') //-->
๑.จุดประสงค์ของคำว่ากุรอานซึ่งอัลลอฮฺได้ตั้งชื่อคัมภีร์ของพระองค์ว่ากุรอานหมายถึงอะไร
คำตอบ คำว่ากุรอานเป็นนามเฉพาะ เป็นอะลัม (เป็นที่รู้จักกันทั่วไป) เป็นชื่อของคัมภีร์เล่มสุดท้ายจากฟากฟ้า ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นคำนามประเภท มุชตัก หมายถึง นำมาจากคำอื่น หลังจากนั้นได้มีการเรียกกันจนชิน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคำนามเฉพาะที่ไม่ได้มีการเรียกกันจนติดปาก หมายถึงได้ถูกเลือกให้เป็นชื่อของคัมภีร์เล่มสุดท้ายแห่งฟากฟ้าตั้งแต่แรก ซึ่งทั้งสองสมมุติฐานสามารถอธิบายได้ดังนี้
ก. กุรอานเป็นมุชตัก เหมือนกับคำว่าซัยดฺ อะลี อุมัร เป็นอะลัมสำหรับบุคคล ซึ่งรากศัพท์ของ ซัยดฺ มาจากคำว่า ซาดะ, ซัยดัน, และซิยาดะตัน
๑. คำว่ากุรอานอยู่บนรูปของคำว่า (ฆุฟรอน) เป็นมัซดัร (รากของคำ) ซึ่งองค์ประกอบของคำคือ กะ เราะ อะ หมายถึง การอ่าน เช่น พูดว่า กะเราะตุ อัล-กิตาบะ (ฉันได้อ่านหนังสือ) ตรงนี้คำว่ากุรอาน อยุ่ในฐานะกรรม ของประโยค (มัฟอูล) มักรูอุน หมายถึงได้ถูกอ่านแล้ว เป็นทัศนะของอับดุลลอฮฺ บิน อับบาซ และ ละฮฺยานียฺ[๑]
๒. กุรอานเป็นมัซดัร (รากของคำ) มาจากคำว่า เกาะรอ กอรยัน เกาะรอน เข่น พูดว่า... قراءت الماء فى الحوض..หมายถึง ฉันได้รวมน้ำไว้ในสระ ดังนั้น คำว่ากุรอาน ในฐานะที่เป็นคัมภีร์ที่ได้รวบรวมคำพูด ผลงาน และผลลัพธ์ของคัมภีร์ก่อนหน้านี้ไว้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเพราะว่า กุรอานได้รวบรวมซูเราะฮฺ (บท) ต่าง ๆ โองการ คำสั่งห้าม คำสั่งใช้ เรื่องเล่า อุทาหรณ์ และอื่น ๆ อีกมากมายจึงให้ความหมายว่าเป็นการรวบรวม เป็นทัศนะของ กุตาดะฮฺ อิบนุ อะซีร และซุญาจ[๒]
๓. กุรอานมาจากคำว่า กะเราะนะ หมายถึงเอามาติดกัน หรือผูกของสองสิ่งติดกัน เนื่องจากว่าโองการต่าง ๆ และซูเราะฮฺอยู่ติดกันอย่างเป็นพิเศษโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จึงเรี่ยกว่าเป็น กุรอาน (เป็นทัศนะของอัชอะรียฺ) ด้วยเหตุนี้คำว่า กุรอาน จึงต้องอ่านโดยถือว่า นูน เป็นพยัญชนะหลักของคำ
๔. บางทัศนะกล่าวว่า กุรอาน ผันมาจากคำว่า เกาะรออิน ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่า เกาะรีนะฮฺ หมายถึงสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย เนื่องจากว่าบางโองการเป็นสัญลักษณ์และให้การสนับสนุนโองการอื่น หรือบางโองการได้อธิบายและรับรองอีกโองการหนึ่ง (เป็นทัศนะของ ฟัรรออฺ) ด้วยเหตุนี้ ทัศนะดังกล่าวจึงต้องอ่านนูนให้เป็นพยัญชนะหลักของคำ[๓]
ข. กุรอานเป็นคำนามเฉพาะ เป็นอะลัมสำหรับบุคคล
๕. กุรอานเป็นนามที่เฉพาะ เป็นนามที่ไม่ได้มาจากคำอื่น หมายถึงได้ถูกตั้งให้นามของ อัล-กุรอานในฐานะที่เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มสุดท้ายตั้งแต่แรก ซึ่งก่อนหน้าหรือหลังจากนี้นี้ไม่เคยมี เช่น เตารอต และอินญีล เป็นคัมภีร์ของท่านศาสดามูซา (อ.) และศาสดาอีซา (อ.) (เป็นทัศนะของชาฟิอียฺ และซุยูฏียฺ) ด้วยเหตุนี้ ท้ศนะดังกล่าวจึงอ่านกุรอาน โดยให้นูนเป็นพยัญชนะหลักของคำ[๔]
๒. คำถาม ความแตกต่างระหว่างโองการกับฮะดีซกุดซียฺคืออะไร สามารถแยกแยะทั้งสองได้อย่างไร
คำตอบฮะดีซกุดซียฺ คำว่ากุดซียฺหมายถึง ศักดิ์สิทธิ์ หรือ บริสุทธิ์ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่ากับบุคคลถึงสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสหรือทรงทำ แต่ข้อความประเภทนี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรอาน รายงานเช่นนี้เรี่ยกว่าฮะดีซกุดซียฺ อีกนัยหนึ่งเป็นฮะดีซที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รับข่าวจากอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยการดลใจหรือฝัน ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดฮะดีซดัวยคำพูดของท่าน หรือถ่ายทอดคำพูดของฮะดีซด้วยวะฮฺของพระผู้เป็นเจ้า หรืออาจเป็นทั้งสองลักษณะ อย่างไรก็ตามฮะดีซกุดซียฺไม่เป็นมุอฺญิซะฮฺ (ความมหัศจรรย์) แตกต่างไปจากอัล-กุรอานที่เป็นมุอฺญิซะฮฺ และท้าทายมนุษย์ตลอดทุกยุคสมัย ที่สำคัญไม่มีผู้ใดสามารถนำมาได้เฉกเช่นอัล-กุรอาน
อัล-กุรอานและฮะดีซกุดซียฺมีสิ่งเหมือนกันคือ ทั้งสองอย่างเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ถูกประทานให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่ทั้งสองมีข้อแตกต่างอย่างสำคัญที่พอจะเห็นได้ดังนี้
๑. อัล-กุรอานเป็นริซาละฮฺ ซะนั้ด และเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายจากฟากฟ้า เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งมวลมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิสลาม เป็นคัมภีร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ฮะดีซกุดซียฺไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้
๒. อัล-กุรอาน คำพูดที่แท้จริงทุกถ้อยคำมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะที่ฮะดีซกุดซียฺคำพูดถูกกล่าวโดยท่านศาสดา (ซํอล ฯ) หมายถึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าทั้งหมดเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะฮะดีซกุดซียฺจัดอยู่ในประเภทเคาะบัรวาฮิด
๓. ฮะดีซกุดซียฺ ไม่มีอะฮฺกามอัล-กุรอาน เช่น ขณะทีสัมผัสอักษรไม่จำเป็นต้องมีความสะอาด (วุฎูอฺ หรือ ฆุซลฺ) ไม่มีผลบุญในการอ่าน ไม่เป็นฮะรอมไม่ว่าจะอ่านเวลาใดก็ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากอัล-กุรอานอย่างสิ้นเชิง
๔. อัล-กุรอานถูกนำมาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยมะลาอิกะฮฺญิบรออีลเท่านั้น ในขณะที่ฮะดีซกะซียฺอาจจะได้มาโดยการถูกดลใจหรือในฝัน
๕. อัล-กุรอาน เป็นสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเหมือน และไม่อาจลอกเลียนแบบได้ ขณะที่ฮะดีซกุดซียฺอาจถูกลอกเลียนแบบได้
๖. อัล-กุรอาน ไม่มีความผิดพลาดทุกคำพูดมีความถูกต้อง และปราศจากการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ฮะดีซกุดซียฺมีทั้ง เซาะฮียฺ ฮะซัน และเฎาะอีฟ
๗. อัล-กุรอาน ทุกโองการและทุกบทไม่มีการเคลือบแคลงสงสัยแต่ประอย่างใด ขณะที่ฮะดีซกุดซียฺมีความเคลือบแคลงสงสัย
๘. ฮะดีซกุดซียฺ ไม่สามารถนำมากล่าวในนะมาซได้
เมื่อฮะดีซกุดซียฺ เป็นหนึ่งในการอิลฮามของอัลลอฮฺ (ซบ.) ทำไมไม่ปรากฏในอัล-กุรอาน เนื่องจากว่า ฮะดีซกุดซียฺอยู่ในกฎของฮะดีซ ไม่ใช่โองการ (อายะฮฺ) จึงไม่ปรากฏในอัล-กุรอาน
๓. ความสงสัยเกี่ยวกับโองการอัล กุรอานที่กล่าวว่า
แท้จริงพวกเจ้า (มุชริกีน) และสิ่งที่พวกเจ้าเคารพบูชาอื่นจากอัลลอฮั ทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงของนรก โดยพวกเจ้าจะเข้าไปอยู่ในนั้น[๕]
มีชนกลุ่มหนึ่งเข้ามาหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และได้พูดกับท่านว่า เรามีความสงสัยเกี่ยกับอัล-กุรอาน ซึ่งพวกเราต้องการทำความเข้าใจกับท่าน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า พวกท่านมีปัญหาอะไรหรือ
พวกเขากล่าวว่า ท่านเป็นศาสนทูตที่ถูกส่งลงมาหรือ
ท่านตอบว่า ใช่ ฉันเป็นศาสนทูตที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานลงมาเพื่อแผ่เมตตาธรรมแก่ประชาโลก
พวกเขากล่าวว่า ปัญหาของพวกเราที่มีต่ออัล-กุรอานคือ อัล-กุรอานโองการหนึ่งที่กล่าวว่า
اِنَّكُم وَ مَا تَعبُدُونَ مِن دُونِ الله حَصَبُ جَهَنّ
แท้จริงพวกเจ้า (มุชริกีน) และสิ่งที่พวกเจ้าเคารพบูชาอื่นจากอัลลอฮั ทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงของนรก โดยพวกเจ้าจะเข้าไปอยู่ในนั้น ฉะนั้น เมื่อพิจารณาโองการดังกล่าว ท่านศาสดาอีซา ก็ต้องเป็นชาวนรกด้วย เนื่องจากอีซา ได้เคารพบูชากลุ่มชนอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้า
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวอย่างสุขุมว่า อัล-กุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งกฏข้อหนึ่งของภาษาคือคำว่า มัน (หมายถึงใคร บุคคลใด)ใช้กับสิ่งที่มีสติปัญญาและไม่มีสติปัญญา (มนุษย์และไม่ใช่มนุษย์) ขณะที่โองการที่พวกท่านถามฉันได้ใช้คำว่า มา (หมายถึงสิ่ง หรือ สิ่งซึ่ง) ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่พวกเขาเคารพสักการเป็นสิ่งที่ไม่มีสติปัญญา เช่น ต้นไม้ รูปปั้น ดิน หรือจอมปลวก ดังนั้น โองการข้างต้นจึงมีความหมายว่า สถานที่ของพวกท่านที่เคารพบูชาสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ทั้งหมดคือเชื้อเพลิงของไฟนรก
คำตอบของท่านศาสดาได้สร้างความเข้าใจให้แก่พวกเขาเป็นอย่างดี พวกเขาจึงลุกขึ้นและลาจากไป [๖]
[๑] ลิซานุล อาเราะบียฺ อิบนุ มันซูร เล่มที่ ๑๑ หน้าที ๗๙ ดารุลอะฮฺยาอฺ อัตตุรอซ อัล อะเราะบียฺ ,มุฟเราะดอต อัลฟาซุลกุรอาน, รอฆิบอิซฟะฮานียฺ หน้าที่ ๖๖๙ ดารุลเกาะลัม
[๒] อักเระบุลมะวาริด อัลลามะชุรตูนียฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๙๗๗, มันชูรอต มักตะบะตุน อายะตุลลอฮฺ อัล-อะซีม มัรอะชียฺ อันนะญัฟฟียฺ, รอฆิบอิซฟะฮานียฺ, มุอฺญิม มะกอยิซ อัลลุเฆาะฮฺ อิบนุ ฟาริซ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๗๘, อัรดารุลอิสลามียฺ
[๓] อัล-บุรฮาน ฟีอุลูมิลกุรอาน ซัรกะชียฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๗๘ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ, ตารีคุลกุรอาน รอมยาร หน้าที่ ๑๔ -๑๘ อะมีรกะบีร
[๔] อัล อิตติกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน ซูยูฏียฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๕ ดารุลอิบนุกะซีร
[๕] อัล-อัมบิยาอฺ / ๙๘
[๖] บิฮารุลอันวาร พิมพ์ใหม่ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๘๒)