') //-->
ปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ออกนอกแนวทางของพระเจ้า มีหลายประการแต่ประเด็นที่สำคัญอาจกล่าวได้ดังนี้ว่า
1. ความเกรงกลัวที่มีต่อผู้อธรรม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่หันเหชีวิตออกจากพระเจ้า อัล-กุรอาน กล่าวว่า เขากล่าวว่า หากเจ้ายึดถือพระเจ้าอื่นนอกจากข้า ข้าจะให้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ต้องขัง (อัล-กุรอาน บทอัชชุอะรออฺ โองการที่ 29) เนื่องจากประชาชนกลัวฟาโรห์พวกเขาจึงหันเหชีวิตออกจากพระเจ้าที่แท้จริงไปเคารพสักการะฟาโรห์แทน
2. ความอคติชนิดไร้เหตุผล เนื่องจากบางครั้งความรักและความผูกพันที่มีต่อบางสิ่งบางอย่าง หรือกับบุคคลเป็นสาเหตุสำคัญที่หันเหชีวิตของเราให้เบี่ยงเบนไปในทางสรรพสิ่ง หรือบุคคลที่ตนหลงใหลและชื่นชอบโดยมอบให้สิ่งเหล่านั้นเป็นศูนย์กลางความหวังสำหรับตน อัล-กุรอาน กล่าวว่า พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้านอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ และยึดเอาอัล-มะซีฮฺบุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าทั้ง ๆ ที่พวกเขามิได้ถูกใช้ให้กระทำเช่นนั้น นอกจากเพื่อเคารพภักดีต่อผู้ทีสมควรได้รับการเคารพภักดีแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพภักดี นอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคีขึ้น (อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 31)
3. การตั้งความหวังไม่ถูกที่ถูกทาง บางครั้งมนุษย์พึ่งพิงสิ่งอื่นนอกจากพระเจ้าโดยคาดหวังให้สิ่งเหล่านั้นช่วยเหลือตน หรือต้องการเกียรติยศจากสิ่งเหล่านั้น อัล-กุรอาน กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่ามีบางกลุ่มชนได้ตั้งความหวังกับสิ่งอื่นโดยหวังว่าสิ่งเหล่านั้นจะช่วยเหลือเขาได้ โดยกล่าวว่า
และพวกเขาได้ยึดถือเอาพระเจ้ามากหลาย (เป็นที่เคารพสักการะ) นอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ โดยหวังว่าพวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ (อัล-กุรอาน บทยาซีน โองการที่ 74)
อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า และพวกเขาได้ยึดเอารูปปั้นต่าง ๆ เป็นพระเจ้านอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ เพื่อที่จะเป็นพลังอำนาจแก่พวกเขา (อัล-กุรอาน บทมัรยัม โองการที่ 81)
1. ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างสรรค์ ในสังคมอิสลามก่อให้เกิดความเป็นพี่น้องและความสมานฉันท์
2. ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงเอกะ จะทำลายความเท็จและสิ่งจอมปลอมทั้งหลายให้สิ้นไป โน้มนำมนุษย์ไปสู่การเป็นบ่าวต่อพระเจ้าองค์เดียว และอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน
3.การำลึกถึงพระเจ้าการปกครองและบทบัญญัติของพระองค์ ทำให้จิตใจเป็นสุขและอยู่ในระดับที่มีความประเสริฐสุขของสังคม รู้จักเสียสละเรื่องส่วนตัวเพื่อสังคมส่วนรวม ซึ่งการเสียสละจะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลนั้นมีความมั่นใจว่าสิ่งที่ตนเสียสละไปนั้นไม่สูญเปล่า เนื่องจากพระเจ้าจักทรงตอบแทนสิ่งเหล่านั้น ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ร่มเงาของความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียว
4. ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในหมู่ประชาชาติ ความศรัทธายังถือว่าเป็นสื่อในการสร้างความเป็นเอกภาพที่ดีที่สุด ดังเป็นที่ประจักษ์ว่าความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า คือเกราะป้องกันที่ดีที่สุต่อการบีบคั้นของผู้อธรรม
1. ก่อให้เกิดความรักและความอบอุ่น เนื่องจากบุคคลที่ทราบว่าภารกิจทั้งหมดของตนอยู่ภายใต้การปกปักษ์รักษาและไม่มีวันจะถูกทำลายให้สูญสิ้น ซึ่งผู้ที่ซื้อความเพียรพยายามของตนคือพระเจ้า พระองค์ทรงซื้อสินค้าของตนด้วยราคาที่แพงลิบลิ่ว ด้วยสรวงสวรรค์และความโปรดปรานและบางครั้งมิใช่ความเพียรพยายามเท่านั้นเพียงแค่ตนมีเจตนาดีพระองค์ก็จะทรงมอบรางวัลเป็นการตอบแทน แน่นอน บุคคลที่มีความรู้สึกเช่นนี้เขาย่อมใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและอบอุ่นยิ่งนัก
2. ทุกภารกิจทั้งหมดของตนจะกระทำเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระเจ้า จะไม่กระทำสิ่งใดอย่างเห็นแก่ตัวหรือเพื่อการโอ้อวดและจะออกห่างจากเล่ห์เพทุบายต่าง ๆ เนื่องจากบุคคลที่อยู่ ณ พระพักตร์ของพระเจ้าและรู้ดีว่าพระองค์คือสักขีพยานการกระทำของตน ดังนั้น เขาจะไม่ใช้เล่ห์กลในการหลอกลวงผู้อื่น
3. ตนจะเป็นผู้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี เนื่องจากบุคคลที่ยอมรับว่าตนเป็นบ่าวของพระเจ้า เขาจะไม่ยอมจำนนต่อตำแหน่งหรืออำนาจอื่นใด ๆ ทั้งสิ้น และจะตระหนักเสมอว่าบุคคลอื่นก็เป็นบ่าวเช่นเดียวกับตน ด้วยเหตุนี้ ตนจึงจะไม่เกรงกลัวบุคคลหรืออำนาจอื่นใดนอกจากพระเจ้าเท่านั้น ดังอัล-กุรอานกล่าวว่า สูเจ้าจงอย่าเกรงกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน บทอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 39)
4. ตนจะมองว่ามนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งถูกสร้างและเป็นบ่าวของพระเจ้า ดังนั้นทุกคนจึงมีความเสมอภาคกัน อิมามอะลี (อ.) ขณะจัดแบ่งเงินท้องพระคลังอิสลามแก่ประชาชน ท่านจะไม่แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาวอาหรับหรือมิไม่อาหรับ ท่านจึงตอบผู้ที่ถามว่าว่าทำไมท่านจึงไม่แบ่งแยกระหว่างชนชั้นว่า พระเจ้าของพวกเขามีหนึ่งเดียว ในหมู่พวกเขาจึงไม่มีความแตกต่าง
5. ตนจะรักษาความยุติธรรมและสิทธิของบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลที่เคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว จะไม่ใส่ใจต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น ดังนั้น ตนจะกระทำเฉพาะสิ่งที่เป็นหน้าที่ตามศาสนบัญญัติของตนเท่านั้น
6. ตนจะไม่ขายความยากจนด้วยการกระทำที่น่ารังเกียจ เนื่องจากความหวาดกลัวเด็ดขาด บุคคลที่มีความศรัทธาต่อพระเจ้าและเชื่อมั่นว่าพระองค์ คือ ผู้ประทานปัจจัยยังชีพแก่ตนและครอบครัว ด้วยเหตุนี้ เขาจะไม่หลีกเลี่ยงการแต่งงานเพราะกลัวความยากจนเด็ดขาด อัล-กุรอาน กล่าวว่า ถ้าหากสูเจ้ายากจนอัลลอฮฺจะทรงทำให้สูเจ้ามั่งคั่งด้วยความโปรดปรานของพระองค์ (อัล-กุรอาน บทอันนูร โองการที่ 32)
7. ตนจะไม่กระทำสิ่งเลวร้ายอันเป็นความเสียหายเด็ดขาด เนื่องจากสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามภารกิจที่สูญสลายและว่างเปล่าของตน คือ ความยั่งยืนถาวรตนจะไม่พึ่งพาอำนาจอื่นใดนอกจากอำนาจของพระองค์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ตนจึงมีความสงบและความสันติพิเศษอยู่ในตัว
ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงสาเหตุของความหวาดกลัวและความประหม่า เพื่อจะได้เปรียบเทียบได้ความศรัทธาในพระเจ้าสร้างความสงบและอบอุ่นใจได้มากเพียงใด
1. บางครั้งความประหม่าหรือความกังวลใจ เกิดจากความกลัวในความผิดที่เคยก่อไว้ในอดีต ซึ่งความประหม่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นความสงบมั่นได้ ด้วยความศรัทธามั่นการวิงวอนขออภัยและการรำลึกถึงพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร เนื่องจากพระองค์คือผู้ทรงอภัยในความผิด และทรงตอบรับการลุแก่โทษของปวงบ่าว
2. บางครั้งรากเหง้าของความประหม่าและความกังวลใจ เกิดจากความรู้สึกโดดเดี่ยวซึ่งความศรัทธาต่อพระเจ้าสามารถเปลี่ยนให้เป็นความอบอุ่นใจแทนได้ บุคคลที่มีความศรัทธาจะกล่าวว่า พระเจ้าทรงใกล้ชิดและทรงให้ความใกล้ชิดพระองค์ทรงได้ยินคำพูดของฉัน ทรงมองเห็นและทรงเมตตาต่อฉัน
3. บางครั้งความประหม่าและความกังวลใจเกิดจากความอ่อนแอ ความศรัทธาต่อพระเจ้าผู้ทรงมีอำนาจอันไร้ขอบเขตจำกัด การมอบหมายความไว้วางใจต่อพระองค์ และการขอความช่วยเหลือจากพระองค์สามารถทดแทนความกังวลเหล่านั้นให้หมดไปได้
4. บางครั้งความประหม่าเกิดจากความรู้สึกที่ไร้จุดหมายปลายทาง ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ขึ้นมาด้วยวิทยปัญญาและมีเป้าหมายอันเฉพาะเจาะในการสร้าง สามารถขจัดความประหม่าเหล่านี้ให้หมดไปได้
5. บางครั้งความประหม่าและความรู้สึกไม่สบายใจ เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ทุกคนพึงพอใจ ตนจึงไม่สบายใจว่าทำไมบุคคลหรือกลุ่มชนนั้นที่ฉันลำบากตรากตรำเพื่อพวกเขา แต่พวกเขากลับมองไม่เห็นคุณค่าหรือความดีของฉันแม้แต่น้อย แต่ถ้าเขาคิดได้ว่าไม่สมควรกระทำเช่นนั้นตนควรจะกระทำให้พระเจ้าพึงพอพระทัยเท่านั้นก็เพียงพอ เพราะเกียรติยศและความตกต่ำอยู่พระหัตถ์ของพระองค์ แน่นอน ความกังวลเหล่านั้นจะหมดไปจากเขา
6. บางครั้งความพยายามและการโฆษณาชวนเชื่อในทางไม่ดีของบุคคลอื่น จะทำให้คนเราไม่สบายใจและเป็นกังวล ขณะที่ความศรัทธาที่มีต่อพันธสัญญาที่พระองค์ทรงให้ว่า สัจธรรมจะขจัดและมีชัยชนะเหนือความอธรรมเสมอความไม่สบายใจเหล่านั้นจะหมดไปจากเขา
7.บางครั้งทรัพย์สินเงินทองและการเย้ยหยันของผู้อื่นจะเป็นสาเหตุสร้างความไม่สบายให้แก่ตน ขณะที่ความศรัทธาในพระเจ้าได้สอนแก่เราะซูลของพระองค์ว่า แท้จริง เราได้ให้ความพอเพียงแก่เจ้าและพวกเย้ยหยันแล้ว (อัล-กุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการที่ 95) ซึ่งความเพียงพอดังกล่าวจะขจัดความกังวลและความไม่สบายใจให้หมดไปจากเขา
ด้วยเหตุนี้ ถ้าสูเจ้าพบว่าอัล-กุรอานกล่าวว่า บรรดาผู้ศรัทธาจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ ฉะนั้น จงรู้ไว้เถิดว่าการรำลึกถึงอัลลอฮเท่านั้นที่ทำให้จิตใจสงบ (อัล-กุรอาน บทอัรเราะอฺดฺ โองการที่ 28)
1. ไม่ได้ใส่ใจต่อร่องรอยแห่งการมีอยู่ของพระเจ้า ถ้าหากกล่าวว่าร่างกายของมนุษย์ คือ ความมหัศจรรย์ของเซลล์ต่าง ๆ ที่ก่อตัวกันเป็นรูปร่างอะตอม 1 อะตอม หรือใบไม้ 1 ใบก็สามารถทำความรู้จักพระเจ้าได้สำหรับบุคคลที่ถวิลหาการรู้จัก แต่สำหรับบุคคลที่ไม่ใฝ่ใจในการรู้จักต่อให้เขาเห็นสัญลักษณ์และร่องรอยต่าง ๆ มากมาย เขาก็จะไม่มีวันรู้จักพระเจ้าได้อย่างแน่นอน โปรดพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ก. คนขายตับในวันหนึ่ง ๆ จะเชือดสัตว์หลายตัวเพื่อเอาตับไปเสียบไม้ย่างขาย แต่เขาไม่รู้จักการพิจารณาในสัญลักษณ์เหล่านั้น เนื่องจากเขามิได้อยู่ในฐานะที่จะทำการรู้จัก
ข. คนขายกระจกเงาที่มีทรงผมยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ ในวันหนึ่ง ๆ นับตั้งแต่เช้าจรดเย็นเขาจะส่องกระจกหลายครั้ง แต่เขาไม่เคยหวีผมให้ตนเองแม้สักครั้งเดียว เนื่องจากในความคิดของเขาเพียงแค่ต้องการขายกระจกเท่านั้นเองไม่ใช่หวีผม
จากตัวอย่างข้างต้นสรุปได้ว่าตราบใดที่มนุษย์ไม่คิดที่จะทำการรู้จัก เขาจะไม่มีวันรู้จักจะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าบุคคลหนึ่งรู้จักสังเกตร่องรอยการมีอยู่ของพระเจ้าและใคร่ครวญพิจารณา แต่ไม่ยอมรับและไม่ศรัทธา เนื่องจากเป้าหมายในการศึกษามิได้เพื่อการรู้จักพระเจ้า ถ้าบุคคลหนึ่งมีความคิดต้องการรู้จักพระเจ้าเพียงแค่เหตุผลเดียวก็สามารถรู้จักและมีศรัทธาได้ แต่สำหรับบุคคลที่ไม่มีความคิดดังกล่าวแม้ว่าจะมีเหตุผลสักหนึ่งร้อยหรือหนึ่งพันประการเขาก็ไม่สามารถยอมรับพระเจ้าได้
2. ความโปรดปรานอันต่อเนื่อง ถ้าหากว่าความโปรดปรานของพระเจ้าอยู่กับมนุษย์มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มแรก สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นสิ่งใหม่สำหรับเรา ดังที่เราได้เห็นร่องรอยของพระเจ้าแต่ไม่เคยรำลึกถึงพระองค์ และไม่เคยเห็นคุณค่าเป็นเพราะว่าเราอยู่กับความโปรดปรานนั้นมาตั้งแต่เริ่มแรก ตัวอย่าง
จนถึงปัจจุบันเรายังไม่เคยขอบคุณพระเจ้าแม้แต่ครั้งเดียว ที่พระองค์ทรงประทานนิ้วหัวแม่มือแก่เรา เนื่องจากนับตั้งแต่เกิดมาสิ่งนี้ก็อยู่กับเรามาโดยตลอด แต่ถ้าวันใดนิ้วหัวแม่มือได้รับบาดเจ็บหรือถูกตัดขาดไป จะเห็นว่าการไม่มีนิ้วหัวแม่มือเราไม่สามารถแม้แต่จะติดกระดุมเสื้อสักเม็ดเดียว (ซึ่งตอนนี้ท่านก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองลองติดกระดุมเสื้อโดยไม่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือช่วย) ฉะนั้น การมีความโปรดปรานอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ลืมเลือนพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในวิชาปรัชญา คือ การตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา อัล-กุรอาน กล่าวเตือนสำทับมนุษย์อยู่เสมอว่า
พระเ้จ้าทรงลงโทษชาวเมืองด้วยความแร้นแค้น และการเจ็บป่วย เพื่อพวกเขาจะได้นอบน้อม (อัล-กุรอาน บทอัลอะฮฺรอฟ โองการที่ 94)
อัล-กุรอาน กล่าวเน้นย้ำแก่มนุษย์ตลอดเวลาจงรำลึกถึงความโปรดปรานของพระเจ้าเสมอ ดังที่เห็นได้จากบทขอพรของบรรดาหมู่มวลมิตรในศาสนา กล่าวขอบคุณความโปรดปรานของพระเจ้าที่ละอย่าง เช่น
โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ พระองค์คือผู้ทรงให้การเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ ทรงนำเราออกจากความโง่เขลาไปสู่ความรู้และวิชาการ ทรงนำเราออกจากความคับแคบไปสู่ความกว้างขวาง ทรงปลดปล่อยเราจากผู้ยากจนให้เป็นผู้มั่งคั่ง และทรงเยียวยารักษาเราจากอาการป่วยไข้ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การรำลึกถึงพระเจ้าด้วยบทขอพรของบรรดาหมู่มวลมิตรของพระองค์นั้นมีอีกมากมาย จะนำเสนอในโอกาสต่อไป
3. ผลจากสภาพแวดล้อมทางสังคม อาจกล่าวได้ว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่หันเหมนุษย์ออกจากพระเจ้า ศาสนาและคำสั่งสอนอาจเป็นอิทธิของสภาพแวดล้อมทางสังคม และรสนิยมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนรังเกลียดการลักขโมยและการทรยศหักหลัง แต่ถ้าเขาอยู่ในสังคมทีมีบรรยากาศของการขโมย การก่ออบายมุขต่าง ๆ ตลอดจนความไม่ซื่อสัตย์และการทรยศหักหลัง แน่นอน เขาต้องดำเนินชีวิตไปตามสภาพแวดล้อมเช่นนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากอิทธิพลของสังคม
4. การหลบหลีความรับผิดชอบ บางครั้งความไม่ใส่ใจต่อศาสนาและคำสั่งสอนมีสาเหตุมาจาก การหลบหนีความรับผิดชอบ เนื่องจากการยอมรับศาสนาก็คือการยอมรับเงื่อนไขบางประการที่ศาสนากำหนด ดังนั้น จะเห็นว่าบางกลุ่มชนไม่สนใจคำสอนของศาสนาเพราะต้องการมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติและการแสดงออก พวกเขาลืมเลือนไปว่าในความเป็นจริงแล้วการไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสอนของพระเจ้า ก็เท่ากับได้เชื่อฟังและยอมจำนนต่อคำสั่งของคนอื่นโดยปริยาย เมื่อบุคคลหนึ่งไม่ยอมเป็นบ่าวของพระเจ้าของก็ต้องกลายเป็นบ่าวของทุกคน บุคคลที่ไม่ยอมรับคำสั่งสอนของพระองค์เขาก็ต้องนอบน้อมให้แก่คำสั่งของคนอื่น ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า
และผู้ใดเคารพต่อคำสั่งห้ามทั้งหลายของอัลลอฮฺ เป็นการดีสำหรับเขา ณ พระผู้อภิบาลของเขา บรรดาปศุสัตว์ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า เว้นแต่บางสิ่งที่ถูก (ห้าม) แก่สูเจ้า สูเจ้าจงหลีกไปให้พ้นจากความโสมมอันได้แก่การเคารพเจว็ดบูชา และจงออกห่างจากการกล่าวคำเท็จ สูเจ้าจงเป็นผู้ยึดมั่นความจริงและบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ จงอย่าตั้งภาคีเทียบเคียงพระองค์ และผู้ใดตั้งภาคีเที่ยบเคียงอัลลอฮฺ เสมือนว่าเขาร่วงลงมาจากชั้นฟ้า แล้วนกก็บินเฉี่ยวเอาเขาไป หรือลมพายุได้พัดพาเขาไปยังดินแดนอันไกลโพ้น (อัล-กุรอาน บทอัลลฮัจญฺ โองการที่ 30-31)
5. เป็นศัตรูกับความจริง จะเห็นว่าบางกลุ่มชนแสดงตนเป็นปรปักษ์ต่อสัจธรรมความจริง เนื่องจากความอคติ ความเห็นแก่ตัว อำนาจฝ่ายต่ำ และการเย้ยหยันสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้พวกเขาหันหลังให้แก่ศาสนา
6. แนวทางการเผยแผ่ไม่ถูกต้องตามหลักการ หรือการเพิกเฉยต่อการกล่าวถึงสัจธรรมความจริงและการไม่แนะนำความเท็จแก่สังคม อันเป็นสาเหตุทำให้ผู้คนไม่ใส่ในต่อพระเจ้าและคำสอนของพระองค์