ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี

وَهَذَا لِسَانٌ عَرَبِيٌّ مُّبِينٌ

และนี่เป็นภาษาอาหรับที่ชัดแจ้ง

แนวทางในการเข้าใจอัลกุรอานสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาอัล-กุรอานใหม่คือการรู้จักคำและความหมายอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อสำนวนของอัล-กุรอาน จึงได้มีการรวบรวมคำต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยพบเห็นกันทั่วไปพร้อมกับให้ความหมายเพื่อมุ่งหวังความเข้าใจที่จะมีต่ออัล-กุรอานต่อไปในอนาคต

หนังสือที่ใช้ประกอบการแปลคำศัพท์ต่าง ๆ ประกอบดัวย มุฟเราะดาตอัลฟาซ รอฆิบอิศฟะฮานี, อัลอัยนฺ เคาะลีล บิน อะฮฺมัด, ลิซานุลอาหรับ อิบนิ มันซูร และตับซีรมัจมะอุลบะยาน

รูปแบบได้ยึดถือการแบ่งตามอักษรภาษาอาหรับ เฉพาะคำที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยหนัก มีการแปลความหมายเป็นภาษาไทย พร้อมกับยกโองการประกอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่ออัล-กุรอาน

อลีฟ

๑. أب หมายถึง ทุ่งหญ้า (ผักที่กินได้) อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَفَاكِهَةً وَأَبًّا

และผลไม้และทุ่งหญ้า (อะบะซะ/๓๑)

๒. إباقหมายถึง การไปขณะที่ยังโกรธ อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِذْ أَبَقَ إِلَى الْفُلْكِ الْمَشْحُونِ

จงรำลึก ขณะที่เขาได้หนีไปยังเรือที่บรรทุกผู้คนเต็มเพียบ (ซอฟาต/๑๔๐)

๓. إباء คำพหูพจน์คือ อะบาบีล หมายถึง เป็นกลุ่ม เป็นเหล่า

وَأَرْسَلَ عَلَيْهِمْ طَيْرًا أَبَابِيلَ

และได้ทรงส่งนกเป็นฝูง ๆ ลงมาบนพวกเขา (ฟีล/๓)

๓. إباء หมายถึง การหลีกเลี่ยง การห้ามอย่างรุนแรง

أَبَى وَاسْتَكْبَرَ

มันปฏิเสธและแสดงโอหัง (บะเกาะเราะฮฺ/๓๔)

๔. اثاثหมายถึง อุปกรณ์ของใช้มากมายภายในบ้าน คำนี้เป็นอิซมิญัมอฺ ไม่มีคำเอกพจน์

أَثَاثًا وَمَتَاعًا إِلَى حِينٍ

เครื่องใช้และสิ่งมีประโยชน์ระยะเวลาหนึ่ง (นะฮฺลิ/๘๐)

๖. اثلหมายถึง ผลไม้ที่มีรสชาดขม

ذَوَاتَى أُكُلٍ خَمْطٍ وَأَثْلٍ

มีผลไม้ขมและต้นไม้พุ่ม (ซะบาอฺ/๑๖

๗. اثم หมายถึง บาป (اثيم) หมายถึง ทำบาปอย่างมาก

وَاللّهُ لاَ يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ

อัลลอฮ์นั้นไม่ทรงรักผู้ปฏิเสธ ผู้บาปหนา (บะเกาะเราะฮฺ/๒๗๖)

๘. آجاج หมายถึง น้ำที่มีรสเค็มออกขม

مِلْحٌ أُجَاجٌ

และอันนี้เค็มจัด (ฟาฏิร/๑๒)

๙. اجل หมายถึง ระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน

إِلَى أَجَلٍ مُّسَمًّى

ยังเวลาที่กำหนดไว้ (บะเกาะเราะฮฺ/๒๘๒)

๑๐. اجْل หมายถึง สาเหตุ

مِنْ أَجْلِ ذَلِكَ

เนื่องจากเหตุนั้น (มาอิดะฮฺ/๓๒)

๑๑. اخ اخو หมายถึง ความเป็นพี่น้อง ผู้มีส่วนร่วมในเผ่า และศาสนา

إِخْوَانًا عَلَى سُرُرٍ مُّتَقَابِلِينَ

เป็นพี่น้องกัน โดยพำนักอยู่บนเตียงหันหน้าเข้าหากัน (ฮิจรฺ/๔๗)

๑๒. اداء หมายถึง การจ่าย หรือคืนสิทธิ

فَلْيُؤَدِّ الَّذِي اؤْتُمِنَ أَمَانَتَهُ

ผู้ที่ได้รับความไว้ใจก็จงคืนสิ่งที่ถูกไว้ใจ (บะเกาะเราะฮฺ/๒๘๓)

๑๓. اِدّ หมายถึง การกระทำที่ไม่ถูกยอมรับ สิ่งน่าแปลกใจ

لَقَدْ جِئْتُمْ شَيْئًا إِدًّا

แน่นอนที่สุด พวกเจ้าได้นำมาซึ่งสิ่งร้ายแรงยิ่งใหญ่ (มัรยัม/๘๙)

๑๔. اِرْب หมายถึง ความปรารถนา ความต้องการอย่างแรงกล้า

غير اولى الاربة

ไม่มีความรู้สึกทางเพศ (นูร/๓๑)

๑๕. اِرم หมายถึง หินที่ตั้งซ้อนกันเพื่อเป็นเครื่องหมายการเดินทางกลางทะเลทราย

إِرَمَ ذَاتِ الْعِمَادِ

อิรอม มีเสาหินสูงตะหง่าน (ฟัจรฺ/๗)

๑๖. ازْر หมายถึง ด้านหลัง ความแข็งแกร่ง กองกำลังที่เข็มแข็งคอยช่วยเหลือ

اشْدُدْ بِهِ أَزْرِي

ได้โปรดให้เขาเพิ่มความเข้มแข็งแก่ข้าพระองค์ด้วย (ฏอฮา/๓๑)

ازر หมายถึง เจริญ งอกงาม

كَزَرْعٍ أَخْرَجَ شَطْأَهُ فَآزَرَهُ

ประหนึ่งเมล็ดพืชที่งอกหน่อหรือกิ่งก้านของมันออกมาแล้วทำให้มันงอกงาม (ฟัตฮฺ/๒๙)

๑๗. اَزّ หมายถึง การกระตุ้น การยุยง การส่งเสริม

تَؤُزُّهُمْ أَزًّا

เพื่อมันจะได้ยุแหย่พวกเขาอย่างจริงจัง (มัรยัม/๘๓)

๑๘. اَزفَ หมายถึง ใกล้เวลา

أَزِفَتْ الْآزِفَةُ

เวลาที่ใกล้เข้ามาได้ใกล้แล้ว (นัจมุ/๕๗)

๑๙. اسْر หมายถึง การมัดคนด้วยเชือก หรือล่ามด้วยโซ่

وَشَدَدْنَا أَسْرَهُمْ

และเราได้ทำให้เรือนร่างของพวกเขามั่นคงแข็งแรง (อินซาน/๒๘)

เชลย ถูกเรียกว่าเชลยเพราะ ถูกจำกัดขอบเขต โองการกล่าวถึงการสร้างมนุษย์ โดยให้อวัยวะทุกส่วนบนร่างกายมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นหนา มั่นคง และแข็งแรง

๒๐. اسرائيل หมายถึง บ่างของพระผู้เป็นเจ้า นามหนึ่งของท่านยะอฺกูบ (อ.)

وَمِن ذُرِّيَّةِ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْرَائِيلَ

และจากเชื้อสายของอิบรอฮีมและอิซรออีล (มัรยัม/๕๘)

๒๑. اَسَف หมายถึง ความโกรธกริ้ว ภาวะจิตใจหดหู่ อาการครุ่นคิดมาก

فَلَمَّا آسَفُونَا

เมื่อพวกเขาได้ทำให้เรากริ้ว (ซุครุฟ/๕๕)

๒๒. اَسَن หมายถึง การไดรับการเปลี่ยนแปลง

أَنْهَارٌ مِّن مَّاءٍ غَيْرِ آسِنٍ

ในสวนสวรรค์นั้นมีธารน้ำหลายสายที่ไม่เปลี่ยนแปลง(มุฮัมมัด/๑๕)

๒๓. اَسى หมายถึง ความเศร้าโศก ภาวะจิตใจหดหู่ อาการครุ่นคิดมาก

لِكَيْلَا تَأْسَوْا عَلَى مَا فَاتَكُمْ

เพื่อพวกเจ้าจะได้ไม่ต้องเสียใจต่อสิ่งที่ได้สูญเสียไปจากพวกเจ้า (ฮะดีด/๒๓)

๒๔. اَشِر หมายถึง อวดดีอย่างมาก ยโสโอหัง เมาเหล้า มีอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง

بَلْ هُوَ كَذَّابٌ أَشِرٌ

เขาเป็นคนพูดเท็จ อวดดี ไร้มารยาท (เกาะมัร/๒๕)

๒๕. أف หมายถึงคำที่แสดงออกถึงความน่ารังเกียจ เบื่อหน่าย รำคาญ

أُفٍّ لَّكُمْ وَلِمَا تَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّهِ

เป็นที่น่ารังเกียจสำหรับสูเจ้า และสิ่งที่สูเจ้าเคารพบูชานอกจากอัลลอฮฺ (อัมบิยาอฺ/๖๗)

๒๖. اِصر หมายถึง ความหนักหน่วง หนัก

وَلاَ تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا

โปรดอย่าได้วางภาระอันหนักอึ้ง(บะเกาะเราะฮฺ/๒๘๖)

๒๗. اصيل หมายถึง ช่วงเวลาหลังบ่ายจนถึงมัฆริบ

بالغدوّ و الاصال

ทั้งในยามเช้าและยามพลบค่ำ (นูร/๓๖)

๒๘. أفق หมายถึง แบ่งออกเป็นเขต

وَلَقَدْ رَآهُ بِالْأُفُقِ الْمُبِينِ

และโดยแน่นอนเขา (มุฮัมมัด) ได้เห็นเขา (ญิบริล) ณ ขอบฟ้าอย่างชัดแจ้ง(ตักวีร/๒๓)

๒๙. أِفْك หมายถึง การปั้นแต่ง โกหก

هَذَا إِفْكٌ مُّبِينٌ

นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างชัดแจ้ง (นูร/๑๒)

إِفَاك หมายถึง การโกหกอย่างมาก

تَنَزَّلُ عَلَى كُلِّ أَفَّاكٍ أَثِيمٍ

พวกมันลงมาบนทุกคนที่โกหกมากและบาปหนา(ชุอะรออฺ/๒๒๒)

๓๐. اِلف หมายถึง การรวบรวม การประสานด้วยความปรารถนาดี

فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ

พระองค์ได้ทรงให้สมานระหว่างหัวใจของพวกเจ้า (อาลิอิมรอน/๑๐๓)

ايلاف การสร้างความคุ้นเคย ความสนิทสนม ความใกล้ชิด ความเคยชิน

لِإِيلَافِ قُرَيْشٍ

เพื่อให้ความคุ้นเคยแก่ชาวกุเรช (กุรอยชฺ/๑)

๓๑. أفول หมายถึง การตก พระอาทิตย์ตกดิน อัสดงคต

لا أُحِبُّ الآفِلِينَ

ฉันไม่รักบรรดาสิ่งที่ตก (อันอาม/๗๖)

๓๒. اَلْتَ หมายถึง ภาวะขาดแคลน ความไม่สมบูรณ์ ความขาดแคลน ความไม่เพียงพอ

وَمَا أَلَتْنَاهُم مِّنْ عَمَلِهِم مِّن شَيْءٍ

และเราจะไม่ลดหย่อนสิ่งใดไปจากการงานพวกเขาแต่อย่างใด(ฏูร/๒๑)

๓๓. الّ หมายถึง การสาบาน สนธิสัญญา เครือญาติ

لاَ يَرْقُبُونَ فِي مُؤْمِنٍ إِلاًّ وَلاَ ذِمَّةً

พวกเขาจะไม่คำนึงถึงเครือญาติและพันธะสัญญา(เตาบะฮฺ/๑๐)

๓๔. الْو หมายถึง การลดละ เตี้ย สั้น ต่ำ

لاَ يَأْلُونَكُمْ خَبَالاً

จะไม่ลดละที่จะทำให้สูเจ้าเสื่อมเสีย (อาลิอิมรอน/๑๑๘)

๓๕. ايْلاَء หมายถึงการสบถ สาบานอย่าขาดจากภรรยา

لِّلَّذِينَ يُؤْلُونَ مِن نِّسَآئِهِمْ

สำหรับบรรดาผู้ที่สาบานว่า จะเลิกเกี่ยวข้องกับภรรยาของพวกเขา(บะเกาะเราะฮฺ/๒๒๖)

๓๖. الْن หมายถึง ความโปรดปราน คำพหูพจน์ของมันคือ آلاء

فَاذْكُرُواْ آلاءَ اللّهِ

ดังนั้นพวกท่านถึงรำลึกถึงความการุญของอัลลอฮฺ (อะอฺรอฟ/๖๙)

๓๗. ألم หมายถึง ความเจ็บปวดอย่างมาก ความเจ็บปวดแสนสาหัส

ْوَلِلكَافِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٌ

สำหรับพวหปฏิเสธคืดการลงโทษอันเจ็บปวด (บะเกาะเราะฮฺ/๑๐๔)

๓๘. امْت หมายถึง ความสูง สถานที่สูง

لَا تَرَى فِيهَا عِوَجًا وَلَا أَمْتًا

สูเจ้าจะไม่เห็น ณ ที่นั้น ที่ลุ่มและที่ดอน (ฏอฮา/๑๐๗)

๓๙. اَمَد หมายถึงกาลเวล ระยะเวลา

فَطَالَ عَلَيْهِمُ الْأَمَدُ

แล้วกาลเวลาได้เนิ่นนานเกินไปสำหรับพวกเขา (ฮะดีด/๑๖)

๔๐. اِمر หมายถึง ไม่เป็นที่ยอมรับ ประหลาด

لَقَدْ جِئْتَ شَيْئًا إِمْرًا

แน่นอนท่านได้นำสิ่งที่อันตรายยิ่งมา(กะฮฺฟิ/๗๑)

๔๑. اَمر หมายถึง กิจการ การงาน งาน คำพหูพจน์คือ امور

وَإِذَا قَضَى أَمْراً فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُونُ

และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดกิจการใด ดังนั้น พระองค์เพียงแค่ตรัสว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา(บะเกาะเราะฮฺ/๑๑๗)

๔๒. أمّ หมายถึง มารดา หรือเรียกสิ่งที่เป็นแก่น หรือรากที่มา หรือสิ่งที่อบรมสั่งสอนและปรับปรุงเขา หรือเป็นปฐมบทของการเริ่มต้นสิ่งต่าง ๆ

لِّتُنذِرَ أُمَّ الْقُرَى وَمَنْ حَوْلَهَا

เพื่อเจ้าจะได้ตักเตือนอุมมุลกุรอ (ชาวมักกะฮฺ) และผู้ที่อยู่รอบเมืองนั้น(ชูรออฺ/๗)

اَمّ หมายถึง จุดประสงค์ เป้าหมาย และการมุ่งยังเป้าหมายนั้น

وَلا آمِّينَ الْبَيْتَ الْحَرَامَ

และผู้ที่มุ่งยังบ้านที่ต้องห้าม (มาอิดะฮฺ/๒)

اُمّىหมายถึง ไม่มีการศึกษา นอกเหนือจากยะฮูดียฺ

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ

พระองค์ทรงแต่งตั้งเราะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้หนังสือจากพวกเขา (ญุมุอะฮฺ/๒)

لَيْسَ عَلَيْنَا فِي الأُمِّيِّينَ سَبِيلٌ

ในหมู่ผู้ที่อ่านเขียนไม่เป็นนั้น ไม่มีทางใดที่เป็นโทษแก่เราได้ (อาลิอิมรอน/๗๕)

اِمام หมายถึง ผู้นำ ผู้ที่ถูกปฏิบัติตามทั้งคำพูดและการกระทำ ทั้งความจริงและความเท็จ

วันซึ่งเราจะเรียกร้องประชาชนทั้งหลายพร้อมด้วยผู้นำของพวกเขา(อิซรอ/๗๑)

يَوْمَ نَدْعُو كُلَّ أُنَاسٍ بِإِمَامِهِمْ

اَمَام หมายถึง ด้านหน้า ข้างหน้า

بَلْ يُرِيدُ الْإِنسَانُ لِيَفْجُرَ أَمَامَهُ

แต่ว่ามนุษย์นั้นประสงค์ที่จะทำความชั่ว (กิยามะฮฺ/๕)

๔๓. انام หมายถึง การสร้าง

وَالْأَرْضَ وَضَعَهَا لِلْأَنَامِ

และแผ่นดินนั้น พระองค์ทรงจัดเตรียมมันไว้ เพื่อสรรพสิ่งที่สร้างขึ้น (เราะฮฺมาน/๑๐)

๔๔. آناء หมายถึง เวลา

آنَاءَ اللَّيْلِ

ยามค่ำคืน(อาลิอิมรอน/๑๑๓)

๔๕. اِناء หมายถึงภาชนะ

بِآنِيَةٍ مِّن فِضَّةٍ

และมีภาชนะที่ทำด้วยเงิน(อินซาน/๑๕)

๔๖. اِنْى หมายถึง ความใกล้ชิด ใกล้เวลา

أَلَمْ يَأْنِ لِلَّذِينَ آمَنُوا

ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา(ฮะดีด/๑๖)

๔๗. اوْب หมายถึง การกลับ

لِلْطَّاغِينَ مَآبًا

เป็นที่กลับไปสำหรับบรรดาผู้ละเมิด (นะบะอฺ/๒๒)

คำว่า اوْب มีขอบข่ายเฉพาะสรรพสิ่งทีมีอยู่ที่ความต้องการ และมีเจตนา แต่เมื่อนำไปใช้งานในความหมายของการกลับ จะใช้ได้ทั้งสิ่งที่มีความต้องการ ปละไม่มีความต้องการ

๔๘. اَود หมายถึง ความหนักหน่วง หนัก

وَلاَ يَؤُودُهُ حِفْظُهُمَا

การรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักสำหรับพระองค์(บะเกาะเราะฮฺ/๒๕๕)

๔๙. اَوْل หมายถึง การกลับไปยังรากเดิม หรือแก่นแท้ของสิ่งนั้น

هَذَا تَأْوِيلُ رُؤْيَايَ

นี่คือการทำนานฝันของฉัน(ยูซุฟ/๑๐๐)

๕๐. اُوِّه หมายถึง ความอ่อนโยน นอบน้อมอย่างมาก

إِنَّ إِبْرَاهِيمَ لأوَّاهٌ حَلِيمٌ

แท้จริงอิบรอฮีมเป็นคนมีใจอ่อนโยน และมีขันติ(เตาบะฮฺ/๑๑๔)

๕๑. اَوى หมายถึง การให้ที่พักพิง การให้สถานที่

إِذْ أَوَى الْفِتْيَةُ إِلَى الْكَهْفِ

จงรำลึกขณะที่พวกชายหนุ่มหลบเข้าไปในถ้ำ(กะฮฺฟิ/๑๐)

๕๒. اَيْك หมายถึง ป่า เขตพื้นที่ ๆ มีต้นไม้หนาทึบ เขตอุดมสมบูรณ์

كَذَّبَ أَصْحَابُ الْأَيْكَةِ

ชาวป่าทึบได้ปฏิเสธบรรดาเราะซูล (ชุอะรออฺ/๑๗๖)

๕๓. ايَّم หมายถึง หญิง หรือชายที่เป็นโสด

وألنكحوا الايامى منكم

และสูเจ้าจงแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่สูเจ้า (นูร/๓๒)

๕๔. اَيَّان หมายถึง เมื่อใด เวลาอะไร

وَمَا يَشْعُرُونَ أَيَّانَ يُبْعَثُونَ

และพวกมันไม่รู้ว่า เมื่อใดจะถูกให้ฟื้นขึ้น(นะฮฺลิ/๒๑)

บาอฺ (ب)

๕๕. (بَابِلْ) หมายถึง ชื่อเมือง ๆ หนึ่งในอดีต ปัจจุบันคือประเทศอีรัก อัล-กุรอานกล่าวว่า และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่มะลาอิกะฮ์ทั้งสอง คือ ฮารูต และมารูต ณ เมืองบาบิล (บะเกาะเราะฮฺ ๑๐๒)

وَمَا أُنزِلَ عَلَى الْمَلَكَيْنِ بِبَابِلَ هَارُوتَ وَمَارُوتَ

๕๖. (بَتر) หมายถึง การตัด ส่วนมากจะใช้ในลักษณะการตัดสายเลือด หรือกล่าวกับบุคคลที่ไม่มีบุตรสืบตระกูลอีกต่อไป อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงศัตรูของเจ้าเป็นผู้ถูกตัดขาด (เกาซัร ๓)

إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ الْأَبْتَرُ

๕๗. (بَتْك) หมายถึง การตัดให้ขาดออกจากกัน ส่วนมากใช้ตัดผม ขน หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งให้ขาดออกจากร่างกาย ส่วนคำว่า (بتّ)หมายถึงตัดเชือกให้ขากออกจากกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะตัดหูปศุสัตว์ (นิซาอฺ ๑๑๙)

فَلَيُبَتِّكُنَّ آذَانَ الأَنْعَامِ

๕๘. (بَتل)หมายถึง การตัดให้ขาดออกจากสิ่งอื่นนอกจากพระผู้ป็นเจ้า โดยมีเจตนาบริสุทธิ์ในการกระทำ อัล-กุรอานกล่าวว่า และจงตั้งจิตมั่นต่อพระองค์อย่างเคร่งครัด (มุซัมมิล ๘)

وَتَبَتَّلْ إِلَيْهِ تَبْتِيلًا

๕๙. (بَثّ)หมายถึง การแพร่กระจาก หรือแตกแยกออกจากกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า และได้ทรงให้สัตว์แต่ละชนิด แพร่สะพัดไปในแผ่นดิน (บะเกาะเราะฮฺ ๑๖๔)

وَبَثَّ فِيهَا مِن كُلِّ دَآبَّةٍ

๖๐. (بَجْس) หมายถึง การทำให้แตกแยกออกจากกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วตาน้ำสิบสองตาก็พวยพุ่งขึ้นจากก้อนหิน

فَانبَجَسَتْ مِنْهُ اثْنَتَا عَشْرَةَ عَيْنًا

๖๑. (بَحث)หมายถึง การค้นหา การเรียกร้อง การยอมรับ และการทำการวิเคราะห์วิจัย อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วอัลลอฮฺได้ส่งกาตัวหนึ่งมาคุ้ยหาในดิน (มาอิดะฮฺ ๓๑)

فَبَعَثَ اللّهُ غُرَابًا يَبْحَثُ فِي الأَرْضِ

๖๒. (بَحر)หมายถึง สถานที่ทุกสถานที่ ๆ ได้โอบอุ้มน้ำจำนวนมากเอาไว้ อัล-กุรอานกล่าวว่า . การบ่อนทำลาย (*1*) ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ (โรม ๔๑)

ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ

๖๓. (بَخس)หมายถึง ความขาดทุนในสินค้า หรือสิ่งอื่นที่เกิดจากการกดขี่ หรือการทำให้ลดน้อยลงไป อัล-กุรอานกล่าวว่า และพวกเขาได้ขายเขาด้วยราคาถูก (ยูซุฟ ๒๐)

وَشَرَوْهُ بِثَمَنٍ بَخْسٍ

๖๔. (بَخع)หมายถึง การฆ่าตัวเองเนื่องจากความทุกข์โศก อัล-กุรอานกล่าวว่า บางทีเจ้า (มุฮัมมัด) เป็นผู้ทำลายชีวิตของเจ้า เพราะพวกเขาไม่เป็นผู้ศรัทธา (ชุอะรออฺ ๓)

لَعَلَّكَ بَاخِعٌ نَّفْسَكَ أَلَّا يَكُونُوا مُؤْمِنِينَ

๖๕. (بَدر)หมายถึง ความรวดเร็ว ความเร่งด่วน อัล-กุรอานกล่าวว่า และจงอย่ากินทรัพย์นั้นโดยฟุ่มเฟือย และรีบเร่ง (นิซาอฺ ๖)

وَلاَ تَأْكُلُوهَا إِسْرَافًا وَبِدَارًا

๖๖. (بدع) หมายถึง การสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งขึ้นโดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน อัล-กุรอานกล่าวว่า ฉันมิได้เป็นคนแรกในบรรดาเราะซูล (อะฮฺก็อฟ ๙)

قُلْ مَا كُنتُ بِدْعًا مِّنْ الرُّسُلِ

พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์ชั้นฟ้า และแผ่นดิน (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๑๗)

بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ

๖๗. (بدن) หมายถึง อูฐที่เตรียมไว้ทำกุรบาน อัล-กุรอานกล่าวว่า และอูฐที่อ้วนพีเราได้กำหนดขึ้นสำหรับพวกเจ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องหมายต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ (อัล-ฮัจญฺ ๓๖)

وَالْبُدْنَ جَعَلْنَاهَا لَكُم مِّن شَعَائِرِ اللَّهِ لَكُمْ

๖๘. (بدو) หมายถึงการปรากฏอย่างชัดแจ้ง อัล-กุรอานกล่าวว่า และอัลลอฮฺจะปรากฏขึ้นแก่พวกเขา สิ่งที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน (อัซ-ซุมัร ๔๗)

وَبَدَا لَهُم مِّنَ اللَّهِ مَا لَمْ يَكُونُوا يَحْتَسِبُونَ

๖๙. (بَدوِ)หมายถึง ข้างนอก หรืออาหรับเร่ร่อนกลางทะเลทราย อัล-กุรอานกล่าวว่า เมื่ออาหรับเร่ร่อนได้มาหาเจ้า (ยูซุฟ ๑๐๐)

وَجَاءَ بِكُم مِّنَ الْبَدْوِ

เท่าเทียมกันทั้งผู้ที่พำนักอยู่ในนั้นและที่มาจากภายนอก (อัล-ฮัจญฺ ๒๕)

سَوَاءً الْعَاكِفُ فِيهِ وَالْبَادِ

๗๐. (بذر) หมายถึง การหว่านเมล็ด (تبدير) การฟุ่มเฟือยการจำแนกหรือแยกออก อัล-กุรอานกล่าวว่า และอย่าสุรุ่ยสุร่ายอย่างฟุ่มเฟือย (อิซรอ ๒๖)

เนื่องจากการฟุ่มเฟือยเป็นสาเหตุทำให้ทรัพย์สินต้องแตกกระจายออกไปอย่างไร้ทิศทาง

وَلاَ تُبَذِّرْ تَبْذِيرًا

๗๑. (بريه) หมายถึง สิ่งถูกสร้างที่ดี (มนุษย์) อัล-กุรอานกล่าวว่า ชนเหล่านั้น พวกเขาเป็นมนุษย์ที่ดียิ่ง (อัล-บัยยินะฮฺ ๗)

أُوْلَئِكَ هُمْ خَيْرُ الْبَرِيَّةِ

๗๒. (برء)หมายถึง การประกาศ อัลกุรอานกล่าววว่า นี่เป็นการประกาศ ให้พ้นข้อผูกพัน จากอัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์ (เตาบะฮฺ ๑)

بَرَاءةٌ مِّنَ اللّهِ وَرَسُولِهِ

๗๓. (باري) หมายถึง การสร้างสรรค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า พระองค์คืออัลลอฮผู้ทรงสร้างผู้ทรงให้บังเกิด (ฮัชรฺ ๒๔)

هُوَ اللَّهُ الْخَالِقُ الْبَارِئُ

๗๔. (برج) หมายถึง เปิดเผย ปรากฏ อัล-กุรอานกล่าวว่า โดยไม่เปิดเผยส่วนงดงาม (นูร ๖๐)

غَيْرَ مُتَبَرِّجَاتٍ بِزِينَةٍ

แต่ถ้าอ่านว่า (بُرج)หมายถึงดวงดาว และจักราศีต่าง ๆ อัล-กุรอานกล่าวว่า ขอสาบานด้วยชั้นฟ้าที่เกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว (บุรูจญฺ ๑)

وَالسَّمَاءِ ذَاتِ الْبُرُوجِ

๗๕. (برح) หมายถึง การแยกออก หรือการหลบออกไป อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้น ฉันจะไม่ออกไปจากแผ่นดิน (ยูซุฟ ๘๐)

فَلَنْ أَبْرَحَ الأَرْضَ

๗๖. (برد) หมายถึง หนาว หรือ เย็น อัล-กุรอานกล่าวว่า โอ้ไฟ จงเย็นลง และให้ความปลอดภัยแก่อิบรอฮีม (อัมบิยาอฺ ๖๙)

يَا نَارُ كُونِي بَرْدًا وَسَلَامًا عَلَى إِبْرَاهِيمَ

๗๗. (برد) หมายถึง ลูกเห็บ อัล-กุรอานกล่าวว่า และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้า มีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ (นูร ๔๓)

وَيُنَزِّلُ مِنَ السَّمَاءِ مِن جِبَالٍ فِيهَا مِن بَرَدٍ

๗๘. (بر)ถ้าเป็นคำนามหมายถึง แห้ง หรือบนบกที่ไม่มีน้ำ อัล-กุรอานกล่าวว่า พระองค์ผู้ทรงให้พวกท่านเดินทางโดยทางบกและทางทะเล (ยูนุซ ๒๒)

هُوَ الَّذِي يُسَيِّرُكُمْ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ

๗๙. (بر)ถ้าเป็นลักษณะนามหมายถึง ความดีงาม การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้ทรงเมตตาเสมอ

إِنَّهُ هُوَ الْبَرُّ الرَّحِيمُ

ถ้าเป็นมัซดัร (รากคำ) หมายถึง การทำความดีงามซึงมีความหมายครอบคลุมกว้างมากกว่า การทำดีกับบิดามารดา หรือ การเชิญชวนให้ทำความดีเป็นต้น

๘๐. (برز) หมายถึง การเปิดเผย เผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผย อัล-กุรอานอล่าวว่า และเมื่อพวกเขาได้ออกไปประจัญหน้ากับญาลูต (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๒๕๐)

وَلَمَّا بَرَزُواْ لِجَالُوتَ وَجُنُودِهِ

ส่วนคำว่า براز หมายถึงสิ่งที่มีสว่างด้วยตัวเอง หรือปรากฏตนเองดังเช่นพื้นที่ราบเรียบ อัล-กุรอานกล่าวว่า เจ้าจะเห็นแผ่นดินราบเรียบ (อัล-กะฮฺฟิ ๔๗)

وَتَرَى الْأَرْضَ بَارِزَةً

๘๑. (برزخ) หมายถึง ระยะห่างระหว่างสองสิ่ง อัล-กุรอานกล่าวว่า ระหว่างมันทั้งสองมีที่กั้นกีดขวาง มันจะไม่ล้ำเขตกัน (เราะฮฺมาน ๒๐)

بَيْنَهُمَا بَرْزَخٌ لَّا يَبْغِيَانِ

๘๒. (برص) หมายถึง โรคทางผิวหนัง อัล-กุรอานกล่าวว่า และฉันจะรักษาคนตาบอดแต่กำเนิด และคนเป็นโรคเรื้อน (อาลิอิมรอน ๔๙)

وَأُبْرِىءُ الأكْمَهَ والأَبْرَصَ

๘๓. (برق) หมายถึง ไฟฟ้าที่เปล่งประกายออกมาจากการเสียดสีหรือกระทบกันของก้อนเมฆ หรือเรียกว่า ฟ้าแลบ อัล-กุรอานกล่าวว่า มีทั้งบรรดาความมืด ฟ้าคำรน และฟ้าแลบ (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๙)

فِيهِ ظُلُمَاتٌ وَرَعْدٌ وَبَرْقٌ

๘๔. (برك بركت)หมายถึง ประโยชน์ที่แน่นอนตายตัว รากเหง้าของความดีและความจำเริญ อัล-กุรอานกล่าวว่า แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้า (อัล-อะอฺรอฟ ๙๖)

لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاءِِ

๘๕. (برم) หมายถึง แผนการ หรือการตัดสินใจกระทำการหนึ่ง อัล-กุรอานกล่าวว่า หรือว่าพวกเขาได้ตกลงวางแผนในเรื่องใด ดังนั้นแน่นอนเราก็ได้ตกลงวางแผนเช่นกัน (ซุครุฟ ๗๙)

أَمْ أَبْرَمُوا أَمْرًا فَإِنَّا مُبْرِمُونَ

๘๖. (بره) หมายถึง เหตุผล คำอธิบายเหตุผล หลักฐาน อัล-กุรอานกล่าวว่า โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า (อัน-นิซาอฺ ๑๗๔)

يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ جَاءكُم بُرْهَانٌ مِّن رَّبِّكُمْ

๘๗. (برية) หมายถึง สิ่งถูกสร้าง อัล-กุรอานกล่าวว่า ชนเหล่านั้น พวกเขาเป็นมนุษย์ที่ดียิ่ง (อัล-บัยยินะฮฺ ๗)

أُوْلَئِكَ هُمْ خَيْرُ الْبَرِيَّةِ

๘๘. (بزع) หมายถึง การขึ้น อัล-กุรอานกล่าวว่า ครั้นเมื่อเขาเห็นดวงจันทร์กำลังขึ้น (อัล-อันอาม ๗๗)

فَلَمَّا رَأَى الْقَمَرَ بَازِغًا

๘๙. (بسر) หมายถึง ใบหน้าที่บึ้งตึง อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วเขาทำหน้าบูดบึ้ง และทำหน้านิ่วคิ้วขมวด (อัล-มุดัรซิร ๒๒)

ثُمَّ عَبَسَ وَبَسَرَ

๙๐. (بسّ) หมายถึง การทุบให้แตก อัล-กุรอานกล่าวว่า และบรรดาภูเขาได้แตกสลาย (อัล-วากิอะฮฺ ๕)

وَبُسَّتِ الْجِبَالُ بَسًّا

๙๑. (بسط)หมายถึง ราบเรียบ ครอบคลุม กว้างไกล อัล-กุรอานกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงทำให้พื้นดินราบเรียบสำหรับสูเจ้า (นูฮฺ ๑๙)

وَاللَّهُ جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ بِسَاطًا

๙๒. (بسق) หมายถึง ความสูงส่ง สูง อัล-กุรอานกล่าวว่า และต้นอินทผลัม สูงตระหง่าน (ก็อฟ ๑๐)

وَالنَّخْلَ بَاسِقَاتٍ

๙๓. (بسل)หมายถึง อุปสรรค ห้าม การยอมรับความหายนะ อัล-กุรอานกล่าวว่า เจ้าจงเตือนด้วยอัล-กุรอานว่า ชีวิตหนึ่งจะถูกสังกัดด้วยสิ่งที่ได้ขวนขวายไว้ (อันอาม ๗๐)

وَذَكِّرْ بِهِ أَن تُبْسَلَ نَفْسٌ بِمَا كَسَبَتْ

๙๔. (بسم) หมายถึง ยิ้ม อัล-กุรอานกล่าวว่า เขา (สุลัยมาน) ยิ้มแกมหัวเราะต่อคำพูดของมัน (อัล-นัมลิ ๑๙)

فَتَبَسَّمَ ضَاحِكًا مِّن قَوْلِهَا

๙๕. (بشر : بشّره)หมายถึง เนื้อหนังมังสาของร่างกาย การใช้คำนี้กับมนุษย์เพราะว่า เนื้อหนังภายนอกร่างกาย / การแจ้งข่าวดี ซึ่งผลของการแจ้งข่าวดีสามารถเห็นได้จากร่องรอยบนใบหน้าของผู้แจ้งข่าว อัล-กุรอานกล่าวว่า จงบอกเถิด แท้จริงฉันเป็นมนุษย์เหมือนกับเจ้า (อัล-กะฮฺฟิ ๑๑๐)

قُلْ إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ مِّثْلُكُمْ

แจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธา และประกอบสิ่งที่ดีทั้งหลาย (บะเกาะเราะฮฺ ๒๕)

وَبَشِّرِ الَّذِين آمَنُواْ وَعَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ

๙๖. (بصل) หมายถึง หัวหอม อัล-กุรอานกล่าวว่า พระองค์ทรงให้งอกเงยขึ้นจากพื้นดิน อันได้แก่พืชผัก แตงกวา กระเทียม ถั่ว และหัวหอม (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๖๑)

تُنبِتُ الأَرْضُ مِن بَقْلِهَا وَقِثَّآئِهَا وَفُومِهَا وَعَدَسِهَا وَبَصَلِهَا

๙๗. (بضع) หมายถึง จำนวนของสิ่งหนึ่งที่สามารถนับจำนวนได้ระหว่างสามถึงสิบ อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้นเขาได้อยู่ในคุกอีกหลายปี

فَلَبِثَ فِي السِّجْنِ بِضْعَ سِنِينَ

ส่วนคำว่า (بضاعة)หมายถึง จำนวนทรัพย์สิน อัล-กุรอานกล่าวว่า นี่คือทรัพย์สินของเราและได้กลับมาหาเรา (ยูซุฟ ๖๕)

بهَذِهِ بِضَاعَتُنَا رُدَّتْ إِلَيْنَا

๙๘. (بطؤ) หมายถึง การปล่อยให้ล่าช้า หรือปล่อยให้ล่าออกไป อัล-กุรอานกล่าวว่า และแท้จริงในหมู่พวกเจ้านั้นมีผู้ที่ทำชักช้า (อัน-นิซาอฺ ๗๒)

وَإِنَّ مِنكُمْ لَمَن لَّيُبَطِّئَنَّ

๙๙. (بطر) หมายถึง การละเมิด ยโสโอหัง จองหองเมื่อเผชิญกับคนอื่น อัล-กุรอานกล่าวว่า และจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่ออกจากหมู่บ้านของพวกเขาไป ด้วยความหยิ่งผยอง และโอ้อวดผู้คน (อันฟาล ๔๗)

وَلاَ تَكُونُواْ كَالَّذِينَ خَرَجُواْ مِن دِيَارِهِم بَطَرًا

๑๐๐. (بطش)หมายถึง การเอามาด้วยความรุนแรง อย่างรุนแรง อัล-กุรอานกล่าวว่า

แท้จริงการลงโทษอย่างรุนแรงแห่งพระเจ้านั้นแข็งกร้าวยิ่งนัก (บุรูจญฺ ๑๒)

إِنَّ بَطْشَ رَبِّكَ لَشَدِيدٌ

๑๐๑. (بطن بطانة)หมายถึง สนิทชิดชอบ เหมือนกัน ใกล้ชิดกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า จงอย่าได้ยึดเอาเพื่อนสนิทที่รู้เห็นกิจการภายใน อื่นจากพวกของเจ้าเอง (อาลิอิมรอน ๑๑๘)

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَتَّخِذُواْ بِطَانَةً مِّن دُونِكُمْ

ส่วนคำว่า (بطائن) เป็นพหูพจน์ของคำว่า (بطانة)หมายถึง ซันในเสื้อ อัล-กุรอานกล่าวว่า ซึ่งซับในของมันทำด้วยไหมพรมอย่างดี

بَطَائِنُهَا مِنْ إِسْتَبْرَقٍ

๑๐๒. (بعث)หมายถึง การเลือกสรร แต่งตั้ง อัล-กุรอานกล่าวว่า พระองค์ทรงแต่งตั้งเราะซูลขึ้นในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเอง (ญุมุอะฮฺ ๒)

هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ

๑๐๓. (بعثر) หมายถึง การกลับหน้ากลับหลัง การพลิกกลับ การนำออก (กริยาดังกล่าวได้ผสมระหว่างคำว่า بعثกับคำว่า ثورอัล-กุรอานกล่าวว่า และเมื่อหลุมฝังศพถูกพลิกกลับ (อิงฟิฏอร ๔)

وَإِذَا الْقُبُورُ بُعْثِرَتْ

๑๐๔. (بعر)หมายถึง อูฐ ซึ่งรวมไปถึงอูฐตัวผู้และอูฐตัวเมีย อัล-กุรอานกล่าวว่า และถ้าบุคคลใดนำมาจะได้รับรางวัลเป็นอูฐหนึ่งฝูง (ยูซุฟ ๗๒)

وَلِمَن جَاءَ بِهِ حِمْلُ بَعِيرٍ

๑๐๕. (بعل)หมายถึง สามี อัล-กุรอานกล่าวว่า และบรรดาสามีของพวกนางนั้นเป็นผู้มีสิทธิกว่าในการให้พวกนางกลับมาในกรณีดังกล่าว(บะเกาะเราะฮฺ ๒๒๘)

وَبُعُولَتُهُنَّ أَحَقُّ بِرَدِّهِنَّ فِي ذَلِكَ

เป็นชื่อเทวรูปที่มีชื่อเสียงตนหนึ่งของพวกอาหรับโง่เขลาในยุคทมิฬ อัล-กุรอานกล่าวว่า พวกท่านเคารพสักการะบะอฺลฺ (เจว็ด) และปล่อยพระผู้สร้างที่ดีที่สุด (ซอฟาต ๑๒๕)

أَتَدْعُونَ بَعْلًا وَتَذَرُونَ أَحْسَنَ الْخَالِقِينَ

๑๐๖. (بغل)หมายถึง ฬ่อ ซึ่งเป็นการผสมพันธ์ระหว่างอูฐลากับม้า อัล-กุรอานกล่าววว่า และม้า และฬ่อ ละลา (อัล-นะฮฺลิ ๘)

وَالْخَيْلَ وَالْبِغَالَ وَالْحَمِيرَ

๑๐๗. (بغت)หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดกะทันหัน เฉียบพลัน อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วเราจึงได้ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหันขณะที่พวกเขาไม่รู้ตัว (อัล-อะอฺรอฟ ๙๕)

فَأَخَذْنَاهُم بَغْتَةً وَهُمْ لاَ يَشْعُرُونَ

๑๐๘. (يغى)หมายถึง ความต้องการ ปรารถนา อัล-กุรอานกล่าวว่า เพื่อแสวงหาความพึงพอใจบรรดาภริยาของเจ้า (ตะฮฺรีม ๑)

تَبْتَغِي مَرْضَاتَ أَزْوَاجِكَ

บางครั้งหมายถึง การละเมิด หรือการไม่ได้รับอนุญาต อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วผู้ใดได้รับความคับขันโดยมิใช่ผู้กดขี่หรือละเมิด (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๗๓)

فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ

บางครั้งคำว่า (بغاء)หมายถึง ผู้หญิงทั้งหลาย อัล-กุรอานกล่าวว่า และพวกเจ้าอย่าบังคับบรรดาทาสีของพวกเจ้าให้ผิดประเวณี หากนางประสงค์จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ (อัน-นูร ๓๓)

وَلاَ تُكْرِهُوْ أ فَتَيَتِكُمْ عَلى البِغَاءِ

๑๐๙. (بقل)หมายถึง ผักต่าง ๆ อัล-กุรอานกล่าวว่า ขอพระองค์ทรงให้งอกขึ้นจากแผ่นดินอันได้แก่พืชผักต่าง ๆ แก่พวกเรา (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๖๑)

يُخْرِجْ لَنَا مِمَّا تُنبِتُ الأَرْضُ مِن بَقْلِهَا

๑๑๐. (بكة)หมายถึง สถานที่พลุกพล่าน บริเวณมัสญิดอัล-ฮะรอม อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงบ้านหลังแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่ออิบาดะฮฺ) คือบ้านที่มักกะฮ (อาลิอิมรอน ๙๖)

إِنَّ أَوَّلَ بَيْتٍ وُضِعَ لِلنَّاسِ لَلَّذِي بِبَكَّةَ

๑๑๑. (بكر) หมายถึง การเริ่มต้นวันใหม่จากตะวันขึ้นจนถึงช่วงบ่าย อัล-กุรอานกล่าวว่า และจงกล่าวสดุดีในความบริสุทธิ์ของพระองค์ ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า (อาลิอิมรอน ๔๑)

وَسَبِّحْ بِالْعَشِيِّ وَالإِبْكَارِ

บางครั้งหมายถึง สาวพรหมจรรย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วเราได้ทำให้พวกนางเป็นสาวพรหมจรรย์ (อัล-วากิอะฮฺ ๓๖)

فَجَعَلْنَاهُنَّ أَبْكَارًا

๑๑๒.(بكم) หมายถึง ใบ้ อัล-กุรอานกล่าวว่า และอัลลอฮฺ ทรงยกอุทาหรณ์ถึงชายสองคน หนึ่งในสองคนเป็นใบ้ (อัล-นะฮฺลิ ๗๖)

وَضَرَبَ اللّهُ مَثَلاً رَّجُلَيْنِ أَحَدُهُمَا أَبْكَمُ

๑๑๓. (بلس)หมายถึง หมดหวัง หรือความทุกข์เศร้าที่ได้ครอบงำมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า และวันที่วาระสุดท้ายจะเกิดขึ้น พวกทำผิดก็จะหมดหวัง (อัร-รูม ๑๒)

وَيَوْمَ تَقُومُ السَّاعَةُ يُبْلِسُ الْمُجْرِمُونَ

๑๑๔. (بلى)หมายถึง ความเก่าแก่ หรือการทดสอบ อัล-กุรอานกล่าวว่า ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๔)

وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ

๑๑๕. (ببن)หมายถึง ปลายนิ้ว อัล-กุรอานกล่าวว่า และจงฟันทุก ๆ ส่วนปลายของนิ้วมือจากพวกเขา (อัมฟาล ๑๒)

وَاضْرِبُواْ مِنْهُمْ كُلَّ بَنَانٍ

๑๑๖. (بو)หมายถึง การแบกหามภาระที่หนักไว้บนหัวไหล่ อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป (อัล-มาอิดะฮฺ ๒๙)

تَبُوءَ بِإِثْمِي وَإِثْمِكَ

๑๑๗. (بور)หมายถึง การย้อนกลับไป ดังนั้นพวกเขาจึงนำความกริ้วโกรธซ้อนความกริ้วโกรธกลับไป (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๙๐)

فَبَآؤُواْ بِغَضَبٍ عَلَى غَضَبٍ

๑๑๘. (بؤس)หมายถึง ความยากลำบาก อัล-กุรอานกล่าวว่า และบรรดาผู้ที่อดทนไนความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๑๗๗)

وَالصَّابِرِينَ فِي الْبَأْسَاء والضَّرَّاء

อัล-กุรอานกล่าวว่า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงมีกำลังรบที่เข้มแข็งกว่า และเป็นผู้ทรงมีการลงโทษที่รุนแรงกว่า (อัน-นิซาอฺ ๘๔)

وَاللّهُ أَشَدُّ بَأْسًا وَأَشَدُّ تَنكِيلاً

๑๑๙. (بهت)หมายถึง การกล่าวถึงที่ไม่เป็นความจริง โกหกที่สร้างความตื่นเต้น อัล-กุรอานกล่าวว่า พวกเจ้าจะเอามันคืนด้วยการอุปโลกน์ความเท็จและการกระทำบาปอันชัดเจนกระนั้นหรือ (อัน-นิซาอฺ ๒๐)

أَتَأْخُذُونَهُ بُهْتَاناً وَإِثْماً مُّبِيناً

๑๒๐. (بهج)หมายถึง ทิวทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่เขียวขจี อัล-กุรอานกล่าวว่า เราได้ให้สวนต่าง ๆ งอกเงยอย่างสวยงาม (อัน-นัมลิ ๖๐)

حَدَائِقَ ذَاتَ بَهْجَةٍ

๑๒๑. (بهل)หมายถึง การวิงวอน การสาปแช่ง อัล-กุรอานกล่าวว่า เราจะวิงวอนกันด้วยความนอบน้อม

ثُمَّ نَبْتَهِلْ

๑๒๒. (بهم)หมายถึง ปศุสัตว์ สัตว์สี่เท้าทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ อัล-กุรอานกล่าวว่า ปศุสัตว์ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า (อัล-มาอิดะฮฺ ๑)

أُحِلَّتْ لَكُم بَهِيمَةُ الأَنْعَامِ

๑๒๓. (بيت تبييت)หมายถึง การพิสูจน์สิ่งหนึ่งในเวลากลางคืน อัล-กุรอานกล่าวว่า แล้วชาวเมืองนั้นปลอดภัยกระนั้นหรือ ในการที่การลงโทษของเราจะมายังพวกเขาในเวลากลางคืน ขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่”

أَفَأَمِنَ أَهْلُ الْقُرَى أَن يَأْتِيَهُمْ بَأْسُنَا بَيَاتاً وَهُمْ نَآئِمُونَ

๑๒๔.(بيد) หมายถึง การสูญสลาย จบสิ้น อัล-กุรอานกล่าวว่า ฉันไม่คิดว่าสวนนี้จะพินาศไปได้เลย (อัล-กะฮฺฟิ ๓๕)

مَا أَظُنُّ أَن تَبِيدَ هَذِهِ أَبَدًا

๑๒๕. (بيَع)เป็นพหูพจน์ของคำว่า (بيعة)หมายถึง สถานที่สวดของพวกยิว อัล-กุรอานกล่าวว่า บรรดาหอสวด และโบสถ์ (ของพวกคริสต์) และสถานที่สวด (ของพวกยิว)

لَّهُدِّمَتْ صَوَامِعُ وَبِيَعٌ وَصَلَوَاتٌ

๑๒๖. (بينة)หมายถึง ความชัดเจน กระจ่าง อัล-กุรอานกล่าวว่า สัญญาณอันชัดเจนเท่าไหร่แล้ว ที่เราได้นำมายังพวกเขา (อัล-บะเกาะเราะฮฺ ๒๑๑)

كَمْ آتَيْنَاهُم مِّنْ آيَةٍ بَيِّنَةٍ