเสริฐของบุคคลที่เป็นอิมาม เช่น โองกาีรที่กล่าวถึงความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งพิสูจน์ว่าท่านมีความเหมาะสมและมีความประเสริฐที่สุดในหมู่ประชาชาติของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นบุคคลที่ดีที่สุดภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โองการเหล่านี้ต้องการพิสูจน์ว่าท่านอิมามอะลี (อ.) มีความสมบูรณ์และผิดแปลกไปจากบุคคลอื่น ดังนั้น ตราบที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ยังมีชีวิตอยู่บุคคลอื่นจึงไม่มีความเหมาะสมในการเป็นอิมามทั้งสิ้น

อีกนัยหนึ่ง สติปัญญากล่าวำว่าปัญหาเรื่องอิมามัตและเคาะลิฟะฮฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่เลือกสรรบุคคลที่ไม่มีดี หรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม มาปกครองหรือเป็นผู้นำบุคคลที่มีคุณสมบัติดีกว่าเด็ดขาด หรือแม้แต่ในกฏสากลก็จะประณามการคัดเลือกเอาบุคคลที่ไม่เหมาะสม หรือมีคุณสมบติด้อยกว่าบุคคลอื่นขึ้นเป็นผู้นำ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการยืนยันถึงความไร้สามารถ และการด้อยทางความรู้ของกลุ่มชนดังกล่าว เนื่องจากได้ทำให้บุคคลที่มีความประเสริฐมากกว่าต้องไปปฏิบัติตามคนที่ต่ำชั้นกว่า

โองการที่กล่าวถึงอะฮฺลุลบัยตฺและอิมามมัตมีมากมาย แต่จะคัดมาอธิบายเพียงแต่ ๒๕ โองการเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นโองการที่ไม่ได้กล่าวถึงอิมามโดยตรง ประกอบด้วย

๑. โองการ มุบาฮิละฮฺ

๒. โองการ คัยรุลบะรียะฮฺ

๓. โองการ ลัยละตุลมะบีต

๔. โองการ ฮุกุมัต

๕. โองการ ในซูเราะฮฺ ฮัลอะตา

๖. โองการ แรก ๆ ในซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

๗. โองการ ซะกอยะตุลฮาจญฺ

๘. โองการ ซอลิฮุลมุอฺมิน

๙. โองการ วิซารัต

๑๐,๑๑. โองการ จากซูเราะฮฺอะฮฺซาบ

๑๒. โองการ บัยยินะฮฺวะชาฮิด

๑๓. โองการ ซิดดีกูน

๑๔. โองการ นูร

๑๕. โองการ อิงซอร

๑๖. โองการ มุรญุลบะฮฺรัยนฺ

๑๗. โองการ นัจวา

๑๘. โองการ ซาบิกูน

๑๙. โองการ อิซนฺ วะ อะอียะฮฺ

๒๐. โองการ มะวัดดะฮฺ

๒๑. โองการ มุนาฟิกูน

๒๒. โองการ อีซาอฺ

๒๓. โองการ อิงฟาก

๒๔. โองการ มุฮิบบัต

๒๕. โองการ มัซอูลูน

ลำดับต่อไปจะอธิบายแต่ละโองการพอสังเขป เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงหลักความเชื่อของมุสลิมนิกายชีอะฮฺ และให้คนส่วนใหญ่ตัดสินด้วยสติปัญญาอันคับแคบของตนเองว่าสิ่งที่กล่าวมานั้นถูกหรือว่าผิด หรือเข้ากันกับสติปัญญาหรือไม่

โองการที่กล่าวถึงเรื่องอิมามัตโดยตรง

๑. โองการตับลีฆ อัล-กุรอานกล่าวว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงคุ้มครองเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกปฏิเสธทั้งหลาย (๕/๖๗)

สาเหตุของการประทานโองการ

จากตำราทั้งฝ่ายชีอะฮฺและซุนนียฺต่างได้บันทึกตรงกันว่า โองการดังกล่าวถูกประทานให้กับท่านอิมามอะลี (อ.)

ริวายะฮฺดังกล่าวเซาะฮาบะฮฺจำนวนมาก เช่น อบูซะอีด คุดรียฺ ซัยดฺ บิน อัรกอม ญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ อิบนุ อับบาซ บัรรออฺ บิน อาซิบ ฮุดีฟะฮฺ อบูฮุรอยเราะฮฺ อิบนุ มัซอูด อามิริบนิ ลัยลา ได้รายงานไว้ ซึ่งริวายะฮฺทั้งหมดกล่าวว่า โองการดังกล่าวลงให้ท่านอิมามอะลี (อ.)

สิ่งที่น่าสนใจคือ บางริวายะฮฺจากริวายะฮฺเหล่านั้นได้รายงานไว้หลายกระแสรายงานด้วยกัน เช่น

- ฮะดีซ อบูซะอีด คุดรียฺ รายงานไว้ทั้งสิ้น ๑๑ กระแสรายงาน

- ฮะดีซ อิบนุ อับบาซ รายงานไว้ ๑๑ กระแสรายงาน

- ฮะดีซ บัรรออฺ บิน อาซิบ รายงานไว้ ๓ กระแสรายงาน

บุคคลที่บันทึกฮะดีซเหล่านี้อยู่ในตำราของตน ล้วนเป็นบุคคลทีมีชื่อเสียงทั้งสิ้นได้แก่

๑.ฮาฟิซ อบูนะอีม เอซฟาฮานียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ มานะซะละ มินัล กุรอานิ ฟี อะลี คัดลอกมาจาก อัลเคาะซออิซ หน้า ๒๙

๒. อบุลฮะซัน วาฮิดียฺ นีชาบูรียฺ บันทึกไว้ใน อัซบาบุลนุซูล หน้า ๑๕๐

๓. อิบนุ อะซากิร ชาฟาอียฺ คัดลอกมาจาก อัรดุรุลมันซูร เล่ม ๒ หน้า ๒๙๘

๔. ฟัครุรรอซียฺ บันทึกไว้ในตัฟซีรกะบีร เล่ม ๓ หน้า ๖๓๖

๕. อบูอิซฮาก ฮุมูวัยนียฺ บันทึกไว้ใน ฟะรออิด อัซซิมตัยนฺ

๖. อิบนุ ซิบาฆ มาลิกียฺ บันทึกไว้ใน ฟุฟูลุลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๗

๗. ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ บันทึกไว้ใน อัรดุรุลมันซูร เล่ม ๓ หน้า ๒๙๘

๘. กอฎียฺ เชากานียฺ บันทึกไว้ใน ฟัตฮุลเกาะดีร เล่ม ๓ หน้า ๕๗

๙. ชะฮาบุดดีน อาลูซียฺ ชาฟิอียฺ บันทึกไว้ในเราฮุลมะอานียฺ เล่ม ๖ หน้า ๑๗๒

๑๐. ชัยคฺ สุลัยมาน กันดูซียฺ ฮะนะฟียฺ บันทึกไว้ใน ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า ๑๒๐

๑๑. บัดรุดดีน ฮะนะฟียฺ บันทึำไว้ใน อุมดะตุล กอรียฺ ฟี ชัรฮิล บุคอรียฺ เล่ม ๖ หน้า ๕๘๔

๑๒. ชัยคฺ มุฮัมมัด อับดุ มิซรียฺ บันทึกไว้ใน อัลมินาร เล่ม ๖ หน้า ๔๖๓

๑๓. ฮาฟิซ อิบนุมัรดะวียะฮฺ เสียชีวิต ฮ.ศ. ๔๑๘ คัดลอกมาจากซุยูฏียฺ จากอัดดุรุลมัสซูร และยังมีการบันทึกฮะดีซเหล่านี้ในตำราอื่น ๆ อีกมากมาย

แน่นอนต้องไม่ลืมว่านักวิชาการที่เอ่ยนามมาข้างต้นนอกจากจะกล่าวถึงริวายะฮฺ และสาเหตุของการประทานโองการแล้ว น่าเสียดายที่ว่าบางคนได้ปล่ิอยสิ่งสำคัญเหล่านี้ไปอย่างง่ายดายโดยไม่ได้ให้ความสำคัญ

เรื่องราวเกี่ยวกับเฆาะดีร

          ดังที่กล่าวไปแล้วว่าโองการข้างต้นได้ถูกประทานให้กับท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ดังมีบันทึกอยู่ในตำราของชีอะฮฺและซุนนียฺ จนอยากที่จะปฏิเสธความจริงเหล่านี้ได้ นอกเสียจากอคติหรือทิฐิที่ฝังแน่นอยู่ในใจเท่านั้น และนอกจากริวายะฮฺที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีริืวายะฮฺอีกจำนวนมากมาย กล่าวถึงเหตุการณ์ของเฆาะดีรเอาไว้ เช่น กล่าวว่า โองการดังกล่าว (๕/๖๗) ถูกประทานลงมาหลังจากเหตุการณ์เฆาะดีร หลังจากคำเทศนาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากที่ท่านได้แนะนำท่านอะลีเป็นอิมาม เป็นวะซียฺ และเป็นตัวแทนของท่านแก่ประชาชาติ ซึ่งจำนวนริวายะฮฺเหล่านี้มีมากกว่าริืวายะฮฺที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนกระทั่้งว่าท่านอัลลามะฮฺ อามีนียฺ ได้รวบรวมไว้ในหนังสื่อ อัลเฆาะดีรของท่าน โดยรายงานมาจากเซาะฮาบะฮฺถึง ๑๑๐ ท่าน พร้อมกับหลักฐานและกระแสรายงาน รายงานจากบรรดาตาบิอีนอีก ๘๔ ท่าน และจากบรรดานักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงของอิสลามอีก ๓๖๐ ท่าน

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาที่ริวายะฮฺเหล่านั้นอย่างละเอียดสามารถเชื่อได้อย่างมั่นใจว่า ฮะดีซเฆาะดีร เป็นฮะดีซที่เชื่อถือได้อย่างไม่มีข้อสงสัย และเป็นฮะีดีซที่มั่นคงที่สุด

สำหรับบุคคลที่ต้องการหลักฐานเพิ่มเติมสามารถค้นคว้าได้จากตำราดังต่อไปนี้

๑. หนังสื่อนะฟีซุล เฆาะดีร เล่ม ๑

๒. อิฮฺกอกุลฮัก เขียนโดยอัล ลามะฮฺ กอฏียฺ ชูชตะรียฺ อธิบายโดย อายะตุลลอฮฺ นะญะฟียฺ มัรอะชียฺ เล่ม ๓ , ๓ , ๑๔ และ ๒๐

๓. อัลมะรอญิอาต มัรฮูมชะรัฟฟุดดีน อามีลียฺ

๔. อับกอตุลอันวาร เขียนโดย มีร ฮามิด ฮุซัยนียฺ ฮินดี (ดีกว่าให้ค้นคว้าจากหนังสือสรุปอัล อับกอต เล่ม ๗,๘,๙)

๕. ดะลาอิลุซซิดกฺ เขียนโดยมัรฮูม มุซัฟฟัร เล่ม ๒

มาตรฐานของริวายะฮฺเฆาะดีร

ช่วงบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากการบำเพ็ญฮัจญฺครั้งสุดท้ายสำหรับท่าน (ฮัจญะตุลวะดา) ซึ่งเวลานั้นหัวใจทุกดวงยังอิ่มเอิบกับผลบุญที่ได้รับจากการบำเพ็ญฮัจญฺ จำนวนเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดามีมากเกินกว่า ๑๒๐,๐๐๐ คน      

พิธีกรรมดังกล่าวไม่ได้มีเฉพาะมุสลิมชาวมะดีนะฮฺเพี่ยงอย่างเดี่ยว แต่มีมุสลิมจากทั่วสารทิศเข้าร่วมในพิธีกรรมดังกล่าว แม้ว่าแสงแดดจะร้อนระอุสักปานใดก็ตามแต่เมื่อเทียบกับความหวานชื่นของพิธีกรรมแล้วไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ ทุกสิ่งทุกอย่างแลดูง่ายดายไปทั้งหมด

เมื่อกองคาราวานได้เดินทางมาถึึงทางแยกซึ่งแยกหนึ่งมุ่งหน้าไปสู่มะดีนะฮฺซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ แยกหนึ่งมุ่งหน้าไปสู่อีรักซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก แยกหนึ่งมุ่งหน้าสู่ทิศตัวันตกและอียิปต์ ส่วนอีกแยกหนึ่งมุ่งหน้าไปสู่เยเมนซึ่งอยู่ทางทิศใต้ ทุกคนที่เิดินทางมาต่างอิ่มเอิบกับผลบุญในการประกอบฮัจญฺครั้งนี้ และทุกคนต่างรอคำสั่งสุดท้ายจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าท่านจะสั่งเสียสิ่งใดอีก

วันพฤหัส ปี ฮ.ศ. ที่ ๑๐ แปดวันหลังอีดกุรบาน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สั่งให้กองคาราวานทั้งหมดหยุดลงโดยกระทันหันพวกที่ล่วงหน้าไปแล้วท่านได้สั่งให้กลับมา และสั่งให้รอพวกที่ยังเดินทางมาไม่ถึง ตะวันได้คล้อยผ่านไปบ่งบอกว่าถึงเวลาซุฮฺริแล้ว เสียงอะซาน อัลลอฮุอักบัร จากผู้อะซานบอกเวลานมาซได้ดังขึ้น เพื่อเชิญชวนประชาชนไปสู่นมาซซุฮฺริ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนแดดแผดเผา กลางทะเลทรายที่ไม่มีพื้นสีเขียว ไม่มีต้นไม้ และไม่มีร่มเงาบังแดด บางคนต้องเอาอะบาอฺบางส่วนรองไว้ใต้ฝ่าเท้า และเอาอีกด้านหนึ่งปิดศีรษะเพื่อกันความร้อนทุกคนได้ต่อสู้กับความร้อนด้วยความยากลำบาก

หลังนมาซซุฮฺริ

มุสลิมบางกลุ่มกำลังจะเข้าไปหลบแดดใต้เต็นท์ที่ตนได้พามา แต่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศให้ทุกคนเตรียมตัวรอรบฟังข่าวที่ยิ่งใหญ่จากพระผู้อภิบาล เนื่องจากประชาชนหนาแน่นบางกลุ่มมองไม่เห็นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้สร้างมิมบัรขึ้นโดยใช้อานม้าและอูจเรียงทับกัน หลังจากนั้นได้เชิญท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขึ้นไปบนนั้น เมื่อกล่าวสรรเสริญและขอบคุณพระผู้อภิบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านได้กล่าวกับประชาชนโดยตรงว่า         

ฉันได้ตอบรับคำเชิญของพระผู้อภิบาลเรียบร้อยแล้ว และในไม่ช้านี้ฉันคงต้องจากพวกท่านไปอย่างถาวร  ฉันและพวกท่านทั้งหลายต่างมีหน้าที่รับผิดชอบด้วยกันทั้งสิ้น พวกท่่านปฏิญาณยืนยันเกี่ยวกับตัวฉันว่าอย่างไร

ประชาชนทั้งหมดได้ตะโกนด้วยเสียงดังว่า พวกเราขอยืนยันว่าท่านได้ทำหน้าที่ประกาศสารของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทำการอบรมและปรับปรุงสังคมแล้ว และสุดท้ายท่านได้ทำการชี้นำพวกเราเข้าสู่หนทางที่เที่ยงธรรม ขอพระองค์โปรดประทานรางวัลที่ดีงามแก่ท่าน

หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า พวกท่านยืนยันไหมว่า พระไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ   มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสดาของพระองค์ วันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อการสอบสวนสวรรค์และนรกนั้นมีจริง

ทั้งหมดกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า แน่นอน พวกเราขอยืนยันเช่นนั้น ท่านกล่าวว่า ขอให้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพยานต่อคำยืนยัน

ท่านกล่าวต่อว่า โอ้ประชาชนทั้งหลาย พวกท่านได้ยินเสียงฉันไหม พวกเขาตอบว่า พวกเราได้ยิน หลังจากนั้นทุกคนได้นิ่งเงียบไม่มีเสียงอันใดนอกจากเสียงกระแสลมร้อนที่กรรโชกเข้ามา

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ฉันขอฝากสิ่งหนักสำคัญสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน พวกท่่านลองพิจารณาดูซิว่า พวกท่านจะทำอย่างไรกับของสองสิงนี้ภายหลังจากฉัน

ทันใดนั้นมีคนหนึ่งยืนขึ้นและ ตะโกนขึ้นว่่าสิ่งสำคัญสองสิ่งนั้นคืออะไร

ท่านตอบว่า สิ่งแรกเป็นสิ่งหนักที่ยิ่งใหญ่อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งด้านหนึ่งของคัมภีร์อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน และพวกท่านจงยึดสิ่งนี้ไว้ให้มั่นเพื่อจะได้ไม่หลงทาง ส่วนสิ่งหนักอีกประการหนึ่งที่ฉันขอฝากไว้ให้หมู่พวกท่านได้แก่ ลูกหลานที่ใกล้ชิดของฉัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเมตตาได้ส่งข่าวให้ฉันทราบว่า สิ่งหนักสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ พวกท่านทั้งหลายจงอย่าล้ำหน้าทั้งสองเพราะจะเป็นสาเหตุให้พวกท่านพบกับความหายนะ และพวกท่านจงอย่าล้าหลังจากทั้งสองเพราะจะเป็นสาเหตุให้พวกท่านพบกับความหายนะเช่นกัน

ประชาชนเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้หันมองรอบ ๆ เหมือนกับว่าท่านกำลังมองหาใครบางคน และแล้วสายตาของท่านก็จับจ้องไปที่ท่านอะลี ท่านได้ก้มไปจับมือของท่านอะลีชูขึ้นจนเห็นรอยขาวนวลใต้รักแร้ของทั้งสอง ซึ่งประชาชนทั้งหมดเห็นและจำได้ว่าบุคคลนั้นคือราชสีห์ที่ไม่เคยพ่ายแำ้พ้แห่งอิสลาม ตรงนี้เสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังขึ้นกว่าเดิม ท่่านกล่าวว่า

ايها الناس من اولى الناس بالمؤمنين من انفسهم

โอ้ประชาชนทั้งหลาย ใครคือผู้ที่มีความประเสริฐกว่าชีวิตของผู้ศรัทธาทั้งหลาย

ทั้งหมดกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลเท่านั้นที่รู้ดี

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้คุ้มครองและเป็นนายของฉัน ส่วนฉันคือ ผู้ปกครองมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย และฉันมีความประเสริฐกว่าชีวิตของพวกเขา (หมายถึงความต้องการของศาสดาย่อมมาก่อนความต้องการของพวกเขา)

หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า

فمن كنت مولاه فعلى مولاه

ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้้วย

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตอกย้ำประโยคนี้ถึง ๓ ครั้งด้วยกัน บางริวายะฮฺกล่าวว่าท่านได้เน้นย้ำถึง ๔ ครั้ง และมากกว่านั้น

หลังจากนั้นท่านได้แหงนหน้ามองท้องฟ้าและกล่าวว่า

اللهم و ال من والاه و عاد من عاداه واحب من احبه و ابغض من ابغضه و انصر من نصره و اخذل من خذله و ادر الحق معه حيث دار

โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเป็นมิตรกับบุคคลที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูกับบุคคลที่เป็นศัตรูกับเขา โปรดรักบุคคลที่รักเขา โปรดเกลียดชังบุคคลที่เกลียดชังเขา โปรดช่วยเหลือบุคคลที่ช่วยเหลือเขา โปรดทอดทิ้งบุคคลที่ทอดทิ้งเขา โปรดให้สัจธรรมอยู่กับเขาตราบที่เขามียังมีชีวิต และโปรดอย่าแยกเขาออกสัจธรรม

หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า พวกท่านจงจำไว้ให้ดีว่าเป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่ที่นี่ทุกคน ที่ต้องแจ้งข่าวให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในที่นี้ทราบ

เมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวเทศนาจบและก้าวเท้าลงมาจากมิมบัร ประชาชนได้แห่เข้ามาหาท่่านกับท่านอะลีอย่างล้นหลาม และไม่ทันที่ประชาชนจะแตกแถวออกไป ท่านญิบรออีลก็ได้นำเอาโองการอัล-กุรอานมาให้ท่าน

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا

วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า ฉันได้ให้ความกรุณาเมตตาของฉันครบบริบูรณ์แล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า (๕/๓)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

الله اكبر، الله اكبر على اكمال الدين و اتمام النعمة و رضى الرب برسالتى و الولاية لعلى من بعدى :

อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร แทัจริงพระองค์ได้ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์  ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเราอย่างครบถ้วน และทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน

ในเวลานั้นประชาชนเริ่มวุ่นวาย เนื่องจากทุกคนต่างคนต่างแย่งกันเข้ามาแสดงความดีใจกับท่านอะลี (อ.) แม้แต่บุคคลในชั้นแนวหน้าอย่างอบูบักรฺ และอุมัรเองก็เข้าแสดงความดีใจกับท่านอะลีด้วย ทั้งสองได้กล่าวต่อหน้าประชาจำนวนมากมายในวันนั้นว่า

بخ بخ لك ياابن ابى طالب اصبحت و امسيت مولاى و مولا كل مؤمن و مؤمنة

ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง

เวลานั้นท่านอิบนุอับบาซกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าคำมั่นสัญญานี้จะยืนหยัดตลอดไป

ฮิซาน บิน ซาบิตนักกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อ่่านบทกวีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า

يناديهم يوم الغديرنبيهم                بخمّ واسمع بالرسول مناديا

فقال فمن مولاكم و نبيكم              فقالو و لم يبدوا هناك التعاميا

الهك مولانا و انت نبينا                و لم تلق منا فى الولاية عاصيا

فقال له قم يا على فاننى               رضيتك من بعدى اماما و هاديا

فمن كنت مولاه فهذا وليه              فكونوا له اتباع صدق مواليا

هناك دعا اللهم و ال وليه              و كن للذى عادا عليا معاديا

ท่านศาสดาได้เรียกพวกเขาให้มารวมกันในวันเฆาะดีร ณ คุม เพื่อฟังสิ่งที่เราะซูลได้เรียกมา

ท่านกล่าวว่า ใครเป็นนายและเป็นนบีของพวกท่าน พวกเขาตอบอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่อ้อมค้อมทันทีว่า

พระผู้เป็นเจ้าของท่านคือนายของพวกเรา และท่านคือนบีของพวกเรา การที่เรายอมรับวิลายะฮฺของท่านจะไม่ทำให้เราระหกระเหิน

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดฉันได้เลือกให้เจ้าเป็นอิมามและผู้ชี้นำภายหลังจากฉันแล้ว

หลังจากนั้นกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ดังนั้น พวกท่านจงปฏิบัติตามเขาด้วยความจริงใจ

เวลานั้น ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอะลี

และนี่เป็นบทสรุปฮะดีซเฆาะดีรที่รายงานไว้ทั้งในตำราซุนนียฺและชีอะฮฺ

วิเคราะห์อายะฮฺตับลีฆ

ถ้าหากไม่คิดถึงสาเหตุที่ลงโองการและฮะดีซต่าง ๆ ที่กล่าวถึง เพี่ยงแค่พิจารณาถึงสาระและมาตรฐานของโองการและโองการหลังจากนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน จะทำให้เห็นถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองเกี่ยวกับผู้นำผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อย่างชัดเจน

โองการข้างต้นพร้อมกับการอธิบายในมุมมองต่าง ๆ ที่ได้กล่าวอธิบายไว้ถ้าใคร่ครวญอย่างละเอียดจะเห็นประเด็นสำคัญ ๓ ประการดังนี้

๑. ปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในอิสลาม ถึงขนาดที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ประกาศสิ่งนั้นออกไป ถ้าไม่ประกาศพระองค์จะยกเลิกการเผยแพร่ที่ท่านได้กระทำมาตลอด ๒๓ ปี ซึ่งเท่ากับว่าท่านไม่เคยประกาศสารของพระองค์ อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งนี้มีความสำคัญเท่าเทียมกับนบูวัต เนื่องจากถ้าท่านศาสดาไม่ประกาศออกไป เท่ากับการเป็นศาสดาของท่านไม่สมบูรณ์หรือถูกยกเลิกดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า ถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ 

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญประการนั้นต้องไม่ใช่คำสั่งธรรมดาทั่วไปอย่างแน่นอน เนื่องจากพระองค์กำชับว่า ถ้าไม่ทำเท่ากับไม่เคยประกาศสารมาเลย ซึ่งคำพูดนี้ชัดเจนมากไม่ต้องการคำอธิบายแต่อยางใด ขณะที่ภายของโองการก็ยกความสำคัญของประเด็นดังกล่าวเทียบเท่ากับริซาละฮฺ

๒. ประเด็นสำคัญดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับนมาซ ศีลอด ฮัจญฺ ญิฮาด ซะกาต และสิ่งคล้ายคลึงกันอย่างแน่นอน เนื่องจากว่าโองการดังกล่าวอยู่ในซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าซูเราะฮฺมาอิดะฮฺเป็นซูเราะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หมายถึงในช่วงบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่าน น้่นหมายความว่าท่านได้สอนสั่งเกี่ยวกับหลักการอิสลามเรียบร้อยก่อนหน้านั้นแล้ว 301

๓. คำอธิบายของโองการบ่งบอกว่าเป็นภาระกิจที่ลำบากใจและหนักหนาสาหัสยิ่งนัก เนื่องจากด้านหนึ่งเป็นสาเหตุนำพาให้ชีวิตของท่านศาดาไม่ปลอดภัย และตกอยู่ในอันตราย ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงรับปากท่านศาสดาว่า พระองค์จะปกป้องท่านศาสดาเอง พระองค์ตรัสว่า อัลลอฮฺทรงคุ้มครองเจ้าจากมวลมนุษย์

ท้ายสุดของโองการสำทับอีกว่า  แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกปฏิเสธทั้งหลาย

แน่นอนคำอธิบายนี้แสดงให้เห็นว่าต้องมีบุคคลไม่มากก็น้อย ปฏิเสธและต้องแสดงความขัดแย้งออกมาอย่างแน่นอน ฉะนั้น สิ่งสำคัญ ๓ ประการที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าิสิ่งที่โองการต้องการประกาศมิสามารถเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากการประกาศแต่งตั้งให้ท่านอะลีเป็นเคาะลิฟะฮฺและเป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

แน่นอนว่าในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านคงจะไม่มีสิ่งใดสำคัญเกินไปกว่า การแต่งตั้งตัวแทนอย่างแน่นอน ยิ่งปัญหาเรื่องหลักการปฏิบัติในอิสลามด้วยแล้วยิ่งเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต ถ้าจนถึงเวลานั้นยังไม่ได้ประกาศหลักการอิสลามแล้ว มุสลิมจะปฏิบัติตัวกันอย่างไร และอิบาดะฮฺที่ำได้กระทำมาก่อนหน้านั้นจะเป็นเช่นไร สำคัญไปกว่านั้นสิ่งนี้ต้องเท่าเทียมกับริซาละฮฺของท่านศาสดาด้วย เนื่องจากถ้าไม่ประกาศริซาละฮฺของท่านต้องถูกยกเลิก

ฉะนั้น ทุกตัฟซีรที่อธิบายโองการดังกล่าวที่นอกเหนือไปจากการแต่งตั้งท่านอะลีแล้ว ถือว่าไม่ถูกต้องทั้งสิ้น และไม่มีความเหมาะสมกับโองการด้วย