บทที่ ๔ ลักษณะการออกเสียงของอักษรต่าง ๆ

ซิฟาตเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับผู้อ่านที่ต้องรู้จัก และออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง ซึ่งตรงนี้จะกล่าวเฉพาะซิฟาตที่มีความจำเป็นเท่านั้น

๑.ลักษณะแรกคือการอ่านที่มีการพ่นลมกับไม่พ่นลมออกมา

ต้องมีการพ่นลม หมายถึงอักษรบางตัวเวลาอ่านต้องพ่นลมปนกับเสียงออกมาไม่ว่าอักษรนั้นจะถูกสะกดหรือมีสระก็ตาม ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนี้ถือว่าการอ่านอักษรตัวนั้นไม่ถูกต้อง อักษรดังกล่าว ๑๐ ตัวได้แก่

ف ح ث ه ش خ ص س ك ت

ไม่ต้องพ่นลม หมายถึงการกักลม หรือการอั้นลมมิให้ไหลออกมาเวลาอ่าน คือให้เสียงของอักษรนั้นไหลออกมาอย่างเดียวโดยไม่ต้องมีลมผสมมีทั้งสิ้น ๑๙ ตัว ได้แก่

ع ط م و ز ن ق ا ر ء ذ ي غ ض ج د ط ل ب

๒. เป็นการอ่านออกเสียงแบบหนักแน่น ปานกลาง และไม่หนักแน่น

- การอ่านออกเสียงหนักแน่น (شدت ) หมายถึงอักษรที่ต้องกันลม หรืออั้นลมไม่ให้เสียงไหลออกมา ซึ่งสังเกตได้เมื่ออักษรนั้นถูกสะกดด้วยตัชดีด มีทั้งสิ้น ๘ อักษรคือ

ء ج د ق ط ب ك ت ( إِنَّهَا عَلَيهِمْ مُّؤْصَدَةٌ فِيْ عَمَدٍ مُّمَدَّدَةٍ )

- การอ่านออกเสียงไม่หนักแน่น หมายถึงอักษรที่มีเสียงไหลออกมาเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ อักษรได้แก่

( خ ذ غ ث ح ظ ف ض ش و ص ز ي س ا ه )

เช่น

وَالشَّمْسِ وَ ضُحَهَا وَالَّيْلِ إِذَا يَغْشَهَا فَكَذّّبُوْهُ فَعَقَرُوْهَا

- การอ่านออกเสียงปานกลาง คือระหว่างเสียงแน่นกับไม่แน่น หมายถึงการอ่านระหว่างอั้นลมกับให้มีเสียงไหลออกมา มีทั้งสิ้น ๕ อักษร ได้แก่ ( ل ن ع م ر) ตัวอย่าง

قُلْ يَا أَيُّهَا الْكَافِرُونَلَا أَعْبُدُ مَا تَعْبُدُونَوَلَا أَنتُمْ عَابِدُونَ مَا أَعْبُدُوَلَا أَنَا عَابِدٌ مَّا عَبَدتُّمْوَلَا أَنتُمْ عَابِدُونَ مَا أَعْبُدُلَكُمْ دِينُكُمْ وَلِيَ دِينِ

หมายเหตุ สามารถรู้จักอักษรเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น โดยการทำให้อักษรเหล่านี้เป็นเสียงตาย และนำเอาอลีฟไว้ข้างหน้าเช่น

( أَلْ أَجْ أَحْ أخْ أَضْ )

๓. ยกโคนลิ้นให้สูงและต่ำ

- การอ่านโดยยกโคนลิ้นให้สูง หมายถึงกลุ่มอักษรเมื่อเวลาอ่านต้องแผลงจากระบบเดิม โดยการยกโคนลิ้นให้สูงขึ้นขณะที่อ่าน เสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงหนามีทั้งสิ้น ๗ อักษรได้แก่

خ ص ض غ ط ق ظ ดังนั้นเวลาอ่านอักษรเหล่านี้ต้องอ่านแผลงเช่น เคาะ ถ้าไม่อ่านแผลงจะออกเสียงเป็น ค่า ถือว่าผิด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

خَلَقَ الْإِنسَانَ مِنْ عَلَقٍ فَإِذَا فَرَغْتَ فَانصَبْ وَإِلَى رَبِّكَ فَارْغَبْ

وَلَا يَحُضُّ عَلَى طَعَامِ الْمِسْكِينِ الَّذِينَ هُمْ عَن صَلَاتِهِمْ سَاهُونَ

- อ่านโดยยกโคนลิ้นให้ต่ำลง หมายถึงการอ่านโดยหย่อนโคนลิ้นให้ต่ำจากเพดานบนลงมาสู่ปาก มีทั้งสิ้น ๒๒ อักษรได้แก่

ث ا ب ت ج خ د ذ ر ز س ش ع ف ك ل م ن و ه ء ي

ตัวอย่างการอ่าน

وَخَلَقْنَا لَهُم مِّن مِّثْلِهِ مَا يَرْكَبُونَ وَآيَةٌ لَّهُمْ أَنَّا حَمَلْنَا ذُرِّيَّتَهُمْ فِي الْفُلْكِ الْمَشْحُونِ وَإِن نَّشَأْ نُغْرِقْهُمْ فَلَا صَرِيخَ لَهُمْ وَلَا هُمْ يُنقَذُونَ

๔.การอ่านให้ลิ้นแนบสนิทกับเพดานกับอ่านแยก

- การอ่านโดยให้ลิ้นแนบกับเพดาน หมายถึงอักษรที่เวลาอ่านต้องเอาข้างลิ้นไปแนบติดกับเพดานด้านบน เวลาออกเสียงต้องยกโคนลิ้นและข้างลิ้นช่วยในการออกเสียง เพื่อให้เกิดเสียงสูงมีทั้งสิ้น ๔ อักษรได้แก่ ( ص ض ط ظ ) ตัวอย่าง

أَلَمْ نَشْرَحْ لَكَ صَدْرَكَ وَوَضَعْنَا عَنكَ وِزْرَكَ الَّذِي أَنْقَضَ ظَهْرَكَكَذَّبَتْ ثَمُودُ بِطَغْوَاهَاأَفَلَا يَنظُرُونَ إِلَى الْإِبِلِ كَيْفَ خُلِقَتْ

- การอ่านโดยให้ลิ้นแยกออกจากเพดาน หมายถึงการอ่านออกเสียงที่อยู่ระหว่างลิ้นกับเพดานด้านบน เพื่อให้ลมไหลออกมาระหว่างทั้งสองขณะที่อ่าน อีกนัยหนึ่งหมายถึงอักษรที่เวลาอ่านไม่ต้องยกโคนลิ้น และไม่ต้องเอาลิ้นไปแนบสนิทกับเพดานด้านบน มีทั้งสิ้น ๒๕ อักษรได้แก่ ا ت ب ث ج ح خ د ذ ر ز س ش ع غ ف ق ك ل م ن و ه ء ي

ตัวอย่าง

أَلْهَاكُمُ التَّكَاثُرُ حَتَّى زُرْتُمُ الْمَقَابِرَ كَلَّا سَوْفَ تَعْلَمُونَ ثُمَّ كَلَّا سَوْفَ تَعْلَمُونَ كَلَّا لَوْ تَعْلَمُونَ عِلْمَ الْيَقِينِ لَتَرَوُنَّ الْجَحِيمَ ثُمَّ لَتَرَوُنَّهَا عَيْنَ الْيَقِينِ ثُمَّ لَتُسْأَلُنَّ يَوْمَئِذٍ عَنِ النَّعِيمِ

๕. การอ่านโดยให้เสียงแยกและติดกัน

- การโดยให้เสียงแยกหมายถึง กลุ่มอักษรที่ออกเสียงขาดจากกันโดยไม่มีเยื่อในเสียง มีทั้งสิ้น ๖ อักษรได้แก่

ف ر م ن ل ب

ตัวอย่าง

إِنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَر فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ إِنَّ شَانِئَكَ هُوَ الْأَبْتَرُ

- อ่านโดยให้เสียงติดกันหมายถึง กลุ่มอักษรที่เวลาอ่านต้องออกเสียงให้มีเยื่อใยในการอ่านออกเสียงอักษรนั้น ๆ โดยไม่ให้เสียงขาดจากกันมีทั้งสิ้น ๒๓ อักษร ไดแก่

ا ت ث ج ح خ د ذ ز س ش ص ض ط ظ ع غ ق ك و ه ء ي

ตัวอย่าง

وَالتِّينِ وَالزَّيْتُونِلَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ فِي أَحْسَنِ تَقْوِيمٍ ثُمَّ رَدَدْنَاهُ أَسْفَلَ سَافِلِينَ وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ فَلَهُمْ أَجْرٌ غَيْرُ مَمْنُونٍ فَمَا يُكَذِّبُكَ بَعْدُ بِالدِّينِ أَلَيْسَ اللَّهُ بِأَحْكَمِ الْحَاكِمِينَ

๖. การอ่านโดยให้มีเสียงสะท้อน

การอ่านโดยมีเสียงสะท้อนหมายถึง เสียงที่ถูกอัดแน่นจนกระทั่งเกิดเสียงสะท้อนขึ้นเวลาอ่าน ขณะที่อักษรเหล่านั้นเป็นตัวสะกดมีทั้งสิ้น ๕ อักษรได้แก่ ق ط ب ج د

ข้อสังเกตสำหรับการเกิดเสียงสะท้อนมี ๔ ลักษณะดังนี้

๑.การเกิดเสียงสะท้อนใหญ่หรือเล็ก

- การเกิดเสียงสะท้อนใหญ่หมายถึง เวลาอ่านผู้อ่านต้องการให้อักษรตาย หรือต้องการหยุดหายใจ ลักษณะเช่นนี้เสียงอักษรหนักหรือมากกว่าธรรมดา เช่น

قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ مِن شَرِّ مَا خَلَقَ وَمِن شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ وَمِن شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ

قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ

- การเกิดเสียงสะท้อนน้อยหรือเบา หมายถึงอักษรที่มีซากินอยู่กลางคำหรือท้ายคำ ฉะนั้นเวลาเกิดเสียงสะท้อนจะเบา ตัวอย่าง

لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ

๒. การเกิดเสียงสะท้อนสูง กลาง และต่ำ

- การเกิดเสียงสะท้อนสูงมี ๒ อักษรได้แก่ตัว ق ط เช่น

فَأَمَّا الْيَتِيمَ فَلَا تَقْهَرْ فَأَثَرْنَ بِهِ نَقْعًا فَوَسَطْنَ بِهِ جَمْعًا

- การเกิดเสียงสะท้อนปานกลางมี ๒ อักษรได้แก่ ج د เช่น

أَلَمْ يَجِدْكَ يَتِيمًا فَآوَى جنَّتُ عَدْنٍ تَجْرٍيْ مِنْ تَحْتِهَا الْاَنْهَرَ

- การเกิดเสียงสะท้อนต่ำมี ๑ อักษรได้แก่ ب เช่น

وَالْعَادِيَاتِ ضَبْحًا حَمَّا لَةَ الْحَطَبِ

๓. การเกิดเสียงสะท้อนแบบมีเยื่อใยและไม่มีเยื่อใยเสียง

- เสียงสะท้อนที่ไม่มีเยื่อใยเสียงหรือเสียงขาดจากกันมี ๑ อักษรได้แก่ ب เช่น

وَ لاَ يَبْخهَسْ مِنهُ شَيْئًا سَيَصْلَى نَارًا ذَاتَ لَهَبٍ

- เสียงสะท้อนแบบมีเยื่อใยเสียงหรือเสียงติดกันมี ๔ อักษรได้แก่ ق ط ج د

ج : أَلَمْ نَجْعَلِ الْاَرْضَ مِهَدًا د : وَيُدْخِلُهُمُ الْجَنَّةَ عَرَّفَهَا لَهُم

ق : فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَامًا ط : يَا أَيَّتُهَا النَّفْسُ الْمُطْمَئِنَّةُ

๔. การเกิดเสียงสะท้อนข้างบน หรือตามอักษรนำหน้า

- การเกิดเสียงสะท้อนข้างบนเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสระหน้าคำของอักษรเสียงสะท้อนว่าจะเป็นสระที่อยู่ข้างบนหรือข้างล่าง เช่น

لَمْ يَلِدْ اِقْرَأْ أَحَدٌ لاَأُقْسِمُ

- การเกิดเสียงสะท้อนตามสระนำหน้าอักษรเสียงสะท้อน หมายถึงถ้าสระนำหน้าเป็นฟัตฮะ เสียงสะท้อนจะเป็นฟัตฮะ ถ้าสระเป็นฎอมมะฮฺ หรือกัซซะเราะฮฺ เสียงสะท้อนจะเป็นเสียงสระตัวนั้น เช่น คำอ่านของตัวอย่างข้างบน ลัมยะลิดดิ อิกกิเราะฮฺ อะฮะดะ ลาอุกกุซิมุ

๗.ความละเอียดละออ

ความละเอียดละออหมายถึง การอ่านออกเสียงให้อ่อนหรือนิ่มนวล ไม่ให้กระชากเสียงเวลาอ่านมี ๒ อักษรได้แก่ وْ يْ และให้สังเกตสระนำหน้าอักษรต้องเป็นฟัตฮะฮฺเช่น

إِنَّا أَعْطَيْنَاكَ الْكَوْثَرَ لَسْتَ عَلَيْهِمْ بِمُصُيْطِرٍ

๘.การอ่านซ้ำกันของอักษรบางตัว

การอ่านซ้ำกันหมายถึงเสียงรัวขณะอ่านอักษรนั้นมี ๑ อักษรได้แก่อักษร ر เช่น

أَلَمْ تَرَ كَيْفَ فَعَلَ رَبُّكَ بِأَصْحَابِ الْفِيلِ وَأَرْسَلَ عَلَيْهِمْ طَيْرًا أَبَابِيلَ تَرْمِيهِم بِحِجَارَةٍ مِّن سِجِّيلٍ

๙. การกระจายลม

หมายถึงการกระจายลมในช่องปากตามช่องลิ้นขณะอ่านมี ๑ อักษรได้แก่ ش เช่น

وَإِنَّهُ عَلَى ذَلِكَ لَشَهِيدٌذَلِكَ لِمَنْ خَشِيَ رَبَّهُ لاَ يَصْلَهَآ إِلاَّالْاَ شْقَى

๑๐. เสียงอึด

หมายถึง การอั้นเสียงให้ยาวโดยเริ่มจากโคนลิ้นแนบสนิทกระทั่งถึงสุดของโคนฟันทั้งหมดมี ๑ อักษรได้แก่ ض เช่น

وَالضُّحَى لَدَيْنَا مُحْضَرُوْنَ رَضِيَ اللّه عَنْهُمْ وَ رَضُوْا عَنْه