')
//-->
เตาฮีด ความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าหมายถึงอะไร
คำว่าเตาฮีด ในความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวหรือความเป็นเอกะ
ส่วนความหมายในเชิงปรัชญา ศาสนศาสตร์ จริยศาสตร์และรหัสยะ
ใช้ในความหมายที่แตกต่างกันออกไป
แต่ทั้งหมดเห็นพร้องต้องกันว่าหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าในคุณลักษณะอันเฉพาะเจาะจง
และบางครั้งถูกกล่าวในฐานะที่เป็นประเภทของเตาฮีด หรือเป็นระดับชั้นของเตาฮีด
แต่ถ้าต้องการพิจารณาความหมายที่เหมาะสมของทั้งหมดจะไม่เข้ากันกับหนังสือที่มีเนื้อหาจำกัดในเล่มนี้
คำนิยามที่มีความเหมาะสมเท่านั้น
1. การปฏิเสธลัทธิพหุเทวนิยม (Polytheism)
นิยามที่หนึ่งของเตาฮีด คือ ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า
และปฏิเสธความหลากหลายพหุเทวนิยมภายนอกอาตมันเมื่อเทียบกับการตั้งภาคีเทียบเคียง
หรือมีความเชื่อในความเป็นสองของพระเจ้าหรือมากกว่าสอง
และในแต่ละประเภทมีความอิสระที่แยกออกจากกันต่างหากโดยสิ้นเชิง
2. การปฏิเสธลัทธิภาวะสังเคราะห์ (Synthesis)
นิยามที่สองของเตาฮีด หมายถึงความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกภาพภายใน
ซึ่งอาตมันของพระองค์มิใช่ภาวะสังเคราะห์จากส่วนหรือองค์ประกอบต่างๆ
ทั้งในแง่ของกฤตภาพหมายถึง ภาวะจริงหรือภาวะที่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาจากศักยภาพ
(บิลฟิอฺลิ) และในแง่ของอกัมมันต์ หมายถึงเป็นฝ่ายรับการกระทำ
ไม่ใช่ฝ่ายเริ่มการกระทำ (บิลกูวะฮฺ)
ซึ่งความหมายนี้ส่วนใหญ่จะมาในรูปของคุณลักษณะปฏิเสธที่ไม่มีอยู่จริงในพระองค์
(การปฏิเสธลัทธิภาวะสังเคราะห์) ดังที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 10
เนื่องจากสติปัญญาของเรามีความเข้าใจในภาวะสังเคราะห์และการปฏิเสธภาวะสังเคราะห์ดีกว่า
3. การปฏิเสธคุณลักษณะทีเพิ่มบนอาตมัน
นิยามที่สามของเตาฮีด คือ
ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวกันของคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์
กับอาตมันของพระองค์พร้อมกับปฏิเสธคุณลักษณะที่เพิ่มมาบนอาตมันของพระองค์
ซึ่งเรียกว่า เตาฮีดฟิซัตตียฺ ส่วนในรายงานของท่านศาสดาเรียกว่า
นัฟฟียฺซิฟัต (หมายถึงเป็นการปฏิเสธคุณลักษณะ) ดังเช่น อะชาอิเราะฮฺ
ถือว่าคุณลักษณะของพระเจ้าเป็นสิ่งที่เพิ่มเข้ามาบนอาตมันของพระองค์
และเชื่อในความดั้งเดิมของความเป็นแปด
เหตุผลที่ยืนยันให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของคุณลักษณะคือ
ถ้าหากว่าคุณลักษณะแต่ละประการของพระเจ้าเป็นสิ่งที่แยกต่างหากแล้วละก็ในภาวะเช่นนั้นอาจเป็นไปได้ดังนี้คือ
องค์ประกอบของมันอยู่ภายในอาตมันของพระเจ้า
ซึ่งสิ่งจำเป็นที่จะต้องตามมาคืออาตมันของพระเจ้าจะกลายเป็นภาวะสังเคราะห์ทันทีจากส่วนต่างๆ
ทันที ซึ่งก่อนหน้านี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสิ่งเหล่านี้เป็นไปไม่ได้
หรือองค์ประกอบของมันอาจอยู่ภายนอกอาตมันของพระเจ้า
กรณีนี้อาจเป็นวาญิบุลวุญูด (จำเป็นต้องมี) ซึ่งไม่ต้องอาศัยการสร้างโดยสิ่งอื่น
หรืออาจเป็นมุมกินวุญูด (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ซึ่งเป็นสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า
แต่ในกรณีที่สมมุติว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นวาญิบุลวุญูด
หมายถึงอาตมันเป็นพหุเทวและเป็นสิ่งเทียบเคียงพระเจ้า
กรณีนี้ไม่มีมุสลิมคนใดบนโลกนี้ยอมรับได้อย่างแน่นอน
แต่ถ้าสมมุติว่าคุณลักษณะเป็นมุมกินุลวุญูด
สิ่งจำเป็นที่ต้องเป็นไปคืออาตมันของพระเจ้าที่ตั้งสมมุตฐานว่าปราศจากคุณลักษณะเหล่านี้ต้องสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา
หลังจากนั้นต้องปาวนาตนให้เข้ากับคุณลักษณะ เช่น
สมมุติว่าอาตมันของพระเจ้าปราศจากชีวิตอันดับแรกต้องสร้างชีวิตขึ้นมาก่อน
หลังจากนั้นจึงค่อยปาวนาอาตมันนให้เข้ากับชีวิต ทำนองเดียวกันในเรื่องของความรู้
อำนาจ และอื่นๆ ในกรณีเช่นนี้ไม่อาจเป็นไปได้กล่าวคือ
อาตมันพระผู้ทรงสร้างจะปราศจากคุณลักษณะสัมบูรณ์และกลายเป็นสิ่งถูกสร้างของสิ่งนั้น
สิ่งที่ยากยิ่งกว่านั้นคือ มวลสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ล้วนมีชีวิต มีความรู้
มีอำนาจและปาวนาตนเข้ากับคุณลักษณะสัมบูรณ์เหล่านั้น
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสมมุติฐานดังกล่าวเป็นโมฆะ
และสิ่งที่ชัดเจนขึ้นคือคุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่แยกออกจากกันและไม่แยกออกจากอาตมันของพระองค์
ทว่าทั้งหมดเหล่านั้นเป็นความเข้าใจที่สติปัญญาได้รับมาจากความหมายที่เป็นหนึ่งเดียวนั่นก็คือ
อาตมันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านั่นเอง
4. เอกเทศในการกระทำ (เตาฮีดอัฟอาล)
นิยามที่สี่ของเตาฮีด ซึ่งทั้งฝ่ายปรัชญาและศาสนศาสตร์ต่างเรียกเหมือนกันคือ
เตาฮีดอัฟอาล
หมายถึงในการปฏิบัติภารกิจของพระเจ้าพระองค์มิทรงพึ่งพาผู้ใดหรือสิ่งใดทั้งสิ้น
ในทางกลับกันไม่มีสรรพสิ่งใดที่มีอยู่สามารถช่วยเหลือภารกิจของพระองค์ได้
ประเด็นดังกล่าวนี้ถ้าหากพิจารณาเป็นพิเศษถึงการเป็นพระผู้สร้างของพระเจ้า
จะเห็นว่าพระองค์ทรงยั่งยืนเมื่อเทียบกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์
เนื่องจากมูลเหตุของสาเหตุเช่นนี้จะยืนหยัดด้วยสาเหตุสมบูรณ์ของตน
ในนิยามของปรัชญากล่าวว่า สิ่งที่ให้ความสัมพันธ์ขณะที่ตนต้องย้อนกลับไปยังสิ่งอื่น
ตัวของมันจะไม่มีวันเป็นอิสระอย่างเด็ดขาด
อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิ่งที่มีล้วนมาจากพระองค์
อยู่ภายใต้อำนาจของพระองค์
ซึ่งกรรมสิทธิ์และผู้ทรงสิทธิที่แท้จริงคือพระองค์เท่านั้น
อำนาจและกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นอยู่ในแนวตั้งแห่งอำนาจของพระองค์และเป็นหนึ่งในสาขาของอำนาจของพระองค์
มิใช่ว่าเป็นอำนาจที่มาขัดแย้งกับอำนาจของพระองค์
ดังเช่นกรรมสิทธิ์สมมุติของบ่าวที่มีต่อทรัพย์สินที่สรรหามาได้ซึ่งอยู่ในแนวตั้งแห่งกรรมสิทธิ์ของพระองค์
(กรรมสิทธิ์ที่อยู่ในมือของบ่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า) ดังนั้น
จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรจะพึ่งพิงอำนาจของสิ่งอื่นทั้งที่กรรมสิทธิ์ของสิ่งเหล่านั้นล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น