') //-->
บุคคลที่ไม่ศรัทธาต่อพระเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณคือบุคคลประเภท
1. ไม่เห็นความสำคัญของตนเองและไม่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เขาพึงปรารถนาคือความสุขทางโลกและชีวิตการเป็นอยู่ที่สุขสบาย ซึ่งไม่แตกต่างอะไรไปจากวิถีชีวิตของปศุสัตว์โดยทั่วไป
2. การเคลื่อนไหวของตนเป็นเพียงการบังคับที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มิใช่เป็นการขับเคลื่อนเพื่อความสมบูรณ์
3. อนาคตเบื้องหลังความตายคือความสูญเปล่า เนื่องจากตนไม่เชื่่อเรื่องการมีชีวิตเบื้องหลังความตาย
4. ผู้ชี้นำทางชีวิตของตนบางครั้งเป็นผู้อธรรมภายนอก หรืออำนาจฝ่ายต่ำภายใน
5. แผนการในการดำเนินชีวิตของตนอยู่ท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัย อยู่ในขอบเขตจำกัดเต็มไปด้วยความบกพร่องและความผิดพลาด
6. ไม่สามารถหาคำตอบให้แก่ตนเองได้ว่าตนเกิดมาเพื่ออะไร ทำไมต้องจากไป และมีเป้าหมายอะไรในการดำรงชีวิต ในทางตรงกันข้ามความคิดทั้งหมดของตนกลับทุ่มเทว่าจะดำรงชีวิตอย่างไร มิได้คิดว่ามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร
อัล-กุรอานกล่าวถึงความศรัทธาประเภทต่าง ๆ และคำท้วงติง
1. ความศรัทธาชั่วพักชั่วครู่ เนื่องจากบางคนจะศรัทธาต่อเมื่อตนตกอยู่ในอันตราย หรือเมื่อเรือที่ตนกำลังโดยสารอยู่นั้นกำลังจำอับปรางลง เมื่อนั้นตนจะร้องตะโกนว่า โอ้ อัลลอฮฺ แต่เมื่อรอดพ้นจากอันตรายตนก็จะลืมทุกอย่างและหันไปสู่สิ่งอื่นที่นอกเหนือจากพระเจ้า
อัล-กุรอานกล่าวว่า ดังนั้น เมื่อพวกเขาขึ้นขี่เรือ พวกเขาต่างวิงวอนต่ออัลลอฮฺ ด้วยความบริสุทธิ์ใจในการขอพรต่อพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงช่วยพวกเขาให้ขึ้นบก พวกเขาก็ตั้งภาคีเทียบเคียงต่อพระองค์ (อัล-กุรอาน บทอังกะบูต โองการที่ 65)
2. ศรัทธาแบบลอกเรียนแบผู้อื่น เนื่องจากความศรัทธาของบางคนที่มีต่อพระเจ้าเกิดจากการทำตามบุคคลอื่นอย่างไม่มีเหตุผลและข้อพิสูจน์ ดังเช่น ความเชื่อของบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชาที่กล่าวตอบต่อบรรดาศาสดาว่า พวกเราเชื่อตามบรรพบุรุษของพวกเขา อัล-กุรอาน กล่าวตำหนิความเชื่อเช่นนี้ว่า
พวกเขากล่าวว่า เราได้พบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติกันมาเช่นนั้น (อัล-กุรอาน บทอัชชุอะรออฺ โองการที่ 74)
3. ความศรัทธาแบบพื้นฐาน เนื่องจากบางคนมีความศรัทธาแบบพื้นฐานธรรมดาทั่วไป โดยที่ความศรัทธาเหล่านั้นมิได้หลั่งไหลเข้าไปในจิตใจของพวกเขาแม้แต่น้อย อัล-กุรอาน กล่าวถึงความศรัทธาประเภทนี้ว่า อาหรับชาวชนบทกล่าวว่า พวกเราศรัทธาแล้ว จงกล่าวเถิดว่า พวกเจ้ายังมิได้ศรัทธาแต่จงกล่าวว่า เราเข้ารับอิสลามแล้ว เพราะความศรัทธายังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวกเจ้า (อัล-กุรอาน บทอัลฮจญฺรอต โองการที่ 14)
4. ความศรัทธาที่ปราศจาการปฏิบัติตาม ทั้งที่ตนเป็นผู้มีความรู้แต่กลับไม่ปฏิบัติตามความรู้ของตนเอง อัล-กุรอานหลายโองการกล่าวตำหนิความศรัทธาประเภทนี้ว่า
มนุษย์คิดว่าเพียงแค่กล่าวว่า เราศรัทธาแล้ว พวกเขาก็จะปลอดภัยและจะไม่ถูกทดสอบกระนั้นหรือ (อัล-กุรอาน บทอังกะบูต โองการที่ 2)
5. ความศรัทธาแบบสั่นคอน เนื่องจากบางคนมีความเคลือบแคลงในความศรัทธาของตน หรือเกิดความลังเลใจ ผู้ศรัทธาจำพวกนี้จะรอดูว่าผลจะเป็นอย่างไรและตนจะโอนเอียงและเลือกข้างนั้น อัล-กุรอาน กล่าวถึงบุคคลประเภทนี้ว่า
มนุษย์บางคนที่เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺบนขอบทางของศาสนา หากความดีมาประสบพวกเขาก็จะแสดงความพอใจต่อสิ่งนั้น แต่ถ้าความทุกข์ยากมาประสบ พวกเขาก็จะผินหน้าของเขากลับสู่การปฏิเสธ แท้จริง พวกเขาขาดทุนทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า และนี่เป็นความขาดทุนอย่างชัดแจ้ง (อัล-กุรอาน บทอัลฮัจญฺ โองการที่ 11)
6. ความศรัทธาที่ว่างเปล่า ในหนังสื่ออัลอุซูลอัลกาฟีย์มีอยู่หมวดหนึ่งนามว่าความว่างเปล่า เนื่องจากศาสนาของพวกเขาคือความว่างเปล่า ชนบางกลุ่มขณะมีชีวิตอยู่บนโลกดูเหมือนว่าจะมีศาสนา แต่ขณะที่กำลังจะตายกลายเป็นคนที่ปราศจากศาสนา เช่น บุคคลที่การบำเพ็ญฮัจญฺเป็นข้อบังคับสำหรับตน แต่ว่าตนมิได้ไปบำเพ็ญฮัจญฺ หรือบุคคลที่ไม่ได้บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวอันเป็นทานบังคับ (ซะกาต) เมื่อความตายกร่ำกรายมาถึงตนจะมีผู้กล่าวกับเขาว่า เขาจากไปเฉกเช่นบรรดายะฮูดีย์หรือนัซรอนีย์ (วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่มที่ 9 หน้า 33)
วันหนึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัว) ได้เข้าไปในมัสญิด และกล่าวกับผู้นมาซ 5 คนว่า พวกเจ้าจงลุกขึ้นและออกไปจากมัสญิดของเราเดี๋ยวนี้เพราะพวกเจ้านมาซ แต่ไม่ยอมจ่ายทานบังคับ (ซะกาต)
7. ความศรัทธาแบบแบ่งชนชั้นหรือเลือกสรร บางคนมีการเลือกสรรในการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน และอิสลามเฉพาะสวนที่เป็นประโยชน์กับตนเองเท่านั้น แต่ส่วนที่ไม่ตรงกับความปรารถนาหรือไม่ตรงกับเป้าหมายของตนพวกเขาจะละเว้นทั้งหมด อัล-กุรอาน กล่าวตำหนิพวกเขาว่า
และถ้าหากความจริงอยู่ข้างพวกเขาแล้ว พวกเขาจะรีบมาหาเขา (มุฮัมมัด) อย่างนอบน้อม (อัล-กุรอาน บทอันนูร โองการที่ 49)
อัล-กุรอานยังกล่าวถึงบุคคลพวกอีกว่า แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺ และบรรดาเราะซูลของพระองค์ต้องการที่จะแยกระหว่างอัลลอฮฺและบรรดาเราะซูลของพระองค์ จึงกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคนและปฏิเสธบางคน (อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการที่ 150)
ในยุคแรกของอิสลามมีชนกลุ่มใหญ่ได้มาหาท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัว) และกล่าวว่า พวกเราขอศรัทธาต่อท่านแต่มีเงื่อนไขว่าพวกเราจะไม่นมาซ ท่านศาสดากล่าวตอบพวกเขาว่า ศรัทธาโดยปราศจากนมาซเป็นไปไม่ได้
8. ศรัทธาแบบมีเลศใน เนื่องจากผู้นำชาวยิวในนครมะดีนะฮฺจำนวนหนึ่งวางแผนการว่าในตอนเช้าพวกเราจะไปพบท่านศาสดาเพื่อประกาศว่าพวกเราศรัทธาแล้ว และในตอนบ่ายของวันเดียวกันพวกเราจะถอนศรัทธาออกจากอิสลามและกลับไปนับถือศาสนายิวเหมือนเดิม เพื่อพวกเราจะได้กล่าวอ้างได้ว่าอิสลามมิใช่ศาสนาถูกต้องและไม่มีความจริง พวกเขาต้องการใช้วิธีนี้เพื่อ
หนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้ชาวยิวเข้ารับอิสลาม
สอง เพื่อสร้างความเคลือบแคลงสงสัยและความสั่นคอนให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิม เพราะอย่างน้อยที่สุดจะได้เห็นว่าศาสนาของพวกตนเป็นศาสนาสมบูรณ์แบบ
เมื่อถึงเช้าของวันใหม่เหล่าบรรดาผู้นำชาวยิวได้ทยอยกันเข้ารับอิสลาม แต่พอตกเย็นพวกเขาได้ถอนตัวออกจากอิสลามจนหมดสิ้น
พระเจ้าทรงแจ้งเหตุผลผ่านวะฮฺยูในศาสดาของพระองค์ทราบและอธิบายแก่บรรดามุสลิมว่า จงอย่าดีใจต่อการเข้ารับอิสลามของพวกเขาและจงอย่าเสียใจต่อการถอนตัวของพวกเขา อัล-กุรอาน กล่าวถึงพวกเขาว่า
จะมีชนกลุ่มหนึ่งจากหมู่ผู้ได้รับคัมภีร์กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่บรรดาผู้ที่ศรัทธาในตอนเช้า และจงปฏิเสธในตอน เย็นเพื่อว่าพวกเขาจะได้กลับใจ (อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 72)