') //-->
บทความนี้ต้องการนำเสนอความแตกต่างระหว่างศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ ในมุมมองของคัมภีร์ศาสนาเนื่องจากอิสลามเชื่อว่าพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน คือ พระดำรัสของพระเจ้า พระองค์ประทานให้แก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) เพื่อเผยแผ่และสั่งสอนประชาชน ซึ่งนอกจากพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานแล้ว ยังมีคัมภร์เตารอต ซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่ศาสดาโมเสสหรือมูซา คัมภีร์อินญิลหรือไบเบิล พระองค์ทรงประทานแก่ศาสดาเยซูหรืออีซา และยังมีคัมภีร์ที่ประทานให้แก่ศาสดานูฮฺหรือโนอา และประทานให้แก่อิบรอฮีมหรืออับราฮัม
แต่ที่มักคุ้นกันเป็นอย่างดีในหมู่มุสลิม คริสต์ และยิว คือ คัมภีร์อัล-กุรอาน คัมภีร์เตารอต และคัมภีร์อินญิล โดยหลักการอิสลามเชื่อว่าคัมภีร์ทั้งสามฉบับได้รับการประทานลงมาโดยพระเจ้า เนื่องจากศาสนาทั้งสามเป็นศาสนาที่ได้รับการประทานลงมาโดยพระองค์ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ลงมาพร้อมกับศาสดาของพระองค์เพื่อให้เผยแผ่หลักคำสอนของพระองค์ไปตามการบันทึกของคัมภีร์ แต่คริสศาสนามิได้มีความเชื่อว่าคัมภีร์ได้รับการประทานลงมาโดยพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์อินญิลหรือไบเบิลในปัจจุบัน
ดังนั้น บทความนี้จึงขอนำเสนอสองมุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับคัมภีร์อินญิลหรือไบเบิล ตามที่พระหมาคัมภีร์อัล-กุรอาน กล่าวอินญีล คือ คัมภีร์แห่งฟากฟ้าซึ่งพระเจ้าทรงประทานแก่ศาสดาอีซาหรือเยซู (อ.) เพื่อให้ท่านประกาศสั่งสอนประชากรไปตามคำสอนของคัมภีร์ คัมภีร์ดังกล่าวประมวลคำสอนเกี่ยวกับการชี้นำประชาชาติ การกล่าวรำลึก และบทบัญญัติทางศาสนาตามคำสั่งของพระเจ้า
แต่ชาวคริสต์ทั้งหมดปฏิเสธความเชื่อเช่นนี้ พวกเขาไม่คิดและไม่กล่าวเด็ดขาดว่าศาสดาอีซานำเอา คัมภีร์อินญีลมาประกาศเผยแผ่ อีซามิได้อยู่ในฐานะเดียวกันกับมูซาที่พระเจ้าทรงประทานคัมภีร์เตารอตแก่ท่าน หรือมิได้อยู่ในฐานะเดียวกันกับศาสดามุฮัมมัดที่พระเจ้าทรงประทานอัล-กุรอานแก่ท่านเป็นคำสอน พวกเขาเชื่อว่าคัมภีร์อินญิล คือ คำประกาศอันถูกต้องเท่านั้น ซึ่งเป็นผลสรุปของการอวตารของพระเจ้าในตัวอีซา ไม้กางเขน และการฟื้นคืนชีพของอีซาภายหลังจากได้เสียชีวิตไปเป็นเวลา 3 วัน ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า สองมุมมองดังกล่าวเกี่ยวกับคัมภีร์อินญิลในมุมมองของมุสลิมกับมุมมองของคริสเตียน มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ดังนั้น บทความนี้พยายามที่จะนำเสนอและอธิบายถึงสองมุมมองที่แตกต่างแล้ว ยังจะนำเสนอสายรายงานเกี่ยวกับเนื้อความประวัติศาสตร์ของคริสเตียน และมุมมองของอัล-กุรอานเกี่ยวกับคัมภีร์อินญิล
ในทัศนะของมุสลิม คัมภีร์อินญิล คือ คัมภีร์แห่งฟากฟ้าพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานแก่ศาสดาอีซา ดุจดังเช่นที่พระองค์ประทานคัมภีร์เตารอตแก่มูซา และประทานคัมภีร์อัล-กุรอาน แก่ศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) แต่ชาวคริสมิได้มีความคิดเห็นเช่นเดียวกันกับมุสลิม พวกเขามีความเห็นที่แตกต่างออกไป พวกเขาเชื่อว่อินญิลเป็นเพียงคำประกาศอันถูกต้องเพื่อการช่วยเหลือเท่านั้น โดยพระเจ้าได้อวตารบนศาสดาอีซา ความตายบนไม้กางเขน และการฟื้นคืนชีพ (หลังจากเสียชีวิตไป 3 วัน) บทความนี้ขอนำท่านผู้อ่านปสู่การค้นคว้าวิจัยคัมภีร์อินญิลของชาวคริสต์ และคัมภีร์อินญิลในมุมมองของอัล-กุรอาน เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่อัล-กุรอาน กล่าวเกี่ยวกับคัมภีร์อินญิลนั้นเป็นความจริง
จากการศึกษาโองการอัล-กุรอาน ที่กล่าวเกี่ยวกับคัมภีร์อินญิล เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง และความเชื่อของชาวคริสต์แล้ว ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นมากมายที่ต้องการคำตอบและเหตุผล เช่น
บางคำถามกล่าวว่า เมื่ออัล-กุรอาน กล่าวถึงคัมภีร์อินญีลที่มีอยู่ ณ ชาวคริสต์ในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) อัล-กุรอรานหมายถึงคัมภีร์ฉบับใด
ถ้าจุดประสงค์ของอัล-กุรอาน หมายถึง คัมภีร์อินญีลทั้ง 4 ฉบับ แล้วทำไมอัล-กุรอาน ถึงใช้คำที่เป็นรูปเอกพจน์
ถ้าจุดประสงค์ของอัล-กุรอาน หมายถึง อินญีลเล่มใดเล่มหนึ่งจากอินญีลทั้ง 4 ฉบับ ทำไม่ไม่ระบุชื่อฉบับใดฉบับหนึ่งลงไป
การรำลึกถึงท่านศาสดามุฮัมมัด หรืออุปมาของสาวกของท่านดังที่อัล-กุรอาน กล่าวถึง มีปรากฏในอินญีลฉบับใดบ้าง
ดังนั้น คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้อันดับแรก คือ ต้องวิเคราะห์มุมมองของอัล-กุรอาน และของคริสเกี่ยวกับอินญีล เสียก่อนหลังจากนั้นจึงจะได้คำตอบที่สมบูรณ์
อินญีลในมุมมองของอัล-กุรอาน
คัมภีร์อัล-กุรอาน กล่าวถึง อินญีล 12 ครั้ง ด้วยกันและยืนยันว่าอินญีล คือ วะฮฺยู (ดำรัส) ของพระเจ้าทรงประทานแก่ศาสดาอีซา (อ.) ดังเช่นที่กล่าวว่า
1. เราได้ส่งอีซา บุตรของมัรยัมลงมา และเราได้ประทานอินญีลแก่เขา เราได้บันดาลความสงสารและความเมตตาให้เกิดขึ้นในจิตใจของบรรดาผู้ที่เชื่อฟังปฏิบัติตามเขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลฮะดีด โองการที่ 27)
2. เราได้ส่งอีซา บุตรของมัรยัมลงมา ในฐานะผู้ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเขา คือ อัต-เตารอต และเราได้ให้อินญีลแก่เขา ซึ่งในนั้นมีคำแนะนำ แสงสว่าง เป็นที่ยืนยันสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า คือ อัต-เตารอต เป็นคำแนะนำและคำตักเตือนแก่ผู้ยำเกรงทั้งหลาย (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 46)
สิ่งที่อัล-กุรอาน กล่าวถึง คือ อินญีลเป็นวะฮฺยูของพระเจ้าสำหรับแนวทางของอีซา ซึ่งอยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับคัมภีร์เตารอตในศาสนาของมูซา และอัล-กุรอานในศาสนาอิสลาม
และอีก 8 ครั้ง ที่อัล-กุรอาน กล่าวถึงอินญีล ในฐานะที่เป็นคัมภีร์เคียงคู่กับคัมภีร์เตารอต ดังนี้
3. อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์ (กุรอาน) ลงมาแก่เจ้าเป็นครั้งคราว พร้อมด้วยความจริงเพื่อยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าคัมภีร์นั้น และได้ทรงประทานอัตเตารอต และอัล-อินญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 3)
4. และพระองค์ทรงสอนเขาเรื่องการเขียนความรู้อันถูกต้อง และสอนอัตเตารอต และอัลอินญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 48)
5. โอ้ บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์เพราะเหตุใดพวกเจ้าจึงโต้เถียงกันในตัวของอิบรอฮีม ซึ่งอัตเตารอต และอัลอินญีล มิได้ถูกประทานลงมานอกจากหลังจากเขา สูเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 65)
6. หากว่าเขาเหล่านั้นตำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเขาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 66)
7. จงกล่าวเถิดว่า โอ้ บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย พวกท่านมิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดจนกว่าพวกท่านจะดำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกท่านจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 68)
8. ข้าได้สอนเจ้าให้รู้คัมภีร์และความมุ่งหมายแห่งบัญญัติศาสนา และอัต-เตารอตและอัล-อิน-ญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 110)
9. บรรดาผู้ปฏิบัติตามศาสนฑูต ผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็น ซึ่งพวกเขาพบถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทั้งในอัต-เตารอตและในอัล-อินญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ 158)
10. สัญญาของพระองค์อันแน่นอน ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เตารอฮ์ อินญีล และกรุอาน และใครเล่าจะรักษาสัญญาของเขาให้ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮฺ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 111)
และอีก 2 ครั้ง อินญีลถุกกล่าวถึงเคียงข้างอัลกุรอาน และเตารอต ดังนี้
11. เป็นความจริงเพื่อยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าคัมภีร์นั้น (กุรอาน) และได้ทรงประทานอัตเตารอต และอัล-อินญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 3)
12. สัญญาของพระองค์อันแน่นอน ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เตารอฮ์ อินญีล และกรุอาน (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 111)
อย่างไรก็ตามโองการที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถแบ่งคำว่า อินญีล ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. ในประเด็นที่กล่าวถึง อินญีล เป็นหลัก หมายถึงวะฮฺยูที่ประทานแก่ศาสดาอีซา (อ.) ดังที่กล่าวว่า และเราได้ให้อัล-อินญีลแก่เขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 46)
2. ในประเด็นที่กล่าวถึง อินญีล ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน ขณะที่อัล-กุรอานถูกประทานลงมา เช่น อัล-กุรอานกล่าวถึงคุณลักษณะของท่านศาสดาที่ปรากกฎในคัมภีร์เตารอตและอินญีล ดังนี้ว่า
บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูล ผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็นที่พวกเขาพบว่าเขาถูกจารึกไว้ในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีล ณ พวกเขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ 157)
หรือในประเด็นที่คล้ายคลึงกันกล่าวคืออัล-กุรอาน ได้เชิญชวนบรรดาชาวคริสต์ ไปยังหลักฐานตามที่อินญีลได้ประทานแก่พวกเขา และให้ตัดสินพวกเขาตามกฎเกณฑ์ที่ปรากฏในอินญีล ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า
และบรรดาผู้ที่ได้รับอัล-อินญีล จงตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาในนั้น และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานลงมาชนเหล่านี้คือผู้ที่ละเมิด (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 47)
และหากว่าเขาเหล่านั้นได้ตำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอตและอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเขาจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 66)
จงกล่าวเถิดว่า โอ้ บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลายพวกท่านมิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดจนกว่าพวกท่านจะดำรงอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่สูเจ้าจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 68)
แม้ว่าอัล-กุรอาน จะมิได้อธิบายรายละเอียดของอินญีลไว้ทั้งหมดก็ตาม แต่สามารถกล่าวได้ว่าประเด็นดังต่อไปนี้ คือ ประเด็นที่อัล-กุรอาน กล่าวถึงอินญีล
1. การรับรองอินญีลโดยอัล-กุรอาน ดังกุรอานกล่าวว่า
และเราได้ประทานคัมภีร์ (กุรอาน) ลงมาแก่เจ้าโดยสัจจริงในฐานะที่ยืนยันคัมภีร์ (เตารอตและอินญีล) ที่อยู่เบื้องหน้าและปกป้องคัมภีร์นั้น (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 48)
และสิ่งที่มาจากคัมภีร์ที่เราได้ประทานแก่เจ้านั้น คือ สัจธรรมเป็นการรับรองคัมภีร์ที่ได้มีมาก่อนหน้านั้น อัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงตระหนักผู้ทรงมองเห็นบ่าวของพระองค์ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทฟาฏิร โองการที่ 31)
นี้คือคัมภีร์ซึ่งเราได้ประทานลงมา อันเป็นคัมภีร์ที่มีความจำเริญและรับรองสิ่งที่อยู่เยื้องหน้าคัมภีร์ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอันอาม โองการที่ 92)
การที่อัล-กุรอาน รับรองคัมภีร์เตารอตและอินญีลที่ถูกประทานมาก่อนหน้านั้น หมายถึงอัล-กุรอาน รับรองความเป็นวะฮฺยูของคัมภีร์ทั้งสอง รับรองประเด็นเรื่องความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และวันแห่งการฟื้นคืนชีพ มิได้หมายความว่าอัล-กุรอาน รับรองคัมภีร์เตารอตและอินญีลและรายละเอียดทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คัมภีร์อินญีลรับรองความสมบูรณ์ของคัมภีร์เตารอต ดังที่อัล-กุราอน ยืนยันว่า
และเราได้ประทานอีซาบุตรของมัรยัมตามหลังบรรดาศาสดาก่อนหน้านั้นมา ในฐานะเป็นผู้รับรอบอัต-เตารอตที่อยู่เบื้องหน้าเขา และเราได้ประทานอัล-อินญีลแก่เขา ซึ่งในนั้นมีคำแนะนำ แสงสว่าง และรับรองอัต-เตารอต คัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้า เป็นคำแนะนำและเป็นคำตักเตือนสำหรับผู้ยำเกรงทั้งหลาย (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 46)
ศาสนาของเยซูมิได้ถูกประทานลงมาเพื่อทำลายศาสนาของโมเสสแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรอาน บางโองการจึงยืนยันและรับรองทั้งสองว่า พระเจ้าทรงประทานทั้งเตารอตและอินญีลแก่เยซู ดังอัล-กุรอานกล่าวว่า
และพระองค์ทรงสอนคัมภีร์ วิทยปัญญา อัตเตารอต และอัลอินญีลแก่เขา (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทมาอาลิอิมรอน โองการที่ 48)
จงรำลึกถึงเมื่ออัลลอฮตรัสแก่อีซาบุตรของมัรยัมว่า จงรำถึงความโปรดปรานของข้าที่ประทานแก่เจ้าและมารดาของเจ้า ขณะที่ข้าได้ส่งเสริมวิญญาณอันบริสุทธิ์แก่เจ้าโดยให้เจ้าพูดกับประชาชน ขณะที่อยู่ในเปลและเมื่อโตแล้ว และเมื่อข้าได้สอนคัมภีร์ วิทยปัญญา อัต-เตารอตและอัล-อิน-ญีลแก่เจ้า (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 110)
อินญีล เป็นคัมภีร์แห่งทางนำและเป็นรัศมี
อัล-กุรอานกล่าวว่า เราได้ประทานอัล-อินญีลแก่เขา ซึ่งในนั้นมีคำแนะนำ แสงสว่าง (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 46)
อินญีล เป็นคัมภีร์แห่งคำตักเตือนสำหรับผู้มีความยำเกรงทั้งหลาย
อัล-กุรอาน กล่าวว่า อินญีลเป็นคำแนะนำและเป็นคำตักเตือนสำหรับผู้ยำเกรงทั้งหลาย (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการที่ 46)
อินญีล เป็นคัมภีร์ที่นอกเหนือจากคำตักเตือนแล้วยังประกอบไปด้วยหลักคำสอนและหลักปฏิบัติต่าง ๆ ที่ชาวคริสต์ทั้งหลายต้องปฏิบัติตามด้วยความเคร่งครัด อัล-กุรอานกล่าวว่า
ข้ารับรองคัมภีร์เตารอตที่อยู่เบื้องหน้าของข้า และข้ามาเพื่อจะอนุมัติบางสิ่งที่ถูกห้ามแก่พวกเจ้า (เช่นเนื้อสัตว์สี่เท้าบางประเภทและปลา) และข้าได้นำสัญญาณจากพระผู้อภิบาลของเจ้ามาแสดงต่อพวกเจ้า ดังนั้น จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงเชื่อฟังข้า (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 3)
และบรรดาผู้ที่ได้รับอัล-อินญีล (ผู้ปฏิบัติตามเยซู) จงตัดสินตามที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมา และผู้ใดที่มิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ประทานลงมา พวกเขาคือผู้ฝ่าฝืน (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 47)
อัล-กุรอาน กล่าวถึงพันธสัญญาของพระเจ้าอันเป็นพันธสัญญาที่ปรากฏในคัมภีร์เตารอตและอินญีลเช่นกัน เช่น พันธสัญญาเกี่ยวกับสวรรค์ ซึ่งพระเจ้าจะประทานแก่บรรดาผู้ที่ได้ต่อสู้ดิ้นรนบนหนทางของพระองค์ อัล-กุรอาน กล่าวว่า
แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงซื้อจากผู้ศรัทธาซึ่งชีวิตและทรัพย์สมบัติของพวกเขา โดยพวกเขาจะได้รับสรวงสวรรค์เป็นการตอบแทน (ด้วยเงื่อนไขที่ว่า) พวกเขาต้องต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ ไม่ว่าพวกเขาจะสังหารหรือถูกสังหารก็ตาม นี่คือสัญญาที่เป็นจริงสำหรับพวกเขาซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์เตารอต อินญีล และกุรอาน และใครเล่าจะรักษาสัญญาของเขาได้ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮฺ ดังนั้น สูเจ้าจงยินดีการขายของเจ้าซึ่งสูเจ้าได้ขายกับอัลลอฮฺ และนั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 111)
อัล-กุรอาน กล่าวถึงข่าวและคำพยากรณ์เกี่ยวกับอนาคตกาลที่ปรากฏอยู่ในอิลญีล เช่น การแต่งตั้งศาสดา และคุณสมบัติบางประการของบรรดาสาวกของท่านเอาไว้ อัล-กุรอาน กล่าวว่า
บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูล ผู้เป็นนบีที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็น นบีซึ่งพวกเขาจะพบคุณสมบัติบางประการถูกจารึกไว้ ณ อัต-เตารอตและอัล-อินญีลที่อยู่ ณ พวกเขา ท่านจะกำชับพวกเขาให้กระทำดีและห้ามพวกเขามิให้กระทำชั่ว และจะอนุมัติสิ่งสะอาดบริสุทธิ์ต่าง ๆ และห้ามสิ่งโสโครกทั้งหลายแก่พวกเขา พร้อมกับปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งและห่วงคล้องคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขาออกไป ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา สนับสนุน ช่วยเหลือ และปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขา พวกเขาคือผู้ประสบความสำเร็จ (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ 157)
มุฮัมมัดเป็นเราะซูลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขาเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธ เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขากันเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้ก้มโค้งและกราบคารวะ โดยแสวงหาคุณความดีและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เครื่องหมายของพวกเขาอยู่บนใบหน้าเนื่องจากร่องรอยแห่งการกราบคารวะ คุณลักษณะของพวกเขาปรากฏอยู่ในอัตเตารอตและอัลอินญีล (พระมหาคัมภีร์ อัล-กุรอาน บทอัลฟัตฮฺ โองการที่ 29)