') //-->
มุฮักกิก ฏูซี ถือว่า ความขันติ คือการควบคุมจิตของตนให้หลุดพ้นจากความอ่อนแอขณะเมื่อเจออุปสรรคและปัญหา และท่าน รอฆิบอิศฟะฮานี กล่าวไว้ในหนังสือ มุฟรอดาตของท่านว่า “ ความขันติ คือการควบคุมตนเองขณะเมื่อประสบความยากลำบากต่าง ๆ อาหรับจะกล่าวกันว่า “ ศอบัรตุดดาบบะฮ์” กล่าวคือ ฉันได้ขังสัตว์ไว้โดยไม่มีหญ้า ดังนั้น ความขันติ ก็คือ การควบคุมจิตโดยวางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและหลักการศาสนา”
เป็นการดีกว่าที่เราจะกล่าวว่า : ความขันติ คือศูนย์รวมของพลังและความแข็งแกร่งของจิต ซึ่งผลที่ตามมานั้นก็คือจะทำให้จิตไม่อ่อนไหวต่อปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ และจะทำให้จิตไม่ยอมจำนนต่ออำนาจฝ่ายต่ำ โดยที่ว่าการทำตามปัญญาและหลักการศาสนานั้นกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับเขาผู้นั้น และเช่นกัน ความขันติ คือการควบคุมจิตของตนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ความกังวลที่มีอยู่ในจิตใจ จากคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมขณะเมื่อประสบกับความทุกข์ต่าง ๆ อีกทั้งหักห้ามจิตของตนไม่ให้กระทำบาปและควบคุมจิตของตนให้ตั้งมั่นอยู่บนการภักดี ทั้งหมดนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ที่มีขันติธรรม
ตามคำนิยามที่กล่าวมา เราสามารถชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติบางประการของความขันติได้ดังนี้ เช่น ความกล้าหาญในสมรภูมิรบ ซึ่งตรงข้ามกับ ความขลาด , การเก็บรักษาความลับ ซึ่งตรงข้ามกับการเปิดโปงความลับ , การออกห่างจากการทำบาป ซึ่งตรงข้ามกับการทำความชั่ว , การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งตรงข้ามกับความตระหนี่ และ ฯลฯ
จะได้รับพลังอันนี้มาด้วยกับการฝึกฝนควบคุมจิตของตนโดยวางอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและหลักการศาสนาเมื่อประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ ส่วนมากอัลกุรอานและฮะดีษจะกล่าวถึงความขันติต่อปัญหาและอุปสรรคที่ได้ประสบ
ในขณะเดียวกันก็กล่าวถึงความขันติต่อด้านอื่น ๆ ไว้ไม่น้อยเช่นกัน
อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องความขันติไว้ว่า :
اصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ إِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأمُورِ
และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง (ซูเราะฮ์ ลุกมาน โองการที่ 17)
اصْبِرُوا وَصَابِرُوا
จงอดทนและจงต่างอดทนซึ่งกันและกัน (ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที่ 200)
فَاصْبِرْ عَلَى مَا يَقُولُونَ
ดังนั้น เจ้าจงอดทนต่อสิ่งที่พวกเขากล่าวถึง (ซูเราะฮ์ กอฟ โองการที่ 39)
فَاصْبِرْ إِنَّ وَعْدَ اللَّهِ حَقٌّ
ดังนั้น เจ้าจงอดทนเพราะแท้จริงสัญญาของอัลลอฮ์นั้นเป็นสัจธรรม (ซูเราะฮ์ ฆอฟิร โองการที่ 55)
وَلِرَبِّكَ فَاصْبِرْ
และเพื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าเท่านั้นจงอดทน (ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร โองการที่ 7)
فَاصْبِرْ لِحُكْمِ رَبِّكَ
ดังนั้น จงอดทนต่อบัญชาของพระผู้อภิบาลของเจ้า (ซูเราะฮ์ กอลัม โองการที่ 47)
وَاصْبِرْ وَمَا صَبْرُكَ إِلا بِاللَّهِ
และจงอดทนเถิด และการอดทนของเจ้าจะมีขึ้นไม่ได้ เว้นแต่ด้วย(การเตาฟีกของ) อัลลอฮ์ (ซูเราะฮ์ นะหล์ โองการที่ 127)
وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ
และจงตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน (ซูเราะฮ์ อัศร์ โองการที่ 3 )
وَاسْتَعِينُوا بِالصَّبْرِ
และพวกเจ้าจงอาศัยความอดทน (ซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 45)
وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ
และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด (ซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 155)
وَاللَّهُ يُحِبُّ الصَّابِرِينَ
และอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้ที่อดทนทั้งหลาย (ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน โองการที 146)
إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ
แท้จริงอัลลออ์นั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย (ซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 153)
إِنِّي جَزَيْتُهُمُ الْيَوْمَ بِمَا صَبَرُوا
แท้จริงข้าได้ตอบแทนรางวัลให้แก่พวกเขาแล้วในวันนี้ เพราะพวกเขาอดทน แท้จริงพวกเขาเท่านั้นเป็นผู้ได้รับชัยชนะ (ซูเราะฮ์ มุอ์มินูน โองการที่ 111)
وَلَنَجْزِيَنَّ الَّذِينَ صَبَرُوا أَجْرَهُمْ بِأَحْسَنِ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ
และแน่นอน เราจะตอบแทนบรรดาผู้อดทนซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้ (ซูเราะฮ์ นะหล์ โองการที่ 96)
أُولَئِكَ يُجْزَوْنَ الْغُرْفَةَ بِمَا صَبَرُوا
เขาเหล่านั้นจะได้รับการตอบแทน ในการที่พวกเขาอดทน (ซูเราะฮ์ ฟุรกอน โองการที่ 75)
نِعْمَ أَجْرُ الْعَامِلِينَ الَّذِينَ صَبَرُوا
ช่างเป็นรางวัลที่ประเสริฐของผู้กระทำความดี 59. คือบรรดาผู้อดทน (ซูเราะฮ์ อันกะบูต โองการที่ 58-59)
وَجَزَاهُمْ بِمَا صَبَرُوا جَنَّةً وَحَرِيرًا
และพระองค์จะทรงตอบแทนแก่พวกเขาด้วยสวนสวรรค์ และอาภรณ์ไหมแพรเนื่องเพราะพวกเขาอดทน (ซูเราะฮ์ อินซาน โองการที่ 12)