') //-->
คืนวันหนึ่งเพื่อนของข้าพเจ้าบอกว่า วันรุ่งขึ้น ถ้าอัลลอฮ์ทรงประสงค์เราจะไปที่นะญัฟกัน ข้าพเจ้าถามเขาว่า “นะญัฟคืออะไร?” เขาตอบว่า “มันเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และสถานที่ฝังศพท่านอิมามอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ อยู่ในเมืองนั้นด้วย
ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจ ที่มีสถานฝังศพอันมีชื่อเสียงสำหรับท่านอิมามอะลี(อ)เพราะเชคของเรากล่าวไว้ว่า ไม่มีสถานฝังศพที่มีชื่อเสียงสำหรับท่านอิมามอะลีของเราเลย เราขึ้นรถบัสไปยังเมืองกูฟะฮ์ ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์อิสลามที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง เพื่อนของข้าพเจ้าได้ชี้สถานที่ประวัติศาสตร์ทั้งหมดให้ดู และได้นำข้าพเจ้าไปยังมัสยิด มุสลิม อิบนิ อะกีล และฮานี อิบนิ อุรวะฮ์ และยังบอกกับข้าพเจ้าอย่างย่อๆว่า เขาถูกทำชะฮีด(ถูกสังหาร)ในการต่อสู้เพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ)อย่างไร เราเข้าไปในช่องเมียะฮ์์รอบ อันเป็นสถานที่ท่ีท่านอิมามอะลี(อ)ถูกสังหาร(ทำชะฮาดะฮ์)และ บ้านที่ท่านอิมามอะลี(อ)อาศัยอยู่กับบุตรทั้งสองของท่าน คือท่านฮาซันและฮุเซน ในบ้านหลังนั้นมีบ่อน้ำบ่อหนึ่งสำหรับใช้ดื่มและทำน้ำนมาซ
ข้าพเจ้าอยู่ที่นั่นด้วยดวงวิญญาณที่ลืมโลกไปชั่วขณะ คิดคำนึงถึงการอยู่อย่างสันโดษและอย่างถ่อมตนของท่านอิมาม ทั้งๆที่ความจริงมีอยู่ว่า ท่านเป็นหัวหน้าบรรดาผู้ศรัทธาและเป็นคอลีฟะฮ์ท่านที่สี่ด้วยซ้ำไป
ข้าพเจ้าไม่ลืมการต้อนรรับและความสุภาพของชาวกูฟะฮ์ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราผ่านกลุ่มชน พวกเขาจะยืนขึ้นทักทายเราด้วยการให้สลาม ดุจดังว่าเพื่อนของข้าพเจ้านั้นรู้จักพวกเขา มีคนหนึ่งที่เราพบเป็นผู้อำนวยการสถาบันอัล กูฟะฮ์ เขาเชิญเราไปยังบ้านของเขา เราพักอยู่ที่บ้านเขาคืนหนึ่งอย่างอบอุ่นและได้พบปะกับลูกๆของเขาด้วย ข้าพเจ้ามีความรู้สึกเหมือนอยู่ในครอบครัวของข้าพเจ้าเองและอยู่ในหมู่ญาติ และเมื่อเขาพูดถึงชาวซุนนีพวกเขามักพูดว่า “พี่น้องชาวซุนนะฮ์”เสมอ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงชอบการพูดคุยของเขา และได้ถามปัญหาสองสามข้อเพื่อทดสอบความจริงใจของเขา
เราเดินทางไปยังนะญัฟ ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 10 กม. จากกูฟะฮ์ เมื่อไปถึงที่นั่น ข้าพเจ้านึกถึงมัสยิด อัลาซิมียะฮ์แห่งนครแบกแดดทันที เพราะมีหออาซาน (สำหรับเรียกประชาชนมานมาซ)สีทองล้อมรอบโดมหุ้มด้วยทองบริสุทธิ์เหมือนกัน
เราเข้าไปในสถานฝังศพของท่านอิมามอะลี(อ)หลังจากได้อ่านคำขออนุญาตเข้าสถานที่นั้น อันเป็นธรรมเนียมสำหรับผู้เยี่ยมเยียน ที่เป็นชาวชีอะฮ์จะต้องทำเช่นนั้นภายในสถานที่ฝังศพ ข้าพเจ้าจึงเห็นส่ิงที่น่าประหลาดใจ ย่ิงไปกว่าสถานฝังศพของอิมามมูซา อัลกาซิมเสียอีก ข้าพเจ้ายืนอ่านอัลฟาติหะฮ์อย่างที่เคยทำ และสงสัยว่าสถานที่ฝังศพแห่งนั้น มีร่างของท่านอิมามอะลีอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ รูปแบบง่ายๆของบ้านในเมืองกูฟะฮ์ ซึ่งอิมามอะลีอาศัยอยู่นั้นประทับใจข้ามาก ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงห้าม ท่านอิมามอะลี(อ) คงไม่ยอมรับการตกแต่งด้วยทองและเงินเหล่านั้น ในเมื่อมุสลิมเป็นจำนวนมากยังคงตายด้วยความหิวกระหายอยู่ทั่วโลก” โดยเฉพาะอย่างย่ิง เมื่อข้าพเจ้าได้พบเห็นคนขอทานจนๆนอนอยู่บนถนนทั่วไป แล้วข้าพเจ้าก็ได้พูดกับตนเองว่า “โอ้ชีอะฮ์ท่านผิดเสียแล้ว อย่างน้อยที่สุดท่านควรจะรับความจริงข้อนี้ เพราะท่านอิมามอะลี(อ)ถูกส่งมาโดยท่านศาสดาแห่งอัลลอฮ์ให้ทำลายหลุมฝังศพ แล้วหลุมฝังศพสีทองและสีเงินนี้เป็นอย่างไรเล่า หากไม่เป็นการตั้งภาคีแล้ว อย่างน้อยที่สุดมันก็เป็นการผิดพลาดซึ่งอิสลามไม่ยอมให้กระทำ”
เพื่อนของข้าพเจ้า ยื่นแผ่นดินแห้งชิ้นหนึ่งให้แก่ข้าพเจ้า พลางถามว่าจะนมาซหรือไม่ ข้าพเจ้าได้ตอบเขาไปทันทีว่า “ผมไม่ต้องการนมาซรอบหลุมฝังศพหรอก” เขาจึงกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นจงคอยผมอยู่ที่นี่จนกว่าผมจะนมาซเสร็จ” ในขณะที่ข้าพเจ้าคอยเขาอยู่นั้น ข้าพเจ้าอ่านป้ายที่แขวนอยู่เหนือหลุมฝังศพและข้าพเจ้ายังมองเข้าไปในลูกกรงที่หุ้มด้วยทองและเงิน เห็นเหรียญและธนบัตรราคาต่างๆกัน ซึ่งผู้มาเยี่ยมเยียนโยนท้ิงไว้เกลื่อนอยู่ทั่วไปเพื่อเป็นการบริจาคเพื่อสาธารณะ ด้วยเหตุที่เป็นเงินจำนวนมาก ข้าพเจ้าคิดว่ามันคงถูกทิ้งไว้หลายเดือนกว่าจะมีผู้มาเก็บสักครั้งหนึ่ง แต่เพื่อนของข้าพเจ้าบอกว่า เจ้าหน้าที่ที่่รับผิดชอบในการทำความสะอาดสถานที่นั้น จะมาเก็บเงินนั้นทุกคืนหลังจากการนมาซตอนกลางคืนผ่านไปแล้ว
ข้าพเจ้าออกมาตามหลังเพื่อนของข้าพเจ้า และประหลาดใจส่ิงที่ได้เห็นมาเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าอยากให้เขาให้เงินแก่ข้าพเจ้าบ้าง หรือมิฉะนั้นก็แจกจ่ายแก่คนยากจน ข้าพเจ้ามองรอบๆสถานที่นั้น ซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงใหญ่ แลเห็หมู่ชนหลายหมู่ทำการนมาซที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง บ้างก็ยืนฟังผู้ปราศรัยซึ่งยืนอยู่บนแท่นยกพื้น บางพวกรู้สึกว่ากำลังร้องไห้อยู่ก็มี ข้าพเจ้าเห็นคนกลุ่มหนึ่งกำลังร้องไห้และทุบอกชกตัว ทำให้ข้าพเจ้าอยากถามเพื่อนของข้าฯว่า ทำไมพวกนั้นจึงทำเช่นนั้น ไม่มีขบวนนำมัยยิต(ศพ)ไปฝังเลย ข้าพเจ้้าจึงคิดว่าที่ประชาชนเหล่านั้นร้องไห้ก็เพราะการสูญเสียญาติไปก็ได้
9. การพบปะกับผู้มีความรู้ (อัลอุลามาอ์)
เพื่อนของข้าพเจ้า นำข้าพเจ้าไปยังมัสยิดแห่งหนึ่งใกล้กับสถานฝังศพนั้น พื้นของมัสยิดนั้นปูลาดด้วยพรม รอบๆเมียะฮ์รอบมีโองการจากอัลกุรอานปรากฏให้เห็นเป็นตัวอักษรที่แกะสลักอย่างสวยงาม ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเด็กๆโพกศีรษะ (สะระบั่น)สองสามคนนั่งอยู่ใกล้กับเมียะฮ์รอบนั้นกำลังศึกษาหาความรู้อยู่ แต่ละคนมีหนังสืออยู่ในมือเล่มหนึ่ง
ภาพนั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมาก เพราะข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเชคทีีมีอายุะระหว่าง 13 ถึง 16 ปีมาก่อนเลย และสิ่งที่ทำให้พวกเขาดูฉลาดเฉลียวเหลือเกินคือเครื่องนุ่งห่มของพวกเขา เพื่อนของข้าพเจ้าถามพวกเขาเกี่ยวกับท่านซัยยิด พวกเขากล่าวว่า ท่านผู้นั้นกำลังนำนมาซอยู่ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า ซัยยิด หมายถึงอะไร และคิดว่าเป็นอุละมาอ์(ผู้รู้)คนหนึ่ง ต่อมาข้าพเจ้าจึงทราบว่าท่านคือ “ซัยยิด อัลคูอี”ซึ่งเป็นผู้นำหมู่ชนชาวชีอะฮ์นั่นเอง
เป็นส่ิงที่น่ากลัวในที่นี้คือว่า คำนำหน้านาม “ซัยยิด” ซึ่งแปลว่า นายนั้น สำหรับชาวชีอะฮ์แล้ว เป็นคำนำหน้าผู้ที่เป็นเชื้อสายหรือเครือญาติท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)และคำซัยยิดนั้นไม่ว่าเขาจะเป็นนักศึกษาหรืออาลิม(เอกพจน์ของอุละมาอ์)จะโพกศีรษะด้วยผ้าสีดำ แต่ผู้ที่มีความรู้อื่นมักโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวและมีคำนำหน้าว่า “เชค” ผู้มีเกียรติอื่นๆซึ่งไม่ใช่ผู้มีความรู้จะโพกศีรษะด้วยผ้าสีเขียวก็มี
เพื่อนของข้าพเจ้าได้ถามพวกเขาว่า ถ้าข้าพเจ้าจะนั่งร่วมวงสนทนากับพวกเขาด้วยจะได้หรือไม่ ขณะที่เขาออกไปพบกับ ซัยยิด พวกเขาบอกว่ายินดีต้อนรับข้าพเจ้าและได้มานั่งรอบๆข้าพเจ้าเป็นครึ่งวงกลม ข้าพเจ้าได้มองหน้าพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนซื่อๆและบริสุทธิ์ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงคำกล่าวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ที่ว่า “มนุษย์นั้นเกิดมาตามธรรมชาติ แล้วบิดามารดาของเขาทำให้เขาเป็นยิว หรือคริสต์หรือพวกบูชาไฟ...” แล้วข้าพเจ้าก็พึมพำกับตัวเองว่า “....หรือทำให้เขาเป็นชีอะฮ์”
พวกเขาได้ถามข้าพเจ้าว่ามาจากประเทศใด ข้าพเจ้าได้ตอบว่า “มาจากประเทศตูนิเซีย” เขาถามอีกว่า “ในประเทศของท่านมีโรงเรียนสอนศาสนาหรือไม่?” ข้าพเจ้าตอบว่า “เรามีโรงเรียนและมหาวิทยาลัย” ข้าพเจ้าถูกโจมตีด้วยคำถามอันมากมายจากทุกด้าน คำถามเหล่านั้นล้วนฉลาดและลึกซึ้ง ข้าพเจ้าควรจะตอบเด็กที่ซื่อๆเหล่านั้นอย่างไรดี เพราะเขาคิดว่าโลกมุสลิมนั้นเต็มไปด้วยโรงเรียนสอนศาสนาซึ่งสอนวิชากฎหมาย ศาสนบัญญัติ หลักการอิสลาม และอรรถาธิบายอัลกุรอาน อย่างที่พวกเขาเล่าเรียนอยู่ แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า โลกสมัยใหม่ของอิสลามนั้น ได้เปลี่ยนโรงเรียนสอนอัลกุรอานมาเป็นโรงเรียนอนุบาล ซึ่งดำเนินการสอนโดยชาวคริสต์
ข้าพเจ้าควรบอกให้พวกเขาทราบไหมว่า พวกเขานั้นเป็นผู้ล้าหลังตามความเห็นของเรา มีคนหนึ่งได้ถามข้าพเจ้าว่า “แนวทาง(มัซฮับ)ไหนที่นับถือกันมากในตูนิเซีย” ข้าพเจ้าตอบว่า “มัซฮับมาลิกี” ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าบางคนหัวเราะ แต่ข้าพเจ้าทำเป็นไม่เอาใจใส่ เขาถามอีกว่า “ท่านรู้จักมัซฮับ ญะอ์ฟะรีไหม?” ข้าพเจ้าตอบว่า “ชื่อใหม่นี้คืออะไรกันไม่ทราบ ผมรู้แต่เพียงสี่มัซฮับเท่านั้น นอกนั้นไม่อยู่ในศาสนาอิสลามหรอก”
เขายิ้มและพูดว่า “มัซฮับญะอ์ฟะรีนั้นเป็นแก่นของอิสลาม คุณไม่รู้หรือว่าท่านอิมามอบูฮะนีฟะฮ์นั้น ได้รับการศึกษามาจากท่านอิมามญะอ์ฟัรอัซศอดิก ท่านอบูฮะนีฟะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า “ถ้ามาตรแม้นไม่มีสองปีนั้นแล้วกับท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซศอดิกแล้ว อัลนุอ์มาน (คือคำหน้านามท่านอบูฮะนีฟะฮ์)คงสูญสลายไปแล้ว” ข้าพเจ้ายังคงน่ิงเงียบไม่ตอบว่ากระไร เพราะข้าพเจ้าได้ยินชื่อซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย แต่ขอขอบคุณอัลลอฮ์(ซ.บ)ที่ท่านอิมามญะอ์ฟัรอัซศอดิก ไม่ได้เป็นครูของท่านอิมามมาลิก และข้าพเจ้าก็เป็นชาวมาลิกีไม่ใช่ชาวฮะนะฟี
พวกเขากล่าวว่า “มัซฮับทั้งสี่นั้นได้รับความรู้มาจากกันและกัน คือ อะฮ์หมัด อิบนิฮัมบัล ได้รับความรู้มาจากอิมามชาฟิอี อิมามชาฟิอี ได้รับความรู้มาจากท่านอิมามมาลิก ท่านอิมามมาลิกได้รับความรู้มาจากท่านอบูฮะนีฟะฮ์ และท่านอบูฮะนีฟะฮ์ได้รับความรู้มาจากท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศซอศอดิก เพราะฉะนั้นทั้งหมดทุกคน ก็เป็นศิษย์ของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซศอดิก อิบนิ มุฮัมหมัด ผู้ซึ่งเป็นคนแรกที่เปิดมหาวิทยาลัยอิสลาม ในมัสยิดของปู่ของท่าน คือท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ภายใต้การดำเนินงานของท่านมีนักศึกษาบัญญัติทางศาสนาและนักศึกษาฮะดีษไม่น้อยกว่า 4,๐๐๐ คนเล่าเรียนอยู่”
ข้าพเจ้าประหลาดใจในความฉลาดของเด็กหนุ่มเหล่านั้น ซึ่งดูเหมือนจะศึกษาเล่าเรียนสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ ทำนองเดียวกับที่เราท่องจำบทหนึ่งจากอัลกุรอาน ข้าพเจ้าย่ิงประหลาดใจย่ิงกว่านั้นอึก เมื่อเขาเริ่มบอกให้ข้าพเจ้าทราบเกี่ยวกับการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเขารู้ว่าหนังสือชุดหนึ่งๆมีกี่เล่มและมีกี่บท และเร่ิมการอภิปรายดุจดังว่าเขาเองเป็นครูสอนนักเรียนทีเดียว ความจริงแล้วข้าพเจ้ารู้สึกเหนื่ยอ่อนในการอยู่ต่อหน้าพวกเขา และอยากไปอยู่เสียที่อื่นกับเพื่อนของข้าพเจ้า แทนที่จะอยู่กับเด็กหนุ่มๆเหล่านี้ เพราะข้าพเจ้าไม่สามารถตอบคำถามที่เกี่ยวกับศาสนบัญญัติหรือประวัติศาสตร์ที่พวกเขาถามได้นั่นเอง
เขาได้ถามว่า “คุณดำเนินตามอิมามท่านไหน?” ข้าพเจ้าตอบว่า “ท่านอิมามมาลิก” เขากล่าวว่า “คุณดำเนินตามผู้ที่ตายไปแล้วได้อย่างไร? เมื่อเขากับคุณนั้นห่างกันเป็นระยะเวลาประมาณ 1,400 ปี ถ้าหากคุณจะถามปัญหาสักข้อหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาปัจจุบันแล้ว เขาจะตอบคุณได้อย่างไร” ข้าพเจ้าคิดอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วตอบว่า “ท่านญะอ์ฟัรของท่านก็ตายมาประมาณ1,400 ปีมาแล้วเช่นกัน แล้วพวกคุณดำเนินตามใครเล่า” พวกเขารีบตอบทันทีว่า “เราดำเนินตามท่านซัยยิด อัลคูอี เพราะท่านเป็นผู้นำของเราปัจจุบัน” ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าใครมีความรู้มากกว่ากัน ระหว่างอัลคูอีกับท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซศอดิก
ข้าพเจ้าพยายามที่เปลี่ยนเรื่องการสนทนาหลายครั้ง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงคอยถามปัญหาต่างๆต่อเนื่องกันเรื่อยไป เช่น “ประชากรเมืองนะญัฟมีเท่าไร? นะญัฟกับแบกแดดห่างกันเท่าไร? พกวเขารู้จักประเทศอื่นๆนอกจากอิรักบ้างไหม....” และทุกครั้งที่เขาตอบ ข้าพเจ้าก็เตรียมคำถามอื่นไว้ถาม เพื่อป้องกันมิให้เขามีโอกาสถามข้าพเจ้าได้ เพราะข้าพเจ้ารู้ว่าความรู้ของข้าพเจ้าไม่ทัดเทียมกับความรู้ของพวกเขาเลย แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่ยอมรับทั้งๆที่ความจริงมีอยู่ว่า ภายในใจของข้าพเจ้านั้นยอมรับความพ่ายแพ้อยู่แล้ว วันแห่งความรุ่งโรจน์และการได้รับทุนการศึกษาในอิยิปต์ได้กระเจิงสิ้นไปแล้ว ณ ที่นี้ โดยเฉพาะอย่างย่ิง หลังจากได้พบปะกับเด็กหนุ่มๆแต่แล้วข้าพเจ้าก็นึกถึงคำคมต่อไปนี้ได้
จงพูดกับผู้ที่อ้างว่ามีความรู้ทางวิชาปรัชญาว่า “ท่านมีความรู้ในส่ิงหนึ่งแต่ท่านก็ไม่รู้ในอีกหลายเรื่อง”
ข้าพเจ้าคิดว่าหัวใจของเด็กหนุ่มเหล่านั้น ย่ิงใหญ่กว่าหัวใจของเชคที่ข้าพเจ้าพบที่อัลอัซฮัร และย่ิงใหญ่กว่าหัวใจของเชคของเราในตูนีเซียเสียอีก
ท่านซัยยิด อัลคูอี เข้ามาในสถานที่แห่งนั้น พร้อมกับหมู่ผู้ทรงความรู้หมู่หนึ่ง พวกเขาดูน่านับถือและมีเกียรติมาก นักศึกษาทั้งหมดพร้อมทั้งข้าพเจ้าได้ยืนขึ้นต้อนรับ แต่ละคนได้เข้าไปหาซัยยิดและจูบมือท่าน แต่ข้าพเจ้ายังคงยืนอยู่ที่เดิม ท่านซัยยิดไม่ได้นั่ง จนกระทั่งทั้งหมดนั่งลงเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงนั่งลงและเร่ิมทักทายทีละคน และทุกคนก็ตอบรับการทักทาย จนกระทั่งถึงคราวของข้าพเจ้าบ้าง ข้าพเจ้าได้ตอบการทักทายในทำนองเดียวกับที่เขากล่าว หลังจากนั้นเพื่อนของข้าพเจ้ากระซิบกับท่านซัยยิด และชี้มายังข้าพเจ้า เขาให้ข้าพเจ้าเข้าไปใกล้ท่านซัยยิด ซึ่งข้าพเจ้าก็ทำตาม ซัยยิดให้ข้าฯนั่งทางขวาของท่าน
หลังจากเราได้ทักทายกันและกันแล้ว เพื่อนของข้าพเจ้าก็ได้พูดกับข้าพเจ้าว่า “คุณจงเล่าให้ท่านซัยยิดฟังถึงส่ิงที่ได้ยินได้ฟังมาเกี่ยวกับชีอะฮ์ในประเทศตูนิเซีย” ข้าพเจ้าพูดว่า “นี่คุณขอให้เราจงลืมเกี่ยวกับเรื่องราวที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังมาจากที่นี่ที่นั่นเสียเถิด ผมต้องการทราบเพื่อตัวเองว่าอะไรบ้างที่ชีอะฮ์กล่าวไว้ ดังนั้น ผมต้องการฟังคำตอบอย่างตรงไปตรงมาจากคำถามบางข้อที่ผมมี” เพื่อนของข้าพเจ้าได้คะยั้นคะยอ ให้ข้าพเจ้าแจ้งต่อท่านซัยยิด ในเรื่องที่ข้าพเจ้าคิดเกี่ยวกับชีอะฮ์
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า “ผมพิจารณาเห็นว่า ชีอะฮ์นั้นรุนแรงต่ออิสลามมากกว่าชาวคริสต์และชาวยิว เพราะว่าชาวคริสต์และชาวยิวเคารพสักการะอัลลอฮ์(ซ.บ) และศรัทธาในคัมภีร์ของนบีมูซา(อ) แต่ผมได้ยินมาว่า ชีอะฮ์นั้นเคารพสักการะท่านอิมามอะลี โดยนับถือท่านว่าศักดิ์สิทธิ์ และมีบางนิกายของพวกเขาที่เคารพสักการะอัลลอฮ์(ซ.บ) และนับถือท่านอะลีอยู่ในระดับเดียวกับศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)” และข้าพเจ้ายังบอกใหท่านทราบถึงเรื่องที่ญิบรออีลทรยศต่อการมอบหมายหน้าที่ คือแทนที่จะมอบคัมภีร์ให้แก่ท่านอะลี กลับมอบให้ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)”
ท่านซัยยิดนิ่ิงเงียบไปชั่วขณะหนึ่ง ศีรษะก้มลง ท่านได้มองมาทางข้าพเจ้าแล้วกล่าวว่า “เราเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นศาสนทูตของพระองค์ ท่านอิมามอะลีนั้น เป็นเพียงบ่าวของอัลลอฮ์คนหนึ่งเท่านั้น” ท่านหันไปทางผู้ฟังพลางชี้มาทางข้าพเจ้าแล้วกล่าวว่า “จงดูผู้บริสุทธิ์ผู้นี้ว่าเขาถูกล้างสมองด้วยข่าวเท็จอย่างไรบ้าง ส่ิงนี้มิใช่ส่ิงที่น่าประหลาดใจ เพราะข้าพเจ้าได้ยินมามากกว่านั้นจากประชาชนอื่นๆ(ดังนั้นเราจึงกล่าวว่า) ไม่มีพลังและอำนาจใดๆนอกจากพลังและอำนาจของอัลลอฮ์ ผู้ทรงย่ิงใหญ่และทรงสูงย่ิงเท่านั้น” แล้วท่านได้หันมาทางข้าพเจ้าและพูดว่า “ท่านอ่านอัลกุรอานหรือเปล่า” ข้าพเจ้าตอบว่า “ข้าพเจ้าสามารถท่องจำอัลกุรอานได้มากว่าครึ่งเล่มก่อนที่ข้าพเจ้าจะมีอายุ 10 ขวบ”ท่านพูดว่า “ท่านรู้หรือไม่ว่า กลุ่มอิสลามทั้งหมดนั้นไม่ว่าเขาจะอยู่แนวทางใด ก็เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานทั้งส้ิน เพราะว่าอัลกุรอานของเราก็เหมือนกับของท่านนั่นแหละ” ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ถูกแล้ว ผมรู้” แล้วท่านจึงพูดว่า “ท่านไม่ได้อ่านโองการของอัลลอฮ์(ซ.บ)หรือที่กล่าวว่า “มุฮัมหมัดมิได้เป็นอะไรเลย นอกจากศาสนทูตคนหนึ่งเท่านั้น บรรดาศาสนทูตทั้งหลายก่อนจากเขาได้ล่วงลับไปแล้ว”(บทที่ 3 โองการที่ 144)
อีกตอนหนึ่งมีว่า “มุฮัมหมัดนั้นเป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขาเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อบรรดาผู้ไม่ศรัทธา”(บทที่ 48 โองการที่ 29)
และอีกตอนหนึ่งมีว่า “มุฮัมหมัดมิได้เป็นบิดาของผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้าแต่เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์และเป็นท่านสุดท้ายจากบรรดาศาสดา”(บทที่ 33 โองการที่ 40)
ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ถูกแล้ว ท่านซัยยิด ผมรู้โองการของอัลกุรอานเหล่านั้น” ท่านกล่าวว่า “แล้วท่านอิมามอะลี อยู่ที่ไหนเล่า หากว่าอัลกุรอานกล่าวว่า มุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ คำโกหกนี้มาจากไหนเล่า”
ข้าพเจ้ายังคงน่ิงเงียบอยู่และไม่สามารถให้คำตอบได้ เขาจึงกล่าวเพ่ิมเติมว่า “สำหรับการทรยศของญิบรออีลนั้น ขอพระองค์ทรงห้าม มันร้ายแรงย่ิงกว่าเรื่องแรกเสียอีก เพราะว่าเมื่ออัลลอฮ์ทรงส่งญิบรออีลมายังศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)นั้นท่านมีอายุ 40 ปี และตอนนั้นท่านอะลีมีอายุ 6 หรือ 7 ขวบเท่านั้น ดังนั้นญิบรออีลจะจำผิดตัว และแยกไม่ออกว่าใครเป็นผู้ใหญ่และใครเป็นเด็ก จะสามารถเป็นไปได้อย่างไร” ท่านเงียบไปเป็นเวลานาน และข้าพเจ้าก็พิจารณาในส่ิงที่เขาพูด ข้าพเจ้าเห็นว่าคำพูดของเขาสมเหตุสมผลมากที่สุด ดังนั้น มันจึงสร้างรอยประทับใจอย่างลึกซึ้งให้แก่ข้าพเจ้า และถามตัวเองว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ตั้งพื้นฐานการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลเช่นนั้นบ้าง
ท่านซัยยิด อัลคูอี กล่าวเพิ่มเติมว่า “ข้าพเจ้าต้องการที่แจ้งให้ท่านทราบว่า ชีอะฮ์ เป็นกลุ่มเดียวเท่านั้นในหมู่กลุ่มมิสลิมทั้งหลาย ที่เชื่อถือในเรื่องความไม่ผิดพลาดของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)และของบรรดาอิมาม ดังนั้นหากว่าบรรดาอิมาม(อ) กระทำส่ิงใดผิดพลาด พวกเขาก็เป็นมนุษย์อย่างเรานี่เอง แล้วญิบรออีลเล่าเป็นอะไร ญิบรออีลเป็นเทวทูต(มะลาอิกะฮ์)ซึ่งอัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงโปรดปราน และพระองค์ทรงเรียกท่านว่า “วิญญาณที่ซื่อสัตย์”ด้วยซ้ำ (ท่านจะทำผิดพลาดหรือ)
ข้าพเจ้าถามว่า “แล้วข่าวลือเหล่านี้มาจากไหนเล่า”ท่านตอบว่า “มาจากศัตรูของอิสลาม ซึ่งพยายามที่จะแบ่งมุสลิมออกเป็นกลุ่มๆเพื่อให้ต่อสู้กันเอง มิฉะนั้นมุสลิมจะรวมตัวกันเนื่องจากเป็นพี่น้องกันอยู่แล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายชีอะฮ์หรือฝ่ายซุนนี เพราะทั้งหมดเคารพสักการะอัลลอฮ์องค์เดียวกัน และไม่เอาสิ่งหนึ่งส่ิงใดมาคู่เคียงกับพระองค์ พวกเขายึดถืออัลกุรอานเล่มเดียวกัน มีท่านศาสดามุฮัมมัดท่านเดียวกัน มีกิบละฮ์(ทิศทางที่มุสลิมหันไปสู่เวลานมาซ)แห่งเดียวกัน ชีอะฮ์และซุนนีนั้นแตกต่างกันเพียงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับบทบัญญัติทางศาสนาเท่านั้น ทำนองเดียวกันกับบทบัญญัติทางศาสนาของชาวซุนนีเองก็มีแตกต่างกันตามมัซฮับต่างๆหรือตามนิกายต่างๆเช่น แนวทางของมาลิกีมีความเห็นไม่สอดคล้องกับแนวทางของอบูฮะนีฟะฮ์ และแนวทางของอบูฮะนีฟะฮ์ก็มีความเห็นไม่สอดคล้องกันกับแนวทางของชาฟิอีเป็นต้น”
ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ทุกๆส่ิงที่พวกเขากล่าวมาเกี่ยวกับชีอะฮ์ก็โกหกทั้งนั้นสิ” ท่านกล่าวว่า “การสรรเสริญขอมอบแด่อัลลอฮ์ คุณเป็นคนที่มีสติปัญญา และความสามารถในการเข้าใจส่ิงต่างๆได้ คุณก็ได้เยี่ยมเยียนประเทศชีอะฮ์มาหลายประเทศแล้ว และท่องเที่ยวไปท่ามกลางประเทศเหล่านั้น ดังนั้น คุณเห็นหรือได้ยินสิ่งใดที่เกี่ยวกับการโกหกเหล่านี้บ้างไหม?” ข้าพเจ้าตอบว่า “เปล่า ผมไม่ได้ยินหรือไม่เห็นสิ่งใดเลย นอกจากส่ิงที่ดีเท่านั้น และผมขอขอบคุณอัลลอฮ์ ที่ทรงให้โอกาสผมพบกับคุณมุนอีมบนเรือ เพราะเขาเองที่เป็นต้นเหตุให้ผมได้มาปรากฏกายอยู่ในอิรักได้และความจริงแล้ว ผมได้เรียนรู้หลายส่ิงหลายอย่างซึ่งผมไม่รู้มาก่อนเลย”
เพื่อนของข้าพเจ้าคือมุนอีมพูดพลางย้ิมว่า “รวมทั้งได้เห็นหลุมฝังศพของท่านอิมามอะลีด้วยใช่ใหม” ข้าพเจ้าขยิบตากับเขาพลางพูดว่า “ความจริงแล้วผมได้เรียนรู้ส่ิงใหมหลายอย่าง แม้กระทั่งจากบรรดาเดก็หนุ่มๆเหล่านั้น ซึ่งผมอยากได้มีโอกาสได้เรียนอย่างที่พวกเขาได้เรียนในโรงเรียนสอนศาสนาเหล่านี้เหลือเกิน”
ท่านซัยยิดตอบว่า “ยินดีต้อนรับหากคุณต้องการศึกษาที่นี่ ที่โรงเรียนมีที่ว่างสำหรับคุณเพื่อศึกษาเสมอ” ทุกคนยินดีต้อนรับคำเสนอของข้าพเจ้า โดยเฉพาะอย่างย่ิงเพื่อนของข้าพเจ้าคือมุนอีม ซึ่งสีหน้าของเขาแสดงออกซึ่งความยินดีอย่างยิ่ง
ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ผมเป็นคนที่สมรสแล้วและมีบุตร 2 คนด้วย” กล่าวว่า “เราจะดูแลเรื่องอาหารและที่อยู่รวมทั้งส่ิงจำเป็นให้แก่คุณเอง ส่ิงที่จำเป็นที่สุดคือ การศึกษาเล่าเรียน”
ข้าพเจ้าคิดอยู่ชั่วขณะหนึ่งและพูดกับตัวเองว่า “ไม่น่าเลยที่ข้าพเจ้าจะเป็นนักศึกษาอีกหลังจากได้เป็นครูมาตั้ง 5 ปีแล้ว และเป็นนักการศึกษามาแล้วด้วย และไม่ง่ายเลยที่จะตัดสินใจโดยด่วนและเร็วเกินไป”
ข้าพเจ้าได้ขอบคุณท่านซัยยิด อัลคูอี สำหรับข้อเสนอของท่านและบอกท่านว่า ข้าพเจ้าจะคิดถึงเรื่องน้ั้นอย่างหนักอีกครั้งหนึ่ง หลังจากกลับจากอุมเราะฮ์ แต่ข้าพเจ้าต้องการหนังสือบางเล่มอยู่ ท่านซัยยิดจึงสั่งว่า “จงให้หนังสือแก่เขา”กล่มุผู้ทรงความรู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนขึ้น เดินไปยังตู้หนังสือ หยิบหนังสือมาหลายชุดมอบให้ท่านซัยยิด แล้วท่านซัยยิดก็ได้มอบให้ข้าพเจ้า อีกต่อหนึ่งพลางกล่าวว่า “หนังสือทั้งหมดเหล่านี้เราขอมอบให้ท่าน”
ข้าพเจ้ารู้ว่าไม่สามรถจะนำหนังสือเหล่านั้นกลับได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิง เมื่อข้าพเจ้าไปยังซาอุดิอารเบียเจ้าหน้าที่จะเซ็นเซอร์หนังสือที่จะเข้าเมืองเขา เพราะเขาไม่ต้องการให้ความคิดใหม่ๆเกิดขึ้นแก่ประชาชนของเขา โดยเฉพาะอย่างย่ิง ความคิดใหม่ๆที่ไม่สอดคล้องกับนิกายของเขา อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าไม่ต้องการพลาดโอกาสในการเป็นเจ้าของหนังสือ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคนเห็นเลยในชีวิตนี้ ข้าพเจ้าจึงบอกกับเพื่อนของข้าพเจ้า และผู้คนที่อยู่ที่นั่นว่าข้าพเจ้ายังต้องเดินทางต่อไปอีก จะต้องผ่านไปยังดามัสกัส จอร์แดน ซาอุดิอารเบีย และเดินทางเข้าอิยิปต์ ลิเบียและตูนิเซียในที่สุด นอกจากเรื่องน้ำหนักของหนังสือแล้ว ประเทศบางประเทศก็ห้ามหนังสือเหล่านั้น เข้าประเทศของเขาด้วย
ท่านซัยยิดกล่าวว่า “จงแจ้งที่อยู่ของท่านไว้กับเรา แล้วเราจะจัดการส่งหนังสือเหล่านั้นไปให้ท่าน”ข้าพเจ้าชอบความคิดนั้นมากจึงได้ให้นามบัตรของข้าพเจ้าแก่เขา และได้ขอบคุณในความเอื้ออารีของเขา และเมื่อข้าพเจ้าอำลาเขาเขาได้ยืนขึ้นและกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า “ขออัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงประทานความปลอดภัยให้แก่ท่าน และหากท่านได้ไปยืนอยู่ข้างหลมุฝังศพของบรรพบุรุษของข้าพเจ้าคือท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ.บ)แล้ว โปรดบอกสลามแก่ท่านด้วย”
ทุกคนรวมทั้งข้าพเจ้ารู้สึกสะเทือนใจต่อส่ิงทท่านซัยยิดกล่าว ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าน้ำตาได้ไหลรินจากเบ้าตาของท่าน ข้าพเจ้าได้รำพึงกับตนเองว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงห้าม อย่าให้บุคคเหล่านี้เป็นคนผิดหรือเป็นผู้กล่าวเท็จเลย เกียรติของพวกเขา ความย่ิงใหญ่ของพวกเขา และการถ่อมตนของพวกเขา บ่งว่าเขาเป็นเครือญาติท่านศาสดามุฮัมมัดโดยแท้ ข้าพเจ้าอดไม่ได้ที่จะจับมือของเขาขึ้นมาจูบ ทั้งๆที่ท่านปฏิเสธ”
เมื่อข้าพเจ้ายืนขึ้นจะกลับ ทุกคนก็ยืนขึ้นและกล่าวคำอำลาแก่ข้าพเจ้า หนุ่มๆหลายคนแห่งโรงเรียนสอนศาสนาได้ตามข้าพเจ้ามาและขอที่อยู่ของข้าพเจ้าเพื่อการติดต่อในอนาคต ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้ให้พวกเขาไว้
เรากลับไปยังเมืองกูฟะฮ์ตามคำเชิญของเพื่อนของมุนอีม ชื่ออบูชุบบาร และพักอยู่ในบ้านของเขา ซึ่งเราได้ใช้เวลาทั้งคืนสังสรรกับกลุ่มผู้ทรงความรู้หนุ่มๆ ในหมู่ผู้คนเหล่านั้น มีบางคนเป็นลูกศิษย์ของท่านซัยยิดและมุฮัมมัดบากิร ศอดร์ ซึ่งพวกเขาแนะนำข้าพเจ้าควรไปพบท่าน และพวกเขาจะจัดให้มีการสัมภาษณ์กับท่านในวันต่อมา เพื่อนของเข้าพเจ้าคือมุนอีม ชอบความคิดดังกล่าวมาก แต่เขาต้องขอโทษที่ไม่สามารถอยู่ในวันดังกล่าวได้ เพราะเขามีนัดล่วงหน้าไว้ว่า จะไปยังกรุงแบกแดด เราตกลงกันว่า ข้าพเจ้าจะพักอยู่กับอบู ชุบบาร ประมาณสามหรือสี่วันก่อนมุสอีมจะกลับมา
มุนอีมจากเราไปหลังจากนมาซมัฆริบ(หลังตะวันตก)เล็กน้อย หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็เข้านอน ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากนักศึกษาเหล่านั้น และรู้สึกประหลาดใจเกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่พวกเขาเล่าเรียนกันในโรงเรียนสอนศาสนาแห่งนั้น นอกจากวิชาศาสนบัญญัติ ซึ่งรวมทั้งวิชากฎหมาย กฎหมายอิสลาม และเอกภาพของอัลลอฮ์(เตาฮีด)แล้ว พวกเขายังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมือง ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์และวิชาอื่นๆอีกหลายวิชา