๘๑. บรรดานบีและสหายของท่าน คือ แบบอย่างสำหรับผู้ศรัทธา

وَكَأَيِّن مِّن نَّبِيٍّ قَاتَلَ مَعَهُ رِبِّيُّونَ كَثِيرٌ فَمَا وَهَنُواْ لِمَا أَصَابَهُمْ فِي سَبِيلِ اللّهِ وَمَا ضَعُفُواْ وَمَا اسْتَكَانُواْ وَاللّهُ يُحِبُّ الصَّابِرِينَ  # وَمَا كَانَ قَوْلَهُمْ إِلاَّ أَن قَالُواْ ربَّنَا اغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَإِسْرَافَنَا فِي أَمْرِنَا وَثَبِّتْ أَقْدَامَنَا وانصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِينَ# فَآتَاهُمُ اللّهُ ثَوَابَ الدُّنْيَا وَحُسْنَ ثَوَابِ الآخِرَةِ وَاللّهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ

และตั้งกี่นบีแล้ว ที่กลุ่มชนผู้มั่นคงในศาสนาจำนวนมากได้ต่อสู้เคียงข้างเขา พวกเขาไม่ท้อถอยต่อภยันตราย ที่ประสพแก่พวกเขาในทางของอัลลอฮฺ พวกเขาไม่อ่อนแอ และพวกเขาไม่สยบ และอัลลอฮฺ ทรงรักผู้อดทน คำพูดของพวกเขามิใช่อื่นใด เว้นแต่ที่พวกเขากล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดอภัยโทษแก่เรา ซึ่งความผิดของเรา และการฟุ่มเฟือยของเราในกิจการของเรา และโปรดทรงให้เท้าของเรามั่นคง และโปรดทรงช่วยเหลือเราให้มีชัยต่อประชาชาติผู้ปฏิเสธ ดังนั้น อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานรางวัลของโลกนี้แก่เขา และรางวัลที่ดีแห่งโลกหน้า และอัลลอฮฺ ทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลายอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยกย่องแก่บรรดาผู้มีความศรัทธา ความอดทน และอดกลั้น ต่ออุปสรรคต่างๆ นบีและสหายของท่านนั้นคือแบบอย่างที่พระองค์ทรงแนะนำ ด้วยกับคุณลักษณะเช่นนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยกย่องพวกเขาไว้ดังนี้ (อิมรอน โองการที่ ๑๔๖-๑๔๘)

๑. ขณะที่พวกเขาเผชิญหน้ากับอุปสรรค ความภักดีของพวกเขามิได้อ่อนแอลง

๒. พวกเขาไม่เคยแสดงความอ่อนแอ  

๓. เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู พวกเขาไม่ยอมจำนนและไม่อ้อนวอนขอร้องใด ๆ

ขณะนั้นพวกเขาต่างวิงวอนว่า

๑. โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยความผิดบาปของพวกเราด้วยเถิด!

๒. ขอทรงอภัยต่อการกระทำเกินเหตุของข้าพระองค์

๓. ขอให้อยู่ในหนทางเที่ยงตรง

๔. ให้พวกเราได้พบชัยชนะเหนือผู้ปฏิเสธด้วยเถิด

สิ่งที่ควรพิจารณา คือ เมื่อใดที่พวกเขาสารภาพบาปของพวกเขา อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเรียกพวกเขาเหล่านั้นว่า ผู้กระทำความดี เสมือน อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับบรรดามนุษย์ทั้งหลายว่า “เมื่อใดที่สูเจ้ายอมรับความผิดของตน ข้าจะให้ความความดีแก่เจ้าและให้พวกเจ้าเป็นที่รักของข้า ดังที่ตรัสว่า  อัลลอฮฺทรงรักปวงบ่าวที่ดี เพื่อให้รู้ว่าไม่มีหนทางใดสำหรับบ่าวที่ดำเนินไปยังพระองค์ได้ นอกจากการแสดงความอ่อนแอและการไร้ความสามารถ (ตัฟซีร กะบีร เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๕) 

นักต่อสู้ที่แท้จริง แทนที่จะโยนความพ่ายแพ้หรือความผิดของตนให้กับผู้อื่นหรือโทษปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง พวกเขาจะค้นหาจุดบกพร่องของตนเองและคิดที่จะทดแทนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ตรงข้ามกับพวกเรา ที่พยายามทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้กับความอ่อนแออันเป็นที่มาของความผิดพลาด และความพ่ายแพ้ และโยนความผิดทั้งหมดเหล่านั้นให้กับปัจจัยอื่น (ตัฟซีรนะมูเนะฮฺ  เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๒๒)

๘๒. นบีเป็นพี่น้องของประชาชน

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเรียกบรรดานบีมาว่าเป็นพี่น้องของประชาชน และมาจากประชาชิตเหล่านั้นมิใช่พี่น้อง เพราะพวกเขามิได้ปฏิบัติต่อบรรดานบี เสมือนพี่น้องที่ให้ความรักและความเมตตาต่อกัน แต่ทำตัวเป็นศัตรู พูดจาหยาบคาย และกล่าวหาว่าท่านเหล่านั้นพูดปด

กลุ่มชนของนบีซอลิฮฺ (อ.) กล่าวว่า

قَالُوا إِنَّمَا أَنتَ مِنَ الْمُسَحَّرِينَ

 พวกเขากล่าวว่า แท้จริงท่านเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ถูกอาคม (ชุอะรออฺ โองการที่ ๑๕๓)

กลุ่มชนของนบีนูฮฺ (อ.) กล่าวว่า

لَئِن لَّمْ تَنتَهِ يَا نُوحُ لَتَكُونَنَّ مِنَ الْمَرْجُومِينَ   

โอ้ นูฮฺ หากท่านไม่หยุดยั้งแน่นอนท่านจะอยู่ในหมู่ผู้ถูกขว้างด้วยก้อนหิน (ชุอะรออฺ โองการที่ ๑๑๖)

กลุ่มชนของนบีฮูด (อ.) กล่าวว่า 

وَمَا نَحْنُ بِتَارِكِي آلِهَتِنَا عَن قَوْلِكَ وَمَا نَحْنُ لَكَ بِمُؤْمِنِينَ   

พวกเราก็จะไม่ละทิ้งพระเจ้าทั้งหลายของเราเพราะคำกล่าวของท่าน และพวกเราก็จะไม่ศรัทธาในตัวท่าน (ฮูด โองการที่ ๕๓)

กลุ่มชนของนบีลูฏ (อ.) กล่าวว่า

 لَئِن لَّمْ تَنتَهِ يَا لُوطُ لَتَكُونَنَّ مِنَ الْمُخْرَجِينَ

 โอ้ ลูฏเอ๋ย หากท่านไม่หยุดยั้ง แน่นอนท่านเป็นผู้หนึ่งที่จะถูกขับไล่ให้ออกไป (ชุอะรออฺ โองการที่ ๑๖๗)

กลุ่มชนของนบีชุอีบ (อ.) กล่าวว่า

وَمَا أَنتَ إِلَّا بَشَرٌ مِّثْلُنَا وَإِن نَّظُنُّكَ لَمِنَ الْكَاذِبِينَ

และท่านมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นสามัญชนเช่นเรา และเราคิดว่าท่านเป็นผู้กล่าวเท็จคนหนึ่ง (ชุอะรออฺ โองการที่ ๑๘๖, กัชฟุล อิสรอล เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๖๖๘)

๘๓. บรรดานบี รวมอยู่ในการช่วยเหลือของพระเจ้า

وَلَقَدْ سَبَقَتْ كَلِمَتُنَا لِعِبَادِنَا الْمُرْسَلِين #َإِنَّهُمْ لَهُمُ الْمَنصُورُونَ

และแน่นอน ลิขิตของเราได้บันทึกไว้ก่อนแล้ว แก่ปวงบ่าวของเราที่เป็นเราะซูลว่า แน่นอน พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ (ซอฟาต โองการที่ ๑๗๑-๑๗๒)

บรรดานบีของพระเจ้า คือ ส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือจากพระองค์ แต่ความช่วยเหลือมิได้ระบุว่า เป็นความช่วยเหลือในโลกนี้หรือโลกหน้า หรือในรูปแบบใด แต่อาจเป็นความช่วยเหลือทั้งโลกนี้และโลกหน้าก็เป็นได้

إِنَّا لَنَنصُرُ رُسُلَنَا وَالَّذِينَ آمَنُوا فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَيَوْمَ يَقُومُ الْأَشْهَادُ

แท้จริงเราจะช่วยเหลือบรรดาเราะซูลของเรา และบรรดาผู้ศรัทธาอย่างแน่นอน ทั้งในชีวิตของโลกนี้ และในวันซึ่งปวงพยานจะยืนขึ้นเป็นพยาน (ฆอฟิร โองการที่ ๕๑)

บรรดานบีของพระองค์ คือ สาเหตุของชัยชนะเพราะท่านทั้งหลายอยู่ในหนทางแห่งสัจธรรม และหนทางแห่งสัจธรรมจะไม่มีวันพ่ายแพ้ ทั้งยังได้รับชัยชนะเหนือศัตรูอีกต่างหากทั้งนี้เพราะ อัลลอฮฺ (ซบ.)จะทรงเอาคืนจากศัตรูของบรรดานบี

حَتَّى إِذَا اسْتَيْأَسَ الرُّسُلُ وَظَنُّواْ أَنَّهُمْ قَدْ كُذِبُواْ جَاءَهُمْ نَصْرُنَا فَنُجِّيَ مَن نَّشَاء وَلاَ يُرَدُّ بَأْسُنَا عَنِ الْقَوْمِ الْمُجْرِمِينَ

จนกระทั่งบรรดาเราะซูลหมดหวัง และ (ประชาชน) คิดว่าได้พูดโกหกกับพวกเขาในเวลานั้นการช่วยเหลือของเราได้มายังพวกเขา ดังนั้น ผู้ที่เราประสงค์ก็ถูกช่วยเหลือให้รอด การลงโทษของเราจะไม่ถูกผลักไสออกจากหมู่ชนผู้กระทำผิด (ยูซุฟ โองการที่ ๑๑๐)

นบีสุลัยมาน (อ.) วอนขอโอกาสในการปฏิบัติความดีงาม

فَتَبَسَّمَ ضَاحِكًا مِّن قَوْلِهَا وَقَالَ رَبِّ أَوْزِعْنِي أَنْ أَشْكُرَ نِعْمَتَكَ الَّتِي أَنْعَمْتَ عَلَيَّ وَعَلَى وَالِدَيَّ وَأَنْ أَعْمَلَ صَالِحًا تَرْضَاهُ وَأَدْخِلْنِي بِرَحْمَتِكَ فِي عِبَادِكَ الصَّالِحِينَ

เขา (สุลัยมาน) ยิ้มแกมหัวเราะต่อคำพูดนั้นและกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ ขอทรงโปรดดลให้ข้าฯได้ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ที่ทรงโปรดปรานแก่ข้าฯ แก่บิดามารดาของข้าฯ และโปรดให้ข้าฯกระทำความดีซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัย และโปรดให้ข้าฯอยู่ในความเมตตาของพระองค์ท่ามกลางปวงบ่าวผู้เป็นกัลญาณชนทั้งหลายของพระองค์ (นัมลฺ โองการที่ ๑๙)

โองการข้างต้นมีประเด็นสำคัญดังนี้

๘๔. คำว่า เอาซะอฺนี

คำนี้เป็นกริยามาจากรูปแบบของ บาบอิฟอาล  ซึ่งมัซดารหรือรากของคำ คือ อีซาอุน หมายถึง การดลใจ ครั้นเมื่อนบีสุลัยมานได้ยินคำปรารภของฝูงมดท่านดีใจมาก ท่านยิ้มออกมาด้วยความเบิกบานใจที่ว่าอัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานอันมากมายแก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ ขอทรงโปรดดลให้ข้าฯได้ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ที่ทรงโปรดปรานแก่ข้าฯ แก่บิดามารดาของข้าฯ และโปรดให้ข้าฯกระทำความดีซึ่งพระองค์ทรงพอพระทัย และโปรดให้ข้าฯอยู่ในความเมตตาของพระองค์ท่ามกลางปวงบ่าวผู้เป็นกัลญาณชนทั้งหลายของพระองค์

๘๕.โปรดให้ข้าฯอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ท่ามกลางปวงบ่าวผู้เป็นกัลญาณชนทั้งหลายของพระองค์

ข้อเสนอนี้มิได้ผูกมัดอยู่กับการกระทำ เพื่อว่าจุดประสงค์จะตีกรอบอยู่เฉพาะการประกอบคุณงามความดี คำขอได้ครอบคลุมไปถึงการปรับปรุงจิตใจ เพื่อให้จิตใจมีความพร้อมสำหรบการยอมรับเกียรติยศทั้งหลาย เป็นที่แน่ชัดว่าการปรับปรุงจิตวิญญาณนั้นสูงส่งกว่าการปรับปรุงการงาน ดังนั้น อันดับแรกท่านได้วอนขอให้ประสบความสำเร็จในการประกอบคุณงามความดี หลังจากนั้นท่านได้ขอการยกระดับจิตใจ ซึ่งในความเป็นจริงท่านได้ลำดับขั้นของการวิงวอนกล่าวคือ จากขั้นต่ำสุดไปสู่ขั้นสูงสุด

๘๖. การวิงวอนขอกระทำความดี

ท่านวิงวอนการกระทำความดี โดยกล่าววว่า ฉันขอปฏิบัติแต่ความดีงามและขอปาวนาตนให้อยู่ในนั้น ท่านมิได้เอ่ยถึงการขัดเกลาจิตวิญญาณ เนื่องจากทุกคนมีแผนในการกระทำของตนเอง ประหนึ่งว่า การกระทำของเรา คือ สิ่งถูกสร้างหนึ่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างล้วนผูกพันกับตัวของเราเอง

แตกต่างไปจากการขัดเกลาจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีสิ่งใดอยู่ในอำนาจของเรา ดังนั้น ท่านจึงวิงวอนขอการขัดเกลาจิตวิญญาณต่อพระองค์ โดยมิได้วอนขอการแก้ไขการกระทำ ท่านจึงมิได้กล่าวว่า ขอทรงโปรดดลการกระทำความดีแก่ข้าฯ แต่ท่านกล่าวว่า ขอทรงโปรดดลให้ข้าฯได้กระทำความดี (อัลมีซาน เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๕๓)

๘๗. บรรดานบ คือ การเปิดเผยคุณลักษณะของพระเจ้า

อัล-กุรอาน อธิบายเปรียบเทียบคุณลักษณะและการกระทำของอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบรรดานบีของพระองค์ และในบรรดาโองการเหล่านั้นอาจกล่าวได้ว่า คุณลักษณะและการกระทำเบื้องต้นเกี่ยวกับอัลลอฮฺ บรรดาศาสดาคือแหล่งของการเปิดเผยคุณลักษณะสมบูรณ์ของพระองค์ และได้รับประโยชน์โดยอนุมัติของพระองค์ โปรดพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

๑. การปกครองของพระเจ้า

นบีดาวูด (อ.) คือผู้เปิดเผยปกครองของพระเจ้า กุรอาน กล่าวว่า

إِنِ الْحُكْمُ إِلاَّ لِلّهِ 

แท้จริงการตัดสินเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น (อันอาม โองการที่ ๕๗)

يَا دَاوُودُ إِنَّا جَعَلْنَاكَ خَلِيفَةً فِي الْأَرْضِ فَاحْكُم بَيْنَ النَّاسِ بِالْحَقِّ

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า โอ้ ดาวูดเอ๋ย  เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม (ซ็อซ โองการที่ ๒๖)

๒. ความเมตตาและความปราณีของพระเจ้า

ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) คือ ผู้เปิดเผยความเมตตาปรานีของพระเจ้า

أَنَّ اللَّه رَؤُوفٌ رَحِيمٌ  

และแท้จริงอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงเอ็นดูผู้ทรงเมตตาเสมอ (นูร โองการที่ ๒๐)

بِالْمُؤْمِنِينَ رَؤُوفٌ رَّحِيمٌ

 อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาสงสารต่อบรรดาผู้ศรัทธา (เตาบะฮฺ โองการที่ ๑๒๘)

๓. ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพ

ท่านนบีอีซา (อ.) คือ ผู้เปิดเผยวิธีการทำให้คนตายฟื้นคืนชีพ

و أنّه إمات و إحيی

แท้จริงพระองค์ คือ ผู้ทรงทำให้ตายและทรงทำให้เป็น (นัจมฺ โองการที่ ๔๔)

وَهُوَ الَّذِي أَحْيَاكُمْ 

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า และพระองค์ คือ ผู้ทรงให้ชีวิตแก่พวกเจ้า (ฮัจญฺ โองการที่ ๖๖)

وَأُحْيِي الْمَوْتَى بِإِذْنِ اللّهِ

ตรัสว่า  ฉันจะทำให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้น ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ (อาลิอิมรอน โองการที่ ๔๙)

๔. การชี้นำของพระองค์

บรรดานบี คือ ผู้เปิดเผยการชี้นำของพระเจ้า

قُلِ اللّهُ يَهْدِي لِلْحَقِّ  وَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا

จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ ทรงชี้นำสู่สัจธรรม  (ยูนุส โองการที่ ๓๕) และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้นำตามบัญชาของเรา (อัมบิยา โองการที่ ๗๓)

๘๘. บรรดานบีของพระองค์กับสิ่งเร้นลับ

ในกุรอานได้แบ่ง สิ่งที่เหนือธรรมชาติออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ โองการที่กล่าวถึง สิ่งเหนือธรรมชาตินั้น มีเฉพาะแต่พระองค์ 

وَعِندَهُ مَفَاتِحُ الْغَيْبِ لاَ يَعْلَمُهَا إِلاَّ هُوَ และที่พระองค์นั้นมีบรรดากุญแจแห่งความเร้นลับ โดยที่ไม่มีใครรู้กุญแจเหล่านั้น นอกจากพระองค์เท่านั้น กุญแจแห่งความเร้นลับเหล่านั้นอยู่ในมือของพระองค์ และนอกจากพระองค์ไม่มีผู้ใดที่จะรู้ได้ (อันอาม โองการที่ ๕๙)

กลุ่มที่สอง โองการกุรอานกล่าวไว้เกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปของบรรดานบีนั้นได้มาจากสิ่งเหนือธรรมชาติ

وَمَا كَانَ اللّهُ لِيُطْلِعَكُمْ عَلَى الْغَيْبِ وَلَكِنَّ اللّهَ يَجْتَبِي مِن رُّسُلِهِ مَن يَشَاء

และใช่ว่าอัลลอฮฺจะทรงให้พวกเจ้ามองเห็นสิ่งเร้นลับก็หาไม่ แต่ทว่าอัลลอฮฺนั้นจะทรงคัดเลือกจากบรรดาเราะซูลของพระองค์ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ (อาลิอิมรอน โองการที่ ๑๗๙)

ใช่ว่าพระองค์จะให้พวกเจ้ารู้ถึงสิ่งเร้นรับ แต่พระองค์จะเลือกสรรจากบรรดาเราะซูลของพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ (และอนุญาตให้เขารู้เพียงส่วนเท่านั้น)

ตรงนี้สามารรวมโองการต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้หลายวิธี

๑. จุดประสงค์ของการเจาะจงว่าความรู้เรื่องสิ่งเร้นลับเป็นของอัลลอฮฺ หมายถึงพระองค์ทรงรู้นี้ด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น นอกจากพระองค์แล้วไม่มีผู้ใดรู้ในสิ่งเร้นลับนั้นได้โดยตรง และบุคคลใดก็ตามที่มีความรู้นี้ได้ก็โดยอนุมัติและโดยความกรุณาของพระองค์เท่านั้น หลักฐานของการรวมโองการกุรอานที่กล่าวข้างต้นเข้าด้วยกัน คือ อัลลอฮฺจะไม่ให้ผู้ใดได้รับรู้ถึงสิ่งเร้นลับ นอกจากบรรดาเราะซูลที่พระองค์ทรงพอพระทัย

๒. สิ่งเร้นลับมี ๒ ประเภทกล่าวคือ ประเภทแรกเฉพาะสำหรับพระองค์เท่านั้นโดยไม่มีใครสามารถรับรู้สิ่งนั้นได้ เช่น การเกิดกิยามัต (วันสิ้นโลก) หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และอีกส่วนหนึ่งคือ ได้ถูกถ่ายถอดให้กับบรรดานบีและหมู่มวลมิตรของพระองค์ ดังเช่นที่ท่านอะมีรุลมุอมินีน กล่าวว่า ความรู้เรื่องเร้นลับเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการเกิดวันสิ้นโลก และสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้ในโองการที่กล่าวว่า แท้จริงความรู้แห่งวันอวสานมีอยู่ ณ ที่พระองค์ พระองค์ทรงประทานฝนลงมา พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในมดลูกและไม่มีชีวิตใดรู้ว่า ณ แผ่นดินใดมันจะตาย (ลุกมาน โองการที่ ๓๔, นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ ๑๒๘)

ความเร้นลับที่ได้กล่าวไว้ในโองการกุรอานอันประเสริฐนี้ ได้แก่เรื่องของวันกิยามัตและเวลาของการเกิดซึ่งเฉพาะอัลลอฮฺเท่านั้นรู้ และ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบฝนที่โปรยปราย และสิ่งที่อยู่ในครรภ์ของมารดา แน่นอนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าวันพรุ่งนี้จะทำอะไร และจะเสียชีวิตอยู่ ณ แผ่นดินใด

อิมามได้อธิบายความหมายเพิ่มเติมไว้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงทราบทารกที่อยู่ในครรภ์ว่าเป็นหญิง หรือชาย สวยหรือไม่สวย เป็นผู้มีความเมตตาหรือตระหนี่ถี่เหนียว เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จหรือเป็นผู้พ่ายแพ้ เป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก สิ่งเหล่านี้เรียกว่าความรู้ในสิ่งเร้นลับซึ่งนอกจากพระองค์แล้ว ไม่มีผู้ใดที่จะสามารถรู้ได้ นอกเหนือจากความรู้เหล่านี้แล้วเป็นความรู้ทั่วไปที่พระองค์ทรงสอนให้แก่นบี (ซ็อล ฯ) และท่านได้สอนให้ฉัน

๓. อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงล่วงรู้ในสิ่งเร้นลับทุกสิ่ง แต่บรรดานบีและหมู่มวลมิตรของพระองค์ไม่รู้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่ถ้าหากว่าพวกเขาต้องการอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงสอนพวกเขาซึ่งความต้องการดังกล่าวต้องได้อนุญาตและขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของพระองค์ หลักฐานยืนยันคำกล่าวอ้างข้างต้นคือรายงานจำนวนมากที่รวบรวมไว้ในหนังสือ อัลกาฟียฺ  ในหัวข้อ บรรดาอิมามเมื่อต้องการทราบสิ่งใด จะถูกสอนสิ่งนั้นให้ (ตัฟซีร นะมูเนะ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๔๒)

๘๙. โทษของการให้ร้ายยังพระองค์

وَلَوْ تَقَوَّلَ عَلَيْنَا بَعْضَ الْأَقَاوِيلِ#  لَأَخَذْنَا مِنْهُ بِالْيَمِينِ # ثُمَّ لَقَطَعْنَا مِنْهُ الْوَتِينَ

และหากเขา (มุฮัมมัด) เสกสรรกล่าวคำเท็จบางคำแก่เราแล้ว เราจะจับเขาด้วยความมั่นคง แล้วเราจะตัดเส้นชีวิตให้ขาดไปจากเขา (ฮาเกาะฮฺ โองการที่ ๔๔-๔๖)

โองการกุรอานข้างต้นนี้ ได้ขู่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามว่า ถ้าหากพูดจาให้ร้ายเรา เราจะดังมือข้างขวาของเจ้ามาและตัดเส้นเลือดใหญ่ที่มือของเจ้าให้ขาดลง

อัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวถึงข้อถกเถียงผู้แอบอ้างการเป็นนบี และพูดจาโกหกต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าทำไมพระองค์ไม่ทรงทำการตกลงกับพวกเขาในทำนองนี้ ท่านตอบดังนี้ คำสั่งนี้เป็นสิทธิของนบี (ซ็อล ฯ) เท่านั้นมิใช่สำหรับผู้แอบอ้างคนอื่น ซึ่งเป็นการแอบอ้างที่โกหก

๙๐. บรรดานบีผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัติ (อูลุลอัซมฺ)

فَاصْبِرْ كَمَا صَبَرَ أُوْلُوا الْعَزْمِ مِنَ الرُّسُلِ

ดังนั้น เจ้าจงอดทนดังเช่นบรรดาเราะซูลผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัติทั้งหลาย (อะห์กอฟ โองการที่ ๓๕)

โองการข้างต้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า สูเจ้าจงอดทน ดังเช่นบรรดานบีผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัติก่อนหน้านั้น เนื่องจากเจ้าก็เป็นหนึ่งในหมู่พวกเขา ดังนั้น จงอดทนเหมือนพวกเขา

จากโองการอัล-กุรอานเข้าใจได้ว่า บรรดานบีที่เป็นเจ้าของบทบัญญัตินั้น คือ บุคคลที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้สัญญามั่นแก่พวเขาได้แก่นบีนูฮฺ นบีมูซา นบีอีซา และนบีมุฮัมหมัด (ซ็อล ฯ)

وَإِذْ أَخَذْنَا مِنَ النَّبِيِّينَ مِيثَاقَهُمْ وَمِنكَ وَمِن نُّوحٍ وَإِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ وَأَخَذْنَا مِنْهُم مِّيثَاقًا غَلِيظًا

และจงรำลึกถึง เมื่อเราได้เอาคำมั่นสัญญาจากบรรดานบีและจากเจ้า ได้แก่กนูฮฺ อิบรอฮีม มูซา และอีซาบุตรของมัรยัม และเราได้ให้คำมั่นสัญญาอันหนักแน่นแก่พวกเขา (อะฮฺซาบ โองการที่ ๗)

และสิ่งที่ได้จากโองการอื่น คือ ศาสดาทั้ง ๕ ท่านเป็นเจ้าของบทบัญญัติ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

شَرَعَ لَكُم مِّنَ الدِّينِ مَا وَصَّى بِهِ نُوحًا وَالَّذِي أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَمَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى

พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮฺ และที่เราได้วะฮียฺแก่เจ้าก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮิม มูซาและอีซา (อัลชูรอ โองการที่ ๑๓)

และรายงานอีกจำนวนมากทั้งจากซุนนีและชีอะฮฺ ต่างยืนยันว่า บรรดานบีผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัตินั้นมีเพียง ๕ ท่านเท่านั้น (มีซาน เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๑๘)

๙๑. บรรดานบีอูลุลอัซมฺ คือ เจ้าของบทบัญญัติ

شَرَعَ لَكُم مِّنَ الدِّينِ مَا وَصَّى بِهِ نُوحًا وَالَّذِي أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَمَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى أَنْ أَقِيمُوا الدِّينَ وَلَا تَتَفَرَّقُوا فِيهِ

พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮฺ และที่เราได้วะฮียฺแก่เจ้าก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีม มูซาและอีซา พวกเจ้าจงดำรงศาสนาให้มั่นคง และจงอย่าแตกแยกกันในเรื่องศาสนา (อัซชูรอ โองการที่ ๑๓)

ประเด็นที่ได้รับจากโองการข้างต้น คือ

ศาสนบัญญัติและศาสนาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มาวะฮฺยู (วิวรณ์) มีเพียงเฉพาะศาสนาที่กล่าวไว้ในโองการเท่านั้นได้แก่ ศาสนาของนบีนูฮฺ (อ.) นบีอิบรอฮีม (อ.) นบีมูซา (อ.) นบีอีซา (อ.) และนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เพราะถ้ามีศาสนาอื่นแล้วก็ต้องถูกกล่าวไว้ในโองการด้วยเช่นกัน เนื่องจากโองการข้างต้นอยู่ในฐานะอธิบายความครอบคลุมบทบัญญัติของอิสลาม และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ในยุคสมัยก่อนนบีนูฮฺ (อ.) ไม่มีบทบัญญัติและศาสนาอื่นใดอยู่เลย ซึ่งพอที่จะนำมาแก้ไขความขัดแย้งในสังคมได้

๙๒. บรรดาศาสาอื่นปฏิบัติตามแนวทางของศาสดาอูลุลอัซมฺ

บรรดานบีที่ได้รับการแต่งตั้งหลังจากนบีนูฮฺ (อ.) จนถึงสมัยของท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ทั้งหมดเจริญรอยตามศาสนาของนบีนูฮฺ (อ.) ทั้งสิ้น และบรรดานบีที่ถูกประทานลงมาหลังจากนบีอิบรอฮีม (อ.) และก่อนนบีมูซา (อ.) นั้น ทั้งหมดเจริญรอยตามศาสนาของท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) และนบีที่มาหลังจากนบีมูซา (อ.) แต่ก่อนหน้านบีอีซา (อ.) ล้วนเจริญรอยตามศาสนาของนบีมูซา (อ.) เช่นกัน และบรรดานบีที่มาหลังจากนบีอีซา (อ.) ก็เจริญรอยตามศาสนาของท่านเช่นกัน.

๙๓. ศาสดาอูลุลอัซมฺมีเพียงห้าท่าน

บรรดานบีผู้เป็นเจ้าของศาสนบัญญัติกุรอานได้เรียกพวกท่านว่า อูลุลอัซมฺ มีเพียงห้าท่านเท่านั้น เพราะถ้ามีนบีผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัติท่านอื่นแล้ว จะต้องถูกกล่าวไว้ในอัล-กุรอานอย่างแน่นอน เนื่องจากโองการกำลังอธิบายเปรียบเทียบศาสนาอิสลามกับศาสนาอื่น อัล-กุรอาน อัลอะฮฺซาบ โองการที่ ๗ กล่าวว่า

وَإِذْ أَخَذْنَا مِنَ النَّبِيِّينَ مِيثَاقَهُمْ وَمِنكَ وَمِن نُّوحٍ وَإِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ

และจงรำลึกถึง เมื่อเราได้เอาคำมั่นสัญญาจากบรรดานบีและจากเจ้า ได้แก่กนูฮฺ อิบรอฮีม มูซา และอีซาบุตรของมัรยัม และเราได้ให้คำมั่นสัญญาอันหนักแน่นแก่พวกเขา โองการได้กล่าวสนับสนุนสิ่งที่กำลังกล่าวถึง (อัลมีซาน เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๙)

๙๔. ความหมายของวิญญาณอันบริสุทธิ์

وَلَقَدْ آتَيْنَا مُوسَى الْكِتَابَ وَقَفَّيْنَا مِن بَعْدِهِ بِالرُّسُلِ وَآتَيْنَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ الْبَيِّنَاتِ#وَأَيَّدْنَاهُ بِرُوحِ الْقُدُسِ

และเราได้ประทานคัมภีร์แก่มูซาและหลังจากเขาแล้ว เราได้ให้มีราซูลสืบต่อเนื่องกันมา เราได้ส่งอีซาบุตรของมัรยัมมาพร้อมกับหลักฐานอันชัดแจ้ง (อัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๘๗) และเราได้เสริมอำนาจแก่เขา ด้วยวิญญาณบริสุทธิ์ (อัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๒๕๓)

นักอรรถาธิบายได้กล่าวถึง วิญญาณบริสุทธิ์ไว้หลายทัศนะด้วยกันคือ

๑. วิญญาณบริสุทธิ์ หมายถึง ญิบรออีล หลักฐานที่ใช้ยืนยันคำกล่าวนี้ คือ อัล-กุรอานที่กล่าวว่า

قُلْ نَزَّلَهُ رُوحُ الْقُدُسِ مِن رَّبِّكَ بِالْحَقِّ

จงกล่าวเถิด วิญญาณบริสุทธิ์ได้นำอัล-กุรอาน จากพระผู้อภิบาลของเจ้าลงท่ด้วยความจริง (อัลนะฮ์ลิ โองการที่ ๑๐๒)

ทำไมจึงกล่าวว่า ญิบรออีล คือ วิญญาณบริสุทธิ์ นั่นก็เพราะ ต้นกำเนิดวิญญาณของบรรดามะลาอิกะฮฺเป็นที่ชัดเจน ส่วนการนำคำว่า วิญญาณ มาใช้กับมะลาอิกะฮฺถือว่าถูกต้อง อีกทั้งได้นำไปใช้รวมกับคำว่า อัลกุดุซ (บริสุทธิ์) บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริงของมลาอิกะฮฺองค์นี้

๒. วิญญาณอันบริสุทธิ์นั่นก็คือ อำนาจเร้นลับที่สนับสนุนบีอีซา (อ.) และด้วยอำนาจเร้นลับของพระเจ้านั้นเองอีซาจึงทำให้คนตายฟื้นคืนชีพ แน่นอน อำนาจเร้นลับนี้มีอยู่ในตัวผู้ศรัทธาทุกคนในสภาพที่อ่อนแอ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับขั้นของความศรัทธาของแต่ละคน และด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นเองที่มนุษย์สามารถกระทำการงานต่าง ๆ หรือแสดงความภักดีได้และออกห่างจากสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหลาย ดังเช่นอิมาม (อ.) กล่าวแก่นักกวีบางท่าน หลังจากได้อ่านบทกวีของตนแล้ว ท่านกล่าว วิญญาณบริสุทธิ์ได้เป่าที่ลิ้นของเจ้า สิ่งที่เจ้ากล่าวออกมาล้วนเป็นความช่วยเหลือของเขาทั้งสิ้น

๓. วิญญาณบริสุทธิ์นั้นคือคัมภีร์ อินญีล

แต่อาจกล่าวได้ว่า ในสองคำอธิบายแรกนั้นถือว่าใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด (ตัฟซีร นะมูเนะฮฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๓๘)