๗๐. ความจำเป็นต่อการปฏิบัติตามการชี้นำของบรรดานบี

أُوْلَئِكَ الَّذِينَ هَدَى اللّهُ فَبِهُدَاهُمُ اقْتَدِهْ قُل لاَّ أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِنْ هُوَ إِلاَّ ذِكْرَى لِلْعَالَمِينَ   

ชนเหล่านี้ คือ ผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงแนะนำไว้ ดังนั้นด้วยคำแนะนำของพวกเขา เจ้าจงเจริญรอยตามเถิด จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า ฉันจะไม่ขอต่อพวกท่าน ซึ่งค่าจ้างใดๆ ในการใช้ให้ศรัทธาต่อ อัล-กุรอาน อัล-กุรอานนั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากคำตักเตือนสำหรับประชาชาติทั้งหลายเท่านั้น (อันอาม โองการที่ ๙๐)

การชี้นำของอัลลอฮฺ (ซบ.) ถือเป็นสิ่งมีค่าและยิ่งใหญ่ยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะ อัล-กุรอานได้กล่าวถึงบรรดานบีบางท่านที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมของการชี้นำของอัลลอฮฺ (ซบ.) อยู่ทั้งหมด ดังนั้น การปฏิบัติตามคำชี้นำของนบีที่ดีที่สุดจึงเป็นคำสั่งใช้จากพระองค์

เป็นสิ่งที่น่าแปลกก็คือ พระองค์มิได้ตรัสว่า بهم اقتده ก็คือ “จงปฏิบัติตามพวกเขา” แต่พระองค์ทรงตรัสว่า بهديهم اقتده “จงปฏิบัติตามการชี้นำของพวกเขา” ถ้ามีคำกล่าวว่า بهم اقتده ได้ถูกกล่าวไว้เช่นกันนั้น ความหมายของมันก็คือ ให้ปฏิบัติตามต่อการชี้นำของพวกเขา ดังนั้น คำสั่งให้ปฏิบัติตามนั้นเป็นจุดประสงค์อันยิ่งใหญ่ของการชี้นำ (อัลมีซาน เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๗๔)

๗๑. การปฏิบัติตามต่อบรรดานบี เป็นการแสดงถึงความรักต่อพระองค์

ในทรรศนะของอัล-กุรอานหนทางเดียวที่แสดงถึงความรักต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) คือ การปฏิบัติตามต่อบรรดานบี

قُلْ إِن كُنتُمْ تُحِبُّونَ اللّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللّهُ وَيَغْفِرْ لَكُمْ ذُنُوبَكُمْ وَاللّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พวกเขาหากพวกท่านรักอัลลอฮฺ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ (อาลิอิมรอน โองการที่ ๓๑)

ถ้าหากในอิสลามจะมีบุคคลเฉกเช่น ซัลมาน คือ เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนบีนั้น ก็เป็นเพราะว่า การปฏิบัติตามพวกท่าน.سلمان منّا اهل البيت   (ซะฟีนะตุล บิฮาร เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๖๔๘) ท่านนบี อิบรอฮีม (อ.) กล่าวว่า ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามฉัน,มาจากฉัน (อิบรอฮีม โองการที่ ๓๖)  หรือกุรอานได้กล่าวไว้ว่า

إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِإِبْرَاهِيمَ لَلَّذِينَ اتَّبَعُوهُ وَهَذَا النَّبِيُّ وَالَّذِينَ آمَنُواْ وَاللّهُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ  

แท้จริงผู้คนที่สมควรยิ่งต่ออิบรอฮีมนั้น ย่อมได้แก่บรรดาผู้ปฏิบัติตามเขา และปฏิบัติตามนบีนี้ (ถือว่าปฏิบัติตามตามท่านนบีมุฮัมมัดด้วย เพราะท่านตั้งอยู่บนแนวทางของนบีอิบรอฮีม) และบรรดาผู้ศรัทธาด้วย (คือศรัทธาต่อทานนบีมุฮัมมัด) อัลลอฮฺ นั้นทรงคุ้มครองผู้ศรัทธาทั้งหลาย (อาลิอิมรอน โองการที่ ๖๘)

ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มิได้ปฏิบัติตามบรรดานบี ก็มิได้มาจากพวกเขา เช่นเดียวกับลูกชายของนบีนูฮฺ (อ.)

إِنَّهُ لَيْسَ مِنْ أَهْلِكَ

แท้จริงเขามิได้เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของเจ้า (ฮูด โองการที่ ๔๖)

 ดังนั้น คำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ(ซบ.) ต่อความอ่อนน้อมถ่อมตนของนบี (ซ็อล ฯ) ที่มีต่อบรรดามุอฺมินนั้น มิได้เป็นเงื่อนไขที่แท้จริง แต่จะเฉพาะกับบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามท่านเท่านั้น

 وَاخْفِضْ جَنَاحَكَ لِلْمُؤْمِنِينَ  

จงลดปีกของเจ้าให้ต่ำต่อบรรดาผู้ศรัทธา (ฮิจญรฺ โองการที่ ๘๘)

๗๒. ปรัชญาของการไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทนจากประชาชน

يَا قَوْمِ لا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِنْ أَجْرِيَ إِلاَّ عَلَى الَّذِي فَطَرَنِي

โอ้ กลุ่มชนของฉันเอ๋ย! ฉันมิได้ขอร้องต่อพวกท่านซึ่งรางวัลในการนี้เลย รางวัลของฉันนั้นอยู่กับพระผู้ให้บังเกิดฉัน (ฮูด โองการที่ ๕๑)

ผู้นำที่แท้จริง ที่สามารถออกห่างจากข้อตำหนิและถูกกล่าวหา จนท้ายที่สุดหลุดพ้นจากความผิดพลาด และให้อยู่บนความถูกต้องต่อหน้าบรรดาผู้ตามของเขานั้น จะต้องไม่พัวพันและมีความต้องการในวัตถุ หากไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งเหล่านั้นมันจะเป็นโซ่ที่มัดมือมัดเท้าของเขา และควบคุมความคิด ความอ่านของเขา โดยเหตุนี้ จึงมีการเตรียมไว้สำหรับพวกเขา อาจเป็นการบังคับมิให้รับการช่วยเหลือทางด้านปัจจัยต่าง หรือ จะเป็นวิธีการให้ความช่วยเหลือ ต่างๆนานาก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้นำจะมีใจบริสุทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังเป็นมนุษย์ และอาจเป็นไปได้ที่จุดหนึ่งของเขานั้นเกิดการสั่นคลอน ดังนั้น กุรอาน กล่าวไว้ว่า “บรรดานบีนั้นจะรีบประกาศตนจากการไม่ต้องการสิ่งใดและไม่หวังผลใด ๆ จากผู้ที่ปฏิบัติตามเขา”

๗๓.  การปฏิเสธบรรดานบี

อัล-กุรอานกล่าวว่า  หมู่ชนของนูฮฺ ได้ปฏิเสธบรรดาเราะซูล (ชุอารอ โองการที่ ๑๐๕)

โองการอัล-กุรอานข้างต้นนั้น กลุ่มชนของนบีนูฮฺ (อ.) ได้ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มชนที่ปฏิเสธบรรดานบี ไม่เพียงแต่นอกจากนบีนูฮ บรรดานบีท่านอื่น ๆ ก็ถูกปฏิเสธด้วยเช่นกัน เพราะว่าบรรดานบี ทำการเชื้อเชิญและเรียกร้องให้ไปสู่พระเจ้าองค์เดียว ดังนั้น ถ้าบุคคลหนึ่งจากพวกเขาปฏิเสธ จึงทำให้ถูกปฏิเสธทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ(ซบ.) ได้กล่าวแก่บรรดาผู้ที่มีศรัทธาต่อนบีบางท่าน และไม่ศรัทธาต่อนบีบางท่านดังต่อไปนี้

وَيقُولُونَ نُؤْمِنُ بِبَعْضٍ وَنَكْفُرُ بِبَعْضٍ وَيُرِيدُونَ أَن يَتَّخِذُواْ بَيْنَ ذَلِكَ سَبِيلاً أُوْلَـئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ حَقًّا

และกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคน และปฏิเสธในบางคน และพวกเขาต้องการที่จะยึดเอาในระหว่างนั้น ซึ่งทางใดทางหนึ่งนั้น #ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างแท้จริง (นิซาอฺ โองการที่ ๑๕๐-๑๕๑)

๗๔.  สาเหตุที่ทำให้เกิดการขัดแย้งต่อบรรดานบี

กุรอานได้กล่าถึงปัจจัยและรากเหง้าของการขัดแย้งกับบรรดานบี ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การมีกิเลสและตัณหา ซึ่งเป็นรากฐานของสาเหตุอื่นๆที่จะตามมา

๑. กิเลส

كُلَّمَا جَاءهُمْ رَسُولٌ بِمَا لاَ تَهْوَى أَنْفُسُهُمْ فَرِيقًا كَذَّبُواْ وَفَرِيقًا يَقْتُلُونَ               

เราได้ส่งบรรดาเราะซุลมายังพวกเขาทุกครั้งที่เราะซูลคนใดนำสิ่งที่จิตใจของพวกเขาไม่ชอบมายังพวกเขาแล้ว กลุ่มหนึ่ง พวกเขาก็ปฏิเสธและอีกกลุ่มหนึ่งพวกเขาก็ฆ่าเสีย (มาอิดะฮฺ โองการที่ ๗๐)

๒. หยิ่งลำพอง

إِنَّ الَّذِينَ يُجَادِلُونَ فِي آيَاتِ اللَّهِ بِغَيْرِ سُلْطَانٍ أَتَاهُمْ إِن فِي صُدُورِهِمْ إِلَّا كِبْرٌ

แท้จริง บรรดาผู้โต้เถียงในเรื่องอายาตของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) โดยปราศจากหลักฐานมายังพวกเขานั้น ไม่มีอะไรในทรวงอกของพวกเขานอกจากต้องการจะเป็นใหญ่ (ฆอฟิร โองการที่ ๕๖)

๓.โง่เขลา เบาปัญญา

وَقَالَ الَّذِينَ لاَ يَعْلَمُونَ لَوْلاَ يُكَلِّمُنَا اللّهُ أَوْ تَأْتِينَا آيَةٌ

ได้กล่าวว่า หากอัลลอฮฺ ไม่เจรจากับเรา (โดยตรง) หรือไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ มาสู่พวกเรา (เราก็ไม่ขอเชื่อถืออย่างแน่นอน) (บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๑๑๘)

๔. ความรู้ทางด้านวัตถุ

فَلَمَّا جَاءَتْهُمْ رُسُلُهُم بِالْبَيِّنَاتِ فَرِحُوا بِمَا عِندَهُم مِّنَ الْعِلْمِ

ดังนั้น เมื่อบรรดาเราะซูลของพวกเขาได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานต่าง ๆ อันชัดแจ้งพวกเขาก็ดีใจกับความรู้ (ทางด้านวัตถุ) ที่มีอยู่กับพวกเขา (ฆอฟิร โองการที่ ๘๓)

๕.หลงในผลประโยชน์ของวัตถุ

قَالُواْ يَا شُعَيْبُ أَصَلاَتُكَ تَأْمُرُكَ أَن نَّتْرُكَ مَا يَعْبُدُ آبَاؤُنَا أَوْ أَن نَّفْعَلَ فِي أَمْوَالِنَا مَا نَشَاءُ

พวกเขากล่าวว่า โอ้ ชุอัยบ์เอ๋ย  การนมาซของท่านสั่งสอนท่านว่า ให้พวกเราละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษของเราเคารพบูชา หรือว่าให้เรากระทำต่อทรัพย์สินของเราตามที่เราต้องการกระนั้นหรือ (ฮูด โองการที่ ๘๗)

๖.จิตใจของพวกเขาถูกครอบงำ

وَقَالُواْ قُلُوبُنَا غُلْفٌ بَل لَّعَنَهُمُ اللَّه بِكُفْرِهِمْ فَقَلِيلاً مَّا يُؤْمِنُونَ

และพวกเขากล่าวว่า หัวใจของพวกเรามั่นคงปลอดภัย แต่ความจริงก็คือ อัลลอฮฺได้ประณามสาปแช่งพวกเขา เพราะการที่พวกเขาปฏิเสธ ดังนั้น พวกเขาจึงมีน้อยนักที่ศรัทธา (บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๘๘)

ข้อบ่งชี้ความเป็นนบี

๗๕. วิธีการค้นหาความชัดเจนในการเป็นนบี

๑. แสดงปาฏิหาริย์

การกระทำสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฎธรรมชาติ เรียกว่า ความปาฏิหาริย์ ในเรื่องราวของนบีมูซา (อ.) ที่ประหัตประหารกัน เพื่อสัจธรรมและความไม่ถูกต้องด้วยมุอญิซาต (ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ) กับเล่ห์มายากล นบีมูซา(อ.) กล่าวกับฟาโรห์และบรรดาผู้ที่อยู่รายล้อมเขาว่า “ฉันมาจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน พร้อมกับปาฏิหาริย์ (มุอญิซาต) อัล-กุรอาน กล่าวว่า

قَدْ جِئْنَاكَ بِآيَةٍ مِّن رَّبِّكَ وَالسَّلَامُ عَلَى مَنِ اتَّبَعَ الْهُدَى

แน่นอน เราได้นำสัญญาณ จากพระเจ้าของท่านมายังท่านแล้วและความปลอดภัย (จากการลงโทษของอัลลอฮฺ) จงมีแด่ผู้ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง (ตอฮา โองการที่ ๔๗)

ความชัดเจนในการเป็นนบีที่แท้จริงของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานอัล-กุรอานให้กับท่านเพื่อกล่าวกับประชาชาติว่า

إِن كُنتُمْ فِي رَيْبٍ مِّمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُواْ بِسُورَةٍ مِّن مِّثْلِهِ

และถ้าหากสูเจ้า ยังคงคลางแคลงสงสัย ในสิ่งที่เราได้ส่งมาแก่บ่าวของเรา ก็ขอให้สูเจ้า จงแต่งขึ้นมาสักซูเราะฮ์หนึ่ง ที่เหมือนกับสิ่งนี้ (บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๒๓)

๒. การกำหนดของนบีก่อนหน้านั้น

เมื่อการเป็นนบีของบุคคลหนึ่ง โดยมีหลักฐานที่เด่นชัด ดังนั้น คุณลักษณะและเครื่องหมายที่แสดงถึงนบีคนต่อไปได้ถูกเปิดเผยขึ้น ดังนั้น คุณลักษณะดังกล่าวจะถูกกล่าวถึงโดยบุคคลที่มีลักษณะสอดคล้องกัน โดยเหตุนี้ นบีท่านต่อไปได้ถูกการกำหนดโดยนบีก่อนหน้า ดังเช่น ท่านนบี อีซา (อ.) ได้นำข่าวการมาของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) มาประกาศแก่ประชาชน

وَإِذْ قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ يَا بَنِي إِسْرَائِيلَ إِنِّي رَسُولُ اللَّهِ إِلَيْكُم مُّصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَمُبَشِّرًا بِرَسُولٍ يَأْتِي مِن بَعْدِي اسْمُهُ أَحْمَدُ

และจงรำลึก เมื่ออีซา บุตรของมัรยัมได้กล่าวว่า โอ้ วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย แท้จริงฉันเป็นเราะซูลของอัลลอฮฺมายังพวกท่าน เป็นผู้ยืนยันสิ่งที่มีอยู่ในเตารอฮ์ก่อนหน้าฉัน และเป็นผู้แจ้งข่าวดีถึงเราะซูลคนหนึ่ง ผู้จะมาภายหลังฉัน ชื่อของเขาคือ อะฮฺมัด (ซอฟ โองการที่ ๖)

๓. การรวบรวมหลักฐานและพยาน

มนุษย์จะรู้จักนบีที่แท้จริงจากผู้แอบอ้างนั้น ก็ด้วยกับการราบรวมหลักฐานและพยาน เช่นว่า ถ้าหากใครต้องการทราบเรื่องเกี่ยวกับ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ต้องรวบรวมและค้นคว้าจากหัวข้อดังต่อไปนี้

๓.๑ วิเคราะห์จากชีวิตความเป็นอยู่ของท่าน ก่อนการได้รับการแต่งตั้ง เช่นว่า การใช้ชีวิตของท่านก่อนหน้านี้นั้นมีความซื่อตรงหรือไม่

๓.๒ ศาสนาที่ท่านนับถือ การปฏิบัติภารกิจทางศาสนาของท่านทั้งหลักความศรัทธาและบทบัญญัติต้องอยู่ในขั้นสูงสุด หลักฐานยืนยันคำกล่าวอ้าง คือ ผู้ที่นำเอาหลักปฏิบัติเหล่านี้มาประกาศต่างได้รับการช่วยเหลือจากอำนาจเร้นลับเหนือธรรมชาติ

๓.๓ ความอดทนอดกลั้นของท่านในการเผยแผ่ ท่านพร้อมที่จะสละชีวิตและทรัพย์สินเพื่อเป้าหมายของท่าน เป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ และจิตวิญญาณอันแน่วแน่และที่เห็นเด่นชัด คือ ในการเผยแผ่ของท่านไม่มีเป้าหมายหรือมีเจตนารมณ์เพื่อความสุขทางโลก.

๓.๔ หนทางใดที่ทำให้ศาสนามีความเจริญสูงส่ง ท่านจะใช้ประโยชน์จากวิถึนั้น ในส่วนนี้เราจะศึกษาจากการทำสงคราม และวิธีการเผยแผ่ของท่าน จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น

๓.๕ คุณลักษณะของผู้ที่ปฏิบัติตามท่าน และบรรดาสาวกที่รายล้อมท่าน จรรยาและมารยาทของพวกเขา สามารถที่จะเปิดเผยโฉมหน้าของพวกแอบอ้างการเป็นนบีได้ นั่นเป็นเพราะว่า มนุษย์ไม่ว่าจะปกปิดการกระทำของตนได้มากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่เขาไม่สามารถปกปิดนิสัยส่วนตัวของตนเองจากบุคคลใกล้ชิดหรือสมาชิกครอบครัวได้

๓.๖ การดำเนินชีวิตของท่าน คำพูด และการกระทำต้องไม่ขัดแย้งกัน วิถีชีวิตของท่านถูกตีกรอบด้วย ศาสนบัญญัติของพระเจ้า หากไม่เป็นเช่นนั้นจะเห็นว่าบุคคลธรรมดากระทำผิดพลาดได้โดยไม่เว้นแต่ละวัน แต่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ท่านได้แสดงถึงความซื่อสัตย์ แข็งแกร่ง และความอ่อนโยน อย่างเสมอต้นเสมอปลาย. (มันชูรญาวีด,เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๗๙)

๗๖. สาเหตุการเป็นนบี มี ๕ ประการ

الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوبًا عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَآئِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ...

บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูลผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็น ที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีล พวกเขากำชับในสิ่งดีงาม และห้ามปรามสิ่งที่ไม่ชอบ และอนุมัติสิ่งดี ๆ ให้แก่พวกเขา ขณะเดียวได้ห้ามสิ่งเลวร้ายทั้งหลายแก่พวกเขา และจะปลดเปลื้องภาระหนักของพวกเขาออก (อะอฺรอฟ โองการที่ ๑๕๗)

จากโองการอัล-กุรอานทั้งหมด ยังไม่มีปรากฏสักหนึ่งโองการที่จะไม่กล่าวถึง สาเหตุที่แท้จริงของการเผยแผ่ของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ถ้าสังเกตโองการจะเห็นว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกล่าวถึงคุณลักษณะท่านนบี (ซ็อล ฯ) ไว้ถึง ๗ ประการ แต่ถ้าพิจารณาด้วยความรอบคอบจะพบว่าบรรดาคุณลักษณะเหล่านั้นมีอยู่ ๕ ประการ ที่พิสูจน์การเป็นนบีของท่าน กล่าวคือ

๑. ท่านเป็นผู้ไม่รู้หนังสืออานไม่ออกและเขียนไม่เป็น แต่คัมภีร์ที่ถูกประทานลงมานั้น ไม่สามารถออกเรียนแบบแม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้มีความรู้ก็ตาม

๒. ในคัมภีร์ฉบับก่อนหน้านั้นได้ระบุถึงการเป็นนบีของท่านไว้อย่างมากมาย ถึงขั้นที่ว่ามนุษย์มั่นใจในตัวของท่านโดยไม่ต้องอาศัยหลักฐานจากที่อื่นใด

๓. เนื้อหาของการเผยแผ่ของท่านนั้น สอดคล้องกับสติปัญญาเพราะท่านตักเตือนให้กระทำดี และห้ามปรามในสิ่งที่ชั่วร้าย.

๔. เนื้อหาของการเชื้อเชิญของท่าน สอดคล้องกับกฎสภาวะธรรมชาติ

๕. ถ้าหากท่านไม่ได้มาจากพระเจ้าแล้ว ท่านจะต้องตักตวงผลประโยชน์ให้กับตัวเองจากการงานแน่นอน ในกรณีนี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้ปลดเปลื้องบ่วงโซ่ต่าง ๆ ให้หลุดพ้นจากประชาชาติแล้วยังทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะโง่เขลา เพื่อท่านจะใช้ประโยชน์จากพวกเขา แต่เห็นได้ว่าท่านเป็นผู้ปลดเปลื้อง โซ่ตรวนออกจากมือ และเท้าของประชาชาติจริงโดยไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ เป็นการแลกเปลี่ยน (ตัฟซีรนะมูเนะฮฺ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๙๙)

คุณลักษณะของนบี

๗๗. คำเตือนของบรรดานบี คือ ทางรอดของมนุษย์

บรรดานบีนั้นคือผู้บอกข่าวแจ้งเหตุการณ์ล่วงหน้า และยังเป็นผู้ตักเตือนนั่นก็เพราะว่า มนุษย์มีความจำเป็นในการตักเตือน และมีความพยายามที่จะลบล้างความผิด กุรอานได้ใช้คำว่า ตักเตือน มากกว่า คำว่า  แจ้งข่าวดี และผู้ประกาศข่าว กรุอานใช้คำว่า ตักเตือน (อินซอร) และคำที่มาจากรากศัพท์เดียวกับคำนี้ทั้งสิ้น ๑๒๐ ครั้ง และใช้คำว่า แจ้งข่าวดี (บะชีรุน) และคำที่มาจากรากศัพท์เดียวกับคำนี้ทั้งสิ้น ๘๐ ครั้ง (ตีฟซีรนูร เล่มที่ ๓ หน้า ๓๓๙)

๗๘. การตักเตือน

หัวข้อการตักเตือนได้ถูกจำกัดไว้ด้วยคำว่า

,إِنْ أَنتَ إِلَّا نَذِيرٌ ,

เจ้ามิใช่อื่นใดนอกจากเป็นผู้ตักเตือนเท่านั้น (ฟาฏิร โองการที่ ๒๗)

 إِنَّمَا أَنتَ مُنذِرٌ

แท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น (เราะอฺดุ โองการที่ ๗)

, إِنْ أَنَا إِلَّا نَذِيرٌ مُّبِينٌ 

ฉันมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นผู้ตักเตือนอันชัดแจ้ง (ชุอะรออฺ โองการที่ ๑๑๕)

แต่ในเรื่องของการบอกข่าวดี มิได้ถูกจำกัดกล่าวกันว่า การจำกัดคำว่า การตักเตือน แสดงถึงหนทางรอดพ้นของมนุษย์จากความพินาศนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในทางตรงกันข้ามการขู่บังคับไม่ใช่การบอกข่าวดี (มุฮาฎิรอต)

๗๙. ความบริสุทธิ์ของบรรดานบี

وَمَا أَرْسَلْنَا مِن رَّسُولٍ إِلاَّ لِيُطَاعَ بِإِذْنِ اللّهِ

และเรามิได้ส่งเราะซูลคนใดมา นอกจากเพื่อการปฏิบัติตามด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น (นิซาอฺ โองการที่ ๖๔)

การสั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาบนีโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ เป็นสิ่งบ่งบอกให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของพวกท่าน เหตุผลก็คือหากว่าท่านทั้งหลายไม่ใช่ผู้บริสุทธิ์และพบว่ามีกระทำความผิดต่าง ๆ จริง หรือกระทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับบทบัญญัติของพระเจ้าซึ่งสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้ อีกด้านหนึ่งการปฏิบัติเช่นนั้นบ่งบอกว่าเป็นความผิดซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม ขณะที่อีกด้านหนึ่งมีคำสั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดานบีโดยปราศจากเงื่อนไขซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การเชื่อฟังปฏิบัติตามกับการทำความผิดเป็นสิ่งขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้ บรรดานบีจึงต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิด (ตัฟซีร กะบีร เล่มที่ ๑๐ หน้าที่๑๙๑)

๘๐. ความบริสุทธิ์ของบรรดานบีจะไม่ตรงข้ามกับการปฏิบัติ

อัล-กุรอาน หลายโองการกล่าวถึงการกระทำของบรรดานบี เช่นโองการดังต่อไปนี้

وَلَوْ أَشْرَكُواْ لَحَبِطَ عَنْهُم مَّا كَانُواْ يَعْمَلُونَ

และหากพวกเขาได้ให้มีภาคีขึ้นแล้ว แน่นอน สิ่งที่พวกเขาเคยกระทำกันมาก็สูญสิ้นไปจากพวกเขา (อันอาม โองการที่ ๘๘)

ซึ่งโองการนี้หมายถึงบรรดานบีโดยรวม หรือบางโองการกล่าวถึงเฉพาะท่านนบี (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

لَئِنْ أَشْرَكْتَ لَيَحْبَطَنَّ عَمَلُكَ     

หากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล (อัซซุมัร โองการที่ ๖๕)

นักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวไว้ว่า ภาระหน้าที่ที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดไว้ให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติทุกคนเพื่อให้พวกเขาไปสู่ความสมบูรณ์ แต่ถ้าบ่าวคนหนึ่งบรรลุไปสู่ความสมบูรณ์แล้ว ข้อปฏิบัติดังกล่าวย่อมถูกยกเลิกพ้นไปจากเขา เนื่องจากหน้าที่ได้ปรากฏสมบูรณ์แล้วและถ้ามีการปฏิบัติถือว่าไร้สาระ ด้วยสาเหตุนี้ บรรดานบีจึงไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด

คำกล่าวข้างต้นถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากข้อปฏิบัติกับการกระทำดีนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกัน เฉกเช่น จิตวิญญาณของมนุษย์ที่บรรลุไปสู่ความสมบูรณ์ตัวของเขา คือ ผลของความสมบูรณ์ ดังนั้น ไม่เข้ากับสติปัญญาที่จะกล่าวว่า จิตวิญญาณของมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏร่องรอยของความสมบูรณ์

ทำนองเดียวกันนั้น เพื่อให้จิตวิญญาณบรรลุสู่ความสมบูรณ์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำสิ่งดีงาม และหลังจากที่จิตวิญญาณบรรลุสู่ความสมบูรณ์แล้ว เขาจำเป็นต้องความดีอย่างต่อเนื่องเพื่อไมให้จิตวิญญาณของเรากลับไปสู่ความบกพร่องอีก ฉะนั้น ตราบใดที่ชีวิตมนุษย์ยังคงผูกพันอยู่กับโลกนี้ จะไม่มีสิ่งใด นอกจากต้องอดทนต่อความยากลำบากในการปฏิบัติหน้าที่ (ตัฟซีร มีซาน เล่มที่ ๑๕ หน้า  ๓๒๘)