ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอาน

อัล-กุรอานกะรีมเปรียบเสมือนเป็นสำรับอาหารที่ทรงคุณค่ายิ่งของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านสู่สำรับอาหารของพระองค์ และให้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่มีความสามารถ แต่ละคนสามารถได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานตามความสามารถและการขวนขวายของตน

การชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของอัล-กุรอานเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนเป็นการชี้นำสำหรับคนทั่วไป และบางขั้นตอนของการชี้นำสำหรัับบุคคลที่มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงพิเศษเท่านั้น

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำทางมนุษย์ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้เข้าสู่ภายใต้ร่มเงาแห่งการชี้นำของอัล-กุรอาน กล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ [๑]

บางครั้งอาจกล่าวได้ว่า อัล-กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ หมายถึงการได้รับการชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เช่น กลุ่มชนที่มีความยำเกรง กล่าวว่า เพื่อชี้นำมวลผู้มีความยำเกรง[๒] กลุ่มชนที่มีความดีงาม กล่าวว่า เพื่อชี้นำและเป็นการเมตตาแก่บรรดาผู้กระทำความดี [๓]

ในบางครั้งบางกลุ่มชนใช้ประโขชน์จากความหมายภายนอก หรือเพียงแค่มองไปยังอัล-กุรอานเท่านั้น แต่บางกลุ่มชนได้พิจารณาไตร่ตรองและเข้าไปสู่การอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของอัล-กุรอาน

เล่มสื่อเล่มที่อยู่ตรงหน้าท่านผู้อ่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย พยายยามรวบรวมขั้นตอนที่ง่ายที่สุด และรวบรัดเพื่อสร้างความเข้าใจและได้รับประโยชน์มากที่สุดจากอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดเพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่การชี้นำขั้นสูงสุดของอัล-กุรอาน เพื่อที่ว่าตัวเราจะได้กลายเป็นชาวอัล-กุรอาน

๑. การมองไปยังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนแรกในการรู้จักอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าคือ การมองไปยังคัมภีร์เป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุดสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานนั้นเป็นรัศมี กล่าวว่า มนุษยชาติทั้งหลาย  แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่าง  อันชัดแจ้งลงมายังพวกเจ้าด้วย[๔] และการมองไปยังอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า การมองไปยังเล่มของอัล-กุรอาน หมายถึงหน้ากระดาษของอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮฺ[๕]

แม้กระทั่งผู้ท่องจำอัล-กุรอานยังได้รับคำแนะนำว่าให้มองไปยังอัล-กุรอานขณะอ่าน[๖]

ขั้นตอนดังกล่าวได้ครอบคลุมการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งผู้ที่มีความรู้ และไม่มีความรู้ และยังเป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถอ่านอัล-กุรอาน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวตามความเป็นจริงแล้วอวัยวะทุกส่วนบนร่างกายต่างได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานทั้งสิ้น เช่น สายตาได้รับประโยชน์จากการมองไปยังอัล-กุรอาน

๒. การฟังอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สองสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ ขณะที่อ่านอัล-กุรอานให้ฟังด้วยความตั้งใจ และใคร่ครวญในความหมาย

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า เมื่ออัล-กุรอานถูกอ่านขึ้น จงสดับฟังอัล-กุรอานเถิด และจงนิ่งเงียบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับการเอ็นดูเมตตา[๗]

فاذا قرء القرآن فاستمعوا له و انصتوا لعلكم بر حمنون

คำว่า ( انصتوا ) มาจากคำว่า ( انصات ) หมายถึง การนิ่งเงียบที่ควบคู่กับการฟังด้วยความตั้งใจ[๘]

การนิ่งเงียบในทุกที่หรือทุกสถานการณ์เพื่อฟังอัล-กุรอานเป็นมุซตะฮับ [๙] ส่วนในนมาซญะมาอะฮฺการฟังอิมามอ่านอัล-กุรานของมะอฺมูม (ผู้นมาซตาม) เป็นวาญิบ [๑๐] คำว่า อิซติมาอฺ หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังอย่างมีอารมณ์ความรู้สึก มีความหมายเหมือนกับคำว่า อัซฆออฺ [๑๑]

คำว่าอัซฆออฺ แตกต่างกับคำว่า ซะมาอฺ หมายถึง การฟังผ่านเพียงอย่างเดียว หรือการฟังโดยปราศจากการใคร่ครวญ[๑๒]

อัล-กรุอานโองการดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ ๒ ประการให้กับเรา กล่าวคือ

๑.การนิ่งเงียบเมื่อได้ยินหรืออ่านพจนารถของอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งเป็นปฐมบทของการ อิซติมาอฺ (ฟังด้วยความตั้งใจ)

๒. ให้ฟังด้วยความตั้งใจ หมายถึง การใค่รครวญในความหมายและสาระของโองการ ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามฟังพจนารถคำหนึ่ง โดยที่ตนไม่ได้เป็นผู้อ่่าน อัลลอฮฺ ทรงบันทึกความดีให้แก่เขา และลบล้างบาปหนึ่งออกจากเขา พร้อมทั้งยกฐานันดรของเขาให้สูงขึ้นไปขั้นหนึ่ง[๑๓]

ข้อควรพิจารณา ขั้นตอนนี้ครอบคลุมทุกคนในสังคม แม้กระทั่งบุคคลที่ไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานได้ ก็สามารถฟังความสัจจริงของอัล-กุรอานได้ด้วยจิตใจบริสุทธิ์

๓. การอ่านอัล-กุรอาน

ขั้นตอนที่สามสำหรับการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การอ่านอัล-กุรอานจากตัวอัล-กุรอาน หมายถึง การอ่านคำและประโยคของอัล-กุรอาน โดยไม่เข้าใจในความหมาย การอ่านอัล-กุรอานสามารถร่วมกับขั้นตอนอื่น เช่น การมองไปยังอัล-กุรอาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมบุคคลทั่้วไปในสังคม

สำหรับบุคคลที่เข้าใจและไม่เข้าใจในความหมายภาษาอาหรับ การอ่านอัล-กุรอานถือเป็นขั้นตอนแรกสำหรับการเีรียนรู้ ริวายะฮฺจำนวนมากมายแนะนำให้มุสลิมทั้งหลายปฏิบัติเช่นนั้น

ท่่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย ก่อนที่จะอำลาจากโลกไปควรเรียนรู้อัล-กุรอาน หรืออยู่ในขั้นตอนของการเรียนรู้[๑๔]

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้าคือ ผู้ที่เรียนรู้อัล-กุรอานและสอนให้แก่บุคคลอื่น

ในขั้นตอนนี้เองจึงได้มีคำแนะนำให้อ่านอัล-กุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะ เป็นจังหวะไปตามความหมาย กวดขันเรื่องหลักการอ่าน (ตัจญฺวิด) และการออกเสียงสำเนียงให้ถูกต้องตามฐานที่เกิดเสียง[๑๕]

ข้อควรพิจารณา แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการรู้จัก และการมักคุ้นกับอัล-กุรอานก็ตาม แต่จะต้องไม่เพียงพอหรือหยุดการรู้จักอัล-กุรอานอยู่เพีียงแค่ขั้นตอนนั้น ทว่าขั้นตอนดังกล่าวเป็นบันไดที่จะนำไปสู่ขั้นตอนที่สูงกว่าต่อไป

๔. การอ่านอัล-กุรอาน (การศึกาษาพร้อมกับการอ่าน)

การอ่านอัล-กุรอาน เป็นขั้นตอนหนึ่งสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน โองการจำนวนมากมายได้กล่าวแนะนำถึง การอ่านอัล-กุรอานไว้ เช่น กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด[๑๖]

กะรออัต เป็นขั้นตอนหนึ่งของการอ่าน ซึ่งประเด็นดังกล่าวถ้าหากสังเกตุการใช้คำตามสำนวนภาษาอาหรับของคนอาหรับทั่ว ๆ ไป กับความหมายในเชิงของนักภาษาศาสตร์จะได้รับบทสรุปดังนี้

การใช้สำนวนของคนอาหรับทั่วไป เช่น มีผู้กล่าวว่่า กะเราะตุลกิตาบะ  ฉันได้อ่่านจดหมายของเขาแล้ว หมายถึง เป็นการอ่านที่พร้อมกับสร้างความเข้าใจในเนื้อความของจดหมาย เขาจึงพูดว่่า ฉันอ่านแล้ว

มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ กล่าวว่า กะรออัต หมาถึงการอ่านที่คำหรือประโยคให้มีความสอดคล้อง หรือเรียงกันไปอย่างเป็นระเบียบ[๑๗]

ดังนั้น จะสังเกตุเห็นว่า ความเป็นระเบียบตามขั้นตอนมีบทบาทอย่างมากในการอ่าน และมีผลต่อการสร้างความเข้าใจ อีกทั้งมีผลต่อจิตใจของผู้อ่่านอย่างยิ่ง

ริวายะฮฺจำนวนมากเมื่อกล่าวถึง การกะรออัต จะกล่าวว่า ขณะที่พวกเจ้ากำลังอ่านอัล-กุรอาน (กะรออัต) เท่ากับกำลังห้ามพวกเจ้า ถ้าไม่ได้ห้ามพวกเจ้า เท่ากับพวกเจ้าไม่ได้อ่าน[๑๘]

หมายถึง การอ่านที่แท้จริงคือ การอ่านทีมีผลต่อจิตใจ ปรับเปลี่ยนการกระทำของมนุษย์ และห้ามปรามเขามิให้ทำบาป

ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ อ่านอัล-กุรอานพร้อมกับสร้างความเข้าใจในความหมายและเรื่องราวที่อัล-กุรอานกำำลังกล่าวถึง

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล โองการที่ ๒๐ ที่กล่าวว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอานตามแต่สะดวกเถิด ท่านอิมามริฎอ (อ.) อธิบายว่า ให้อ่านเท่าที่เจ้ามีจิตใจนอบน้อม และภายในมีความสงบมั่น[๑๙]

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรมต่าง ๆ ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไปจากความหมายในเชิงภาษา และการอ่านอัล-กุรอาน

๕. ตัรตีลกุรอาน

อัล-กุรอานกะรีมได้กล่าวถึง การตัรตีล ซ้ำหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งการตัรตีลจัดว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน เช่น อัล-กุรอานกล่าวว่า

أَوْ زِدْ عَلَيْهِ وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلًا

หรือมากกว่านั้น และจงอ่านอัลกุรอานช้า ๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)[๒๐]

คำว่าตัรตีล (  ترتيل)  มาจากคำว่า (رتل) หมายถึง ความเป็นระเบียบ ประสานเข้าด้วยกัน การได้รับกฎระเบียบของสิ่งหนึ่งจากแนวทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือการขับคำออกจากปากด้วยความง่ายดายและถูกต้อง การอ่านออกเสียงเป็นจังหวะ เหล่านี้เรียกว่า การตัรตีล[๒๑]

ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตัรตีล (อ่านอย่่างเป็นจังหวะ) ตามความหมายของรากศัพท์เิดิมหมายถึง การจัดระเบียบ หรือจัดจังหวะ ในที่นี้หมายถึง การอ่านอัล-กุรอานอย่างเป็นจังหวะด้วยท้วงทำนองที่ไพเราะ พร้อมกับการออกเสีียงอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การอธิบายคำและใคร่ครวญในความหมายของโองการ ตลอดจนการไตร่ตรองในบทสรุป

ท่านอิมามซอดิก (อ.) อธิบายถึงการตัรตีล (อ่านอย่่างเป็นจังหวะ) ว่า เมื่ออ่านโองการผ่านไปถ้าในโองการนั้นกล่าวถึงสวรรค์ ให้หยุดและทูลขอสรวงสวรรค์จากพระองค์ (ให้สร้างตนเองเพื่อสวรรค์) แต่ถ้าโองการที่อ่านผ่านไปกล่าวถึงนรกและการลงโทษ ให้หยุดและขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้ตนรอดพ้นและห่างไกลจากสิ่งเหล่านั้น[๒๒]

อีกนัยหนึ่งการอ่านอย่างเป็นจังหวะ (ตัรตีล) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๒ ประการ หรือมี ๒ ขั้นตอนดังนี้

๑. ตัรตีลลัฟซียฺ หมายถึง การออกอักษรบนฐานเสียงที่ถูกต้อง การกวดขันเรื่องการหยุด การไม่อ่านข้าม และความต่อเนื่องในการอ่าน

๒. ตัรตีลมะอฺนะวียฺ หมายถึง การใคร่ครวญในโองการและคิดว่าตนคือบุคคลที่อัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง กล่าวคือ ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานกำลังแจ้งอยู่นั้นหมายถึงตน และมอบหมายการบำบัดความเจ็บปวดทั้งหมดของตนด้วยโองการต่าง ๆ ของพระองค์[๒๓]

มีริวายะฮฺอีกมากมายที่กล่าวถึงเรื่องการ อ่านตัรตีล

ข้อควรพิจารณา ทุกวันนี้ที่มีการอ่านอัล-กุรอานตามงานและพิธีกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของตัรตีล ถือว่าเป็นการนำเสนอวิธีการอ่านอัล-กุรอานในแนวทางใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงนิยามหนึง และจากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เข้าใจได้ว่า นิยาม ดังกล่าวนอกเหนือไปจากความหมายในเชิงภาษาของอัล-กุรอาน และริวายะฮฺ ตัรตีลตามความหมายที่กล่าวมานอกเหนือไปจาก การตัรตีลที่สังคมเข้าใจ

ข้อควรพิจารณา ความแตกต่างของการอ่านตัรตีลกับกะรออัตคือ กะรออัตเน้นเรื่องการอ่านอัล-กุรอาน โดยใคร่ครวญในความหมายและผลที่จะเกิดกับจิตใจ ส่วนการอ่านแบบตัรตีลเน้นเรื่องจังหวะทำนอง การออกเสียงและกวดขันเรื่องการหยุด พร้อมทั้งมีการใคร่ครวญเพื่อสร้างความสงบแก่จิตใจ

๖. ตะลาวะตุลกุรอาน

การตะลาวัต เป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน มีหลายที่ด้วยกันที่อัล-กุรอานกล่าวถึง การตะลาวัต เช่น กล่าวว่า

الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلاَوَتِهِ أُوْلَئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ

บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขาโดยที่พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ชนเหล่านี้คือ ผู้ที่ศรัทธาต่อศาสดา[๒๔]

บางโองการกล่าววาหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการอ่านคัมภีร์ โองการกล่าวว่า

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْآيَاتِهِ

พระองค์ทรงแต่งตั้งเนสะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา[๒๕]

และยังมีอัล-กุรอานโองการอื่นกล่าวสนับสนุนประเด็นดังกล่าว เช่น อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๙ / ๑๕๑ , ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน ๑๖๔, ซูเราะฮฺเกาะซ็อด ๕๙

คำว่า ตะลาวัต มาจากคำว่า ตะลา หมายถึง การติดตาม หรือการตามอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การมาของสิ่งหนึ่งบางครั้งอาจแฝงมากับอีกสิ่งหนึ่ง และบางครั้งเป็นการติดตามสิ่งหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตาม การอ่านคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การอ่่านเพื่อปฏิบัติตามคำสั่างห้ามและคำสั้งใช้ของพระองค์ ดังนั้น การตะวาวัต จึงเฉพาะเจาะจงมากกว่า การกะรออัต แม้ว่าทั้งสองคำจะให้ความหมายว่า อ่าน ก็ตาม[๒๖]

นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบาย สิทธิของการตะลาวัต ไว้ว่า การให้นิยามว่าตะลาวัต มีความหมายมาก เป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดแจ้งสำหรับเราเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์อันทรงเกียรติ

ประชาชนเมืออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังนี้

- บางกลุ่มเพียงแค่กวดขันเรื่องการอ่านออกเสียงคำต่าง ๆ

- บางกลุ่มไม่เพียงแต่กวดขันเรื่องการอ่าน แต่ใคร่ครวญในความหมายของโอการด้วย

- บางกลุ่มยึดเอาอัล-กุรอานเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต และยอมรับว่าอัล-กุรอานคือแบบอย่างที่สมบูรณ์

กล่าวถือการอ่านคำและเข้าใจในความหมายจัดว่าเป็นปฐมบทที่โน้มนำไปสู่การปฏิบัติ และสิ่งนี้คือสิทธิของการตะลาวัต

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายโองการที่กล่าวว่า พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ว่าหมายถึง การปฏิบัติตามในสิทธิที่ควรปฏิบัติ[๒๗]

๗. การเรียนรู้อัล-กุรอาน (การย้อนกลับไปยังอัล-กุรอาน)

หนึ่งในขั้นตอนของการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การเรียนรู้ ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงประเด็นนี้หลายครั้งด้วยกัน

อัล-กุรอานกล่าวถึงชาวคัมภีร์ว่า

أَلَمْ يُؤْخَذْ عَلَيْهِم مِّيثَاقُ الْكِتَابِ أَن لاَّ يِقُولُواْ عَلَى اللّهِ إِلاَّ الْحَقَّ وَدَرَسُواْ مَا فِيهِ

มิได้ถูกเอาแก่พวกเขาดอกหรือ ซึ่งข้อสัญญาแห่งคัมภีร์ว่า พวกเขาจะไม่กล่าวพาดพิงเกี่ยวกับอัลลอฮฺ นอกจากความจริงเท่านั้น และพวกเขาก็ได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์แล้ว[๒๘]

นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า คำว่า ดะเราะซะ นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกันกล่าวคือ

๑. การอ่านสิ่งหนึ่งอย่าต่อเนื่อง หมายถึง ความต่อเนื่องในการอ่าน ดังนั้น การอ่านเพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือว่าเป็นการอ่านหรือเป็นการเีรียนรู้[๒๙]

๒.การทำซ้ำสิ่ง ๆ หนึ่งคือการเรียนรู้ถึงสิ่งนั้น เช่น การเวลาทบทวนบทเรียนที่ครูบาอาจารย์ได้สอนสั่งมาซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ บางครั้งเราจะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนดูเก่าแก่มาก (ดัรซฺ วะ อินดิรอซ) ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากว่า ทั้งลม ฝน แสงแดด และสิ่งอื่น ๆ ได้เกิดซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาคารเก่าเร็วขึ้น[๓๐]

๓. การคงเหลือร่องรอยของสิ่ง ๆ หนึ่งเรียกว่าเป็นของเก่าแก่ เช่น เมื่อสภาพเดิมของบ้านหมดสภาพลงก็กลายเป็นบ้านเก่า แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นจึงเรียกว่า (ดัรซุดดาซ) แต่บางครั้งร่องรอยของความรู้คงหลงเหลืออยู่เนื่องจากการท่องจำเรียกว่า (ดัรซุลอิลมิ) หรือ (ดัรซุลกิตาบ)

จากจุดนี้จะเห็นว่าการคงสภาพหลงเหลืออยู่ของความรู้หรือหนังสือ เนื่องจากความต่อเนื่องในการเีรียนรู้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า ดัรซฺ[๓๑]

จากคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานและนักภาษาศาสตร์ทำให้ได้บทสรุปว่า คำว่า ดัรซฺ ในโองการ ๑๖๙ ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ให้ความหมายว่า ความต่อเนื่อง การทำซ้ำ และการศีกษาคัมภีร์แ่ห่งฟากฟ้า

ในอีกที่หนึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า

مَا كَانَ لِبَشَرٍ أَن يُؤْتِيَهُ اللّهُ الْكِتَابَ وَالْحُكْمَ وَالنُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ كُونُواْ عِبَادًا لِّي مِن دُونِ اللّهِ وَلَكِن كُونُواْ رَبَّانِيِّينَ بِمَا كُنتُمْ تُعَلِّمُونَ الْكِتَابَ وَبِمَا كُنتُمْ تَدْرُسُونَ

ไม่เคยปรากฏแก่บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์และข้อตัดสิน และการเป็นนบีแก่เขา หลังจากนั้นเขากล่าวแก่ผู้คนว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นบ่าวของฉัน นอกจากอัลลอฮฺ ทว่า (ขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันธ์กับพระผู้อภิบาลเถิดเถิด เนื่องจากพวกท่านเคยเรียนคัมภีร์มา[๓๒]

คำว่า ร็อบบานียฺ จะกล่าวแก่บุคคลที่ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้ามีความมั่นคงสูง เนื่องจากคำนี้มาจากรากศัพท์ของคำว่า ร็อบบะ หมายถึง การอบรมสั่งสอน การดูและ ด้วยเหตุนี้คำ ๆ นี้ จะใช้กับบุคคลที่ให้การอบรมสั่งสอน หรือปรับปรุงบุคคลอื่น

ฉะนั้น เป้าหมายของบรรดาศาสดาจึงมิใช่การเลี้ยงดูบรรดาประชาชาิติ แต่หมายถึงการให้การอบรม เป็นผู้สั่งสอน เป็นครูฝึก และเป็นผู้นำพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มชนที่ได้ผ่าน ๒ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑. เคยเรียนรู้และเห็นคัมภีร์มาก่อน

๒.เคยเห็นบทเีรียนของคัมภีร์มาก่อน

ความแตกต่างของคำว่า ตะอฺลีม กับ ตัดรีซ อยู่ที่ว่า ตะอฺลีม มีความหมายกว้างกว่า และครอบคลุมการสอนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสอนปากเปล่า การสอนโดยใช้สื่อในการสอน และครอบคลุมผู้เรียนทั้งคนโง่และฉลาด

ส่วนคำว่า ตัดรีซ คือการสอนที่สอนโดยอาศัยสื่อซึ่งอาจเป็นตำรา หนังสือ หรือจากการรวบรวมข้อมูลเป็นแผ่น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบคำทั้งสองจะเห็นว่า คำว่า ตัดรีซ มีความหมายแคบกว่าคำว่า ตะอฺลีม[๓๓]

สรุปว่าเราสามารถรู้จักอัล-กุรอานในระดับที่สูงขึ้นไปได้ด้วยวิธีการ อ่านซ้ำ อ่านด้วยความใคร่ครวญ และเรียนรู้ถึงความหมาย แต่สิ่งที่ควรจำคือ อัล-กุรอานต่างไปจากคัมภีร์เล่มอื่นเนื่องจากอัล-กุรอานมีความใหม่อยู่เสมอ การเรียนรู้ซ้ำไปซ้ำมาจะไม่ทำให้มีความเบื่อหน่าย

ริวายะฮฺกล่าวว่ามีคนหนึ่งถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ทำไมอัล-กุรอานยิ่งพิมพ์เผยแพร่ ยิ่งมีการเรียนรู้มากเท่าใด ยิ่งมีความหวานชื่นมากเท่านั้น ท่านอิมามตอบว่า เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้ประทานอัล-กุรอานลงมาให้ประชาชาติหรือช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง

อัล-กุรอานจะเป็นคัมภีร์ใหม่เสมอตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะให้ความหวานชื่นแก่ทุกประชาชาติ[๓๔]

 ๘. การท่่องจำและอัล-กุรอาน

หนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนคือ การท่องจำโองการต่าง ๆ นั่นเอง

ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มากมายได้กล่าวเน้นเรื่องการท่องจำอัล-กุรอาน เข่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาได้บรรจุอัล-กุรอานเอาไว้[๓๕]

แน่นอนถ้าหากหัวใจคือที่พำนักพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าแล้วละก็ เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้ปกป้องพระดำรัสของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกป้องดำรัสของพระองค์ ดังนั้น หัวใจในฐานะแผ่นบันทึกพระดำรัสก็จะถูกปกป้องไปโดยปริยาย

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งความทรงจำของเขาอ่อนแอมาก อัลลอฮจะประทาน ๒ รางวัลแก่เขา[๓๖]

ยังจะไม่่ดีไปกว่านี้อีกหรือ การที่เรามิได้ถูกห้ามการได้รับผลประโยชน์จากอัล-กุรอานโดยขั้นตอนดังกล่าว เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีคุณประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์เอง อย่างน้อยสุดตนได้กลายเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล-กุรอาน ทำให้ความทรงจำดีขึ้น เป็นผู้มักคุ้นกับอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดจะได้รับผลบุญมากมายจากพระผู้อภิบาล ริวายะฮฺกล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงตะโกนบอกกับเขาว่า จงอ่าน และจงขึ้นไปด้านบน ทุกโองการที่อ่านจะทำให้ฐานันดรของเขาในสวรรค์สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ[๓๗]

๙. การไตร่ตรองในอัล-กุรอาน

อีกประการหนึ่งสำหรับขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานคือ การไตร่ตรองและใคร่ครวญในอัล-กุรอาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโองการมากมายได้ย้ำเน้นเอาไว้ และอัล-กุรอานกล่าวเชิญชวนเสมอให้มีการใคร่ครวญในตัวเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการใคร่ครวญเ็ป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการประทานอัล-กุรอาน ดังที่กล่าวว่า

كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ  

คัมภีร์ (อัล-กุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาฌองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ[๓๘]

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า เป้าหมายในการประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติ มิได้ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าเป้าหมายหลักของการประทานคือการใคร่ครวญและไตร่ตรองในคัมภีร์[๓๙]

บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวว่าประณามบุคคลที่้ไม่ใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า

أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلَى قُلُوبٍ أَقْفَالُهَا  

พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัล-กุรอานดอกหรือ หรือว่าหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่[๔๐]

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเน้นถึงการใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า พึงสังวรไว้เถิดว่าการอ่านที่ไม่มีการใคร่ครวญในนั้นไม่มีความดีงามใด ๆ ทั้งสิ้น[๔๑]

คำว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์คำว่า ดะบะเราะ หมายถึง ด้านหลังของสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ตะดับบุร จึงหมายถึง การครุ่นคิดเบื้องหลังของภารกิจทั้งหลาย[๔๒] (หมายถึงบั้นปลายสุดท้ายของการงาน หรือปรากฏการณ์ที่ได้เห็นหลังจากนั้นได้ใคร่ครวญและทบทวนในเหตุการณ์เหล่านั้น

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์ของคำว่า ดะบะเราะ หมายถึง การพิสูจน์บทสรุปของสิ่ง ๆ หนึ่ง ต่างกับการ ตะฟักกุร (การคิด) ซึ่งส่วนมากจะคิดถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่ง ๆ นั้น และทั้งสองคำถูกใช้ในอัล-กุรอานในความหมายที่กว้าง

คำว่า อักฟาล ในโองการที่ ๒๔ ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด เป็นพหูพจน์ของคำว่า กุฟลิ  ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า กุฟูล  หมายถึง การกลับ หรือ กุฟีล ให้ความหมายว่่า สิ่งที่แห้ง  ดังจะเห็นว่าถ้ามีคน ๆ หนึ่งปิดประตูและใส่กุญแจอย่างดี ผู้ที่เห็นว่าประตูใส่กุญแจไว้เขาก็จะหันหลังกลับทันที เหมือนกันสิ่งของที่แห้งจะไม่มีสิ่งใดซึมผ่านมันเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า กุฟีล

การที่จะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องมีการขัดเกลาตนเองเสียก่อน เพราะอะไร เนื่องจากว่าถ้าหัวใจของเราถูกใส่กุญแจไว้ หมายถึง ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำ หรือถูกความยะโสโอหัง ความอคติอวดดี และความเห็นแก่ตัวควบคุมอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นหรือแม้แต่รัศมีของอัล-กุรอานเร็ดรอดเข้าไปจะมีประโยชน์อันใดอีก ฉะนั้น นี่คือความหมายของโองการที่กำลังกล่าวถึง[๔๓]

ข้อควรพิจารณา การตะดับบุร ก็คือ ความเข้าใจด้านใน หรือการตะอฺวีล และเป้าหมายของอัล-กุรอานซึ่งแอบแฝงอยู่ที่คำต่าง ๆ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสาธยายแบบฉบับของพระผู้เป็นเจ้า และให้บทเรียนอันทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจในสาส์นทั่ว ๆ ไปของเรื่องราวดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ตัวเอง

๑๐. การคิดในอัล-กุรอาน (ตะฟักกุร)

ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานอีกประการหนึ่งคือ การคิด ในโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ซึ่งมีหลายโองการที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่า

إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ  

แท้จริงพวกเราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับเพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด[๔๔]

บางครั้งอัล-กุรอานได้แนะนำว่าเป้าหมายของการประทานอัล-กุรอานคือ การคิดไตร่ตรองของมนุษย์ ดังที่กล่าวว่า

بِالْبَيِّنَاتِ وَالزُّبُرِ وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَلَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ  

ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้สาธยายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง[๔๕]

ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้เิชิญชวนมนุษย์ไตร่ตรองในโองการต่าง ๆ ของพระองค์[๔๖]

ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่านักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า ตะฟักกุร คือการไตร่ตรองถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งนั้น ส่วนการตะดับบุร คือการไตร่ตรองถึงผลหรือบทสรุปของการเกิดของสิ่งนั้น[๔๗] ในวิชาตรรกวิทยาได้กล่าวว่า เหตุผลนั้นมี ๒ ลักษณะกล่าวคือ ลิมมียฺ กับ อินนียฺ

เหตุผลที่เป็นลิมมียฺ หมายถึง การคิดจากสาเหตุที่เกิดไปหามูลเหตุแห่งการเกิด ส่วนเหตุผลที่อินนีย์ คือการคิดจากมูลเหตุที่เกิดไปหาสาเหตุของการเกิด

บางที่อาจกล่าวได้ว่า การตะดับบุรนั้นหมายถึง เหตุผลที่เป็นอินนียฺ ส่วนการตะฟักกุรนั้น หมายถึงเหตุผลที่เป็นลิมมียฺ

ข้อควรพิจารณา ตะฟักกุร คือความเข้าใจภายนอกของอัล-กุรอาน หรืออีกนัยหนึ่งคือการอรรถาธิบาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๑๑. การยึดมั่นสอัล-กุรอาน

การยึดมั่นอัล-กุรอานเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำหรับการได้รับประโยชน์และการรู้จักอัล-กุรอาน หลายต่อหลายโองการได้เชิญชวนให้ปวงบ่วงทั้งทำการยึดมั่นกับ-อัล-กุรอาน เช่น ในซูเราะฮฺ ซุครุฟ พระองค์ตรัสกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า

فَاسْتَمْسِكْ بِالَّذِي أُوحِيَ إِلَيْكَ إِنَّكَ عَلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ

ดังนั้นจงยึดมั่นตามที่ได้ถูกวะฮียฺแก่เจ้า แท้จริงเจ้านั้นอยู่บนแนวทางอันเที่ยงตรง[๔๘]

อัล-กุรอานซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ กล่าวว่า

وَالَّذِينَ يُمَسِّكُونَ بِالْكِتَابِ وَأَقَامُواْ الصّلوةَ إِنَّا لاَ نُضِيعُ أَجْرَ الْمُصْلِحِينَ  

และบรรดาผู้ที่ยึดถือคัมภีร์และดำรงนมาซ แท้จริงเราจะไม่ทำลายรางวัลของผู้ปรับปรุงแก้ไขทั้งหลาย[๔๙]

จุดประสงค์ของคำว่า กิตาบ ในโองการนั้นหมายถึง คัมภีร์เตารอต หรืออัล-กุรอาน บรรดานักตัฟซีรได้อธิบายไว้ ๒ ลักษณะดังนี้

ตะมักซุก หมายถึงการยึดมั่น หรือการยึดติดกับสิ่ง ๆ หนึ่งเพื่อปกป้องรักษาไม่ให้ของสิ่งนั้นสุญเสียไป ซึ่งสามารถแยกออกเป็นการยึดมั่นที่สามารถสัมผัสได้ (ฮิซซียฺ) กับการยึดมั่นที่สัมผัสไม่ได้เป็นการสัมผัสด้านใน (มะอฺนะวีย)

๑. การยึดมั่นที่สัมผัสได้ หมายถึง การที่ได้จับหรือถืออัล-กุรอานไว้ในมืออย่างมั่นคง พร้อมกับปกปักรักษาปกและเล่มอัล-กุรอานไม่ให้เสื่อมสลาย ถึงแม้ว่าการยึดมั่นลักษณะเช่นนี้จะมีประโยชน์และเป็นการกระทำที่ดีก็ตาม แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของโองการ

๒. การยึดมั่นที่เป็นการสัมผัสด้านใน (มะอฺนะวีย)  ซึ่งถือว่าเป็นการยึดมั่นที่แ้ท้จริงเนื่องจากมนุษย์ได้ยึดมั่นด้วยความสมบูรณ์อย่างแท้จริง ด้วยความเลื่อมในศรัทธา และด้วยหัวใจที่จะปกป้องไม่ให้เสือมสลาย พร้อมกับไม่อนุญาตให้ตนปฏิบัติขัดแย้งกับอัล-กุรอานแม้จะเล็กเท่าผลธุลีก็ตาม อีกทั้งได้ทุมเทชีวิตจิตใจเพื่อการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกับอัล-กุุรอาน[๕๐]

สรุป หนึ่งในหน้าที่ของเราที่มีต่อัล-กุรอานคือ การยัดมั่นอย่างแท้จริงกับอัล-กุรอาน และจุดประสงค์คือ การยึดมั่นแบบมะอฺนะวียฺ

๑๒. การแปลอัล-กุรอาน

การแปลอัล-กุรอานเป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน การแปลอัล-กุรอานสำหรับบุคคลที่มีความเข้าใจภาษาอาหรับดีพอ และมีเงื่อนไขที่คู่ควรเหมาะสม หรือเลือกใช้การแปลเป็นภาษาอื่นเป็นตัวช่วยกรณีที่ไม่มีความสันทัดภาษาอาหรับดีพอ

การแปลอัล-กุรอานสำหรับบุคคลที่ไม่มีเงื่อนไขพอเพียง หรือไม่มีความรู้เรื่องการอรรถาธิบายอัล-กุรอาน มิได้นำเอาสัญลักษณ์ข้างเคียง (ริวายะฮฺและโองการอื่น) มาช่วยในการแปล และไม่ใช่ปัญญาถือว่าไม่อนุญาต เนื่องจากบั้นปลายสุดท้ายจะกลายเป็นการอรรถาธิบายอัล-กุรอานตามทัศนะของตนเอง ซึ่งถือว่่าไม่อนุญาต

ดังนั้น การแปลอัล-กุรอาน จึงถือว่าเป็นบทสรุปของการตัฟซีร ซึ่งผู้ที่สามารถกระทำสิ่งนี้ได้คือ นักอรรถาธิบายอัล-กุรอานนั่นเอง

การแปลอัล-กุรอานสามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มดังนี้

 ๑. การแปลคำต่อคำ หมายถึงการแปลทุกคำพูดของอัล-กุรอานเป็นภาษาที่สอง โดยไม่ได้ใส่ใจต่อการอธิบาย โครงสร้างของภาษาที่สอง และรูปประโยค หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ได้ใส่ใจต่อหลักภาษาที่ใช้ การแปลเช่นนี้มีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ภาษาอาหรับในเบื้องต้น และเพื่อให้ชำนาญต่อภาษาอาหรับ

๒. การแปลอิสระ หมายถึงการแปลเป็นภาษาที่สองในเชิงสรุปความหมายโดยรวมของโองการ โดยอาศัยตัฟซีรเป็นตัวช่วยในการแปล โดยปกติการแปลลักษณะเช่นนี้จะเพิ่มการอธิบายลงไปเล็กน้อยโดยใส่ไว้ในวงเล็บ ซึ่งผู้แปลมีความอิสระในการแปล เพราะตนเข้าใจโองการอย่างไรก็จะถ่ายทอดเป็นภาษาที่สองออกมาทันที การแปลลักษณะเช่นนี้เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างความเข้าใจในความหมาย และการอรรถาธิบายโองการโดยรวม

๓. การแปลประโยคต่อประโยค หมายถึงการสร้างความเข้าใจประโยคของอัล-กุรอานเสียก่อน หลังจากนั้นจึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่สองโดยกวดขันเรื่องหลักภาษาเป็นพิเศษ และไม่มีการอธิบายเพิ่มเติมในเชิงของการตัฟซีร

การแปลลักษณะเช่นนี้จะมีความมั่นคง ละเอียด และถูกต้องมากที่สุด อย่างเช่น การแปลเป็นภาษาฟารซียฺของท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิมชีรอซียฺ หรือของอุซตามฟูลอดวันด์ เป็นต้น

ข้อควรพิจารณา นักวิชาการบางท่านได้ให้ทัศนะว่าการแปลอัล-กุรอานเป็นภาษาที่สองไม่อาจทำให้สมบูรณ์ได้เด็ดขาด ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดอัล-กุรอานเล่มที่สองขึ้นมาทันที (ปัญหายุ่งยากในการแปลเป็นเหตุผลที่ดีพอสำหรับข้อกล่าวอ้างข้างต้น)

๑๓. การอรรถาธิบายอัล-กุรอาน

การอรรถาธิบายอัล-กุรอานเป็นขั้นตอนที่ลุ่มลึกที่สุดสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน ซึ่งจะขอนำเสนอโครงสำคัญของการตัฟซีรในเชิงสรุปดังนี้

๑. ตะอฺรีฟ (คำนิยาม) ตัฟซีรในเชิงภาษาหมายถึง การเปิดเผย การทำให้ความหมายของคำ ๆ หนึ่งกระจ่าง อีกนัยหนึ่งการตัฟซีร หมายถึงการฉีกสิ่งกีดขวางที่กั้นประเด็นต่าง ๆ อันเป็นรูปลักษณ์ที่แท้จริงของคำ

ความหมายในเชิงของนักปราชญ์ ตัฟซีรหมายถึงการอธิบายความหมายโองการอัล-กุรอาน และการฉีกม่านที่กั้นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่โองการต้องการกล่าวถึงออก

ข้อควรพิจารณา อัล-กุรอานคือรัศมีและเป็นคัมภีร์ที่ชัดแ้จ้ง ไม่มีจุดประเด็นใดที่มืดบอดเด็ดขาด ดังนั้น ในความเป็นจริงหัวใจและจิตวิญญาณของเราต่างหากทีีมีความมืดบอด เราจำเป็นต้องขัเกลาตัวเองก่อนให้สะอาดเพื่อจะได้เข้าใจความหมายและเจตนารมณ์ของอัล-กุรอาน

๒. การตัฟซีรอัล-กุรอานอย่างน้อยที่สุดต้องมี ๓ เงื่อนไข

อนุญาต ให้บุคคลที่มีเงื่อนไขของนักตัฟซีรทั้งหมด สามารถตัฟซีรอัล-กุรอานโดยอาศัยตัฟซีรที่เชื่อถือได้ก่อนหน้านั้นเป็นเกณฑ์ในการตัฟซีร

วาญิบ สำหรับนักตัฟซีรที่จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักศรัทธาของตน และต้องป้องกันการหลงทางออกไป อีกทั้งสามารถอธิบายกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของพระผู้เป็นเจ้าที่ปรากฏในอัล-กุรอานได้

ฮะรอม สำหรับบุคคลที่ไม่มีเงื่อนไขของนักตัฟซีร หรือไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขของการตัฟซีร และไ้ด้ตัฟซีรตามทัศนะของตนเอง

๓. การตัฟซีรตามทัศนะตนเองหมายถึงอะไร หมายถึงผู้อธิบายอัล-กุรอานมีเงื่อนไขไม่เพียงพอต่อการตัฟซีร และไม่ใส่ใจต่อสัญลักษณ์ทั้งสติปัญญา โองการ และริวายะฮฺในการตัฟซีร การตัฟซีรเช่นนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ ริวายะฮฺกล่าวว่า สถานที่พำนักของผู้อธิบายอัล-กุรอานด้วยทัศนะของตนเองคือ ไฟนรก

๔. จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเข้าใจได้ว่าขั้นตอนต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการตัฟซีร

- การอ่านโองการต่าง

- การแปลคำหรือประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลคำต่อคำ

- การตะดับบุรและการตะฟักกุรเีกี่ยวกับโองการต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจโดยไม่ได้อธิบายออกมา

- การอ้างถึงตับซีรไม่ใช่การตัฟซีร

ข้อควรพิจารณา ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการตะดับบุดและการตะฟักกุรในอัล-กุรอาน กับการอธิบายอัล-กุรอานตามทัศนะของตัวเอง แน่นอนว่าการตะดับบุรและการตะฟักกุรนั้นเป็นประโยชน์กับและมีความจำเป็นต่อตนเอง แต่ถ้าต้องการอธิบายให้บุคคลอื่นทราบจำเป็นต้องอาศัยการตัฟซีร หรือต้องมีเงื่อนไขของการตัฟซีรอยู่ด้วยจึงจะถือว่าเชื่อถือได้ มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นการตัฟซีรด้วยทัศนะตนเอง ซึ่งถือว่า ฮะรอม

๕. แนวทางในการตัฟซีรคืออะไร

การแบ่งแนวทางตัฟซีรอัล-กุรอานในเบื้องต้นสามารถแบ่งออกเป็น ๒ แนวทางดังนี้

๑. ตัฟซีรเมาฎูอียฺ หมายถึง  การนำเอาโองการที่กล่าวถึงเรื่องเดียวกันมารวมไว้ที่เดียวกันและทำการอธิบายไปตามประเด็นเหล่านั้น เช่น เรื่องความเป็นเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า นบูวัต หรืออิมามะฮฺเป็นต้น

๒. ตัฟซีรตัรตีบียฺ หมายถึง การอธิบายอัล-กุรอานตั้งแต่แรกจนกระทั่งจบเรียงไปตามซูเราะฮฺ และโองการ

ส่วนการแบ่งอีกประเภทหนึ่งกล่าวคือ ถ้าพิจารณาการแบ่ง ๒ ประเด็นข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าแต่ละประเด็นยังสามารถแบ่งออกได้อีก ๗ ประเด็น เช่น การตัฟซีรอัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอาน ตัฟซีรดัวยสติปํญญา ตัฟซีรด้วยริวายะฮฺ ตัฟซีรด้วยวิทยาศาสตร์ ตัฟซีรด้วยทัศนะตัวเอง ตัฟซีรด้วยรหัสยะ และการตัฟซีรดัวยการอิจญฺติฮาด

๖. เงื่อนไขของนักตัฟซัรคืออะไร

บุคคลที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้สามารถอธิบายอัล-กุรอานได้ แต่ต้องกวดขันเรื่องเงื่อนไข และเอาใจใส่ต่อหลักการเหล่านั้นเป็นพิเศษ

๑. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักภาษาอาหรับ และต้องมีความสันทัดต่อกฎไวยากรณ์เหล่านั้น เช่น มีความรู้เรื่องการแยกคำ ไวยากรณ์ ความหมาย วาทศีลปฺ และอื่น ๆ

๒.มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการประทานอัล-กุรอาน (สะบะบุลนุซูล)

๓. มีความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอานโดยทั่วไป เช่น โองการที่เป็นนาซิค มันซูค มักกียะฮฺ มะดะนียะฮฺ มุฮฺกัม และมุตะชาเบะฮฺ

๔. มีความรู้เรื่องฟิกฮฺ

๕. มีความรู้เรื่องอุซูล

๖. มีความรู้เรื่องฮะดีซ

๗. มีความรู้เรื่องการอ่านในสำนวนต่าง ๆ

๘. มีความรู้เรื่องปรัชญา ศาสนศาสตร์ สังคม และจริยธรรม

๙. ต้องหลีกเลี่ยงการคาดการณ์ หรือการเปรียบเทียบ

๑๐. ต้องรู้จักตัฟซีรและคำพูดของนักตัฟซีรก่อนหน้านั้นและต้องไม่ลอกเรียนแบบ

๗.ตัฟซีรที่สำคัญของชีอะฮฺ

ส่วนนี้ขอนำเสนอเฉพาะตัฟซีรที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียง ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักวิชาการทั่วไป

๑. ตัฟซีร มัจมะอุลบะยาน มัรฮูมเฏาะบัรซียฮ

๒. ตัฟซีร นูรุซซะเกาะลัยนฺ มัรฮูมฮุวัยซียฺ

๓. ตัฟซีร อัลมีซาน มัรฮูมอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ

๔. ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ อายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ

๕. ตัฟซีร เมาฎูอฺ พัยยอมกุรอาน อายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ

๖. ตัฟซีร เมาฎูอฺ มันชูรญอวีด อายะตุลลอฮฺ ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ

แนวทางของตัฟซีรที่กล่าวนามข้างต้น

ตัฟซีร มัจมะอุลบะยาน   ส่วนใหญ่จะกวดขันเรื่องหลักภาษา และหลักไวยากรณ์ภาษาอาหรับ การอ่าน สาเหตุที่ประทานโองการ คำกล่าวของนักตัฟซีรที่สำคัญจากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ และตาบิอีน

ตัฟซีร นูรุซซะเกาะลัยนฺ เป็นตัฟซีรริวายะฮฺโดยการนำเอาริวายะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มาอธิบายโองการ

ตัฟซีร อัลมีซาน เป็นตัฟซีรอัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอานและส่วนใหญ่อาศัยสติปัญญาเป็นหลักในการตัฟซีร

ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เป็นตัฟซีรสมัยใหม่ที่ผสมผสานระหว่างการตัฟซีรอัล-กุรอานด้วยอัล-กุรอานและตัฟซีรด้วยสติปัญญา ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงสังคม ประเด็นความรู้สมัยใหม่ และความเร้นลับของโองการ

ตัฟซีร เมาฎูอฺ พัยยอมกุรอาน มีทั้งสิ้น ๑๐ เล่ม เป็นผลงานที่มีจากนักเขียนตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ

ตัฟซีร เมาฎูอฺ มันชูรญอวีด มีทั้งสิน ๑๐ เล่ม เป็นตัฟซีรเมาฎูอฺชุดแรกที่อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานียฺได้แขียนขึ้นมา

๑๔. การตะอฺวีล

การเข้าใจเรื่องการตะอฺวีลอัลกุรอานถือว่าเป็นการเข้าใจที่ลึกซึ้ง และเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน

ตะอวีล ในเชิงภาษามาจากรากศัพท์คำว่า อัลเอาวัล หมายถึง การกลับไปสู่แหล่งเดิม หรือไปสู่รากฐานเดิม หรือการกลับสิ่งหนึ่งไปยังเป้าหมายเดิมของตน[๕๑]

ในทัศนะของนักตัฟซีรกล่าวว่า คำว่าตะอฺวีล มีหลายความหมายด้วยกัน อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺกล่าวว่า ตะอฺวีลคือความจริงที่อธิบายอัล-กุรอาน หรือคัมภีร์อันทรงเกียรติที่นอกจากผู้บริสุทธิ์แล้วไม่มีผู้ใดสามารถสัมผัสได้[๕๒]

บางท้ศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือการตัฟซีรนั้นเอง

บางท้ศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือสิ่งที่ภายนอกอัล-กุรอานกำลังกล่าวถึง

บางท้ศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือการตีความของโองการทีีมีความเคลือบแคลง

บางท้ศนะ กล่าวว่า ตะอฺวีล คือความหมายที่สองของอัล-กุรอาน หรือความหมายด้านในนั่นเอง

คำว่าตะอฺวีล ถูกกล่าวไ้ว้ในอัล-กุรอาน ๗ ซูเราะฮฺด้วยกัน ซึ่งเมื่อรวมแล้วเท่ากับว่าคำนี้ถูกใช้ทั้งสิ้น ๑๗ ครั้ง ในความหมายที่แตกต่างกัน

๑. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า ตัฟซีร หรือ ตับยีน หรือการตีความ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلاَّ اللّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ

และไม่มีใครรู้การตีความโองการได้นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น[๕๓]

๒. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า ด้านหลัง หรือการย้อนกลับ อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً  

แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺ และเราะซูลหากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง[๕๔]

๓. ตะอฺวีล ให้ความหมายว่า การเกิดของสิ่งหนึ่งและได้แจ้งข่าวการเกิดของสิ่งนั้น อัล-กุรอานกล่าวว่า

هَلْ يَنظُرُونَ إِلاَّ تَأْوِيلَهُ يَوْمَ يَأْتِي تَأْوِيلُهُ

เขาเหล่านั้นมิได้คอยการปรากฏขึ้นดอกหรือ (การลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า) วันที่ผลสุดท้ายของพวกเขาจะปรากฏ (หมดหน้าที่และการสำนึกไม่มีผล) [๕๕]

รหัสยะ ความเร้นลับ และปรัชญาของอะฮฺกาม เช่น เรื่องราวของศาดามูซา (อ.) กับศาสดาคิฎรฺ (อ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า

ذَلِكَ تَأْوِيلُ مَا لَمْ تَسْطِع عَّلَيْهِ صَبْرًا  

นั่นคือความลับที่ท่านไม่สามารถมีความอดทนในสิ่งนั้นๆ ได้[๕๖]

ข้อควรพิจารณา เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ศึกษาได้จากตัฟซีรอัลมีซาน และตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน โองการที่ ๗

๑๕. การรับด้านในของอัล-กุรอาน

ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายด้านในของอัล-กุรอานเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ยุ่งยาก และเป็นความเข้าใจลุ่มลึกของอัล-กุรอาน คำว่า บัฏนฺ ในเชิงภาษาหมายถึงสิ่งที่แตกต่างไปจากภายนอก หมายถึงภานในเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือไปจากภายนอก ซึ่งประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ไม่อาจรับรู้ได้ ฉะนั้น จึงเรียกสิ่งนั้นว่า บัฏนฺ บางครั้งสิ่งที่ลำบากต่อความเข้าใจ หรือสิ่งที่ยุ่งยากก็เรียก บัฏนฺ เช่นกัน[๕๗]

คำว่า บัฏนฺ ในอัล-กุรอานจะถูกใช้เกี่ยวกับ คุณลักษณะ (ซิฟัต) ของพระผู้เป็นเจ้า เช่น กล่าวว่า

هُوَ الْأَوَّلُ وَالْآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง[๕๘]

และถูกใช้เกี่ยวกับนิอฺมัตต่าง ๆ เช่นกล่าวว่า

وَأَسْبَغَ عَلَيْكُمْ نِعَمَهُ ظَاهِرَةً وَبَاطِنَةً

พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานมากมายของพระองค์อย่างครบครันแก่พวกเจ้า ทั้งที่เปิดเผยและที่ซ่อนเร้น[๕๙]

และบางครั้งคำว่า บัฏนฺ ถูกใช้ในลักษณะอื่น

ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า

ا نّ للفرآن بطنا وللبطن بطنا

 แท้จริงอัล-กุรอานนั้นมีความหมายซ่อนเร้น (บัฏนฺ) และบนความซ่อนเร้นนั้นมีความซ่อนเร้น[๖๐]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

القرآن ظاهره انيق و باطنه عميق

ภายนอกของอัล-กุรอานนั้นสวยงาม ส่วนภายในนั้นลุ่มลึก[๖๑]

เกี่ยวกับคำว่า บัฏนฺ นี้อัล-กุรอานได้กล่าวอธิบายไว้อย่างมากมาย แต่ที่ดีที่สุดสำหรับคำอธิบายคือ ความหมายซ่อนเร้นของทุกโองการคือ ความหมายทั่วไปเพียงแค่พิจารณาโองการอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะเข้าใจได้ทันที แต่ไม่สามารถตีความหมายที่ซ่อนเร้นจากความหมายภายนอกของโองการได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้จะสังเกตุเห็นว่ามีริวายะฮฺตัฟซีรจำนวนมากมายจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้อธิบายความหมายที่ซ่อนเร้นของอัล-กุรอานไว้ เช่น อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมุลกฺ โองการที่ ๓๐ กล่าวว่า

قُلْ أَرَأَيْتُمْ إِنْ أَصْبَحَ مَاؤُكُمْ غَوْرًا فَمَن يَأْتِيكُم بِمَاء مَّعِينٍ  

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านจงบอกฉันซิว่า หากแหล่งน้ำของพวกท่านเหือดแห้งลง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำน้ำที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน

จะสังเกตเห็นว่าภายนอกของโองการกำลังกล่าวถึงเรื่อง น้ำดื่ม แต่ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวอธิบายว่า จุดประส่งค์ของน้ำในที่นี้หมายถึง อิมามและความรู้ของท่าน

عن الرضا (ع) : سئل عن هذه الآية فقال : ماؤاكم ابوابكم اى الامام عليه السلام والائمة ابواب الله بينه و بين خلقه (فمن يأتيكم بماء معين) يعني بعلم الامام

มีผู้ถามท่านอิมามริฎอ (อ.) เกี่ยวกับโองการข้างต้น ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า มะอฺวากุมอับวาบุกุม หมายถึง บรรดาอิมาม (อ.) ส่วนอะอิมมะฮฺเป็นประตูแห่งอัลลอฮฺ  ที่อยู่ระหว่างพระองค์กับสรรพสิ่งถูกสร้าง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำน้ำที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน หมายถึง ความรู้ของบรรอิมาม[๖๒]

ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้อธิบายความหมายคำว่า น้ำ ในโองการว่าหมายถึง บรรดาอิมามและความรู้ของท่าน ได้อย่างไร

เนื่องจาก น้ำ คือสิ่งที่ให้ชีวิตภายนอกแก่สรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ส่วนบรรดาอิมามและความรู้ของท่านคือสิ่งที่ให้ความรู้ภายในแก่สรรพสิ่งทั้งหลายและสังคม

ในความเป็นจริงสามารถนำโองการด้านบนเปลี่ยนเป็นความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมดได้ หลังจากนั้นค่อยแนะนำอิมามซึ่งอยู่ในฐานะตัวอย่างที่อัล-กุรอานกล่าวถึง หมายถึง น้ำนั้นครอบคลุมทั้งความจริงและสิ่งเปรียบเปรย กล่าวคือน้ำคือสิ่งที่ให้ชีวิตแก่ทุกสิ่ง เหมือนกับอิมามและความรู้ของท่านที่ให้ชีวิตแก่จิตวิญญาณทั้งหลาย และนี่เป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถค้นคว้าความหมายที่ซ่อนเร้นของโองการได้

๑๖. การปฏิบัติตามอัล-กุรอานและธำรงความยุติธรรม

ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการรู้จักอัล-กุรอาน และการได้รับประโยชน์อันมากมายจากพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์คือ การปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ที่อัล-กุรอานกล่าวถึง ซึงสิ่งนี้ได้นำเอาความจำเริญทั้งฟากฟ้าและแผ่นดินมาสู่มนุษย์ และนำพาสังคมมนุษย์ไปสู่ความผาสุก ความจำเริญ และความก้าวหน้าที่ไม่มีที่สิ้นสุด

อัล-กุรอาน ซูเราะอฺ มาอิดะฮฺได้กล่าวถึง คัมภีร์แห่งฟากฟ้าและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระผู้เป็นเจ้า เช่น กล่าวว่า

وَلَوْ أَنَّهُمْ أَقَامُواْ التَّوْرَاةَ وَالإِنجِيلَ وَمَا أُنزِلَ إِلَيهِم مِّن رَّبِّهِمْ لأكَلُواْ مِن فَوْقِهِمْ وَمِن تَحْتِ أَرْجُلِهِم

และหากว่าเขาเหล่านั้นได้ดำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมา (อัล-กุรอาน) ยังพวกเขา (ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด) จากพระผู้อภิบาลของพวกเขา แน่นอนพวกเขาก็จะได้บริโภคสิ่งที่มาจากเบื้องบน (ฟากฟ้า) ของพวกเขา และที่มาจากภายใต้เท้า (แผ่นดิน) ของพวกเขา[๖๓]

อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีดได้กล่าวแนะนำเป้าหมายในการประทานบรรดาศาสดาลงมาสั่งสอนมนุษยชาติ  การประทานคัมภีร์ต่าง ๆ และการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม อัล-กุรอานกล่าวว่า

لَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَأَنزَلْنَا مَعَهُمُ الْكِتَابَ وَالْمِيزَانَ لِيَقُومَ النَّاسُ بِالْقِسْطِ

แน่นอนเราได้ส่งบรรดาเราะซูลของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง และเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม[๖๔]


[๑] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๑๘๕

[๒] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ / ๒

[๓] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺลุกมาน / ๓

[๔]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺนิซาอฺ / ๑๗๔

[๕]  บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๑๙๙

[๖]  อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๙ พิมพ์ที่มักตะบะตุลอิสลามียะฮฺ เตหะราน ๑๓๘๘ สุริยคติ

[๗]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ / ๑๐๔

[๘] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม ๗ หน้า ๗๐

[๙]  อิซติฟตาอาตกุรอาน หน้า ๑๔๗

[๑๐]  ตัฟซีรเนะมูเนะ เล่ม ๗ หน้า ๗๐ / ๗๒

[๑๑]  มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ซัมอฺ

[๑๒]  ในเชิงภาษาอาหรับ คำว่า อิซติมาอฺ มาจากรูปกริยาของ อิซติอาล หมายถึง การทำให้เกิดความยากลำบาก ตรงนี้จึง หมายถึง การฟังด้วยความตั้งใจ หรือฟังโดยการใคร่ครวญ เหมือนความแตกต่างของคำว่า  กะซะบะ กับ อิกติซาบ

[๑๓] อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๔๘

[๑๔]  บิอารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๑๘๒

[๑๕] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า ๑๘๖

[๑๖] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุซัมมิล ๒๐

[๑๗]  มุฟเราะดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะรออัต

[๑๘]  มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๙๐

[๑๙] มัจมะอุลบะยาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[๒๐] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / ๔

[๒๑] มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า เราะตะละ

[๒๒] ตัฟซีร เนะมูเนะฮ เล่มที่ ๒๕ ตอนอธิบาย ซูเราะฮฺ อัลมุซซัมมิล / ๔

[๒๓] มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๘๗

[๒๔] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๑

[๒๕] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ญุมุอะฮฺ ๒

[๒๖] มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาอานียฺ หมวดคำว่า ตะลา

[๒๗] มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๘๔

[๒๘] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ ๑๖๙

[๒๙] กอมุซอัล-กุรอาน เล่ม ๒ หน้า ๓๓๘ หมวดคำว่า ดะเราะซะ

[๓๐] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เลม ๖ หน้า ๔๓๔

[๓๑] มุฟรอดาต เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะเราะซะ

[๓๒] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน ๗๙

[๓๓] ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๘๒

[๓๔] บิอารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๑๕

[๓๕] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม ๔ หน้า ๕๒๔

[๓๖] อุซูลกาฟียฺ เล่ม ๒ หน้าที่ ๔๓๓/๔

[๓๗]  บิฮารุลอันวาร เล่ม ๘๙ หน้า ๒๒

[๓๘]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ซ็อด

[๓๙]  ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม ๑๙ หน้า ๒๖๘

[๔๐]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด ๒๔

[๔๑]  บิฮารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๒๑๑ , เล่ม ๒ หน้า ๔๙

[๔๒]  มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะบะเราะ

[๔๓] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม ๒๑ หน้า ๔๖๗/๙

[๔๔] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ยูซุฟ ๒

[๔๕]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล นะฮฺลิ ๔๔

[๔๖]  มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๘๘

[๔๗]  ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม๒๑ หน้า ๔๖๙

[๔๘] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัซซุครุฟ ๔๓

[๔๙] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ๑๗๐

[๕๐]  ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม ๖ หน้า ๔๕๓

[๕๑]  มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า เอาวัล

[๕๒]  ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม ๕ หน้า ๒๕

[๕๓] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน ๗

[๕๔]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ นิซาอฺ ๕๙

[๕๕] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล อะอฺรอฟ ๕๓

[๕๖] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟฺ ๘๒

[๕๗]  มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า บัฏนฺ

[๕๘] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีด ๓

[๕๙] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ลุกมาน ๒๐

[๖๐] บิฮารุลอันวาร เล่ม ๙๒ หน้า ๙๕, มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม ๘ หน้า ๙๔/๙๕

[๖๑]  นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ ๑๘

[๖๒]  ตัฟซีร อัล กุมมี เล่ม ๒ หน้า ๓๗๙

[๖๓] อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล มาอิดะฮฺ ๖๖

[๖๔]  อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล ฮะดีด ๒๕