อัลกุรอานถูกบิดเบือนจริงหรือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน คือมุอ์ญิซะฮ์(ปาฏิหาริย์)ที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งอันเป็นบทพิสูจน์ว่าท่านนบีมุฮัมมัดคือรอซูลุลลอฮ์ (หมายถึงบุคคลที่อัลลอฮ์ส่งมาสอนหลักธรรมแก่มนุษย์)

ไม่เคยมีมนุษย์คนใดลอกเลียนแบบหรือแต่งคัมภีร์ให้เหมือนได้แม้เพียงหนึ่งบท(ซูเราะฮ์)จากอัลกุรอาน

قُل لَّئِنِ اجْتَمَعَتِ الإِنسُ وَالْجِنُّ عَلَى أَن يَأْتُواْ بِمِثْلِ هَذَا الْقُرْآنِ لاَ يَأْتُونَ بِمِثْلِهِ وَلَوْ كَانَ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ ظَهِيرًا

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม

อัลอิสรอ : 88

อัลลอฮ์ตะอาลาคือผู้ทรงปกปักษ์รักษาคัมภีร์อัลกุรอานไว้ เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ

แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมา และแท้จริงเราคือผู้ปกป้องมัน

อัลหิจญ์รุ : 9

คัมภีร์อัลกุรอาน มี 114 บท (ซูเราะฮ์) ถ้านับเป็นโองการมีจำนวนทั้งหมด 6,236 โองการ (อายะฮ์) เราในฐานะผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์จึงเชื่อว่า มีคัมภีร์ในโลกเล่มเดียวเท่านั้นที่ ถูกต้อง(ซอฮี๊ฮฺ), สมบูรณ์(กามิล)และได้รับการคุ้มครองความบริสุทธิ์ไว้(มะอ์ซูม)จนถึงวันสิ้นโลก หนังสือเล่มนั้นคือ คัมภีร์อัลกุรอาน

หนังสือฮะดีษ ในที่นี้ต้องการสื่อถึง หนังสือที่บันทึกคำพูด การกระทำและการรับรองของท่านนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)

ความสุดยอดประการหนึ่งในอิสลามเกี่ยวกับการบันทึกเรื่องราวของท่านนบีมุฮัมมัดคือ อิสนาด หรือสะนัด ซึ่งหมายถึง สายรายงาน หรือสายสืบของหะดีษ

นักวิชาการได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบหะดีษว่า หะดีษใดถูกต้องหรือหะดีษใดอยู่ในสถานะที่เชื่อถือไม่ได้ ปัจจุบันมุสลิมยิ่งได้รับความสะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของหะดีษจากสื่อสารต่างๆมากมาย และยังมีนักวิชาการส่วนหนึ่งได้ทุ่มเทความอุตสาหะตรวจสอบหะดีษทั้งหลายไว้ให้เรา โดยมีการจำแนกออกเป็นหนังสือหะดีษประเภทซอฮี๊ฮฺ ประเภทดออีฟและอื่นๆ เพื่อสร้างความสะดวกแก่นักศึกษา

กลับเข้ามาที่เรื่อง” อัลกุรอานถูกตัดทอนและแก้ไขจริงหรือ “ ถ้าท่านเชื่อสิ่งที่อัลลอฮ์ตรัสรับรองไว้ ท่านก็ต้องแน่ใจว่า คัมภีร์อัลกุรอานไม่เคยถูกบิดเบือนนับจากวันแรกที่ถูกประทานลงมาตราบจนถึงวันสิ้นโลก

อะฮ์ลุลบัยต์รายงานว่า อัลกุรอานถูกตะห์รีฟ

โปรดทราบก่อนว่า นักวิชาการในมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์ไม่เคยประกาศว่า มีตำราหะดีษเล่มใดในโลกซอฮี๊ฮฺ เพราะฉะนั้นหะดีษทั้งหมด

1. ต้องนำมาตรวจสอบว่า ถูกต้อง(ซอฮี๊ฮฺ) หรือไม่ซอฮี๊ฮฺ

2. แม้หะดีษจะถูกต้อง แต่หากเนื้อหาขัดกับอัลกุรอาน ก็ถือว่าโมฆะ

สาเหตุที่เราต้องทิ้งหะดีษที่ขัดแย้งกับอัลกุรอานเพราะ

1. ท่านรอซูลุลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์สั่งให้ทิ้ง

2. เป็นไปไม่ได้ที่ท่านรอซูลุลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์จะพูดสิ่งใดขัดกับอัลกุรอาน

หลักฐาน

الكافي ج : 1 ص : 69

بَابُ الْأَخْذِ بِالسُّنَّةِ وَ شَوَاهِدِ الْكِتَابِ

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلي الله عليه وآله : إِنَّ عَلَى كُلِّ حَقٍّ حَقِيقَةً وَ عَلَى كُلِّ صَوَابٍ نُوراً فَمَا وَافَقَ كِتَابَ اللَّهِ فَخُذُوهُ وَ مَا خَالَفَ كِتَابَ اللَّهِ فَدَعُوهُ ) موثق(

แท้จริงทุกๆสัจธรรมนั้นต้องมีความจริง และทุกๆความถูกต้องนั้นต้องมีรัศมี ดังนั้นสิ่งใดที่ตรงกับคัมภีร์ของอัลลอฮ์ พวกเจ้าจงยึดมันเอาไว้ และสิ่งใดที่ขัดกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺพวกเจ้าจงทิ้งมัน

สถานะดีษ : มุวัษษัก(เชื่อได้) อัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 : 69 หะดีษที่ 1

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

عَنْ أَيُّوبَ بْنِ الْحُرِّ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ عليه السلام : كُلُّ حَدِيثٍ لَا يُوَافِقُ كِتَابَ اللَّهِ فَهُوَ زُخْرُفٌ

)اي المموه المزور والكذب ).(صحيح(

อัยยูบ บินอัลฮีเล่าว่า : ฉันได้ยินท่านอบูอับดุลลอฮ์(อิม่ามญะอ์ฟัร)กล่าวว่า : หะดีษทุกบทที่ไม่ตรงกับคัมภีร์ของอัลลอฮฺ มันคือความเท็จ

สถานะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ อัลกาฟี เชคกุลัยนี เล่ม 1 : 69 หะดีษที่ 3

ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

เราพบหะดีษที่อะฮ์ลุลบัยต์รายงานว่า อัลกุรอานถูกบิดเบือนซึ่งถ้าได้ตรวจสอบฮะดีษเหล่านั้นจะพบว่า

มีทั้งรอวีและสะนัดดออีฟ (ผู้เล่าและสายรายงานที่เชื่อถือไม่ได้)

มีทั้งต้องตีความตัวบท(ตะอ์วีล)ฮะดีษเหล่านั้น จะยึดความหมายที่แปลตรงตัวตามหลักภาษาไม่ได้

ตัวอย่างเช่น

عَلِيُّ بْنُ الْحَكَمِ عَنْ هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّ الْقُرْآنَ الَّذِي جَاءَ بِهِ جَبْرَئِيلُ ع إِلَى مُحَمَّدٍ ص سَبْعَةَ عَشَرَ أَلْفَ آيَةٍ

อะลี บินหะกัม จากฮิชาม บินซาลิม จากท่านอบูญะอ์ฟัร (อิม่ามบาเก็ร)กล่าวว่า :

แท้จริงอัลกุรอานที่ญิบรออีลนำมายังท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีจำนวน 17,000 โองการ

สถานะหะดีษ : ดออีฟ ดูอัลกาฟี เล่ม 2 หน้า 634 หะดีษที่ 28 บาบอัน-นะวาดิร

วิเคราะห์สายรายงาน

เชคกุลัยนีเองไม่ได้ยอมรับว่าฮะดีษนี้ถูกต้อง( ซอฮี๊ฮฺ ) เขาจึงบันทึกไว้ในบาบ อันนะวาดิร ฮะดีษนาดิรหมายถึง ฮะดีษช๊าซ( الشاذ - แหวกแนว ) มีเพียงหนึ่งฮะดีษในหนังสืออัลกาฟี โดยที่ไม่พบในหนังสือหะดีษเล่มอื่นๆอีก ส่วนสะนัดฮะดีษ มีผู้รายงานเพียงคนเดียวคือ : ฮิชาม บินซาลิม ฮะดีษบทนี้จึงเป็นฮะดีษประเภทอาฮ๊าด( آحاد ) หรือค่อบัรวาฮิด( خبرالواحد ) ฮะดีษอาฮ๊าดจะยึดถือเป็นบรรทัดฐานทางอะกีดะฮ์และอะห์กามไม่ได้ทั้งสิ้น อีกประการหนึ่งเป็นฮะดีษที่ไม่มัชฮูร(ไม่เป็นที่เลื่องลือรู้จัก) นักวิชาการมัซฮับอะฮ์ลุลบัยต์มีหลักการว่าต้องเชื่อและปฏิบัติตามเรื่องที่เป็นมติของบรรดาอุละมาอฮ์ ซึ่งเรียกว่าอิจญ์ติม๊าอ์เท่านั้น

อัลกุรอานฉบับที่กษัตริย์ฟาฮัดแห่งประเทศซาอุดิอารเบียพิมพ์แจกจ่ายทั่วโลก มีจำนวน 6,236 อายะฮ์ จะเห็นได้ว่า ในมัสญิดทุกหลัง ล้วนมีอัลกุรอานฉบับคิงฟาฮัดนี้ใช้อ่านกันอยู่ทุกวัน หากมีอัลกุรอานฉบับอื่นจริง ย่อมจะต้องมีใครนำอัลกุรอานฉบับที่มีจำนวน17,000 โองการออกมาประกาศให้โลกมุสลิมได้รับรู้ไปนานแล้ว

ในทำนองกลับกันหากพี่น้องอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ได้กลับไปดูตำราฮะดีษของพวกเขา จะพบว่ามีฮะดีษที่รายงานว่า อัลกุรอานถูกตัดออกไปหรือสูญหายไป ซึ่งฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์เองก็ไม่อาจจะปฏิเสธฮะดีษเหล่านั้นได้ เพราะมันเป็นฮะดีษซอฮี๊ฮฺ(ถูกต้อง)เช่น

قال حدثنا ابن أبي مريم عن ابن لهيعة عن أبي الأسود عن عروة بن الزبير عن عائشة قالت كانت سورة الأحزاب تقرأ في زمن النبي مائتي آية فلما كتب عثمان المصاحف لم يقدر منها إلا على ما هو الآن الإتقان في علوم القران للسيوطي ج 2 ص 66 ح : 4118

จากอุรวะฮ์ บินซุเบร จากท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า : เดิมทีซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบที่เราเคยอ่านกันในสมัยท่านนบี(ศ็อลฯ)มีจำนวน 200 โองการ ต่อมาเมื่อท่านอุษมานได้รวบรวมบันทึกมุศฮัฟต่างๆ เราไม่สามารถ(หาเจอ)จากอายะฮ์เหล่านั้น นอกจากที่มันมีอยู่ตอนนี้

อ้างอิงจากหนังสือ อัลอิตกอน ฟีอุลูมิลกุรอ่าน โดยซิยูตี เล่ม 2 : 66 หะดีษที่ 4118

عن عَاصِمِ بْنِ أَبِي النَّجُودِ عَنْ زِرٍّ (يَعْنِي ابْنَ حُبَيْشٍ) عن أبي بن كعب قال : كَانَتْ سُورَةُ الأَحْزَابِ تُوَازِي سُورَةَ الْبَقَرَةِ ، فَكَانَ فِيهَا : الشَّيْخُ وَالشَّيْخَةُ ، إِذَا زَنَيَا ، فَارْجُمُوهُمَا الْبَتَّةَ.

قال شعيب الأرنؤوط : عاصم بن أبي النجود صدوق له أوهام وحديثه في الصحيحين مقرون وباقي السند ثقات على شرط الصحيح

صحيح ابن حبان ج 10 ص 273 ح : 4428 لأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

จากอาศิม บินอบิน-นะญูด จากท่านอุบัย บินกะอับเล่าว่า : เดิมซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบนั้นมีขนาด(คือมีจำนวน)เท่าซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ ในนั้นมีโองการ ชายชราและหญิงชรา เมื่อทั้งสองทำซีนา ดังนั้นจงขว้างทั้งสอง(ด้วยหิน)

สถานะหะดีษ : ซอฮี๊ฮฺ ดูซอฮี๊ฮฺ อิบนุหิบบาน หะดีษที่ 4428 ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ

ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบในอัลกุรอานฉบับที่กษัตริย์ฟาฮัดแห่งประเทศซาอุดิอารเบียพิมพ์แจกจ่ายทั่วโลก จำนวน 73 โองการ แต่ฮะดีษซอฮี๊ฮฺข้างต้นระบุว่ามีจำนวนเท่ากับซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์(จำนวน 286 โองการ) นั่นแสดงว่ามี 127 โองการสูญหายไปจากซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ ขอถามว่า 127 อายะฮ์ดังกล่าวหายไปไหน

นักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์อาจอ้างว่า 127 อายะฮ์ดังกล่าวถูกยกเลิก(มันซูค)

ถามว่า มันถูกยกเลิกไปหลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิตกระนั้นหรือ ถูกยกเลิกไปเพราะอะไร และหลักฐานการยกเลิกโองการเหล่านี้ระบุไว้ในหนังสือเล่มไหน อย่างไร ?

นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น แล้วเราจะทยอยนำฮะดีษอื่นๆมานำเสนอในตอนต่อไป อินชาอัลลอฮ์