') //-->
แบบอย่างและการยืนหยัดแห่งอาชูรอ ได้เป็นสาเหตุทำให้สังคมมุสลิมส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อิทธิของท่านอิมาม (อ.) และสหายแห่งกัรบะลาอฺ ซึ่งจะขออธิบายถึงอิทธิพลบางประการเหล่านั้น
5.1 อิทธิพลที่เกิดกับสังคมในสมัยนั้น
เมื่อประชาชนชาวกูฟะฮฺได้ตื่นขึ้นจากความหลับใหลและความลืมเลือน เมื่อพวกเขาได้เห็นเหล่าบรรดาอะฮฺบัยตฺ (อ.) ถูกจับเป็นเชลยและนำตัวเข้ามาในเมืองกูฟะฮฺ บรรดาท่านเหล่านั้นได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าประชาชน ในช่วงเวลานั้นเองทำให้ชาวกูฟะฮฺได้คิดและเพิ่งจะรู้ว่าท่านอิมาม (อ.) ถูกทำชะฮีดไปแล้ว ซึ่งพวกเขาแสดงความโกรธกริ้วดังที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้
ประชาชนในวันนั้นวิตกกังวลและแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กับครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พวกเขาต่างร่ำไห้และกดกั้นความอาดูรด้วยความนำฝ่ามือปิดไว้ที่ปากของตน[1] การกระทำดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นว่าการเผยแพร่และการประกาศสาส์นของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านหญิงซัยนับ (อ.) และท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) มีผลอย่างสูงต่อประชาชนชาวกูฟะฮฺ[2] หลังจากนั้นการประกาศสาส์นดังกล่าวได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ณ เมืองชาม ซึ่งการประกาศในครั้งนี้ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในหมู่ชนได้อย่างไม่น้อย[3]
การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณนั่นเองต่อมาจึงก่อให้เกิดการยืนหยัด และการปฏิวัติที่ได้ถูกกระทำโดยมุคตาร และบรรดากลุ่มชนที่กลับใจสำนึกในความคิด[4]
5.2 ผลของอาชูรอที่มีต่อสังคมในภายหลัง
สัจธรรมแห่งอาชูรอและการยืนหยัดของท่านอิมาม (อ.) ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของการเคลื่อนไหวต่อสู้กับผู้อธรรมทั้งหลาย ซึ่งการยืนหยัดต่อสู้กับผู้อธรรมนั้นได้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติทุกหมู่เหล่าทั้งที่เป็นมุสลิมและมิใช่มุสลิม เช่น การยืนหยัดต่อสู้ของ คานธี ต่อการปกครองของอังกฤษที่ยึดครองประเทศอินเดียอยู่ในขณะนั้น
แน่นอนว่า อิทธิพลของการยืนหยัดต่อสู้นั้นเข็มข้นเป็นอย่างยิ่งในสังคมของชีอะฮฺ
ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวได้ส่งผลอย่างลุ่มลึกในสังคม
ถึงขั้นที่ว่าบรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺในสังคมต่างๆ
ได้ลุกขึ้นต่อต้านกับผู้อธรรมในทุกสมัย และแสดงปฏิกิริยาต่อต้านในทุกรูปแบบ
ดังจะเห็นได้จากการประวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ซึ่งท่านอิมามโคมัยนี้ (รฎ.)
ในฐานะผู้นำการปฏิวัติ ได้กล่าวถึงผลแห่งการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ
(อ.)
ทีมีอิทธิพลโดยตรงต่อการยืนหยัดของท่านไว้ในหลายประเด็นด้วยกัน
แม้ว่าการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต้องการคำอธิบายและการเขียนเป็นหนังสือที่มีความละเอียดมากไปกว่านี้ แน่นอน ประเด็นดังกล่าวต้องใช้เวลาสำหรับการค้นคว้าและวิจัยอย่างยาวนาน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความสำคัญของประเด็นเหล่านั้นสักสองสามประการ กล่าวคือ
5.2.1 การยอมรับผลและแบบอย่างแห่งขบวนการอาชูรอ และบุคลิกภาพอันเฉพาะพิเศษของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ยอมรับการกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครองที่อธรรม โดยท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) เป็นที่ประจักษ์ชัดสำหรับสายตาทุกคู่
5.2.2 อิทธิพลในการยืนหยัดแห่งอาชูรอได้ส่งผลอย่างสูงสุดต่อการยืนหยัดของชนชาติอิหร่านในวันที่ 15 โครดอด ปี 1342 (ปี ค.ศ. ที่ 1963)
5.2.3 การยืนหยัดแห่งอาชูรอส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวอิหร่าน ใน ปี 1357 (ปี ค.ศ. ที่ 1978) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมาม (อ.) ในวันอาชูรอ และค่ำแห่งอาชูรอ ซึ่งในปีนั้นพิธีกรรมการรำลึกถึงอิมาม (อ.) เปรียบเสมือนการซ้อมรบครั้งใหญ่แห่งการปฏิวัติ อันเป็นสาเหตุทำให้ฝ่ายปกครองผู้กดขี่ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไป
5.2.4 อิทธิพลโดยตรงจากเหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ ที่มีต่อการยืนหยัดต่อสู้ในสงครามแปดปีของชนชาติอิหร่าน (ปี1359 - 1367 ตรงกับปี ค.ศ. 1980 1988) อย่างสูง เยาวชนและวัยรุ่นในสมัยนั้นได้รำลึกถึงท่านอิมาม (อ.) คติพจน์ แบบอย่าง ลูกหลานและสหายของท่าน ทำให้พวกเขาหลั่งไหลสู่สนามรบเฉกเช่นแมลงเม่าที่บินว่อนไปทั่วท้องฟ้า พวกเขาได้ร่วมกันยืนหยัดต่อสู้จนเลือดหยดสุดท้าย และในที่สุดพวกเขาก็ได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ด้วยการชะฮีดในหนทางของพระเจ้า
5.2.5 การยืนหยัดของท่านผู้นำการปฏิวัติพร้อมกับหน่วยงานของรัฐบาล ต่อหน้าอภิมหาอำนาจผู้อธรรมบนโลกนี้ (อเมริกา ยุโรป และพวกตะวันตกทั้งหลาย) เยี่ยงชายชรตรีซึ่งตลอดระยะเวลาของการยืนหยัดต่อสู้ท่านมิได้ปล่อยให้อำนาจของศัตรู ล่วงละเมิดหรือเข้ามาทำร้ายจิตใจของท่านและประชาชนได้เลย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเมืองและอุดมการณ์แห่งอาชูรอทั้งสิ้น
5.2.6 อุดมการณ์แห่งการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอภิมหาอำนาจ ของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน โดยการเจริญรอยตามแนวทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทำให้ส่งผลอย่างสูงต่อขบวนการต่อสู้ในประเทศเลบานอน อัฟกานิสถาน และประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นผลโดยตรงมาจากการยืนหยัดแห่งอาชูรอ
ดังนั้น ผลการวิเคราะห์วิจัยถึงวิสัยทัศน์เหล่านี้จำเป็นต้องถ่ายทอดออกมาเป็นตำรา เพื่อเป็นมรดกของสังคมต่อไป แต่ในที่นี้เพียงแค่ต้องการจะชี้ให้เห็นแนวความคิดบางประการของท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) เท่านั้น เช่น
- ในเดือนฟัรวัรดีน ปี 1342 (ปี ค.ศ. ที่ 1963) ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ได้เรียกร้องเชิญชวนให้ประชาชนไปสู่การอดทนอดกลั้นและการยืนหยัดต่อสู้ โดยกล่าวว่า บรรดาผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของเราได้ร่วมกันอดทนอดกลั้น ต่อความเศร้าสลดครั้งใหญ่บนหน้าแผ่นดินของวันอาชูรอ และค่ำวันที่ 11 ของเดือนมุฮัรรอมอย่างองอาจ ฉะนั้น ช่างหน้าขยะแขยงเสียเหลือเกินสำหรับกลุ่มชนที่กล่าวอ้างว่า เขาเจริญรอยตามท่านอิมามอะลี (อ.) และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แต่เขายอมพ่ายแพ้ต่ออำนาจการปกครองของผู้ปกครองที่อธรรม[5]
- หลังจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านได้รับชัยชนะแล้ว ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าบรรดานักปราชญ์ทางตอนใต้ของกรุงเตหรานว่า อิสลาม ที่พวกท่านทั้งหลายเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ พวกเราได้แต่นั่งดูเฉยๆ ซัยยิดชุฮะดา ต่างหากที่ฟื้นฟูอิสลามให้มีชีวิตชีวา ท่านฟื้นฟูและสนับสนุนอิสลามด้วยการต่อต้านผู้ปกครองที่อธรรม
หลังจากนั้นท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ได้กล่าวต่อไปอีกว่า พวกท่านมีหน้าที่ฟื้นฟูการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้มีชีวิตชีวา[6]
- ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) กล่าวสุนทรพจน์เมื่อว้นที่ 16/11/1365 (ค.ศ. 1986) ขณะที่สงครามแปดปีระหว่างอิรักกับอิหร่านได้เริ่มต้นใหม่ๆ ว่า ฉันไม่เคยคาดหวังสิ่งใดจากประชาชาติอิหร่านนอกจากการเจริญรอยตามแนวทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และท่านหญิงซัยนับ (อ.) โอ้ ประชาชาติที่มีซัยยิดชุฮะดาเป็นผู้นำ ประชาชาติผู้มีความเสียสละเป็นอาวุธ ประชาชาติผู้ถวิลหาชะฮีดเป็นรางวัลอมตะของตน พวกท่านยังจะกลัวอะไรอีกหรือ พวกท่านจะทำการค้ากับบุคคลอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอีกหรือ[7]
ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) เขียนพินัยประวัติศาสตร์โดยกล่าวถึงประชาชาติผู้เจริญรอยตามแนวทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และถือว่าดุอาอฺอะเราะฟะฮฺของท่านเป็นเกียรติยศสำหรับตน ผู้ดำรงการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยสั่งว่า เป็นความจำเป็นสำหรับผู้อ่านบทรำพันถึงอิมาม (อ.) บทรำนำ บทมะตั่ม หรือบทเรียกร้องความเศร้าโศกเศร้า ที่ต้องกล่าวประณามผู้อธรรมในทุกยุคทุกสมัย[8]
คำพูดของท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.) ก็คือ ฮุซัยนฺ ท่านมีอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีท่านหญิงซัยนับ (อ.) มีผู้ช่วยเหลือฮุซัยนฺ ซึ่งบางคนได้อุทิศตนเสียสละเพื่อแนวทางของอิมามฮุซัยนฺ (อ.) บางคนเตรียมพร้อมเพื่อเจริญรอยตามแนวทางของท่านอิมามต่อไป ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า
ในหมู่ผู้ศรัทธามีบุรุษผู้มีสัจจะต่อสิ่งที่พวกเขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺ ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ปฏิบัติตามสัญญาของเขา และในหมู่พวกเขามีผู้รอคอย (ชะฮีด) และพวกเขามิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด[9]