บทเรียนต่างๆ ในวิถีการต่อสู้

การยอมรับความช่วยเหลือชั่วคราว (การยอมรับความช่วยเหลือจากกองกำลัง)

เมื่อฎิฮาก บุตรของอับดุลลอฮฺ ชัรกี และมาลิก บุตรของนุฎร์ อัรญียฺ ได้เดินทางมาพบอิมาม (อ.) ระหว่างทางไปกูฟะฮฺ พวกเขาได้เข้ามากล่าวสลามแก่ท่านอิมาม (อ.) อิมามกล่าวว่า ทำไมพวกเจ้าจึงไม่ช่วยข้า พวกเขากล่าวว่า พวกเรามีหนึ้ติดค้างอยู่กับครอบครัว ฎิฮาก กล่าวว่า ฉันพร้อมที่จะช่วยเหลือท่านชั่วคราว หมายถึงตราบที่มีผลประโยชน์ฉันจะช่วยท่าน แต่ถ้าไม่มีผลประโยชน์หรือสงครามเข้าภาวะคับขัน หรือไม่มีผู้ช่วยเหลือคนใดหลงเหลืออีกเราขอไปจากท่าน

ท่านอิมาม (อ.) ยอมรับเงื่อนไขของพวกเขา ฎิฮาก ได้ร่วมชะตากรรมกับท่านอิมามมาจนถึงวันอาชูรอ เข้าได้เข้าร่วมรบและสังหารศัตรูเสียชีวิตไปหลายคน หลังจากนั้นเขาได้ขออนุญาตท่านอิมาม (อ.) และจากไป[1]

การขอความช่วยเหลืออย่างซึ่งๆ หน้าในสนามรบ

เมื่อท่านอิมาม (อ.) ถูกโดดเดี่ยวให้ต่อสู้ตามลำพังในวันอาชูรอ ท่านได้ร้องตะโกนว่า

هل من ناصر ينصر الذریة الاطهار... هل من ذاب یذب عن حرم الرسول

มีผู้ช่วยเหลือสักคนไหมที่จะช่วยเหลือลูกหลานเราะซูล มีใครสักคนไหมที่จะปกป้องฮะรัมของท่านเราะซูล[2]

บางที่จุดประสงค์ของท่านอิมาม (อ.) อาจต้องการความช่วยเหลือจริง หรือบางทีคำพูดของท่านกล่าวออกไปเพื่อให้ข้อพิสูจน์ของท่านสมบูรณ์สำหรับศัตรูทั้งหลาย หรือไม่ท่านก็ต้องการส่งสารมายังชนรุ่นหลังต่อไปว่าพวกเจ้าจะพร้อมเป็นผู้ช่วยเหลือข้าไหม ถ้าเจ้าต้องการเป็นผู้ช่วยเหลือข้าก็จงอย่าทำตนเยี่ยงยะซีด

 ความสวยงาม ความเป็นระเบียบ และวินัยอันประณีต

ในวันอาชูรอกองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) ได้ยืนเผชิญหน้ากับกองทัพของฝ่ายศัตรู โดยมีอุมะริบสะอัดเป็นผู้บัญชาการ และ ณ เบื้องหน้าของกองทัพมหึมาคือกองคาราวานกลุ่มเล็กน้อย ทว่าเปี่ยมไปด้วยพลังศรัทธาและยืนเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ท่านอิมาม (อ.) ได้จัดระเบียบและสร้างวินัยแก่กองคาราวานของท่านอย่างผู้มีความเชี่ยวชาญ ถึงขนาดที่ว่าทหารคนสุดท้ายแห่งกองคาราวานของท่าน (อิมาม) ไม่มีทหารฝ่ายศัตรูคนใดล่วงล้ำเข้ามาในกองคาราวานของท่านได้เลยแม้แต่คนเดี่ยว ความสวยงามในการจัดระเบียบวินัยในฐานะของผู้บัญชาการทีความละเอียดและประณีตอย่างยิ่ง ซึ่งความประณีตของท่านเป็นบทเรียนอันสำคัญแก่เหล่าแม่ทัพทั้งหลายตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

ดังตัวอย่างที่จะขอหยิบยกต่อไปนี้

1 อิมามฮุซัยนฺ (อ.) สั่งให้ขุดสนามเพลาะรอบๆ ค่ายที่พักเพือมิให้ทหารฝ่ายศัตรุเข้าจู่โจมได้อย่างสะดวกสบาย[3]

2  กองคาราวานของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้สุมไฟไว้ในสนามเพลาะโดยเปิดทางเข้าออกไว้เพียงด้านเดียว เพื่อจะได้เผชิญหน้ากับศัตรูที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น[4]

3 กองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) ได้ออกมายืนหน้าค่ายพัก ตั้งแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งเป็นแถวเดียวกัน ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากับทหารฝ่ายศัตรูแบบซึ่งหน้า หมายถึงค่ายที่พักอยู่ด้านหลังแต่อยู่ทางด้านซีกขวาและซึกซ้ายของเขาเมื่อเวลารบกับศัตรูไม่ต้องกังวลด้านหลังอีก[5]

4 อิมาม (อ.) ได้ตั้งค่ายไว้ติดๆ กัน เพื่อให้เชือกที่ยึดค่ายที่พักติดและเกี่ยวพันกันไปมา[6] เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูผ่านไปได้อย่างง่ายดาย

การจัดกับกองคาราวานให้มีระเบียบวินัยโดยท่านอิมาม (อ.) และสหายจำนวนเล็กน้อย สามารถยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพมหึมา (ประมาณ 30,000 คน) ของศัตรูได้อย่างองอาจ[7] ถึงแม้กองคาราวานจะถูกห้อมล้อมด้วยเหล่าศัตรูกระนั้นยังไม่มีศัตรูคนใดหาญกล้าบุกเข้ามาในค่ายของท่านอิมาม ท่านยังสามารถปกป้องค่ายและเหล่าสตรีไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่อนุญาตให้ศัตรูโจมตีจากทางด้านหลัง หรือสร้างความสับสนแก่เหล่าสหาย ท่านจัดวินัยในลักษณะที่ว่าแนวหน้าของนักรบต้องฟังคำสั่งของท่านแต่เพียงผู้เดียว

การรักษาความปลอดภัยในการส่งจดหมายและทูต

การจัดระเบียบและสร้างวินัยแก่กองคาราวานในการยืนหยัดแห่งอาชูรอนั้น ได้ให้บทเรียนหลายด้านซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่ประชาชนต้องศึกษาบทเรียนเหล่านั้น เช่น

1 เมื่อท่านอิมาม (อ.) ส่งมุสลิมบุตรของอะกีลให้ถือจดหมายไปยังเมืองกูฟะฮฺ ท่านได้กำชับท่านมุสลิมว่า จงส่งจดหมายแก่บุคคลที่ไว้วางใจได้ และเป็นผู้ที่เชื่อถือได้มากที่สุด จงรับสัตยาบันจากประชาชนกรณีที่พวกเขาให้สัตยาบันจงรีบส่งข่าวให้ข้าทราบโดยด่วน[8]

สิ่งที่น่าทึ่งใจคือ อิมาม (อ.) ได้ห่อจดหมายหลายชั้นและลงตราหัวแหวน[9] เพื่อให้จดหมายได้รับการเชื่อถือ และศัตรูจะได้ไม่สามารถส่งจดหมายปลอมหรือต่อเติมในจดหมายแทนตัวแทนของท่านได้

มุสิลมบุตรของอะกีลได้รักษาสิ่งสำคัญดังกล่าวไว้อย่างน่าทึ่งใจเขาได้แอบออกไปจากเมืองอย่างลับๆ เพื่อมิให้ผู้คนสงสัยหรือให้สายลับของศัตรูจับผิดได้ อีกทั้งเขาได้นำผู้นำทางสองคนติดตามไปด้วยเพื่อกันมิให้หลงทาง[10]

2 เมื่อท่านอิมาม (อ.) ส่งทูตอีกคนหนึ่งคือ เกซบุตรของมุสะฮัด ไปยังเมืองกูฟะฮฺและท่านถูกจับได้ ท่านรีบกลืนจดหมายนั้นทันทีเพื่อมิให้ศัตรูล่วงรู้ความลับของท่านอิมาม (อ.)[11]

การเตรียมพร้อมกองทัพในด้านการเคลื่อนไหวและเศรษฐกิจ

การจัดระเบียบวินัยให้แก่กองคาราวานและภารกิจต่างๆ ของท่านอิมาม (อ.) ในการยืนหยัดแห่งอาชูรฮ ได้ให้บทเรียนแก่ประชาชาติรุ่นหลังอย่างมากมาย เช่น

1 ระหว่างทางไปกูฟะฮฺอิมาม (อ.) ได้พบกับชนเผ่าหนึ่งที่กำลังขนทรัพย์สินของรัฐจากเยเมน เพื่อไปส่งมอบให้ยะซีด ณ เมืองชาม ท่านอิมาม (อ.) ได้ขัดขวางและยึดทรัพย์สินเหล่านั้นให้เป็นของกองคลังอิสลาม[12]

2 ท่านอิมาม (อ.) ได้บุคคลร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านจากนครมักกะฮฺโดยมุ่งหน้าไปสู่อีรัก ซึ่งท่านได้สั่งให้พวกเขานำเงิน 10 ดีนาร พร้อมกับนำอูฐมาด้วยเพื่อจะได้ใช้อูฐนั้นขนสัมภาระที่จำเป็น[13]

3 ขณะที่ออกเดินทางท่านอิมาม (อ.) สั่งชายหนุ่มในกองคาราวานว่าให้จัดเตรียมน้ำให้มากเท่าที่จะสามารถจัดเตรียมได้[14] หมายถึงให้สำรองน้ำไว้สำหรับกองคาราวานและบุคคลที่ได้ร่วมทางไปด้วยอย่างสมบูรณ์

4 ในวันอาชูรอเมื่อเหล่าสาวกได้กระหายน้ำอย่างหนักท่านอิมาม (อ.) ได้สั่งให้ขุดบ่อขึ้น เมื่อขุดไปจนถึงชั้นน้ำอุมะริบสะอัด ได้สั่งให้กลบบ่อนั้น ท่านอิมาม (อ.) ได้สั่งให้ขุดบ่อหลายครั้งและทุกครั้งที่ขุดก็ถูกกลบลงทุกครั้ง[15]

การแจ้งข่าวแก่กองคาราวานและสหายอย่างตรงไปตรงมา

หนึ่งในบทเรียนสำคัญของการยืนหยัดของท่านอิมามคือ ความเป็นระเบียบและวินัยในกองทหารคือ การกล่าวสั่งการอย่างตรงไปตรงมาของท่านอิมาม  (อ.) ซึ่งจะขอหยิบยกบางประเด็นต่อไปนี้

1 อิมาม (อ.) ได้ส่งข่าวการออกเดินทางของท่านจากนครมักกะฮฺแก่บรรดาสาวก เพื่อที่ว่าบุคคลมีความประสงค์ก็สามารถเข้าสมทบกับกองคาราวานของท่านได้ และเมื่อออกจากมักกะฮฺไปแล้วท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวสุนทรพจน์หลายครั้ง พร้อมกับกล่าวถึงความตายเพื่อเป็นการเตือนสำทับแก่กองคาราวาน อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อยอมรับข่าวที่อาจเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวตั้งแต่วันแรกว่า บุคคลใดก็ตามที่ประสงค์จะหลั่งเลือดของเขาในหนทางของพระเจ้าเพื่อเชิดชูอุดมการณ์อิสลาม ก็จงร่วมเดินทางไปพร้อมกับข้าเถิด[16]

2 เมื่อกองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) ได้เดินทางไปถึงยังสถานที่แห่งหนึ่งนามว่า ซะอฺละบียะฮฺ ซึ่งอยู่ระหว่างมักกะฮฺกับกัรบะลาอฺ ได้มีคน 2 คน นามว่า อุบัยดิลลาฮฺ บุตรของสลีม และมะซียฺ บุตรของมัชอัล ซึ่งทั้งสองได้รีบกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์โดยเร็วเพื่อรีบไปสมทบกับกองคาราวานของท่านอิมาม (อ.) ซึ่งระหว่างทางเขาได้พบกับชายคนหนึ่งจากเผ่าของอะซะดียฺ เขาได้แจ้งข่าวการเป็นชะฮีดของมุสลิมบุตรของอะกีล และฮานี บุตรของอุรวะฮฺ เมื่อทั้งสองได้พบกับอิมาม (อ.) ก่อนที่จะแจ้งข่าวแก่ท่าน พวกเขาได้กล่าวแก่ท่านอิมามว่า เรามีข่าวต้องการจะแจ้งให้ท่านทราบ ท่านต้องการให้แจ้งอย่างลับๆ หรือว่าเปิดเผย

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ไม่มีความลับใดๆ แก่พวกเขา (หลังจากนั้นเขาได้แจ้งข่าวการเป็นชะฮาดัตของมุสลิม

3 ณ สถานที่แห่งหนึ่งนามว่า ซุบาละฮฺ ซึ่งอยู่ระหว่างมักกะฮฺกับกัรบะลาอฺ ท่านอิมาม (อ.) ได้รับข่าวการเป็นชะฮาดัตของอับดุลลอฮฺ บุตรของ ยักฏุร ซึ่งเป็นน้องชายบุญธรรมของท่านอิมาม ท่านอิมาม (อ.) ได้สั่งให้ไว้อาลัย[17] และแจ้งข่าวอย่างเปิดเผยแก่กองคาราวานของท่าน

แน่นอน ประเด็นดังกล่าวนี้บางคนได้กล่าวนามของ เกส บุตรของมุสะฮัด แทนนามของอับดุลลอฮฺ บุตรของ ยักฏุร ด้วยเหตุนี้ พอสรุปได้ว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ส่งทูตไปยังกูฟะฮฺถึง 3 คนด้วยกัน ได้แก่ มุสลิมบุตรของอะกีล เกส บุตรของมุสะฮัด และอับดุลลอฮฺ บุตรของ ยักฏุร

4 เมื่อท่านอิมาม (อ.) เดินทางมาถึงกัรบะลาอฺ ท่านได้ถามว่า ที่นี้มีนามว่าอะไร กล่าวว่า กัรบะลาอฺ หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่แห่งความเศร้าโศก สถานที่ทดสอบ และที่นี้คือสถานที่ๆ พวกเราทุกคนจะได้รับชะฮาดัต[18]

5 ในตอนค่ำของวันอาชูรอท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวย้ำเตือนแก่สหายทุกคนของท่านว่า ในวันพรุ่งนี้ตัวท่านและสหายทุกคนจะได้รับชะฮาดัต ท่านได้กล่าวต่ออีกว่า ข้าเกรงว่าพวกเจ้าจะไม่รู้ หรือหากพวกเจ้าทราบเรืองแล้วอาจจะอาย ขณะที่อิสลามและพวกเราอะฮฺลุลบัยตฺมีทีหน้าที่รักษาความอายของบุคคลอื่น ฉะนั้น ถ้าผู้ใดไม่ประสงค์ที่จะร่วมชะตากรรมกับเราก็จงกลับไปเถิด[19]



[1] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 387 , 379
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 506
[3] อัลฟุตูฮะฮฺ เล่ม 5 หน้า 107 มักตัลคอรัซมี เล่ม 1 หน้า 247 ตารีคฏ็อบรียฺ เล่ม 3 หน้า 317 อัลเอรชาด หน้า 232 โดยเล่มมาจากเมาซูอะฮฺ อิมามฮุซัยนฺ หน้า 393
[4] อ้างแล้วเล่มเดิม
[5] อ้างแล้วเล่มเดิม
[6] อ้างแล้วเล่มเดิม
[7] บิฮารรุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 298
[8] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 314
[9] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 313
[10] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 314
[11] บิฮารุลอันวาร เล่ม 44 หน้า 370
[12] เมาซูอะฮฺ หน้า 335
[13] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 327
[14] อ้างแล้วเล่มเดิม 352, 344
[15] อาดาบุลฮุซัยนฺ (อ.) หน้า 41 เล่ามาจากเมาซูอะฮฺ หน้า 495
[16] เมาซูอะฮฺ หน้า 328
[17] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 348 เล่ามาจากแหล่งอ้างอิงหลากหลาย
[18] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 374
[19]  นาซิคุลตะวารีค เล่ม 2 หน้า 158 อัดดัมอะตุสสาบิเกาะฮฺ หน้า 271 อัสรอรุชชะฮาดะฮฺ หน้า 268 เล่ามาจากเมาซูอะฮฺ หน้า 399