') //-->
นักวิการชาวคริสเตียนปัจจุบันตามที่กล่าวมาผ่านมาจะเห็นวาพวกเขามีข้อท้วงติง เกี่ยวกับทัศนะของอัล-กุรอานที่กล่าวถึงคัมภีร์อินญีล (ไบเบิล) มากมาย พวกเขากล่าวว่าตามสมมุติฐานของอัล-กุรอาน พระเยซูมีคัมภีร์นามว่าอินญีล ซึ่งชาวคริสเตียนปฏิเสธสมมุตติฐานดังกล่าวนั้น ยังกล่าวอีกว่า ถ้าเรายอมรับสิ่งที่อัล-กุรอาน กล่าวไว้เกี่ยวกับคำว่า อินญีล ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่คริสเตียนกล่าวถึงคือ อะนาญีล ถามว่าเพราะเหตุอันใดอัล-กุรอานจึงไม่ใช้คำเป็นพหูพจน์ (อะนาญีล) เหมือนกับคริสเตียนใช้คำที่เป็นอกพจน์เพื่ออะไร
พวกเขาได้บทสรุปจากคำกล่าวของอัล-กุรอานว่า เป็นเพราะว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) มีข้อมูลผิวเผินมากเกี่ยวกับอินญีล ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าท่านได้รับข้อมูลมาจากคริสเตียนที่อาศัยอยู่ในมะดีนะฮฺสมัยที่ท่านเริ่มประกาศอิสลามใหม่ ๆ ซึ่งคริสเตียนพวกนั้นมีคัมภีร์ปลอมที่เขียนขึ้นมาใหม่นามว่าอินญีล (E.I.,13/1205)
อัล-กุรอาน กับความจริงเกี่ยวกับอินญีลของคริสเตียน
อัล-กุรอาน มีความเห็นขัดแย้งกับชาวคริสเตียนที่กล่าวอธิบายถึงอินญีลมาโดยตลอด บนพื้นฐานการตีความของคริสเตียนที่กล่าวถึงอิลญีนนั้น จะเห็นว่าพวกเขายึดหลักการตีความ 3 ประการ ดังนี้
1. พระเยซู เป็นศาสดาที่ไม่เหมือนกับศาสดาองค์อื่น ๆ ที่นำเอาคัมภีร์หรือหลักคำสอนมาพร้อมกับตน ทว่าพระเยซูคือตัวตนของวะฮฺยู หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งพระเยซู คือ อวตารของพระเจ้า พระองค์ คือ บุตรของพระเจ้า ซึ่งพระเจ้าทรงส่งมาให้เกิดในโลกมนุษย์ เพื่อไถ่บาปมนุษย์ทั้งปวงพระคริสต์ (Christ) หมายถึง ผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรมาเพื่อสร้างสันติ
2. พระเยซู ทรงอดทนต่อความทุกข์ทรมานที่ถูกตรึงไว้บนไม้กางเขนและเสียชีวิตบนนั้น เท่ากับเป็นการไถ่บาปให้แก่มนุษย์ทั้งปวง
3. พระเยซู ภายหลังจาก 3 วันผ่านไป พระองค์ได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ซึ่งการฟื้นคืนชีพของพระองค์บ่งบอกให้เห็นถึงการมีอิทธิพลเหนือความตายและเป็นการไปถึงยังชีวิตอมตะถาวร บนพื้นฐานความเชื่อดังกล่าวนี้ ถ้าบุคคลใดศรัทธาต่อพระเยซูในความเป็นจริงเท่ากับว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของพระวรกายพระเยซู และนั่นหมายถึงว่าเขาได้พบกับชีวิตอมตะเช่นเดียวกัน (N.C.E.,7/352)
อัล-กุรอาน มีมุมมองที่ขัดแย้งกับมุมมองของคริสต์ทั้งหมดในการตีความคัมภีร์อินญีล
สำหรับการตีความในข้อแรก ที่กล่าวว่าพระเยซู คือ อวตารของพระเจ้า อัล-กุรอานเน้นย้ำว่าแท้จริงพระเยซูหรืออีซาคือบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้าเท่านั้น
อัล-กุรอาน กล่าวว่า เขา (อีซา) มิใช่ใครอื่น นอกจากเป็นบ่าวคนหนึ่ง ซึ่งเรา (อัลลอฮฺ) ได้ให้ความโปรดปรานแก่เขา และเราได้ทำให้เขาเป็นแบบอย่างที่ดีแก่วงศ์วารของอิสรออีล
อัล-กุรอาน กล่าวเน้นย้ำบ่อยครั้งว่าอีซาหรือเยซู คือ บุตรของมัรยัม มิใช่บุตรของพรเจ้าเนื่องจากพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ และพระองค์ไม่ทรงมีบุตรแต่อย่างใด (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทซุครุฟ โองการที่ 59)
อัล-กุรอาน กล่าวว่า อะฮฺลุลกิตาบ (ชาวคริสต์) ทั้งหลาย จงอย่าปฏิบัติเกินขอบเขตในศาสนาของพวกเจ้า และจงอย่ากล่าวสิ่งใดถึงอัลลอฮฺนอกจากสิ่งที่เป็นความจริงเท่านั้น แท้จริง อัล-มะซีฮฺ อีซาเป็นบุตรของมัรยัม เป็นเราะซูลคนหนึ่งของอัลลอฮฺ เป็นเพียงดำรัสของพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวแก่มัรยัม และเป็นเพียงวิญญาณหนึ่งจากพระองค์เท่านั้น ดังนั้น จงศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดาเราะซูลของพระองค์ และจงอย่ากล่าวว่าสามองค์เลย จงหยุดยั้งเสียเถิดเป็นการดียิ่งสำหรับพวกเจ้า แท้จริง อัลลอฮฺ คือ ผู้คู่ควรต่อการเคารพภักดีแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการมีพระบุตร บรรดาสรรพสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและในแผ่นดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ทั้งสิ้น และเพียงพอแล้วที่ อัลลอฮฺ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้คุ้มครองรักษา (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการที่ 171)
สำหรับการตีความในข้อสอง อัล-กุรอาน กล่าวถึงไม้กางเขนว่าเป็นสิ่งงมงายไร้สาระ เป็นเรื่องที่ชาวยิวอุปโลกน์ขึ้นมาเท่านั้น แท้จริงอีซาหรือเยซูยังมิได้ถูกสังหารแต่อย่างใด
อัล-กุรอาน กล่าวว่า และการที่พวกเขากล่าวว่า แท้จริงพวกเราได้ฆ่า อัล-มะซีฮฺ อีซา บุตรของมัรยัม เราะซูลของอัลลอฮฺไปแล้ว พวกเขามิได้ฆ่าอีซาและมิได้ตรึงเขาบนไม้กางเขน แต่ทว่าคนอื่นถูกทำให้เหมือนสำหรับพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้ที่ขัดแย้งในตัวอีซานั้นย่อมอยู่ในความสงสัยแน่นอน เกี่ยวกับอีซาพวกเขาไม่มีความรู้ใด ๆ นอกจากคล้อยตามความนึกคิดเท่านั้น และพวกเขามิได้ฆ่าอีซาด้วยความแน่ใจ (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการที่ 157)
จากคำกล่าวของอัล-กุรอาน จะเห็นว่าคำกล่าวอ้างของชาวคริสต์ไม่เหลือมูลความจริงอีกต่อไป ที่จะกล่าวว่า พระเยซูทรงต้องการไถ่บาปแก่ประชาโลกจึงขึ้นไปบนไม้กางเขน เนื่องจากพระเจ้าทรงให้มนุษย์ทุกคนรับผิดชอบการงานของตนเองทั้งสิ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความดีหรือความชั่ว และโดยเฉพาะความชั่วหรือบาปกรรมไม่มีผู้สามารถรับผิดชอบบาปเหล่านั้นได้นอกจากตัวเอง
อัล-กุรอาน กล่าวว่า จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงการนมาซของฉัน การแสดงความเคารพภักดีของฉัน การมีชีวิตและการตายของฉันนั้น เพื่ออัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอันอาม โองการที่ 162)
ผู้ใดได้พบแนวทางที่ถูกต้องแล้ว แน่นอนเขาจะอยู่ในทางนั้นเพื่อตัวเขาเองและไม่มีผู้แบกภาระใด ๆ ของผู้อื่นได้ เรามิเคยลงโทษผู้ใดจนกว่าเราจะแต่งตั้งเราะซูลมาสั่งสอนพวกเขา (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอัลอิสรออฺ โองการที่ 15)
ทำนองเดียวกันอัล-กุรอาน กล่าวว่า มาตรว่าผู้ปฏิเสธมีทรัพย์มากเป็นสองเท่าบนแผ่นดิน และพวกเขาจ่ายค่าไถ่บาปเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน กระนั้นการกระทำของพวกเขาก็ไม่ถูกยอมรับ
อัล-กุรอาน กล่าวว่า แน่นอน บรรดาผู้ปฏิเสธบนหน้าแผ่นดิน ถ้าหากทรัพย์ทั้งหมดบนแผ่นดินและสิ่งที่คล้ายคลึงกันนั้นเป็นของเขา และเขาได้ใช้ไถ่โทษเพื่อให้รอดพ้นจากการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน กระนั้นจะไม่ถูกตอบรับจากพวกเขา พวกเขาจะถูกลงโทษอย่างแสนสาหัส (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 36)
อัล-กุรอาน กล่าวถึงพวกที่กล่าวอ้างว่าเยซูเป็นพระเจ้าว่า เป็นผู้ปฏิเสธ ดังที่กล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮ คือ อัล-มะซีฮฺบุตรของมัรยัม กลายเป็นผู้ปฏิเสธแล้ว อัล-มะซีฮฺกล่าวว่า วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย จงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของฉันและของเจ้า เนื่องจากผู้ใดตั้งภาคีเทียบเคียงอัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงทำให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาที่พำนักของเขานั้นคือนรก และสำหรับบรรดาผู้อธรรมย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือ (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 72)
บรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺเป็นที่สามจากสามองค์กลายเป็นผู้ปฏิเสธแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพะเจ้าผู้คู่ควรต่อการเคารพเพียงองค์เดียว และถ้าพวกเขาไม่หยุดที่พูด แน่นอน การลงโทษอันเจ็บปวดย่อมประสบแก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธที่ยืนกรานบนการปฏิเสธของตน (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 73)
สำหรับการตีความในข้อสาม อัล-กุรอาน มิได้กล่าวถึงการฟื้นคืนชีพของเยซูภายหลังจากความตายของเขาแม้แต่นิดเดียว อย่างไรก็ตามอัล-กุรอาน เน้นว่ามาตรฐานของความถูกต้องคือ ความศรัทธาที่ถูกต้อง และการประพฤติคุณงามความดี มิใช่ศรัทธาที่มีเฉพาะตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว
อัล-กุรอาน กล่าวว่า บรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยที่มิได้ให้ความศรัทธาของพวกเขาปะปนกับการอธรรม พวกเขาจะได้รับความปลอดภัยและพวกเขา คือ ผู้ได้รับทางนำ (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอันอาม โองการที่ 82)
มาตรว่าไม่ต้องใส่ใจข้อปฏิเสธที่ชาวคริสมีต่อความเชื่อของอิสลามที่ว่า อีซาเป็นศาสดาองค์หนึ่งและอินญีล คือ วะฮฺยูของพระเจ้า เราก็สามารถนำเอาหลักฐานต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลของคริสต์มาพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของเราได้อย่างชัดเจน โดยตั้งสมมุติฐานขึ้นว่า ทัศนะของอัล-กุรอาน เกี่ยวกับอีซา (อ.) คือ
1. อีซา เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้าและเป็นนบี
2. อีซา เหมือนกับนบีองค์อื่น คือ เป็นมนุษย์ธรรมดาเพียงแต่ได้รับวะฮฺยูจากพระเจ้า และนำปาฏิหาริย์มาพิสูจน์สภาวะการเป็นนบีของตน
3. วะฮฺยูที่ประทานแก่อีซาครอบคลุมเรื่องหลักการปฏิบัติ วิชาการและจริยธรรมของพระเจ้า อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า อีซา มิได้เป็นผู้ประกาศเผยแผ่หลักการของโมเสสเพียงอย่างเดียว ทว่าขณะที่อีซารับรองคัมภีร์เตารอต ท่านได้นำเอาสารใหม่จากพระเจ้ามาเผยแผ่เคียงคู่ด้วย ซึ่งวะฮฺยูที่ทรงประทานลงมาใหม่นี้นามว่า อินญีล
การประเมินความตามความหมายแรก สิ่งจำเป็นต้องกล่าว คือ โองหลายโองการจากคัมภีร์ใหม่บ่งบอกว่าเยซู คือ บ่าวของพระเจ้า และเป็นศาสดาองค์หนึ่งของพระองค์ (กอสเปล (Gospel) 3/13,26)
เช่นกันได้รับการยืนยันว่า เยซู คือ ศาสดาองค์หนึ่งและคนอื่นก็ยอมรับว่าท่านเป็นศาสดา เมื่อประชาชนชาวนาซิเราะฮฺ ไม่ให้เกียรติเยซู ท่านจึงกล่าวกับพวกเขาว่า ศาสดาองค์หนึ่งได้รับการเคารพยกย่องจากประชาชนทั่วไป ยกเว้นประชาชนที่บ้านเกิดของตนเอง (มัทธาย 13/57-58)
เมื่อท่านเยซูเข้าสู่เมื่องโอชาลีม ความตื่นเต้นได้ครอบงำทั่วทั้งเมือง ประชาชนต่างถามกันว่า ชายคนนี้เป็นใคร พวกเขาได้รับคำตอบว่า ท่าน คือ อีซาบุตรของมัรยัมเป็นศาสดาองค์หนึ่ง เดินทางมาจาก นาซิเราะฮฺ ญะลีล (มัทธาย 21/10-11)
การประเมินความตามความหมายที่สอง มีโองการหลายโองการจากพันธสัญญาใหม่ (New Testament) บ่งบอกไว้ว่าปาฏิหาริย์ท่านแสดงได้รับอนุญาตจากพระเจ้า และยังมีวะฮฺยูถูกประทานลงมาที่ท่าน ในพันธสัญญาใหม่ ซิมอน หรือเปโตร อัครสาวกคนหนึ่งของเยซูรายงานว่า อีซากล่าวว่า พวกเจ้าคิดหรือว่าเรารักษาเยียวยาผู้ป่วยคนนี้ให้หายปกติด้วยอำนาจและการมีศาสนาของเราเองหรือ ไม่ใช่เช่นนั้น แต่พระเจ้าของศาสดาอิบรอฮีมหรืออับราฮัม (Abreham) ศาสดายะอ์กูบหรือยาคอบ (Jacob) และศาสดาอิสฮากหรือไอแซค และพระเจ้าของปู่ย่าตายายของเราต่างหากที่ทรงเยียวยา โดยพระองได้ประทานปาฏิหาริย์ผ่านบ่าวของพระองค์นามว่า อีซาหรือเยซู (กอสเปล (Gospel) 3/12-13)
เมื่อเหล่าผู้นำเผ่ายะฮูด ได้ยินอีซากล่าวเช่นนั้นพวกเขาประหลาดใจมาก ต่างคนต่างพูดกันว่า ช่างประหลาดเหลือเกิน เป็นไปได้อย่างไรที่คน ๆ หนึ่ง ไม่เคยเรียนศาสนาของเราเลยแม้แต่น้อย แต่กับมีความรู้มากมายเช่นนี้
อีซา (อ.) กล่าวกับพวกเขาว่า สิ่งที่พวกเจ้าคิดและกำลังพูดอยู่นั้นไม่ได้มาจากเราหรอก แต่มาจากพระเจ้าผู้ซึ่งส่งเรามา ถ้าบุคคลใดใฝ่ในสัจธรรมและใช้ชีวิตบนความปรารถนาของพระเจ้า เขาจะเข้าใจทันที่ว่าสิ่งที่เรากล่าวนั้นไม่ได้มาจากเราแต่มาจากพระเจ้าของเรา (โยฮันนา 7/15-17 : 14/24)
จากคำกล่าวของอีซาที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นข้อสนับสนุนความสัจจริงของอัล-กุรอาน ได้อย่างดีเยี่ยมที่ว่า อีซา ไม่ได้รับคัมภีร์อินญีลจากวะฮฺยูพระเจ้าเพียงท่านเดียว ทว่าโมเสสเองก็ได้รับคัมภีร์เตารอต จากวะฮฺยูของพระเจ้าเช่นกัน อัล-กุรอาน กล่าวสำทับประเด็นนี้ว่า
และพระองค์ทรงสอนการเขียน วิทยปัญญาและสอนอัตเตารอต และอัลอินญีลแก่เขา (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 48)
จงรำลึกถึงเมื่ออัลลอฮฺตรัสแก่อีซาบุตรของมัรยัมว่า จงรำถึงความโปรดปรานของข้าที่มีต่อเจ้าและมารดาของเจ้า ขณะที่ข้าได้ส่งเสริมเจ้าด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์ให้เจ้าพูดกับประชาชน ขณะที่อยู่ในเปลและเมื่ออยู่ในวัยกลางคน และจงรำลึกเมื่อข้าสอนคัมภีร์ วิทยปัญญา อัต-เตารอตและอัล-อิน-ญีลแก่เจ้า และเมื่อเจ้าสร้างนกจากดินตามคำสั่งของข้าหลังจากนั้นเจ้าเป่าไปบนรูปนกมันได้กลายเป็นนก ด้วยอนุมัติของข้า ต่อมาเจ้าได้เยียวยาคนตาบอดแต่กำเนิดและคนเป็นโรคผิวหนังให้หายเป็นปกติด้วยอนุมัติของข้า และเจ้าทำให้คนตายฟื้นขึ้นมาด้วยอนุมัติของข้า ขณะที่ข้าได้ช่วยเหลือเจ้าให้รอดพันจากการกลั่นแกล้งของวงศ์วานอิสรออีล เมื่อเจ้านำหลักฐานต่าง ๆ อันชัดแจ้งมาแสดงแก่พวกเขา แล้วบรรดาผู้ฝ่าฝืนในหมู่พวกเขาก็กล่าวว่า สิ่งนี้มิใช่อื่นใด นอกจากมายากลอันชัดแจ้งเท่านั้น (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 110)
เพราะเหตุใดพวกยิวจึงกล่าวว่า เขาไม่เคยศึกษาศาสนาในโรงเรียนของเราแต่ทำไมจึงมีความรู้มากมาย เป็นที่ชัดเจนว่าคัมภีร์เตารอตฉบับแท้จริงคือตำราที่สอนในโรงเรียนของยิว และอีซาไม่เคยศึกษามาก่อนหน้านั้น และไม่เคยศึกษากับยิวคนใด แต่รู้จักวิชาการต่าง ๆ ในคัมภีร์เตารอตเป็นอย่างดี จึงทำให้พวกเขาประหลาดใจและถามคำถามเหล่านั้นออกมา
การประเมินความตามความหมายที่สาม โองการในคัมภีร์ไบเบิลอธิบายคำกล่าวของอีซาว่า ขณะที่ท่านรับรองคัมภีร์เตารอตนั้น ท่านได้สอนวิชาการและหลักการใหม่ ๆ แก่ประชาชนด้วย เกี่ยวกับการตักเตือนระชาชน ณ ภูเขา อีซา กล่าวว่า เจ้าคิดหรือว่าฉันมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เตารอตของมูซา หรือยกเลิกการบันทึกต่าง ๆ ของบรรดาศาสดาองค์อื่น ทว่าฉันมาเพื่อทำให้สิ่งเหล่านั้นสมบูรณ์ต่างหาก (มัทธาย 5/17)
เวลานั้นอีซาได้รายงานจากบทบัญญัติของเตารอต และได้อธิบายบทบัญญัติอันสมบูรณ์ของเตารอต เช่น บัญญัติของมูซากล่าวว่า สูเจ้าจงอย่าผิดประเวณี แต่ฉันกล่าวว่า ถ้าหากสูเจ้าจ้องมองสตรีด้วยความรู้สึกที่สกปรกแห่งอารมณ์ใคร่ในเวลานั้น เท่ากับสูเจ้าผิดประเวณีกับนางแล้วในใจ (มัทธาย 5/27-28)
กล่าวว่า ถ้าหากบุคคลหนึ่งต้องการแยกทางกับภรรยาของตน แค่เขาเขียนจดหมายหย่าและมอบให้นางก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่ฉันขอกล่าวว่าหากชายใดต้องการหย่าขาดหญิงโดยมิได้เห็นการทรยศของหญิง และฝ่ายหญิงได้แต่งงานใหม่อีกครั้งหนึ่งฉันถือว่าชายเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากเขาคือต้นเหตุทำให้หญิงผิดประเวณี (มัทธาย 5/31-32)
เจ้าเคยได้ยินมาว่า จงเป็นมิตรกับมิตรของตน และจงเป็นศัตรูกับศัตรูของตน แต่ฉันกล่าวว่าจงเป็นมิตรกับศัตรูของตน และบุคคลใดสาปแช่งเจ้า เจ้าจงวิงวอนให้แก่เขา (มัทธาย 5/43-44)
คำกล่าวเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคำพูดของอีซาก็มาจากคำพูดของบรรดาศาสดาก่อนหน้าท่าน ซึ่งจอกจากรับรองคำพูดเหล่านั้นแล้ว ท่านยังทำให้บทบัญญัติบางประการสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่อัล-กุรอานกล่าวว่า อินญีลรับรองคัมภีร์เตารอต ขณะเดียวกันเป็นคำเตือน เป็นรัศมี เป็นทางนำ และเป็นบทบัญญัติของพระเจ้า
ถ้าบุคคลใดยอมรับ 3 ประเด็นที่กล่าวมาแล้วยังจะถือวาอีซามิใช่ผู้รับสารจากพระเจ้า ซึ่งภายในสารนั้นมีคำตักเตือนมีรัศมีและมีทางนำอีกหรือ และสารนี้ก็คือ อินญีล ซึ่งอัล-กุรอาน กล่าวว่า เป็นคัมภีร์ของอีซา สิ่งสำคัญสมควรกล่าวตรงนี้อีกประการหนึ่ง คือ จุดประสงค์ของอัล-กุรอาน เมื่อกล่าวถึงอินญีลที่ถูกประทานแก่อีซามิได้หมายถึงข้อเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอัล-กุรอาน เองก็มิได้กล่าวว่าวะฮฺยูที่ถูกประทานแก่อีซาเป็นลายลักษณ์อักษร
คัมภีร์ (กิตาบ) ในความหมายของอัล-กุรอาน หมายถึงวะฮฺญูหรือบทบัญญัติของพระเจ้า ซึ่งบรรดาศาสดาได้นำมาจากสั่งสอนประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ บรรดาศาสดาของพระเจ้าล้วนเป็นเจ้าของคัมภีร์ทั้งสิ้นแม้ว่าในเวลานั้นจะยังมิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ดังนั้น ต้องไม่สับสนกับความหมายของอัล-กุรอาน เมื่อกล่าวถึง คัมภีร์ (กิตาบ) จึงมิได้หมายถึงสิ่งที่ทุกวันนี้เรียกว่า คัมภีร์
อีกประเด็นหนึ่งจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้ คือ คำกล่าวของอัล-กุรอาน ที่ว่ามีคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรของวะฮฺยูในนามของ อินญีล หรือความเข้าใจที่ได้รับจากอัล-กุรอาน มิได้ขัดแย้งหรือมีความแตกต่างกับความเข้าใจอื่น ด้วยเหตุนี้ สามารถยอมรับได้ว่า อีซา ก็เหมือนกับศาสดาองค์อื่น ๆ ที่ได้รับวะฮฺยูจากพระเจ้าโดยตรงหรือผ่านสื่อ คือ มลาอิกะฮฺ ซึ่งตามหลักการของอิสลามเรียกสิ่งนี้ว่า อินญีล
อาจเป็นไปได้ที่การบันทึกของคริสต์บางฉบับ หรือคำพูดที่กำลังพาดพิงถึงอีซา ซึ่งคำ ๆ นี้ตามความเป็นจริงก็คือ อินญีล อันได้แก่สัจธรรมความถูกต้องหรือรางวัลของการไปถึงชีวิตอมตะ หลักฐานคำยืนยันในประเด็นนี้คือ คำของอัล-กุรอาน ในอัล-กุรอานหรือฮะดีซ (วจนะของศาสดา) บางครั้งเป็นตัวบทที่ถูกรักษาไว้ด้วยการท่องจำ บางครั้งเป็นตัวบทอันเป็นลายลักษณ์อักษร และบางครั้งเป็นแก่นแท้ของอัล-กุรอาน ที่มิได้เป็นทั้งลายลักษณ์อักษรหรือความทรงจำ ตัวอย่าง เช่น อัล-กุรอาน มีโองการที่ชัดแจ้งอยู่ในทรวงอกของบุคคลที่ได้รับวิชาการจากพระเจ้า
อัล-กุรอาน กล่าวว่า ทว่านี่คือโองการทั้งหลายอันแจ้งชัด ซึ่งอยู่ในหัวอกของบรรดาผู้ได้รับความรู้และไม่มีผู้ใดปฏิเสธโองการทั้งหลายของเรานอกจากพวกอธรรม (พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน บทอังกะบูต โองการที่ 49)
หรือตัวอย่างจากฮะดีซ จากรายงานของภรรยาท่านหนึ่งของศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) กล่าวอธิบายคุณลักษณะของท่านว่า จริยธรรมของท่านคืออัล-กุรอาน (บุคอรีย์ / 74)
บางท่านกล่าวว่า คำพูดแห่งจิตวิญญาณคือ แก่นแท้ของอัล-กุรอาน (อิมามโคมัยนี)
ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ดังที่ปรากฏอยู่ในอัล-ฮะดีซหรือวัฒนธรรมของอิสลาม แก่นแท้ของอัล-กุรอานถูกกล่าวในประเด็นที่หลากหลาย เช่น คำพูดแห่งจิตวิญญาณ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ หรือจริยธรรมของอริยบุคคล เช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด หรืออิมามอะลี ฉะนั้น สำหรับอีซาและวิถีชีวิตของท่านสามารถกล่าวได้ว่าเป็นแก่นแท้ของ อินญีล
ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากไม่พิจารณาถึงความเข้าใจของคริสเตียนที่ว่า เมื่อกล่าวถึง อินญีล พวกเขาหมายถึงการอวตารของพระเจ้าบนอีซา ไม้กางเขน และการฟื้นคืนชีพซึ่งสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ อินญีล จากคำพูดของชาวคริสต์ทั้งหลายที่ว่า อีซา คือ รูปโฉมอันปรากฏของพระเจ้า เพื่อช่วยเหลือประชาชาติและสิ่งนี้ก็คือ แก่นแท้ของอินญีล (Van, 7-8)
ส่วนประเด็นเกี่ยวกับต้นฉบับที่บันทึกไว้โดยคร่าวจากอินญีลของอีซา นักอธิบายอัล-กุราอน บางท่านกล่าวว่า อาจเป็นไปได้ที่คัมภีร์ อินญีล อาจถูกบันทึกขึ้นในปีแรกนั้นเอง หลังจากอีซาได้ถูกนำตัวกลับคืนสู่พระเจ้า เนื่องจากในเวลานั้นบรรดาคริสเตียนต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดกลัวท่ามกลางพวกยิว และอยู่ภายใต้การปกครองของโรม จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 4 มหาจักรพรรดิได้กลายเป็นคริสเตียน และทำให้พวกเขาสามารถจดบันทึกและตีพิมพ์สารของอีซาได้บางส่วนอย่างอิสรเสรี (เราะซีด ริฎอ 3/159)
ตรงนี้สามารถกล่าวได้ว่า ผู้เขียนคัมภีร์รุ่นแรกของชาวคริสต์ ได้ใช้ประโยชน์จากการจดบันทึกคำพูดของอีซาทีมีอยู่ในขณะนั้นเป็นต้นฉบับในการเขียนคัมภีร์ของตน จากประเด็นนี้จะเห็นบุคคลที่เขียนคัมภีร์ เช่น ปอล ไม่เคยเห็นการกระทำหรือได้ยินคำกล่าวของอีซาเลยแม้แต่น้อย ประกอบกับต้นฉบับของคัมภีร์ที่บันทึกไว้ก่อนไบเบิลทั้ง 4 ฉบับได้ถูกตีพิมพ์โดยงานถึงคำกล่าวบางตอนของอีซา ตรงนี้เองสามารถคิดได้ว่าแหล่งอ้างอิงหรือต้นฉบับที่บันทึกเอาไว้เหล่านั้นมาจากวะฮฺยูที่ประทานแก่อีซา จากประวัติศาสตร์ภาษาอารามีอ้างถึงคำกล่าวของอีซา ด้วยนามว่า โลเกีย (Logia) ซึ่งมัทธาย และมาระโกได้อ้างอิงประกอบการเขียนคัมภีร์อินญีลของตน และอาจเป็นไปได้ที่ปอลเองก็มีแหล่งอ้างอิงเหล่านี้ไว้ในมือเพื่อประกอบการเขียนคัมภีร์ของตน เนื่องจากประวัติศาสตร์กล่าวว่า ราวศตวรรษที่ 1 ได้มีสาวก 4 คน คือ มัทธาย มาระโก ลูกา และโยฮัน เขียนประวัติและคำสอนของพระเยซูรวมได้เรียกว่า พระกิตติคุณ (The Gospels) เล่มแรกที่เขียนขึ้นคือ มาระโกในปี ค.ศ. 65 – 70 และอีก 3 เล่ม ในเวลาใกล้เคียงกัน
ราวปี ค.ศ. ที่ 1897 – 1953 ได้มีการสัมมนาทีอียิปต์