') //-->
ปัจจุบันจะเห็นว่าอุละมาอฺฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺไม่ว่าจะอยู่ทีใดบนโลกนี้ถ้ามีโอกาสพวกเขาจะโจมตีชีอะฮฺทันที ขณะที่อุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺไม่เคยโจมตีหลักการฝ่ายซุนนียฺแม้ว่าจะมีโอกาสและมีความสามารถที่เหนือกว่าก็ตาม อุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺไม่เคยโจมตีด้วยการกล่าวร้าย หรือใช้วาจาหยาบคายจาบจ้วงเหมือนคนไม่เคยมีการศึกษา เหมือน เช่นที่ผู้รู้ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺบางท่านกำลังตอบข้อซักถามแก่ผู้สงสัย เกี่ยวกับปัญหาชีอะฮฺที่ทางเว็บมุสลิมไทย (www.muslimthai.com) กำลังนำเสนออยู่ในปัจจุบัน
คำพูดที่อาจารย์กล่าวพาดพิงถึงชีอะฮฺคืออย่าไปครบกับพวกนี้เพราะพวกนี้เลวกว่ากาฟิร
คำพูดของท่านมิได้สร้างสรรค์สิ่งใดให้ดีขึ้นมา ซึ่งในทัศนะของอาจารย์มีคนอยู่สองกลุ่มที่เป็นคนเลว กลุ่มที่หนึ่งคือ กาฟิร กลุ่มที่สอง คือชีอะฮฺ ทว่าชีอะฮฺนั้นเลวยิ่งกว่ากาฟิรเีสียอีก
ในทางตรงกกันข้ามอุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺพยายามประนีประนอมมาโดยตลอด เพื่อรักษาเจตนารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ของอิสลามเอาไว้ นั่นคือ ความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมเพื่อยืนหยัดต่อสู้กับโลกภายนอกที่กำลังเฝ้าคอยโอกาสโจมตีอิสลาม เหมือนหมาป่าที่คอยล่าเนื้อลูกแกะเป็นอาหาร ดังนั้น จะเห็นว่าโลกภายนอกนั้นอันตรายยิ่งนัก ไม่รู้เมื่อไหร่ที่อิสลามจะถูกทำลายล้างจนสูญสิ้นไปจากโลกนี้ การที่บางประเทศทำดีกับประเทศมุสลิมก็เพื่อผลประโยชน์เท่านั้นเอง และเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีผลประโยชน์ประเทศเหล่านั้นก็ไม่มีค่าอันใดอีกต่อไป ในทางกลับกันการที่ประเทศมุสลิมบางประเทศให้ความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ ก็เนื่องจาก ต้องการให้บารมีของประเทศเหล่านั้นคุ้มครองตน เพื่อการยืนหยัดในอำนาจ และเสวยผลประโยชน์ต่อไป มิได้มีเจตนารมณ์เพื่อการพัฒนาหรือเพื่อประโยชน์ของมุสลิมแม้แต่นิดเดียว
การดำเสนอบทความต่อไปนี้มิได้มีเจตนาเพื่อสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม แต่มีเจตนาเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อขจัดความคลางแคลงใจที่ยังติดค้างอยู่ในใจของบางคน โปรดพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วยจิตใจที่เป็นธรรมเท่านั้นก็เพียงพอ ถ้าหากท่านมีข้อเสนอแนะหรือข้อซักถามหลังจากอ่านบทความแล้ว กรุณาติดต่อกับมายังคณะผู้จัดทำตามที่อยู่อีเมล์ที่ปรากฏบนเว็บ
มุสลิมส่วนใหญ่เคยได้ยิน คำว่าเฆาะดีรคุม มาแล้ว เฆาะดีรเป็นชื่อสถานที่หนึ่งที่อยู่ระหว่างมักกะฮฺ กับมะดีนะฮฺ ใกล้กับยุฮฺฟะฮฺ ห่างจากมักกะฮฺไปประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร เป็นทางแยกที่บรรดานักแสวงบุญทั้งหลายจะแยกกันเพื่อกลับสู่มาตุภูมิของตน
๑ เป็นเส้นทางแยกไปสู่มะดีนะฮฺ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของมักกะฮฺ
๒ เป็นเส้นทางแยกไปสู่อีรัก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก
๓ เป็นเส้นทางแยกไปสู่เยเมน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้
แต่ปัจจุบัน เฆาะดีร เป็นสถานที่ ๆ ถูกทอดทิ้งด้วยเหตุผลอันบางประการ อย่างไรก็ตามในอดีตสถานที่แห่งนี้คือ สถานที่ชุมนุมที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์กล่าวคือ ในวันนั้นตรงกับวันที่ ๑๘ เดือนซุลฮิจญะฮฺ ปี ฮ.ศ.ที่ ๑๐ ณ เฆาะดีรคุม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศแต่งตั้งให้ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นอิมามหรือเป็นเคาะลิฟะฮฺแทนท่าน
ถึงแม้ว่าบรรดาเคาะลิฟะฮฺในยุคต่อมาจะพยายามทำลายสีสันของเฆาะดีรให้จืดจาง หรือแม้แต่อุละมาอฺที่มีอคติในปัจจุบัน ได้พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เฆาะดีรถูกลืมเลือน แต่ความยิ่งใหญ่ของวันนี้บนหน้าประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอาหรับในยุคนั้นมันกว้างเกินกว่าที่คนในยุคปัจจุบันจะทำลายทิ้งได้ หรือทำให้คนส่วนใหญ่ลืมเลือน
ซึ่งบทความนี้นอกจากจะกล่าวถึงเหตุผลและพิสูจน์ความเป็นจริงของเฆาะดีรแล้ว ยังได้เสนอหลักฐานของอะฮฺลิซซุนนะฮฺที่บันทึกเหตุการณ์เฆาะดีรเอาไว้ เพื่อเป็นคำถามแก่ผู้สงสัยในใจว่า หลักฐานจำนวนมากมายเช่นนี้แล้วทำไมมุสลิมส่วนใหญ่จึงปฏิเสธเฆาะดีร และไม่ให้ความสำคัญ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ซึ่งได้นำมาจากหลักฐานของอะฮฺลิิซซุนนะฮฺส่วนใหญ่คงสร้างความเข้าใจที่ดีและเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าต่อไป
ฮะดีซเฆาะดีรเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ชัดเจนที่บ่งบอกถึง การเป็นเคาะลิฟะฮฺทันที่ของท่านอิมามอะลี (อ.) หลังจากท่านศาสดาได้สิ้นชีพลง ซึ่งบรรดานักค้นคว้าส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ แต่น่าเสียใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ก่อนที่จะศึกษาหาความจริง หรือได้ตั้งใจปฏิเสธไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วดั่งที่เป็นมาในอดีตโดยไม่สนใจว่าหลักฐานที่อ้างอิงนั้นจะถูกหรือผิด หรือนำมาจากที่ใด หรือบางครั้งยอมรับในสายรายงานและหลักฐานว่ามีจริง แต่สงสัยสาเหตุที่ริวายะฮฺเหล่าั้นั้นบ่งชี้ หรือบางครั้งสงสัยในสายรายงานโดยตรงว่าสิ่งเหล่านี้มีจริงหรือไม่
เมื่อการบำเพ็ญฮัจญฺครั้งสุดท้ายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งตรงกับปี ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ได้เสร็จสิ้นลง ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตัดสินใจจากมักกะฮฺเพื่อเดินทางกลับมะดีนะฮฺ ท่านได้สั่งให้กองคารรวานเคลื่อนตัว และเมื่อกองคาราวานเดินทางมาถึงสถานที่หนึ่งชื่อว่า รอบิฆ[๑] ซึ่งอยู่ห่างจากญุฮฺฟะฮฺประมาณ ๓ ไมล์[๒] ญิบรออีลได้นำวะฮียฺลงมาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตรงบริเวณที่มีนามว่า คุม หรือเฆาะดีรคุม ความว่า
يَا أيُّها الرَّسُولُ بَلِّغْ ما اُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงคุ้มครองเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกปฏิเสธทั้งหลาย [๓]
จากโองการจะเห็นว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบภารกิจอันยิ่งใหญ่ให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กระทำ ซึ่งเป็นทั้งเกาะกำบังที่แข็งแรงสำหรับริซาละฮฺ เป็นสาเหตุทำให้บรรดาศัตรูอิสลามหมดหวัง ซึ่งภารกิจต่อหน้าคนจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คน จะมีสิ่งใดยิ่งใหญ่เกินไปกว่าการประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นเคาะลิฟะฮฺตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
จากทัศนะดังกล่าวท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้ประกาศให้กองคาราวานทั้งหมดหยุด บุคคลที่ล่วงหน้าผ่านไปแล้วท่านสั่งให้เีรียกกลับมา และรอผู้ที่ยังเดินทางมาไม่่ถึงให้มาสมทบ ช่วงเวลานั้นตรงกับซุฮฺริพอดีอากาศร้อนระอุ จนกระทั่งว่าบางกลุ่มได้เอาอะบาอฺคลุมศีรษะ และบางกลุ่มเอารองไว้ใต้เท้า และได้เอาอะบาอฺกางออกเพื่อเป็นร่มให้กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านศาสดาได้ยืนบนแท่นที่เอาอานอูฐ ๔ อันมาเรียงติดกัน และได้กล่าวเทศนาเสียงดัง ซึ่ง ณ ที่นี้จะหยิบยกบางส่วนของคำเทศมาอธิบาย
ฉันขอกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ฉันขอความช่วยเหลือจากพระองค์เท่านั้น ฉันขอศรัทธาเพียงพระองค์ ฉันขอมอบหมายภารกิจต่าง ๆ แก่พระองค์ และฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความเลวร้ายและการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย พระองค์คือพระผู้อภิบาลผู้ซึ่งนอกจะพระองค์แล้วไม่มีผู้ชี้นำอื่นใดอีก และผู้ใดรับทางนำจากพระองค์จะไม่มีวันหลงทางอย่างแน่นอน ฉันขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ และมุฮัมมัดคือศาสดาแห่งพระองค์
โอ้ประชาชนที่รักทั้งหลาย ใกล้เวลาแล้วที่ฉันจะต้องจากพวกท่านไปอย่างไม่วันกลับ ฉันมีหน้าที่รับผิดชอบ ขณะเดียวกันพวกท่านก็มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นกัน หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า
พวกท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับฉัน (ฉันได้ทำหน้าที่ของฉันที่มีต่อพวกท่านแล้วหรือไม่)
ในเวลานั้นประชาชนได้ส่งเสียงกล่าวยกย่องและรับรองการงานของท่านศาสดาเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเราขอยืนยันว่าท่านได้ทำหน้าที่ประกาศสารของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทำการอบรมและปรับปรุงสังคมแล้ว และสุดท้ายท่านได้ทำการชี้นำพวกเราเข้าสู่หนทางที่เที่ยงธรรม ขอพระองค์โปรดประทานรางวัลที่ดีงามแก่ท่าน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า
พวกท่านยืนยันไหมว่า พระผู้อภิบาลทรงเป็นเอกะ มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสดาของพระองค์ ความสัจจริงของวันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อการสอบสวนสวรรค์และนรกนั้นมีจริง
ทั้งหมดกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า แน่นอน พวกเราขอยืนยันเช่นนั้น
ท่านกล่าวว่า ขอให้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพยานต่อคำยืนยัน
หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า
ฉันขอฝากสิ่งหนักสำคัญสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน พวกท่่านลองพิจารณาดูซิว่า พวกท่านจะทำอย่างไรกับของสองสิงนี้ภายหลังจากฉัน
ทันใดนั้นมีคนหนึ่งยืนขึ้นและ ตะโกนขึ้นว่่าสิ่งสำคัญสองสิ่งนั้นคืออะไร
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า
สิ่งแรกเป็นสิ่งหนักที่ยิ่งใหญ่อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งด้านหนึ่งของคัมภีร์อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน และพวกท่านจงยึดสิ่งนี้ไว้ให้มั่นเพื่อจะได้ไม่หลงทาง ส่วนสิ่งหนักอีกประการหนึ่งที่ฉันขอฝากไว้ให้หมู่พวกท่านได้แก่ ลูกหลานที่ใกล้ชิดของฉัน อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเมตตาได้ส่งข่าวให้ฉันทราบว่า สิ่งหนักสองสิ่งนี้จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ พวกท่านทั้งหลายจงอย่าล้ำหน้าทั้งสองเพราะจะเป็นสาเหตุให้พวกท่านพบกับความหายนะ และพวกท่านจงอย่าล้าหลังจากทั้งสองเพราะจะเป็นสาเหตุให้พวกท่านพบกับความหายนะเช่นกัน
ประชาชนเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้หันมองรอบ ๆ เหมือนกับว่าท่านกำลังมองหาใครบางคน และแล้วสายตาของท่านก็จับจ้องไปที่ท่านอะลี ท่านได้ก้มไปจับมือของท่านอะลีชูขึ้นจนเห็นรอยขาวนวลใต้รักแร้ของทั้งสอง ซึ่งประชาชนทั้งหมดเห็นและจำได้ว่าบุคคลนั้นคือราชสีห์ที่ไม่เคยพ่ายแำ้พ้แห่งอิสลาม ตรงนี้เสียงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังขึ้นกว่าเดิม ท่่านกล่าวว่า
โอ้ประชาชนทั้งหลาย ใครคือผู้ที่มีความประเสริฐกว่าชีวิตของผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ทั้งหมดกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลเท่านั้นที่รู้ดี
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้คุ้มครองและเป็นนายของฉัน ส่วนฉันคือ ผู้ปกครองมวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย และฉันมีความประเสริฐกว่าชีวิตของพวกเขา (หมายถึงความต้องการของศาสดาย่อมมาก่อนความต้องการของพวกเขา)
หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า
فمن كنت مولاه فعلى مولاه
ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้้วย
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตอกย้ำประโยคนี้ถึง ๓ ครั้งด้วยกัน บางริวายะฮฺกล่าวว่าท่านได้เน้นย้ำถึง ๔ ครั้ง และมากกว่านั้นเพื่อความมั่นใจซึ่งภายหลังจะได้ไม่การเข้าใจผิด
اَللّهُمَّ والِ مَنْ والاهُ وَ عادِ مَنْ عاداهُ وَاحِبَّ مَنْ أحِبَّهُ وَ أَبْغِضْ مَنْ أَبْغَضَهُ وَانْصُرْ مَنْ نَصَرَهُ وَاخْذُلْ مَنْ خَذَلَهُ وَ أَدِرِ الْحَقَّ مَعَهُ حَيثُ دارَ;
โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดเป็นมิตรกับบุคคลที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูกับบุคคลที่เป็นศัตรูกับเขา โปรดรักบุคคลที่รักเขา โปรดเกลียดชังบุคคลที่เกลียดชังเขา โปรดช่วยเหลือบุคคลที่ช่วยเหลือเขา โปรดทอดทิ้งบุคคลที่ทอดทิ้งเขา โปรดให้สัจธรรมอยู่กับเขาตราบที่เขามียังมีชีวิต และโปรดอย่าแยกเขาออกสัจธรรม[๔]
หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า พวกท่านจงจำไว้ให้ดีว่าเป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่ที่นี่ทุกคน ที่ต้องแจ้งข่าวให้กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในที่นี้ทราบ
ความประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ครอบคลุมเหนือเหตุการณ์เฆาะดีรพระองค์ประสงค์ให้สิ่งนี้ปรากฏทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้หัวใจทุกดวงศึกษาและให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังจะเห็นว่าบรรดานักเขียนมุสลิมทุกยุคได้เขียนถึงเหตุการณ์นี้ไว้ในตำราของตนทั้ง ตัฟซีร ประวัติศาสตร์ ฮะดีซ และศาสนศาสตร์ นอกจากนั้นบรรดานักปราศรัย และนักวิชาการยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์เฆาะดีรในวาระต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุก ๆ วันที่ ๑๘ ของเดือนซุลฮิจญฺ ซึ่งทั้งหมดมีความเห็นพร้องต้องกันว่า เฆาะดีรคือความประเสริฐของอิมามอะลี (อ.)
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์เฆาะดีรเป็นอมตะคือการประทาน ๒ โองการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อันได้แก่ โองการในซูเราะฺฮฺ อัลมาอิดะฮฺ ๖๗ และ ๓
يَا أيُّها الرَّسُولُ بَلِّغْ ما اُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ ดังนั้น เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงคุ้มครองเจ้าจากมวลมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้นำพวกปฏิเสธทั้งหลาย
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า ฉันได้ให้ความกรุณาเมตตาของฉันครบบริบูรณ์แล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า
ตราบที่อัล-กุรอานคงอยู่เป็นนิรันดรเฆาะดีรก็เป็นนิรันดรเช่นกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือประวัติการเกิดเหตุการณ์เฆาะดีรตรงกับวันที่ ๑๘ เดือนซุลฮิจญฺ ซึ่งวัีนนี้ในหมู่มุสลิมทั้งหมดรู้จักกันในนามของ วันเฆาะดีร แม้กระทั่งว่า อิบนุคอลกอน ได้กล่าวถึง อัลมุสตะอฺลา บิน อัลมุสตันซิร ว่า ในปี ฮ.ศ. ที่ ๔๘๗ ตรงกับวันเฆาะดีรคุมประชาชนได้มาให้บัยอัตกับเขา[๕] และได้เขียนถึง อัลมุนตันซิร บิลลาฮฺ อัลอะบีดียฺ ว่า เขาได้เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. ๔๘๗ ซึ่งเหลืออีก ๑๒ คืนจะสิ้นเดือนซุลฮิจญะฮฺพอดี ซึ่งคืนนั้นตรงกับคืนที่ ๑๘ ซุลฮิจญฺ ซึ่งเป็นคืนอีดเฆาะดีร[๖]
อบูรอยฮานบีรูนียฺ ได้เขียนไว้ในหนังสือ อัลอาซารุลบากียะฮฺว่า อีดเฆาะดีร เป็นอีดที่ยิ่งใหญ่ซึ่งบรรดามุสลิมทั้งหลายได้จัดเฉลิมฉลอง[๗]
มิใช่เพียง อิบนุคอลกอน และอบูรอยฮาน บีรูนียฺเท่านั้นที่เขียนเรื่องเฆาะดีร ซะอฺละบียฺ หนึ่งในนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงของอะฮิลิซซุนนะฮฺได้เขียนว่า ค่ำเฆาะดีรคุมเป็นค่ำคืนที่มีชื่อเสียงและรู้จักมักคุ้นกันอย่างดีในหมู่มุสลิม[๘]
รากเหง้าของอีดเฆาะดีรนั้นย้อนยุคไปถึงสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากในวันนั้นท่านได้สั่งบรรดามุฮาญิรีน อันซอร และจนภรรยาของท่านให้ไปหาท่านอะลีที่บ้าน เพื่อกล่าวแสดงความยินดีกับท่าน เนื่องจากที่ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิลายะฮฺและอิมามะฮฺ
ซัยดฺ บิน อัรกอม กล่าวว่าบุคคลที่เป็นตัวแทนชาวมุฮาญิรอนได้แก่ อบูบักรฺ อุมัร อุซมาน ฏ็อลฮะฮฺ ซุบัยรฺ บุคคลเหล่านี้เป็นกลุ่มแรกที่ได้เข้าไปกล่าวแสดงความยินดี และให้บัยอัตกับท่านอะลีที่บ้าน พิธีกล่าวแสดงความยินดีได้ดำเนินไปจนถึงมัฆริบ[๙]
การให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์เฆาะดีรเพียงพอแล้วที่มีเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา จำนวนถึง ๑๑๐ ท่านเป็นผู้รายงาน[๑๐]
ในความเป็นจริงไม่ได้หมายความว่ามีเฉพาะเซาะฮาบะฮฺกลุ่มนี้เท่านั้นที่รายงานเหตุการณ์เฆาะดีรคุม ทว่าหมายถึง เซาะฮาบะฮฺทั้ง ๑๑๐ ท่านถูกกล่าวนามในตำราของอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น เฉพาะศตวรรษที่สองอย่างเดียวมีถึง ๘๙ คน
นักรายงานฮะดีซเฆาะดีรได้รายงานต่อกันมาเป็นช่วง ๆ ในศตวรรษหลังจากนั้นซึ่งทั้งหมดเป็นอุละมาอฺ นักปราชญ์ และนักวิชาการฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น เมื่อนับรวมแล้วมีจำนวนถึง ๓๖๐ คน ทั้งหมดได้บันทึกฮะดีซเฆาะดีรไว้ในตำราของตนทั้งสิ้น
นักวิชาการเหล่านี้ไม่ได้บันทึกฮะดีซไว้ในตำราอย่างเดียว ทว่าบางตำราไว้พิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องของสายรายงาน และตัวบทฮะดีซโดยเขียนแยกเป็นตำราห่างหากก็มี
สิ่งที่ประหลาดมากไปกว่านั้นก็คือ นักประวัติศาสตร์อิสลาม เช่น ฏ็อบรียฺ ได้เขียนไว้ในหนังสือของตน (อัล วิลายะฮฺ ฟี ฏุรุกิน ฮะดีซ อัล เฆาะดีร) ว่า ตนได้บันทึกฮะดีซเฆาะดีร โดยนำมาจากสายรายงานถึง ๗๕ สายซึ่งทั้งหมดรายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทั้งสิ้น
อิบนุ อุกดะฮฺ กูฟียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ วิลายะฮฺ ว่าตนได้รายงานฮะดีซนี้มาจากสายรายงานถึง ๑๐๕ คน
อบูบักรฺ มุฮัมมัด บิน อุมัร บัฆดาดียฺ รู้จักกันในนามของ ญุมอานียฺ บันทึกว่าตนได้รายงานฮะดีซนี้มาจาก ๒๕ สายรายงาน
อุละมาอฺนักเขียนที่มีชื่อเสียงของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ
- อะฮฺมัด บิน ฮันบัล ชัยบานียฺ
- อิบน ฮะญัร อัซเกาะลานียฺ
- ญัรรียฺ ชาฟิอียฺ
- อบูซะอีด ซะญิซตานียฺ
- อมีร มุฮัมมัด เยมานียฺ
- นะซาอียฺ
- อบุลอะอฺลาอฺ ฮัมเมดานียฺ
- อบุลอิรฟาน ฮับบาน
ฮะดีซนี้ได้รายงานจากสายสืบจำนวนมากมาย[๑๑]
บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺได้เขียนตำรามากมายเกี่ยวกับเรื่องเฆาะดีร และได้อ้างถึงแหล่งอ้างอิงสำคัญของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ซึ่งครอบคลุมที่สุดคือ อัลเฆาะดีร
อย่างไรก็ตาม ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หลังจากแต่งตั้งท่านอะลีแล้ว ท่านกล่าวว่า ...
โอ้ประชาชนเอ๋ย ขณะนี้ญิบรออีลได้นำวะฮฺยูลงมาใหฉันว่า
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้วแก่พวกเจ้า ฉันได้ให้ความกรุณาเมตตาของฉันครบบริบูรณ์แล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๑๒]
เวลานั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ตักบีรเสียงดังว่า อัลลอฮฺุอักบัร และได้กล่าวว่า ..
อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร แทัจริงพระองค์ได้ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเราอย่างครบถ้วน และทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน
หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ก้าวลงจากจุดที่ท่านยืนอยู่ และได้กล่าวกับท่านอะลี (อ.) ว่า
อะลี เจ้าจงนั่งอยู่ที่นี่ เพื่อให้บรรดาหัวหน้า บรรดานักต่อสู้ และบุคคลสำคัญในอิสลามมาให้บัยอัตและกล่าวแสดงความยินดีกับเจ้า
ในเวลานั้นประชาชนเริ่มวุ่นวาย เนื่องจากทุกคนต่างคนต่างแย่งกันเข้ามาแสดงความดีใจกับท่านอะลี (อ.) แม้แต่บุคคลในชั้นแนวหน้าอย่างอบูบักรฺ และอุมัรเองก็เข้าแสดงความดีใจกับท่านอะลีด้วย ทั้งสองได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่าได้ยอมรับวิลายะฮฺของท่านอะลีแล้ว และพูดว่่า..
ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง
เวลานั้นท่านอิบนุอับบาซกกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าคำมั่นสัญญานี้จะยืนหยัดตลอดไป
ฮิซาน บิน ซาบิตนักกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อ่่านบทกวีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า
يناديهم يوم الغديرنبيهم بخمّ واسمع بالرسول مناديا
فقال فمن مولاكم و نبيكم فقالو و لم يبدوا هناك التعاميا
الهك مولانا و انت نبينا و لم تلق منا فى الولاية عاصيا
فقال له قم يا على فاننى رضيتك من بعدى اماما و هاديا
فمن كنت مولاه فهذا وليه فكونوا له اتباع صدق مواليا
هناك دعا اللهم و ال وليه و كن للذى عادا عليا معاديا
ท่านศาสดาได้เรียกพวกเขาให้มารวมกันในวันเฆาะดีร ณ คุม เพื่อฟังสิ่งที่เราะซูลได้เรียกมา
ท่านกล่าวว่า ใครเป็นนายและเป็นนบีของพวกท่าน พวกเขาตอบอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่อ้อมค้อมทันทีว่า
พระผู้เป็นเจ้าของท่านคือนายของพวกเรา และท่านคือนบีของพวกเรา การที่เรายอมรับวิลายะฮฺของท่านจะไม่ทำให้เราระหกระเหิน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดฉันได้เลือกให้เจ้าเป็นอิมามและผู้ชี้นำภายหลังจากฉันแล้ว
หลังจากนั้นกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ดังนั้น พวกท่านจงปฏิบัติตามเขาด้วยความจริงใจ
เวลานั้น ท่านกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ โปรดเป็นมิตรกับผู้ที่เป็นมิตรกับเขา โปรดเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอะลี
ฮัซซาน บิน ซาบิตได้กล่าวกลอนอีกยาวแต่จะขอกล่าวอีก ๒ เบตเท่านั้น
فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً
فمن كنت مولاه فهذا وليّه فكونوا له اتباع صدق موالياً
ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน
فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً
فمن كنت مولاه فهذا وليّه فكونوا له اتباع صدق موالياً
ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน
ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย ดังนั้นถ้าพวกเจ้ารักเขาจริงเจ้าคือผู้ปฏิบัติตามเขา[๑๓]
ฮะดีซเฆาะดีรเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญและยิ่งใหญ่ ที่ยืนยันถึงความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีเหนือบรรดาเซาะฮาบะฮฺทั้งหลายทั้งในด้านความรู้ ความศรัทธา และชาติกำเนิด
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงความประเสริฐของท่านในที่ประชุมชูรอหลังจากอุมัรเคาะลิฟะฮฺที่สองได้เสียชีวิต[๑๔]
ในสมัยของอุซมานท่านอิมามอะลี (อ.) ก้ได้กล่าวเช่นกัน[๑๕]
นอกจากนี้ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) สตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกอิสลาม ได้พิสูจน์ฮะดีซเฆาะดีรแก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธฐานะภาพและความสูงส่งของท่านอิมามอะลี (อ.)[๑๖]
ประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวถึงตรงนี้คือ การอธิบายคำว่า เมาลา ฝ่ายอะฮฺซุนนะฮฺกล่าวว่าหมายถึงมิตร เพื่อน และความรัก ส่วนฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่าหมายถึง ผู้ปกครอง ซึ่งการให้ความหมายที่ถูกต้องนั้นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วยว่า ณ ตรงนั้นกำลังกล่าวถึงอะไร
จากสิ่งที่กล่าวมาทำให้ไม่ไม่สงสัยต่อสายรายงานและความถูกต้องของฮะดีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า เมาลา สามารถกล่าวได้ทันทีทั้งในฮะดีซนี้และฮะดีซอื่น ๆ ว่าไม่ได้มีความหมายมากกว่า ๑ ความหมายกล่าวคือ ความประเสริฐ หรือความดีกว่า อีกนัยหนึ่งคือ ผู้นำหรือผู้ปกครอง นั่้นเอง อัล-กุรอานหลายโองการกล่าวถึงคำว่า เมาลา ในความหมายของ ผู้ปกครอง เช่น
อัล-กุรอาน ๑๘ โองการกล่าวถึงคำว่า เมาลา ซึ่ง ๑๐ โองการใช้ในความหมายของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยว่า เมาลา ณ ที่นั้นหมายถึงผู้ปกครองหรือผู้นำ และมีเพียงที่เดียวที่หมายถึง มิตรหรือเพื่อน
ด้วยเหตุนี้ คำว่า เมาลา จึงให้ความหมายแรกเสมอ ซึ่งหมายถึงประเสริฐกว่าหรือผู้ปกครองนั่นเอง ในฮะดีซเฆาะดีรเช่นกัน เมาลา หมายถึงผู้ปกครอง เนื่องจากพิจารณาสภาพแวดล้อมแล้วไม่อาจให้ความหมายอย่างอื่นได้ ซึ่งในสภาพเช่นนั้นไม่มีความจำเป็นอันใดที่ท่านศาสดาต้องประกาศให้คนอื่นทราบว่า อะลีคือมิตรของท่าน และนอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว ยังมีโองการอัล-กุรอานอีกหลายโองการพิสูจน์ให้เห็นถึงความหมายดังกล่าว
สมมุติว่าคำว่า เมาลา มีหลายความหมาย แต่เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในฮะดีซเฆาะดีรและการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ในวันนั้นย่อมเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า เมาลา
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าในวันชุมนุมที่ยิ่งใหญ่วันนั้น ฮัซซาน บินซาบิต นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถ่ายทอดคำพูดของท่านออกมาเป็นบทกลอน ซึ่งโวหารที่ฮัซซานได้ใช้ในวันนั้นได้แทนที่คำว่า เมาลา ด้วยคำว่า อิมาม หรืฮาดียฺ
فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً
ท่านได้กล่าวกับอะลีว่า ลุกขึ้นเถิดโอ้อะลี ฉันได้เลือกเจ้าให็เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน
เป็นที่ประจักษ์ว่า ฮัซซานได้แทนที่คำว่า เมาลา ในคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุดคือ อิมามหรือผู้นำ ในขณะที่ฮัซซานคือผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับและเป็นนักกวีย่ิอมมีการใช้ภาษาได้ดีกว่าคนอื่น
มิใช่ฮัซซานเท่านั้นที่ใช้คำว่า เมาลา ในความหมายของ อิมาม หรือผู้นำเพียงลำพังทว่าหลังจากเขาแล้วมีนักกวีที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ ก็ใช้เช่นเดียวกัน
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนบทกลอนเกี่ยวกับเฆาะดีรส่งให้มุอาวิยะฮฺมีใจความว่า
وَ أَوْجَبَ لِى وِلايَتَهُ عَلَيْكُمْ رَسُولُ اللّهِ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มอบวิลายะฮฺของท่านแก่ฉันให้เป็นวาญิบสำหรับเจ้าในวันเฆาะดีรคุม[๑๗]
ในอิสลามนอกจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยังจะมีใครมีความรู้สูงกว่าอิมามอะลี (อ.) และยังจะมีผู้ใดสามารถอธิบายฮะดีซของท่านศาสดาได้ดีไปกว่าอิมาม ฉะนั้น จะเห็นว่าในว้นเฆาะดีรคุมท่า่นศาสดา (ซ็อล ฯ) ไ้ด้ใ้ห้ความหมายคำว่า วิลายะฮฺ ไว้อย่างชัดเจนว่าหมายถึงผู้นำหรืออิมาม ซึ่งเป็นที่รับทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่คนเดียว
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก่อนที่จะกล่าวประโยคว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย ท่านได้กล่าวถามว่า
اَلَسْتُ أَولى بِكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ؟
ฉันไม่ได้ดีไปกว่าพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ
ในประโยคดังกล่าวท่านศาสดา (ซ็อิล ฯ) ได้ใช้คำว่า เอาลา..มินอังฟุซิกุม หมายถึงต้องการยืนยันและให้ประชาชาชนทั้งหมดสารภาพว่า ท่านนั้นดีกว่าคนอื่นทั้งตัวตนและชีวิตของพวกเขา หลังจากนั้นท่านจึงกล่าวว่า
مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَهذا عَلِىٌّ مَولاهُ
ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขาอะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย
จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในการกล่าวประโยคทั้งสองมาพร้อมกันคืออะไร ท่านต้องการบอกว่าตำแหน่งของท่านที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแต่งตั้ง และอัล-กุรอานกล่าวรับรองไว้เป็นของอะลีด้วยใช่หรือไม่ ซึ่งทั้งสองแตกต่างกันตรงที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ ส่วนอะลี (อ.) เป้นอิมาม
สรุปความหมายของฮะดีซท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการบอกว่า บุคคลใดก็ตามที่ฉันดีกว่าเขาอะลีก็ดีกว่าเขาด้วย[๑๘] ถ้าจุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ใช่เช่นนี้ หรือท่านศาสดามีจุดประสค์อย่างอื่นไม่จำเป็นที่ท่านต้องกล่าวถามก่อนว่า ฉันไม่ได้ดีไปกว่าพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ ซึ่งถ้าเป็นดั่งที่มุสลิมทั้งหลายเข้าใจเราต้องถามตัวเองว่า เราคิดอย่างไรกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ความคิดของเรามิได้เป็นการดูถูกและมองข้ามเจตนารมณ์อันดีงามของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดอกหรือ
สมมุติว่าคำว่า เมาลา ในที่นี้หมายถึงมิตร หรือเพื่อนตามที่ส่วนใหญ่เข้าใจกัน ฮะดีซ ก็จะมีความหมายว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเพื่อนกับเขา อะลีก็เป็นเพื่อนกับเขาด้วย ในมุมกลับใครก็ตามที่ไม่ได้เป็นเพื่อนกับอะลีก็เท่ากับว่าไม่ได้เป็นเพื่อนกับฉัน ขณะที่ท่านศาสดาคือ ศาสดาแห่งพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้อยู่ในฐานเพื่อนหรือมิตรของใคร ดังนั้น คำว่าเมาลาจึงไม่อาจตีความหมายเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากผู้ปกครอง
เมื่อเริ่มต้นเทศนาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ให้ประชาชนกล่าวยืนยันถึงหลักความเชื่อหลัก ๓ ประการของอิสลาม ซึ่งทุกคนได้กล่าวสารภาพเป็นเสียงเดียวกันว่า
أَلَسْتُمْ تَشْهَدُونَ أنْ لا إِلهَ إلاّ اللّهُ وَ أنَّ مُحَمَّداً عَبْدُهُ و رَسُولُهُ وَ أَنَّ الجنَّةَ حَقٌّ وَ النَّارَ حَقُّ؟
พวกท่านยืนยันไหมว่า พระไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสดาของพระองค์ วันแห่งการฟื้นคืนชีพเพื่อการสอบสวนสวรรค์และนรกนั้นมีจริง
จุดประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ให้ประชาชนกล่าวยืนยันและสารภาพความจริงออกมาคืออะไร ท่านมิต้องการให้ประชาชนเตรียมพร้อมเพื่อรอฟังข่าวสำคัญดอกหรือ หรือว่าเป็นการเตือนสำทับธรรมดาเพื่อเกรงว่าประชาชนจะลืม ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจำเป็นด้วยหรือที่ท่านต้องให้ประชาชนสารภาพกลางแดดที่ร้อนระอุเช่นนั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ประชาชนก็ประกาศยอมรับมาแล้ว หรือว่าท่านเตรียมพร้อมประชาชนเพื่อพิสูจน์ตำแหน่งและฐานันดรของอะลี (อ.) เพื่อว่าประชาชนจะได้เข้าใจอย่างดีว่าฐานันดรที่จะกล่าวต่อไปนี้ อยู่ในฐานะเดียวกันกับหลักความเชื่อ ๓ ประการแรกตามที่กล่าวมาข้างต้น อันเป็นหลักความเชื่อสำคัญของศาสนา อีกนัยหนึ่งการประกาศยอมรับวิลายะฮฺของอะลี (อ.) ก็คือการประกาศยอมรับหลักความเชื่อสามประการสำคัญของอิสลาม ซึ่งทั้งหมดได้กล่าวยืนยัน
แต่คำว่า เมาลา หมายถึงเพื่อนหรือผู้ช่วยเหลือความสัมพันธ์ของประโยคเหล่านี้ในทางภาษาอาหรับจะสูญเสียทั้งหมด ลีลาและโวหารของภาษาอาหรับก็จะเสียไปด้วย ซึ่งสิ่งนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของท่านศาสดาอย่างแน่นอน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในตอนเริ่มต้นคำเทศนาท่านได้กล่าวถึงความตายที่กำลังจะมาถึงโดยกล่าวว่า
إنّي أَوْشَكُ أَنْ اُدْعى فَاُجِيبَ
ใกล้จะถึงเวลาที่ฉันได้ตอบรับคำเชิญของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว[๑๙]
ประโยคดังกล่าวหมายถึงว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการบอกว่าหลังจากฉันได้จากไปแล้ว พวกท่านทั้งหลายจะได้ไม่เดือดร้อน และความตายของฉันจะต้องไม่สร้างช่องว่างให้เกิดขึ้นในหมู่พวกเจ้า สิ่งใดหรือที่สามารถเติมช่องว่างของท่านศาสดาให้เต็มได้ แน่นอนจะไม่มีสิ่งใดมีความสำคัญเกินเลยไปกว่าการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่าน
เมื่อใดก็ตามที่ตีความหมายของคำว่า วิลายะฮฺ เป็นอย่างอื่นที่นอกเหนือจากคิลาฟะฮฺ จะทำให้คำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สับสนและวกวนขณะที่ท่านศาสดาเป็นผู้ที่มีลีลาและโวหารในการใช้ภาษาได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้น เมาลา ที่ฮะดีซกกล่าวถึงไม่มีความหมายใดที่จะชัดเจนเกินไปกว่าเรื่องวิลายะฮฺแน่นอน
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวหลังจากกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า
اَللّهُ أَكْبَرُ عَلى إكْمالِ الدِّينِ وَ إتْمامِ النِّعْمَةِ وَ رِضَى الرَّبِّ بِرِسالَتِى وَ الْوِلايَةِ لِعَلىٍّ مِنْ بَعْدِى
อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร แทัจริงพระองค์ได้ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเราอย่างครบถ้วน และทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน[๒๐]
ถ้าสมมุติว่าจุดประสงค์ของเมาลาหมายถึง มิตร หรือผู้ช่วยเหลือ จาำกบรรดามุสลิมทั้งหลาย เป็นไปไ้ด้อย่างไรแค่การตอบรับความเป็นเพื่อนและช่วยเหลืออะลี (อ.) ทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์และความโปรดปรานของพระองค์ครบครัน สิ่งนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงความประเสริฐสมบูรณ์ของอิมามอะลีดอกหรือ
อีกนัยหนึ่งถ้าจะกล่าวให้ชัดเจน การที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺทรงพีงพอพระทัยกับนบูวัตของฉัน และวิลายะฮฺของอะลีภายหลังจากฉัน ทั้งหมดเหล่านี้ไม่ได้ยืนยันถึงวิลายะฮฺของอะลีดอกหรือ
ยังจะมีหลักฐานใดกระจ่างชัดไปกว่าการที่ ๒ บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เฉกเช่น อบูบักรฺ และอุมัร พร้อมกับสหายจำนวนมากมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หลังจากที่ท่่านได้ลงมาจากมิมบัรประชาชนได้แห่กันเข้าไปแสดงความยินดีและให้บัยอัตกับท่านอิมามอะลี (อ.) พิธีกล่าวแสดงความยินดีได้เนินนามมาจนถึงมัฆริบ ซึ่งในพิธีดังกล่าว ๒ คนแรกที่เข้ามากล่าวแสดงความยินดีกับท่านอิมามอะลี (อ.) คือ อบูบักรฺและอุมัร
هَنيئاً لَكَ يا عَلِىَّ بْنِ أبِي طالِب أَصْبَحْتَ و أَمْسَيْتَ مَوْلاىَ وَ مَوْلى كُلِّ مُؤْمِن وَ مُؤْمِنَة
ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง
ในวันนั้นอิมามอะลี (อ.) ได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติใดหรือ ประชาชนจึงแห่เข้าไปแสดงความยินดีกับท่าน แน่นอนตำแหน่งนั้นต้องเป็นอิมามและเคาะลิฟะฮฺของมุสลิม ซึ่งจนถึงวันนั้นยังมิได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ และมีความเหมาะสมต่อการกล่าวแสดงความยินดี ความรักและมิตรมิใช่สิ่งใหม่สำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอิมามอะลี (อ.)
ถ้าหากจุดประสงค์หมายถึงมิตรหรือความรักที่มีต่อท่านอิมามอะลี (อ.) ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องไปประกาศกลางแดดที่ร้อนระอุเช่นนั้น (กองคาราวานจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ คนถูกสั่งให้หยุดท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุเพื่อรอฟังคำเทศนาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ต้องการประกาศว่าท่านกับอิมามอะลี (อ.) เป็นมิตรและเป็นพี่น้องกัน
อัล-กุรอานไม่ได้บอกหรือว่าประชาชนที่มีอีมานเป็นพี่น้องกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน[๒๑]
อัล-กุรอานโองการอื่นไม่ได้กล่าวแนะนำให้ผู้ศรัทธารักกันและแสดงความเป็นมิตรต่อกันดอกหรือ ขณะที่อิมามอะลี (อ.) เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมทีมีความศรัทธาไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่ต้องประกาศเช่นนั้น แต่สมมุติว่ามีความจำเป็นต้องประกาศความเป็นมิตรหรือเพื่อนที่ดีต่อกัน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวบทนำและสร้างความยากลำบากถึงขั้นนั้น ซึ่งในมะดีนะฮฺก็สามารถประกาศได้ ดังนั้น ไม่มีสิ่งใดมีความสำคัญและต้องการบทนำที่ยุ่งยากเช่นนั้น ซึ่งเป็นบทนำที่ไม่เคยมีมาก่อนในชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ถ้ามีผู้สงสัยวัตถุประสงค์ของท่านศาสดา (เคาะลิฟะฮฺและอิมามมุสลิมีน) ไม่เป็นที่ประหลาดแต่อย่างใด พวกเขาคลางแคลงใจ พวกเขาไม่ใช้สติปัญญาเป็นข้อพิสูจน์ ในวันกิยามะฮฺจะตอบคำถามพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร
เมื่อใดก็ตามที่มุสลิมหลุดพ้นจากความอคติ การตัดสินความก่อนศึกษาข้อมูล การไม่ฟังความข้างเดียว และหันมาศึกษาข้อมูลฝ่ายตรงข้ามเปรียบเทียบเหตุผล และใช้สติปัญญาใคร่ครวญดูซิว่าเหตุผลของฝ่ายใดมีความหนักแน่นมากกว่ากัน เมื่อนั้นจึงจะพบกับความจริงและความถูกต้อง
คนทั่วไปเมื่อกล่าวกับเพื่อนสนิท หรือกล่าวกับผู้ที่มีความรู้มากกว่าตนมักเรียกว่า เมาลานา หมายถึงเพื่อน ซึ่งจะแปลกอะไรถ้าเมาลาที่เราะซูลกล่าวในวันนั้นจะหมายถึงเพื่อนหรือมิตร
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าความรักหรือมิตรภาพในอิสลามถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ประโยคที่ท่่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวในวันนั้นใช้คำว่าเมาลาเช่นกัน (من كنت مولاه فهذا على مولاه) ซึ่งต่างไปจากคนอื่นกล่าวเนื่องจากเมื่อพิจารณาดูเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม การกล่าวแสดงความยินดีพร้อมกับการให้สัตยาบันกับท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วไม่อาจตีความหมายเป็นอย่างอื่นได้เด็ดขาดนอกจากผู้นำหรือเคาะลิฟะฮฺเท่านั้น ซึ่งชีอะฮฺนั้นเชื่ออย่างไม่สงสัยโดยหลักการและเหตุผลว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากไปแล้ว เมาลา ในความหมายของผู้นำได้รับการยอมรับจากเซาะฮาบะฮฺส่วนใหญ่ของ่ท่านศาสดา อย่างไรก็ตามการที่ท่านศาสดาเลือกใช้คำว่า เมาลา ท่านต้องการส่งรหัสพิเศษแก่ประชาชาติ ซึ่งเป็นการเลือกใช้คำที่ฉลาดที่สุด แน่นอนท่านสามารถเลือกใช้คำอื่นแทนคำว่า เมาลา ก็ได้เช่น อมีร กออิด ซุลฏอล หรือคำอื่น ซึ่งคำทั้งหมดหมายถึงผู้นำ แต่คำว่า เมาลา นอกจากจะหมายถึงผู้ปกครอง หรือผู้นำแล้ว ยังครอบคลุมความรักและความเป็นมิตรซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของรัฐบาลอิสลามอีก
๑. สัจธรรมอยู่กับใดร
อุมมุซัลมะฮฺ และอาอิชะฮฺ ทั้งสองคือภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เราได้ยินท่านศาสดากล่าวว่า
على مع الحق و الحق مع على لن يفترقا حتى يردا علىّ الحوض
อะลีอยู่กับสัจธรรม และสัจธรรมอยู่กับอะลีทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนกว่าทั้งสองจะย้อนคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำแห่งสวรรค์
ฮะดีซดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในตำราของอะฮฺลิซซุนนะฮฺจำนวนมากมาย ซึ่งท่านอัลลามะฮฺอามินียฺได้บันทึกชื่อหนังสือเหล่านั้ไว้ใน เฆาะดีร เล่ม ๓[๒๒]
ฟัรรุรรอซียฺ นักตัฟซ๊รที่มีชื่อเสียงของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ตอนอธิบายซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ พูดว่า ส่วนอะลี บุตรอบีฏอลิบ อ่านบิซมิลลาฮฺเสียงดัง ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและถึงขั้นของตะวาติร (เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้) และบุคคลก็ตามยึดมั่นศาสนาตามอะลี จะได้รับทางนำทุกคน เหตุผลเนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงอะลีว่่า
اللّهم ادر الحق مع على حيث دار
โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้สัจธรรมวนเวียนอยู่กับอะลีไม่ว่าเขาจะเวียนสัจธรรมอย่างไรก็ตาม[๒๓]
๒. สัญญาแห่งความเป็นพี่น้อง
เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้รายงานฮะดีซบทนี้จากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
آخى رسول اللّه (صلى الله عليه وآله) بين اصحابه فاخى بين ابى بكر و عمر، و فلان و فلان، فجاء على (رضى اللّه عنه) فقال : آخيتَ بين اصحابك و لم تواخ بينى و بين احد؟! فقال : رسول اللّه (صلى الله عليه وآله) انت اخى فى الدّنيا و الآخرة
ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ัสัญญาความเป็นพี่น้องในหมู่เซาะฮาบะฮฺ เช่น ระหว่างอบูบักรฺกับอุมัร คนนั้นกับคนโน้น (แต่ละคนมีความเหมาะสมกัน) ขณะนั้น อะลี ได้เดินเข้ามาท่านศาสดาแล้วกล่าวว่า ท่านได้จับคู่ให้เซาะฮาบะฮฺแต่ละคนเป็นพี่น้องกัน ส่วนฉันท่านไม่จับให้คู่กับเซาะฮาบะฮฺคนใดเลย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า เจ้าเป็นพี่น้องกับฉันทั้งโลกนี้และโลกหน้า[๒๔]
การสัญญาความเป็นพี่น้องระหว่างท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอิมามอะลี (อ.) มิใช่เหตุผลที่บ่งบอกว่าอะลี (อ.) มีความประเสริฐและดีกว่าเซาะฮาบะฮฺคนอื่นอีกหรือ เมื่ออะลี (อ.) ดีกว่าคนอื่นในสังคม คนในสังคมกล้าที่จะไปหาคนอื่นอีกหรือ
๓. หนทางแห่งการช่วยเหลือเดียว
อบูซัร ขณะเดินเวียนรอบกะอฺบะฮฺอยู่นั้นได้กล่าวว่า
من عرفنى (فقد عرفنى) و من لميعرفنى فانا ابوذر، سمعت النّبى (صلى الله عليه وآله) يقول: مثل اهل بيتى فيكم مثل سفينة نوح، من ركبها نجى و من تخلف عنها غرق
ใครก็ตามที่รู้จักฉัน (ซึ่งก็รู้จักอยู่แล้ว) และใครที่ไม่รู้จักฉันแท้จริงฉันคือ อบูซัร ฉันได้ยินท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าว่่ว่า อุปมาอะฮฺลุบัยตฺของฉันในหมู่พวกเจ้าเสมือนเรือของศาสดานูฮฺ ใครก็ตามที่ขึ้นเรือจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนผู้ที่ไม่ขึ้นเรือจะจมน้ำตาย
แหล่งอ้างอิงฮะดีซบทนี้มีมากมาย เช่น มุซตัดร็อก ฮากิม เล่ม ๒ หน้า ๑๕๐, พิมพ์ที่ฮัยดัร อาบาด และตำราเล่มอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงของอะฮฺซุนนะฮฺอีกอย่างน้อย ๓๐ เล่ม ซึ่งบางส่วนได้อ้างอิงแล้วในบทความนี้
ในวันนั้นพายุได้โหมกระหน่ำจนกระทั้งน้ำได้ท่วมโลก และไม่มีพาหนะใดสามารถช่วยให้รอดชีวิตได้นอกจากเรือของศาสดานูฮฺ แม้กระทั่งยอดเขาที่สูงที่สุดก็ไม่สามารถช่วยชีวิตของบรรดาบุตรของท่านศาสดาได้ทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ
ฉะนั้น ตามที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่า ไม่มีหนทางใดสามารถช่วยเหลือประชาชาติของฉันให้รอดพ้นจากความหลงทางและความหายนะได้ นอกเสียจากต้องยึดมั่นต่อ อะฮฺลุลบัยตฺของฉันเท่านั้น ท่านคิดอย่างไรกับคำกล่าวของท่านศาสดา ซึ่งจากฮะดีซทำนองนี้แล้วยังมีฮะดีซอีกมากมายที่กล่าวถึง อะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยังไม่จำเป็นสำหรับเราอีกหรือที่จะคิดก่อนที่จะตัดสินใจกล่าวหาว่าพวกชีอะฮฺว่าเป็นกาฟิร หรือตกศาสนา
แน่นอนว่ามีชีอะฮฺบางกลุ่มกล่าวหาบรรดาเซาะฮาบะฮฺในทางที่ไม่ดี แต่นั่นเป็นความผิดพลาดส่วนตัวไม่ถึงขั้นเป็นกาฟิรหรือตกศาสนา แตกต่างไปจากบุคคลที่ได้เข่นฆ่าลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่กลับได้รับการยกย่องเทิดทูนว่าเป็น อมีรุลมุอฺมินนีน ของมุสลิมีนทั้งหลาย เฉกเช่น มุอาวิยะฮฺ หรือยะซีดที่สังหารอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวถึงอิมามทั้งสองว่า ฮะ็ซันและฮุซัยนฺคือหัวชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์ , ฮะซันและฮุซัยนฺเป็นอิมามทั้งในยามนั่งและยามยืน ตลอดจนความผิดพลาดของบุคคลอื่นที่ก่อขึ้นบนหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ฉะนั้น สิ่งเ้ดียวที่สามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้คือการศึกษาข้อมูลทุกด้านด้วยจิตใจที่เป็นธรรมใฝ่หาความจริง แต่ถ้ายังไม่สามารถทำได้เราก็ยังคงเป็นกบที่อยู่ให้กะลาครอบต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
เชิงอรรถ (หลักฐานอ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงที่มีชื่อของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ)
[๑]รอบิฆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างทางมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ
[๒]ญุฮฺฟะฮฺ หนึ่งในสถานที่ครองอิฮฺรอมสำหรับผู้เดินทางมาบำเพ็ญฮัจญฺจาก อียิปต์ และอิรัก
[๓]มาอิดะฮฺ ๖๗
[๔] ฮะดีซเฆาะดีรท่อนนี้บางที่กล่าวเฉพาะส่วนแรกไม่ได้กล่าวส่วนที่สอง และบางที่กล่าวส่วนที่สองโดยไม่ได้กล่าวส่วนแรก ซึ่งสามารถค้นได้จากแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้
มุซนัดอะฮฺมัดฮันบัล เล่ม ๑ หน้า ๒๕๔, ตารีคดะมิชกฺ เล่ม ๔๒ หน้า ๒๐๗, ๒๐๘, ๔๔๘, เคาะซออิซ นะซาอียฺ หน้า ๑๘๑, อัลมุอฺญะมุลกะบีร เล่ม ๑๗ หน้า ๓๙, สุนันติรมิซียฺ เล่ม ๕ หน้า ๖๓๓, อัล มุซตัดร็อก อะลัลเซาะฮียฺ เล่ม ๑๓ หน้า ๑๓๕, อัลมุอฺญะมุลเอาซัฏ เล่ม ๖ หน้า ๙๕, มุซนัดอบียุอฺลา เล่ม ๑ หน้า ๒๘๐, อัล มะฮาซินวัลมะซาวียฺ หน้า ๔๑, มะนากิบ คอรัซมียฺ หน้า ๑๐๔, และหนังสืออื่นอีกมากมาย
[๕]วะฟียาต อัลอะอฺยาน เล่ม ๑ หน้า ๖๐
[๖]อ้างแล้วเล่ม ๒ หน้า ๒๒๓
[๗]ตัรญุมะตุลอาซารุลบากียะฮฺ หน้า ๓๙๕, อัล เฆาะดีร เล่ม ๑ หน้า ๒๖๗
[๘]ซะมารุลกุลูบ หน้า ๕๑๑
[๙]การกล่าวแสดงความยินดีกับท่านอะลี (อ) ของอุมัร บิน ค็อฎฎอบ ได้บันทึกไว้ในตำราต่าง ๆ มากมายของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เช่น มุซนัดอะฮฺมัด บิน ฮัมบัล เล่ม ๖ หน้า ๔๐๑, อัลบิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ เล่ม ๕ หน้า ๒๐๙, อัลฟุซูลุลมุฮิมมะฮฺ อิบนิ ซิบาฆฺ หน้า ๔๐, ฟะรออิด อัซซิมฏัยนฺ เล่ม ๑ หน้า ๗๑, พิธีกล่าวแสดงความดีกับท่านอะลี (อ.) ของอบูบักรฺ อุมัร อุซมาน ฏ็อลฮะฮฺ ซุบัยรฺ และคนอื่น ๆ ได้บันทึกไว้ในตำราต่าง ๆ มากมาย เช่น อัลมะนากิบ อะลี บิน อบีฏอลิบ เขียนโดย อะฮฺมัด บิน มุฮัมมัด ฏ็อบรียฺ, อัลเฆาะดีร เล่ม ๑ หน้า ๒๗๐
[๑๐]หลักฐานสำหรับการอ้างอิงที่สำคัญนี้จะนำเสนอในที่เดียวกัน
[๑๑]สายรายงานทั้งหมดบันทึกไว้ในเฆาะดีร เล่มที่ ๑ ซึ่งส่วนมากรายงานมาจากแหล่งอ้างอิงของอะฮิลิซซุนนะฮฺ
[๑๒]มาอิดะฮฺ ๓
[๑๓]บทกลอนของฮัซซาน ได้บันทึกไว้ในตำราต่าง ๆ มากมาย เช่น มะนากิบ คอรัซมียฺ หน้า ๑๓๕, มักตัลฮุซัยนฺ คอรัซมียฺ เล่ม ๑ หน้า ๔๗, ฟะรออิด อัซซิมฏัยนฺ เล่ม ๑ หน้า ๗๓-๗๔, อันนูรรุลอัชอัล หน้า ๕๖, อัลมะนากิบ เกาซัร เล่ม ๑ หน้า ๑๑๘-๓๖๒
[๑๔]คำพูดที่ท่านอิมามอะลีได้กล่าว บันทึกอยู่ในหนังสือ มะนากิบ อัคฏ็อบ คอรัซมียฺ ฮะนะฟียฺ หน้า ๒๑๗, ฟะรออิด อัซซิมฏัยนฺ ฮะมูวีนียฺ บาบ ๕๘, อัดดุรุลนะซีม อิบนุ ฮาตัม ชามียฺ, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ อิบนุ ฮะญัร อัซเกาะลานียฺ หน้า ๗๕, อะมาลียฺ อิบนุ อุกดะฮฺ หน้า ๗-๒๑๒, ชัรฮฺนะฮฺบุลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุอบิล ฮะดีด เล่ม ๒ หน้า ๖๑, อัลอิซตีอาบ อิบนุ อับดุลบิร เล่ม ๓ หน้า ๓๕, ตัฟซีรฏ็อบรียฺ เล่ม ๓ หน้า ๔๑๘ ตอนอธิบายโองการ ๕๕ ซูเราะฮฺมาอิดะฮฺ
[๑๕]ฟะรออิด อัซซิมฏัยนฺ บาบ ๕๘, ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุอบิลฮะดีด เล่ม ๑ หน้า ๓๖๒, อะซะดุลฆอบะฮฺ เล่ม ๓ หน้า ๓๐๗, เล่ม ๕ หน้า ๒๐๕,อัลอะซอบะฮฺ อิบนุ ฮะญัร อัซเกาะลานยฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๐๘, เล่ม ๔ หน้า ๘๐,มุซนัดอะฮฺมัด เล่ม ๑ หน้า ๘๔,๘๘, อัลบิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ อิบนุกะซีรชามียฺ เล่ม ๕ หน้า ๒๑๐ เล่ม ๗ หน้า ๓๔๘, มัจมะอุซซะวาอิด ฮัยซัมมียฺ เล่ม ๙ หน้า ๑๐๖, ซะคออิรุลอุกบาอฺ หน้า ๖๗, เฆาะดีร เล่ม ๑ หน้า ๑๖๓-๑๖๔
[๑๖]อัซนัลมะฏอลิบ ชัมซุดดีน ชาฟิอียฺ ตามรายงานที่คัดลอกมาจาก ซะคอวียฺ ฟิดเดาอิลลามิอฺ เล่ม ๙ หน้า ๒๕๖,อัล บัดรุฏฏอลิอฺ เชากานียฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๙๗, ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุ อบิลฮะดีด เล่ม ๒ หน้า ๒๗๓, มะกิบ อัลลามะฮฺ ฮะนะฟียฺ หน้า ๑๓๐, บะลาเฆาะตินนิซาอฺ หน้า ๗๒, อัล อักดุลฟะรีด เล่ม ๑ หน้า ๑๖๒, ซุบฮุลอะฮฺชียฺ เล่ม ๑ หน้า ๒๕๙, มุรูญุลซะฮับ อิบนุ มัซอูด ชาฟิอียฺ เล่ม ๒ หน้า ๔๙, ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ หน้า ๔๘๖.
[๑๗]มัรฮูมอัลลามะฮฺอามีนียฺ ได้กล่าวไว้ใน อัล เฆาะดี เล่มที่ ๒ หน้า ๒๕-๓๐ ซึ่งมีนักปราชญฺ์ฝ่ายชีอะฮฺ ๑๑ คน และนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺ ๒๖ คนรายงานไว้
[๑๘]ประโยคที่กล่าวว่า ฉันไม่ได้ดีไปกว่าพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ .ท่านอัลลามะฮฺอาามีนียฺ ได้รายงานมาจากนักประวัติศาสตร์ถึง ๖๔ ท่าน เฆาะดีร เล่มที่ ๑ หน้า๓๗๑
[๑๙]เฆาะดีร เล่ม ๑ หน้า ๒๖,๒๗,๓๐,๓๒,๓๓๓,๓๔,๓๖,๔๗,๑๗๖ ซึ่งประเด็นนี้ได้คัดลอกมาจากแหล่งอ้างอิงของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เช่น เซาะฮียฺติรมิซียฺ เล่ม ๒ หน้า ๒๙๘,อัลฟุซูลุลมุฮิมมะฮฺ อิบนุ ซิบาฆ หน้า ๒๕, อัลมะนากิบ อัซซุลาซะฮฺ ฮาฟิซ อบิล ฟุตูฮฺ หน้า ๑๙, อัลบิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ อิบนุกะซีร เล่ม ๕ หน้า ๒๐๙, เล่ม ๗ หน้า ๓๔๘, อัซเซาะวาอิกุลมุฮฺริเกาะฮฺ หน้า ๒๕, มัจมุอุซซะวาอิด ฮัยตัมมียฺ เล่ม ๙ หน้า ๑๖๕ และหนังสืออื่น ๆ อีกมากมาย
[๒๐]อัลเฆาะดีร อัลลามะฮฺอามีนียฺ เล่ม ๑ หน้า ๔๓,๑๖๕,๒๓๑,๒๓๒,๒๓๓,๒๓๕,อัลวิลายะฮฺ อิบนุ ญะรีร ฏ็อบรียฺ หน้า ๓๑๐, ตัฟซีร อิบนุกะซีร เล่ม ๒ หน้า ๑๔, ตัฟซีร อัดดุรุลมันซูร เล่ม ๒ หน้า ๒๕๙, อัลอิตติกอน เล่ม ๑ หน้า ๓๑, มา นะซะละ มินัลกุรอาน ฟี อะลี อบูอะลีเอซฟาฮานียฺ, ตารีคเคาะฏีบ บัคดาดียฺ เล่ม ๔ หน้า ๒๙๐,มะนากิบ คอรัซมียฺ หน้า ๘๐, อัลเคาะซออิซุลอัลละวียะฮฺ อบุลฟัตฮฺ หน้า ๔๓,ตัซกิเราะฮฺ ซิบฏุ บิน เญาซียฺ หน้า ๑๘, ฟะรออิดุซซิมฏัยนฺ บาบที่ ๑๒
[๒๑]ฮุจญาต ๑๐
[๒๒]อะดีซดังกล่าว มุฮัมมัด บิน อบีบักร อบูซัร อบูซะอีด คุดรียฺ และกลุ่มอื่นซึ่งได้รายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เฆาะดีร เล่ม ๓
[๒๓]ตัฟซีรกะบีร เล่ม ๑ หน้า ๒๐๕
[๒๔]อัลลามะฮฺอามีนียฺ ได้กล่าวไว้อีก ๕๐ ฮะีดีซพร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง เล่ม ๓ เฆาะดีร