') //-->
ความสำคัญที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ให้สตรีร่วมอยู่ในขบวนการและสนามแห่งอาชูรอ เพื่อสร้างแบบอย่างทีมีความเหมาะสมสำหรับบรรดาเหล่าผู้นำ และการต่อสู้ของเหล่าสตรีบนโลกนี้ ดังนั้น จะขอวิเคราะห์วิสัยทัศน์ดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามแก่ท่านผู้อ่าน
ประเด็นดังกล่าวขอหยิบยกตัวอย่างสักสองสามตัวอย่าง กล่าวคือ
1.1 เมื่อซุเฮร มิได้ตอบรับคำเชิญชวนของท่านอิมาม (อ.) ภรรยาของเขาแสดงความไม่พอใจและกล่าวแก่เขาว่า มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ บุตรของท่านศาสดาต้องการเจ้า แต่เจ้ากับตอบปฏิเสธเจ้าทำเช่นนั้นได้อย่างไร
คำพูดของสตรีคนนั้นเป็นสาเหตุทำให้ซุเฮรต้องเดินทางไปพบท่านอิมาม (อ.) เพื่อเข้าร่วมกองคาราวานกับท่าน จนในที่สุดเขาได้รับชะฮีดอย่างสมถานะ[1]
1.2 สตรีที่สามีได้ชะฮีดในกัรบะลาอฺ แต่นางได้สั่งเสียบุตรของนางว่าจงออกไปร่วมรบกับบุตรของท่านศาสดาเถิด และเมือบุตรชายของนางต้องการออกไปสู่สนามรบ นางกล่าวว่า โอ้ ลูกรักเจ้าจงเอาความแข็งแรงของเจ้าปกป้องและช่วยเหลือลูกหลานท่านศาสดาเถิด[2]
สตรีบางท่านในวันอาชูรอได้แสดงบทบาทสำคัญไว้มากมาย ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นเหล่านั้น ดังนี้
2.1 สตรีคนหนึ่งที่อยู่ในกัรบะลาอฺ เมื่อบุตรชายของนางได้ต่อสู้จนชะฮีด นางได้กล่าวชื่นชมบุตรของนางว่า ยอดเยี่ยมที่สุดลูกรัก และนางได้หยิบศีรษะของบุตรชายที่ถูกตัดขาดขว้างใส่ศัตรู อีกทั้งนางได้ถอนเสาที่ค้ำค่ายที่พักเพื่อมุ่งโจมตีศัตรู[3]
2.2 มารดาของวะฮับ สตรีท่านหนึ่งที่ถอนเสาค้ำยันค่ายที่พัก เพื่อจะออกไปช่วยสามีร่วมต่อสู้กับศัตรู แต่ท่านอิมาม (อ.) ได้กีดขวางนางไว้ เนื่องจากว่าการสู้รบมิได้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) สำหรับสตรี[4]
ท่านหญิงซัยนับ (อ.) น้องสาวของท่านอิมาม (อ.) มีบทบาทสำคัญในการยืนหยัดต่อสู้ในวันอาชูรอ ซึ่งหนึ่งในบทบาทของนางคือ การเป็นผู้นำกองคาราวานและปกป้องรักษาชีวิตของสหายที่ยังมีชีวิตอยู่
3.1 ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ได้ปกป้องดูแลชีวิตของบรรดาเด็กๆ และนางเป็นผู้นำเด็กออกไปจากสนามรบ (ดังเช่นที่นางได้พยายามนำเอาอับดุลลอฮฺออกไปจากสนามรบ)[5]
3.2 ท่านหญิงซัยนับ (อ.) เป็นผู้แบกรับความทุกข์ระทมทั้งหมด และต้องเป็นมารดาของเหล่าเชลยทั้งหมด หลังจากได้ถูกจับเป็นเชลย
สตรีที่อยู่ในวันอาชูรอและได้อยู่ร่วมในสถานภาพต่างๆ หลังจากนั้น พวกนางได้นำเอาสารแห่งความโศกสลดนี้ส่งไปยังประชาโลกทั้งหลาย ดังเช่น
4.1 ในห้องประชุมของอิบนุซิยาด เมื่อเขาได้ถามท่านหญิงว่า เจ้าเห็นเป็นอย่างไรหรือ การที่อัลลอฮฺได้สังหารพี่ชายของเจ้า ท่านหญิงได้ตอบเขาอย่างเจ็บปวดว่า ข้ามิได้มองเห็นสิ่งใด นอกจากความสวยงาม[6]
4.2 ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเมืองกูฟะฮฺ โดยกล่าวแนะนำอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แก่ชาวเมือง[7]
4.3 ตามรายงานกล่าวว่า อุมมิกุลซูม ก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเมืองกูฟะฮฺด้วยเช่นกัน[8]
4.4 บางรายงานกล่าวว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ก็ได้กล่าวสุนทรพจน์เช่นกัน[9]
สรุปได้ว่า สุนทรพจน์ของเหล่าสตรีเหล่านี้ มีอิทธิต่อชาวเมืองอย่างมาก พวกเขาแสดงความเสียใจและหลั่งน้ำตาออกมา
4.5 ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ตอบคำถามของยะซีด ณ ห้องประชุมเมืองชามด้วยความกล้าหาญองอาจ และเด็ดเดี่ยวเป็นอย่างยิ่ง ท่านกล่าวแนะนำตัวเองว่าข้าคือ บุตรีของเราะซูล (ซ็อล ฯ) แต่บัดนั้ ข้าได้ถูกยะซีดกลั่นแกล้งและรังแกอย่างหนัก
กันดียฺ ได้ปล้นสะดมเสื้อมาจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และกำลังซักเลือดจากเสื้อตัวนั้น ขณะที่ภรรยาของเขาเป็นผู้ศรัทธาที่เชื่อฟังปฏิบัติตามท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นางเห็นการกระทำเช่นนั้น นางจึงได้โต้ตอบสามีอย่างรุนแรงว่า เจ้าขโมยเสื้อตัวนี้มาจากบุตรชายของฟาฏิมะฮฺ แล้วมิหนำซ้ำยังได้นำเข้ามาในบ้านของข้าอีก
นางได้ไล่สามีออกไปจากบ้านและสาปแช่งเขา ต่อมาสามีของนางได้ตกอยู่ในสภาพของคนที่ยากไร้ มีแต่ความทุกข์ทรมาน และดำเนินชีวิตไปได้ด้วยความเจ็บปวด[10]