') //-->
- ความมากมายของบรรดาศาสดา
- จำนวนของบรรดาศาสดา
- นบูวัตและริซาละฮฺ
- บรรดาศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ
- สองสามประเด็นสำคัญ
ความมากมายของบรรดาศาสดา
จนถึงบัดนี้ได้อธิบายปัญหาหลักสำคัญ 3 ประการ อันเป็นรากฐานหลักของสภาวะการเป็นศาสดาและผู้ชี้นำทางไปแล้ว ซึ่งได้บทสรุปว่าเนื่องจากความไม่เพียงพอของมนุษย์ในการได้รับวิชาการทั้งหมด อันเป็นรากฐานสำคัญต่อความเจริญผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า วิทยปัญญาของมนุษย์ของพระเจ้าจึงกำหนดว่า จำเป็นต้องแต่งตั้งศาสดาหรือบรรดาศาสดาทั้งหลายขึ้นมา และทรงสั่งสอนสัจธรรมความจริงหรือสั่งสอนในสิ่งที่เป็นความจำเป็นเพื่อให้พวกเขาไปถึงประชาชนในสภาพสมบูรณ์ หรืออีกด้านหนึ่งพระองค์ทรงแนะนำบรรดาศาสดาแก่คนอื่นในลักษณะที่ว่า ข้อพิสูจน์และเหตุผลได้สมบูรณ์แล้วสำหรับพวกเขา ซึ่งแนวทางธรรมดาทั่วไปที่ง่ายที่ง่ายที่สุดที่พระองค์ทรงนำเสนอคือ การแสดงปาฏิหาริย์ นั่นเอง
ประเด็นดังกล่าวนี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลทางปัญญา แต่เหตุผลดังกล่าวมิได้บ่งบอกถึงจำนวนมากมายของบรรดาศาสดา คัมภีร์ และบทบัญญัติแห่งฟากฟ้าแต่อย่างใด และสมมุติว่าเงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นไปในลักษณะที่ว่า หากมีศาสดาองค์หนึ่งสามารถอรรถาธิบายความต้องการของมนุษย์ทั้งหมดจนกระทั่งถึงวันแห่งการอวสานของโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลหรือสังคมส่วนรวมในตลอดหน้าประวัติศาสตร์ทั้งหมดรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบของตน โดยผ่านสาส์นของท่านศาสดาองค์นั้น ถามว่าสมมุติฐานนี้ขัดแย้งกับข้อเรียกร้องของเหตุผลดังกล่าวกระนั้นหรือ
แต่เราต่างทราบกันดีว่า
ประการที่หนึ่ง อายุขัยของมนุษย์ทุกคน- แม้กระทั่งศาสดา- มีวาระกำหนดอันแน่นอน และวิทยปัญญาในการสร้างก็มิได้เป็นเช่นนั้นกล่าวคือ ศาสดาองค์แรกต้องดำรงชีวิตอยู่ตลอดชั่วกาลอวสานของโลกเพื่อทำหน้าที่ชี้นำมนุษย์ทุกคน
ประการที่สอง สถานภาพและเงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิงทั้งหมดมีความแตกต่างกันทั้งในเวลาและสถานที่ ซึ่งความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขพิเศษนี้ ความยุ่งยากที่มีขึ้นเรื่อย ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างสังคมย่อมมีผลทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพของบทบัญญัติ และเงื่อนไขของสังคม ซึ่งในบางกรณีมีความต้องการในกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยซ้ำไป ถ้าหากว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการอธิบายโดยศาสดาที่ได้รับการแต่งตั้งมาก่อนหน้านี้หลายพันปี ภารกิจทั้งหมดก็จะถือว่าไร้ประโยชน์ เนื่องจากการปกป้องรักษาหรือการนำเอาสิ่งนั้นมาประยุกต์ใช้กับสังคมหรือใช้ในประเด็นอันเฉพาะเจาะจง ย่อมเป็นเรื่องที่ยุงยากและลำบากอย่างยิ่ง
ประการที่สาม ในอดีตที่ผ่านมาความเป็นไปได้ในการประกาศเผยแผ่ศาสนา หรือประกาศเชิญชวนประชาชนทั้งโลกให้รับรู้ข่าวสารข้อมูลของศาสดาองค์หนึ่งเป็นไปได้ยาก
ประการที่สี่ คำสั่งสอนของศาสดาท่ามกลางประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ยอมรับ เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปย่อมได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอกของปัจจัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลง และมีการตีความที่ไม่ถูกต้อง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในคำสอนนั้น แนวทางใหม่อันเป็นแนวทางที่หลงผิดก็ย่อมเกิดขึ้นมา ดังเช่น ศาสนาเทวนิยมของศาสดาอีซาบุตรของมัรยัม (อ.) ซึ่งหลังจากมีการสังฆยานาหลายครั้งปัจจุบันจึงเกิดแนวทางใหม่ขึ้นมา กล่าวคือปัจจุบันชาวคริสต์มีความเชื่อในเรื่องพระบุตร พระจิต และพระวิญญาณ
เมื่อพิจารณาประเด็นดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าทฤษฎีที่ว่าด้วยการมีศาสดาหลายองค์ ความแตกต่างทางบทบัญญัติแห่งฟากฟ้า ความแตกต่างในเรื่องกฎเกณฑ์การปฏิบัติและกฎหมายทางสังคมย่อมเป็นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ดังอัล-กุรอาน กล่าวว่า
وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ الْكِتَابِ وَمُهَيْمِنًا عَلَيْهِ فَاحْكُم بَيْنَهُم بِمَا أَنزَلَ اللّهُ وَلاَ تَتَّبِعْ أَهْوَاءهُمْ عَمَّا جَاءكَ مِنَ الْحَقِّ لِكُلٍّ جَعَلْنَا مِنكُمْ شِرْعَةً وَمِنْهَاجًا وَلَوْ شَاء اللّهُ لَجَعَلَكُمْ أُمَّةً وَاحِدَةً وَلَكِن لِّيَبْلُوَكُمْ فِي مَآ آتَاكُم فَاسْتَبِقُوا الخَيْرَاتِ إِلَى الله مَرْجِعُكُمْ جَمِيعًا فَيُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ فِيهِ تَخْتَلِفُونَ
เราได้ประทานคัมภีร์ (กุรอาน) อันเป็นความสัจจริงลงมาแก่เจ้า ขณะที่อัล-กุรอานรับรองคัมภีร์ที่อยู่ก่อนหน้า อีกทั้งคอยพิทักษ์คัมภีร์เหล่านั้น ดังนั้น เจ้าจงตัดสินสินระหว่างพวกเขาตามเงื่อนไขที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเถิด จงอย่าปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของพวกเขา จงอย่าหันหลังออกจากหลักการของพระเจ้าที่มายังเจ้า เราได้กำหนดบทบัญญัติและแนวทางอันชัดแจ้งสำหรับพวกเจ้าแต่ละกลุ่มแล้ว และหากอัลลอฮทรงประสงค์ พระองค์จะทรงให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติเดียวกันแน่นอน ทว่าพระองค์ประสงค์ที่ทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานลงมากแก่พวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงแข่งขันกันในความดีทั้งหลาย เพราะพวกเจ้าทุกคนต้องกลับคืนสู่อัลลอฮฺทั้งสิ้น แล้วพระองค์จะทรงแจ้งให้พวกเจ้าทราบในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังขัดแย้งกันในสิ่งนั้น (อัล-มาอิดะฮฺ / 48)
ทั้งที่พวกเขามีความเป็นหนึ่งเดียวกันในเรื่องความเชื่อ มีรากที่มาของจริยธรรมและวัฒนธรรมอันเดียวกัน และประมวลหลักการปฏิบัติทั้งที่เป็นส่วนตัวและสังคมมีความสอดคล้องกัน อัล-กุรอาน บทอัล-บะเกาะเราะฮฺกล่าวว่า
131. จงรำลึกถึง เมื่อพระผู้อภิบาลของเขาตรัสแก่เขาว่า เจ้าจงสวามิภักดิ์เถิด เขากล่าวว่า ข้าพระองค์ขอสวามิภักดิ์แด่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก
132. อิบรอฮีมและยะอฺกูบได้สั่งเสียลูกๆ ของเขา ให้ปฏิบัติตามแนวทางนี้โดยสั่งว่า โอ้ลูกๆ ของฉัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงเลือกศาสนานี้แก่พวกเจ้า ดังนั้น จงอย่าตาย นอกจากขณะที่พวกเจ้าเป็นผู้สวามิภักดิ์
133. ครั้นเมื่อความตายได้ย่างกรายมาถึงยะอฺกูบ สูเจ้าอยู่ด้วยหรือไม่ ในเวลานั้นเขากล่าวแก่ลูกๆ ของเขาว่า พวกเจ้าจะเคารพภักดีสิ่งใดหลังจากฉัน พวกเขากล่าวว่า เราจะเคารพภักดีพระเจ้าของท่านและพระเจ้าของบรรพบุรุษของท่าน อิบรอฮีม อิสมาอีล และอิสฮาก พระเจ้าองค์เดียว และเราเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์เท่านั้น
134. พวกเขาคือหมู่ชนที่ล่วงลับไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาพากเพียรไว้ย่อมเป็นของพวกเขา และสิ่งที่สูเจ้าพากเพียรไว้ย่อมเป็นของสูเจ้า และสูเจ้าจะไม่ถูกไต่สวนในสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ
135. พวกเขากล่าวว่า สูเจ้าจงเป็นยิวหรือคริสต์เถิด เพื่อสูเจ้าจะได้รับทางนำ จงกล่าวเถิด ทว่าเราจะปฏิบัติตามแนวทางของอิบรอฮีมผู้เที่ยงธรรม เขามิเคยอยู่ในหมู่พวกตั้งภาคีทั้งหลาย
136. จงกล่าวเถิด เราศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เรา และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่อิบรอฮีม อิสมาอีล อิสฮาก ยะอฺกูบ และบรรดานบีที่มาจากเผ่าพันธุ์ของเขา (เช่นกัีน) สิ่งที่ถูกประทานแก่มูซา อีซา และสิ่งที่ถูกประทานแก่บรรดานบีต่าง ๆ จากพระผู้อภิบาลของพวกเขา เรามิได้แบ่งแยกคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา และเราเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์
137 . ถ้าพวกเขาศรัทธาเยี่ยงที่เจ้าศรัทธา พวกเขาย่อมได้รับทางนำอย่างแน่นอน แต่ถ้าพวกเขาหันหลังให้สัจธรรมพวกเขาย่อมอยู่ในความแตกแยก และอัลลอฮฺจะทรงทำให้พวกเขาเพียงพอต่อเจ้า (ขจัดความชั่วของพวกเขาไปจากสูเจ้า) และพระองค์ทรงได้ยิน ทรงรอบรู้
นอกจากโองการที่กล่าวมาแล้วยังมีโองการ 285 บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ และโองการที่ 19, 20 บทอาลิอิมรอนอีกที่ยืนยันให้เห็นถึงความจริงดังกล่าว ดังเราจะเห็นว่า นมาซ เป็นข้อบังสำหรับทุกศาสนาแห่งฟากฟ้าแม้ว่าวิธีปฏิบัติ และการยืนตรงหันหน้าไปทางกิบละฮฺจะมีความแตกต่างกันก็ตาม หรือซะกาต (บริจาคทานบังคับ) ซึ่งทุกคำสอนมีความเห็นพร้องต้องกันแม้จะแตกต่างกันในเรื่องจำนวนหรือสิ่งที่ต้องบริจาคก็ตาม
อย่างไรก็ตามการศรัทธาต่อบรรดาศาสดาทั้งหมด และการไม่ให้มีความแตกต่างกันในหมู่พวกท่านในแง่ของการยอมรับ หรือการยอมรับสาส์นทั้งหมดตลอดจนวิชาการทั้งหลายที่ประทานลงมายังท่านเหล่านั้นและการไม่แบ่งแยกระหว่างบรรดาศาสดา ถือว่าเป็นหน้าที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการ136, 152 บทอาลิอิมรอน โองการที่ 84-85 และบทอัชชูรอ โองการที่ 13 กล่าวว่า
َرَعَ لَكُم مِّنَ الدِّينِ مَا وَصَّى بِهِ نُوحًا وَالَّذِي أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَمَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَمُوسَى وَعِيسَى أَنْ أَقِيمُوا الدِّينَ وَلَا تَتَفَرَّقُوا فِيهِ كَبُرَ عَلَى الْمُشْرِكِينَ مَا تَدْعُوهُمْ إِلَيْهِ اللَّهُ يَجْتَبِي إِلَيْهِ مَن يَشَاءُ وَيَهْدِي إِلَيْهِ مَن يُنِيبُ
พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮฺ และที่เราได้วะฮียฺแก่เจ้าก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮิม และมูซา และอีซาว่า พวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้คงมั่น และอย่าแปลกแยกกันในเรื่องศาสนา แต่เป็นเรื่องใหญ่แก่พวกตั้งภาคีเมื่อเจ้าเรียกร้องเชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนา อัลลอฮฺทรงเลือกผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงชี้แนะทางผู้ที่หันหน้าสู่แนวทางของพระองค์ (บทอัชชูรอ / 13)
มิใช่ว่าการปฏิเสธไม่ยอมรับบรรดาศาสดาทั้งหมด หรือปฏิเสธคัมภีร์และบทบัญญัติทั้งหมดจะไม่ใช่สิ่งถูกต้องเพียงอย่างเดียว ทว่าการปฏิเสธศาสดาเพียงองค์เดียวก็เท่ากับปฏิเสธศาสดาทั้งหมด หรือปฏิเสธบทบัญญัติเพียงประการเดียวก็เท่ากับปฏิเสธบทบัญญัติทั้งหมด อัล-กุรอานกล่าวว่า
ثُمَّ أَنتُمْ هَؤُلاء تَقْتُلُونَ أَنفُسَكُمْ وَتُخْرِجُونَ فَرِيقاً مِّنكُم مِّن دِيَارِهِمْ تَظَاهَرُونَ عَلَيْهِم بِالإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَإِن يَأتُوكُمْ أُسَارَى تُفَادُوهُمْ وَهُوَ مُحَرَّمٌ عَلَيْكُمْ إِخْرَاجُهُمْ أَفَتُؤْمِنُونَ بِبَعْضِ الْكِتَابِ وَتَكْفُرُونَ بِبَعْضٍ فَمَا جَزَاء مَن يَفْعَلُ ذَلِكَ مِنكُمْ إِلاَّ خِزْيٌ فِي الْحَيوةِ الدُّنْيَا وَيَوْمَ الْقِيَامَةِ يُرَدُّونَ إِلَى أَشَدِّ الْعَذَابِ وَمَا اللّهُ بِغَافِلٍ عَمَّا تَعْمَلُونَ
ต่อมาสูเจ้าเป็นผู้หลั่งเลือดพวกเดียวกันเอง ขับไล่บางกลุ่มในหมู่สูเจ้าออกจากเคหะสถานของพวกเขา ขณะที่สูเจ้าต่างร่วมมือกันต่อต้านพวกเขา ด้วยการทำความผิดและการเป็นศัตรู แต่ถ้าพวกเขามาหาสูเจ้าในฐานะของเชลยเพื่อไถ่ตัว สูเจ้าได้ให้อิสรภาพแก่พวกเขา ทั้งที่การขับไล่พวกเขาออกไปเป็นที่ต้องห้ามสำหรับสูเจ้า สูเจ้าจะศรัทธาคัมภีร์เพียงบางส่วนและปฏิเสธอีกบางส่วนกระนั้นหรือ ฉะนั้น ไม่มีการตอบแทนอันใดแก่ผู้กระทำเช่นนั้นในหมู่สูเจ้า นอกจากความอัปยศอดสูในชีวิตทางโลกนี้เท่านั้น และในวันฟื้นคืนชีพพวกเขาจะถูกนำตัวกลับไปสู่การลงโทษอันสาหัสยิ่ง และอัลลอฮฺ มิใช่ผู้ทรงเฉยเมยในสิ่งที่สูเจ้ากระทำ (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 85)
แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺและบรรดาเราะซูลของพระองค์ ต้องการที่จะแยกระหว่างอัลลอฮฺ และบรรดาเราะซูลของพระองค์ โดยกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคนและปฏิเสธบางคน พวกเขาต้องการที่จะยึดเอาทางใดทางหนึ่งในระหว่างนั้น (บทอาลิอิมรอน / 150)
แน่นอน หน้าที่การปฏิบัติของทุกประชาชาติในทุกยุคทุกสมัยคือ การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบรรดาศาสดาในยุคสมัยตน
ประเด็นที่จำเป็นต้องกล่าวเพื่อเตือนความทรงจำ ณ ที่นี้คือ แม้ว่าสติปัญญามนุษย์สามารถรับรู้และสร้างความเข้าใจประเด็นที่กล่าวเกี่ยวกับปรัชญาของการมีศาสดาจำนวนมากมาย หรือคัมภีร์แห่งฟากฟ้า และความแตกต่างของบทบัญญัติของพระเจ้าได้ก็ตาม แต่จะไม่สามารถค้นหารูปแบบอันละเอียดอ่อนเพื่อสรรหาจำนวนศาสดาที่แน่นอนหรือบทบัญญัติแห่งฟากฟ้าได้ ในลักษณะที่ว่าสามารถระบุได้ทันทีว่าศาสดาองค์นี้ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำที่ใด หรือถูกประทานลงมาในเวลาใด ส่วนศาสดาอีกองค์หนึ่งถูกประทานลงมาอีกที่หนึ่งและบทบัญญัติใหม่ก็ได้ถูกประทานลงมาด้วย แต่มนุษย์สามารถเข้าใจได้เพียงว่าเมื่อเงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่ในรูปลักษณะหนึ่ง ซึ่งคำเชิญชวนของศาสดาได้ไปถึงหูประชาชนทุกหมู่เหล่า สาส์นของท่านได้ถูกปกป้องรักษาให้บริสุทธิ์เพื่อหมู่ชนในอนาคตกาล ความเปลี่ยนแปลงทางกฎเกณฑ์ในสังคมไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบทบัญญัติ หรือหลักนิติศาสตร์ที่มีอยู่เดิมให้เป็นของใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องส่งศาสดาองค์ใหม่ลงมาแต่อย่างใด
จำนวนของบรรดาศาสดา
ดังที่กล่าวผ่านไปแล้วว่าสติปัญญาของมนุษย์ไม่อาจระบุจำนวนศาสดาที่แน่นอน พร้อมทั้งคัมภีร์แห่งฟากฟ้าได้ การพิสูจน์ประเด็นดังกล่าวนอกเหตุผลทางที่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ไม่มีหนทางอื่นที่ดีไปกว่านี้อีก ซึ่งอัล-กุรอาน เน้นย้ำว่าพระเจ้าทรงแต่งตั้งศาสดาขึ้นสำหรับทุกประชาชาติแล้ว ดังที่กล่าวว่า
إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ بِالْحَقِّ بَشِيرًا وَنَذِيرًا وَإِن مِّنْ أُمَّةٍ إِلَّا خلَا فِيهَا نَذِيرٌ
แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาพร้อมสัจธรรม เจ้าเป็นผู้แจ้งข่าวดีและผู้ตักเตือนไม่มีประชาชาติใด (ในอดีต) เว้นแต่จะต้องมีผู้ตักเตือนถูกส่งมายังพวกเขา (บทฟาฏิร / 24)
แน่นอน เราได้ส่งเราะซูลมาในทุกประชาชาติ พวกเจ้าจงเคารพภักดีอัลลอฮ และจงออกห่างพวกอธรรม (บทอัล-นะฮฺลิ / 36)
เพียงแต่ว่ามิได้ระบุถึงลำดับของประชาชาติและจำนวนศาสดาที่แน่นอนเอาไว้ นามของศาสดาเพียง 25 องค์เท่านั้นที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอาน และนอกจากนั้นแล้วยังกล่าวถึงเรื่องราวของศาสดาบางองค์โดยไม่ได้กล่าวนามเอาไว้ ดังที่กล่าวว่า
أَلَمْ تَرَ إِلَى الْمَلإِ مِن بَنِي إِسْرَائِيلَ مِن بَعْدِ مُوسَى إِذْ قَالُواْ لِنَبِيٍّ لَّهُمُ ابْعَثْ لَنَا مَلِكًا نُّقَاتِلْ فِي سَبِيلِ اللّهِ قَالَ هَلْ عَسَيْتُمْ إِن كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِتَالُ أَلاَّ تُقَاتِلُواْ قَالُواْ وَمَا لَنَا أَلاَّ نُقَاتِلَ فِي سَبِيلِ اللّهِ وَقَدْ أُخْرِجْنَا مِن دِيَارِنَا وَأَبْنَآئِنَا فَلَمَّا كُتِبَ عَلَيْهِمُ الْقِتَالُ تَوَلَّوْاْ إِلاَّ قَلِيلاً مِّنْهُمْ وَاللّهُ عَلِيمٌ بِالظَّالِمِينَ
เจ้ามิได้มองดูบรรดาหัวหน้าในหมู่วงศ์วานอิสรออีล หลังจากมูซาดอกหรือ ขณะที่พวกเขาได้กล่าวแก่นะบีของพวกเขาคนหนึ่งว่า โปรดส่งกษัตริย์องค์หนึ่งมาให้แก่พวกเราเถิด พวกเราจะได้ต่อสู้ในทางของอัลลอฮ เขากล่าวว่าถ้าการสู้รบได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้วพวกเจ้าจะไม่ต่อสู้ พวกเขากล่าว่า มีสิ่งใดเกิดขึ้นแก่พวกเรากระนั้นหรือที่พวกเราจะไม่ต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ ทั้ง ๆ ที่พวกเราและลูก ๆ ของของเราถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านของเรา ครั้นเมื่อการสู้รบได้ถูกกำหนดขึ้นจริงแก่พวกเขา พวกเขาก็หันหลังให้ นอกจากส่วนน้อยในหมู่พวกเขาเท่านั้น อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรู้ดีต่อบรรดาผู้อธรรมเหล่านั้น (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ /246)
ไม่มีการบังคับในศาสนา แน่นอน ความถูกต้องได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้น ผู้ใดปฏิเสธ อัฎ-ฎอฆูตและศรัทธาต่ออัลลอฮฺ แน่นอน เขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้วโดยจะไม่ขาดเด็ดขาด อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 256)
แต่รายงานจากบรรดาอะฮฺลุบัยตฺ (อ.) ระบุว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานศาสดาลงมาประกาศสั่งสอนถึง 124,000 องค์ โดยเริ่มตั้งแต่บิดาแห่งมวลมนุษย์ชาติศาสดาอาดัม (อ.) เป็นต้นมาและสิ้นสุดลงที่บรมศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) (1)
บรรดาศาสดา (อ.) นอกจากจะเป็นนบี ซึ่งเป็นการแต่งตั้งพิเศษจากพระเจ้าแล้ว ยังมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีก เช่น นะซีร (ตักเตือน) มุซีร (ผู้เตือน) บะชีร (แจ้งข่าว) มุบัรชีร (ผู้แจ้งข่าวดี) อัล-กุรอาน กล่าวว่า
มนุษย์เป็นประชาชาติเดียวกันภายหลังอัลลอฮฺได้ส่งบรรดานบีมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือน (บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ /213)
رُّسُلاً مُّبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ لِئَلاَّ يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَى اللّهِ حُجَّةٌ بَعْدَ الرُّسُلِ
บรรดาเราะซูลในฐานะผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใด ๆ เป็นข้ออ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺ หลังจากบรรดาเราะซูลเหล่านั้น (อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ 165)
บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวเรียกบรรดาศาสดาว่าเป็น ซอลฮีน หรือมุคละซีน ซึ่งศาสดาบางองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเราะซูลและเป็นเจ้าของบทบัญญัติอันเฉพาะ และบางรายงานยังรายงานว่าเราะซูลมีจำนวนถึง 313 องค์ (2)
ด้วยสาเหตุนี้เอง ประเด็นต่อไปจะขอกล่าวถึงความเข้าใจเกี่ยวกับ นบูวัตและสาสน์ และความแตกต่างระหว่างนบีกับเราะซูล
นบูวัตและริซาละฮฺ
คำว่า เราะซูล หมายถึงผู้นำสาส์นมาประกาศ คำว่า นบี ถ้ามาจากรากศัพท์ของคำว่า นะบะอะ หมายถึงผู้เป็นเจ้าของข่าวสำคัญ แต่ถ้ามาจากรากศัพท์ของคำว่า นะบู หมายถึงผู้มีตำแหน่งสูงส่งและประเสริฐ
บางคนคิดว่าความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า นบี นั้นครอบคลุมความเข้าใจคำว่า เราะซูล ดังคำอธิบายที่ว่า นบี หมายถึงบุคคลที่ได้รับวะฮฺยูจากพระเจ้า ไม่ว่าจะมีหน้าที่ประกาศวะฮฺยูนั้นแก่บุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม แต่คำว่า เราะซูล หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ประกาศวะฮฺยูของพระเจ้าด้วย
แต่คำกล่าวอ้างข้างต้นถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากอัล-กุรอานกล่าวถึงคุณลักษณะของนบีหลังจากเราะซูล เช่นที่กล่าวว่า
จงกล่าวถึงเรื่องมูซาที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริง เขาเป็นผู้ได้รับคัดเลือกและเป็นเราะซูลเป็นนะบี (บทมัรยัม 51)
จงกล่าวถึงเรื่องของอิสมาอีลที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อสัญญาและเป็นเราะซูลเป็นนะบี (บทมัรยัม 54)
ตามคำอธิบายข้างต้นจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ คุณลักษณะที่มีความหมายครอบคลุม (นบี) ต้องถูกกล่าวก่อนคุณลักษณะที่มีความหมายเจาะจง (เราะซูล) นอกจากนั้นเหตุผลดังกล่าวยังมิได้ระบุว่าเราะซูลมีหน้าที่ประกาศวะฮฺยูของพระเจ้าอีกต่างหาก
นอกจากนี้รายงานบางบทยังกล่าวว่า ฐานะภาพของตำแหน่งนบูวัตคือ เขาจะได้เห็นมลาอิกะฮฺในขณะที่หลับ แต่ขณะที่ตื่นจะได้ยินเสียงมะลักเท่านั้น ขณะที่ฐานะของเราะซูลจะได้เห็นมะลักขณะที่ตื่นด้วย(3)
แต่ความแตกต่างนี้ไม่อาจเข้าใจได้จากความหมายของคำ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สามารถยอมรับได้คือคำว่า นบีถ้าพิจารณาจากตัวอย่างภายนอก มิใช่จากความหมายจะพบว่านบีนั้นครอบคลุมคำว่า เราะซูล หมายถึงบรรดาศาสดาทั้งหมดมีฐานะเป็นบูวัต ส่วนตำแหน่งเราะซูลนั้นเฉพาะเจาะจงนบีบางกลุ่มเท่านั้น ดังที่กล่าวรายงานผ่านไปแล้วว่าจำนวนเราะซูลนั้นมีถึง 313 ท่าน และแน่นอนว่าเราะซูลเหล่านั้นต้องมีฐานะสูงส่งกว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย เนื่องจากบรรดาเราะซูลถ้าพิจารณาจากตำแหน่งและความประเสริฐแล้ว ทั้งหมดมีฐานะภาพแตกต่างกันดังที่กล่าวว่า
ِلْكَ الرُّسُلُ فَضَّلْنَا بَعْضَهُمْ عَلَى بَعْضٍ مِّنْهُم مَّن كَلَّمَ اللّهُ وَرَفَعَ بَعْضَهُمْ دَرَجَاتٍ وَآتَيْنَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ الْبَيِّنَاتِ وَأَيَّدْنَاهُ بِرُوحِ الْقُدُسِ وَلَوْ شَاء اللّهُ مَا اقْتَتَلَ الَّذِينَ مِن بَعْدِهِم مِّن بَعْدِ مَا جَاءتْهُمُ الْبَيِّنَاتُ وَلَكِنِ اخْتَلَفُواْ فَمِنْهُم مَّنْ آمَنَ وَمِنْهُم مَّن كَفَرَ
บรรดาเราะซูล เราได้ให้บางคนในหมู่พวกเขาดีเด่นกว่าอีกบางคน ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮฺตรัสด้วย และได้ทรงยกบางคนในหมู่พวกเขาขึ้นหลายขั้น เราได้ให้หลักฐานอันชัดแจ้งแก่อีซาบุตรของมัรยัม เราได้สนับสนุนเขาด้วยวิญญาณแห่งความบริสุทธิ์ หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ บรรดาชนหลังจากพวกเขาก็คงไม่ฆ่าฟันกันหลังจากได้มีหลักฐานอันชัดเจนมายังพวกเขาแล้วแต่ทว่าพวกเขาขัดแย้งกัน แล้วในหมู่พวกเขามีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธ (อัล-กุรอาน บทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 253)
พระเจ้าของเจ้าทรงรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน แน่นอน เราได้เลือกนะบีบางคนให้ดีเด่นกว่าอีกบางคนและเราได้ประทานซะบูรแก่ดาวูด (อัล-กุรอาน บทอัล-อิสรออฺ / 55)
และโดยหลักการแล้วยังมีเราะซูลบางองค์ได้รับเกียรติถูกเลือกให้เป็นอิมาม (ผู้นำ) อีกต่างหาก ดังที่กล่าวว่า
قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِي قَالَ لاَ يَنَالُ عَهْدِي الظَّالِمِينَ
แท้จริง ข้าแต่งตั้งเจ้าให้เป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และลูกหลานของข้าพระองค์ด้วยไหม พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้าจะไม่หมายรวมถึงผู้อธรรมแน่นอน (อัล-กุรอานบทอัล-บะเกาะเราะฮฺ / 124)
เราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องโดยคำสั่งของเรา และเราได้วะฮียฺแก่พวกเขาให้ปฏิบัติความดีและธำรงนมาซ แล้วบริจาคซะกาต (ทานบังคับ) และพวกเขาก็เป็นผู้เคารพภักดีต่อเราเท่านั้น (อัล-กุรอาน บทอัล-อัมบิยาอฺ / 73)
เราได้จัดให้มีหัวหน้าจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเรา (อัล-กุรอาน บทอัซซัจญฺดะฮฺ / 24)
บรรดาศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ (อูลุลอัซมิ)
อัล-กุรอาน กล่าวเรียกบรรดาศาสดาบางองค์ของพระเจ้าว่า อูลุลอัซมิ ดังที่กล่าวว่า
فَاصْبِرْ كَمَا صَبَرَ أُوْلُوا الْعَزْمِ مِنَ الرُّسُلِ
ดังนั้นเจ้าจงอดทนดังเช่นบรรดาอูลุลอัซมิ (ผู้ตั้งจิตมั่น) แห่งเราะซูลทั้งหลาย (อัล-กุรอานบทอัลอะฮฺกอฟ / 35)
เพียงแต่ว่าอัล-กุรอาน มิได้ระบุความพิเศษของท่านเหล่านั้นเอาไว้ แต่ตามรายงานของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่าบรรดาเราะซูลที่เป็นอูลุลอัซมินั้นมีเพียง 5 ท่านเท่านั้น กล่าวคือศาสดานูฮฺ (อ.) ศาสดาอิบรอฮีมเคาะลีลุลลอฮฺ (อ.) ศาสดามูซากะรีมุลลอฮฺ (อ.) ศาสดาอีซารูฮุลลอฮฺ (อ.) และศาสดามุฮัมมัดบุตรของอับดุลลอฮฺ (ซ็อล ฯ) (4) คุณลักษณะพิเศษของท่านนอกจากจะเป็นผู้มีขันติธรรมสูงส่งตามที่อัล-กุรอานกล่าวถึงแล้ว แต่ละท่านยังมีบทบัญญัติพิเศษเป็นของตนเอง ซึ่งบรรดาศาสดาร่วมสมัยหรือศาสดาในยุคหลังจากท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเหล่านั้น จนกว่าจะมีศาสดาอูลุลอัซมิคนใหม่ถูกประทานลงมาพร้อมกับบทบัญญัติฉบับใหม่
ขณะเดียวกันจากคำอธิบายที่ผ่านมาทำให้ทราบว่าในสมัยหนึ่งอาจมีศาสดาถึง 2 องค์พร้อมกันได้ เช่น ในสมัยของศาสดาลูฏ (อ.) อยู่ร่วมสมัยกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ศาสดาฮารูน (อ.) อยู่สมัยเดียวกันกับศาสดามูซา (อ.) หรือศาสดายะฮฺยา (อ.) อยู่ร่วมสมัยกับศาสดาอีซา (อ.) เป็นต้น
สองสามประเด็นสำคัญ
ช่วงสุดท้ายของบทนี้จะขอกล่าวถึงสองสามประเด็นเกี่ยวกับนบูวัต กล่าวคือ
1. บรรดาศาสดาทั้งหลายต่างรับรองความเป็นศาสดาของกันและกัน และแจ้งคุณลักษณะของศาสดาที่จะได้รับการแต่งตั้งมาภายหลัง อัล-กุรอาน กล่าวว่า
وَإِذْ أَخَذَ اللّهُ مِيثَاقَ النَّبِيِّيْنَ لَمَا آتَيْتُكُم مِّن كِتَابٍ وَحِكْمَةٍ ثُمَّ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مُّصَدِّقٌ لِّمَا مَعَكُمْ لَتُؤْمِنُنَّ بِهِ وَلَتَنصُرُنَّهُ
จงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺได้ทรงเอาข้อสัญญาแก่นะบีทั้งหลายว่า สิ่งที่ข้าได้ให้แก่พวกเจ้านั้นไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์หรือความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในบัญญัติศาสนา ภายหลังจากได้มีเราะซูลมายังพวกเจ้าแล้ว ซึ่งเป็นผู้ยืนยันในสิ่งที่มีอยู่กับพวกเจ้า แน่นอน พวกเจ้าจะต้องศรัทธาและต้องช่วยเหลือเขา (อัล-กุรอานบทอาลิอิมรอน / 81)
ด้วยเหตุนี้ ถ้าบุคคลใดอ้างว่าเป็นนบีแต่กล่าวมุสาต่อนบีก่อนหน้านั้น หรือมุสานบีที่จะประทานมาหลังจากนั้น
2. บรรดาศาสดาจะไม่รับรางวัลตอบแทนการเผยแผ่สาส์นของท่านจากประชาชน ดังอัล-กุรอาน กล่าวว่า
أُوْلَئِكَ الَّذِينَ هَدَى اللّهُ فَبِهُدَاهُمُ اقْتَدِهْ قُل لاَّ أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِنْ هُوَ إِلاَّ ذِكْرَى لِلْعَالَمِينَ
ชนเหล่านี้คือผู้ที่อัลลอฮฺทรงชี้นำพวกเขา ดังนั้น เจ้าจงเจริญรอยตามการชี้นำของพวกเขาเถิด และจงกล่าวเถิดว่าข้าจะไม่ขอรางวัลตอบแทนอันใดจากพวกเจ้า และสาส์นดังกล่าวนี้มิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากเป็นคำตักเตือนสำหรับประชาชาติทั้งหลายเท่านั้น (อัล-กุรอานบทอัล-อันอาม / 90) (5)
เฉพาะท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เท่านั้น ที่แนะนำให้ประชาชนรักอะฮฺลุลบัยตฺ (ทายาท) ของท่านแทนรางวัลตอบแทนการเผยแผ่สาส์น อัล-กุรอาน กล่าวว่า
قُل لَّا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى
จงกล่าวเถิด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนอันใดเพื่อการนี้ เว้นแต่ความรักในทาญาติชั้นใกล้ชิดของข้า (อัล-กุรอาน บทอัชชูรอ / 23)
เพื่อเป็นการเน้นให้ประชาชาติที่ปฏิบัติตามท่านเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วประโยชน์ของความรักนั้นจะกลับมาหาประชาชาติ อัล-กุรอาน กล่าวว่า
قُلْ مَا سَأَلْتُكُم مِّنْ أَجْرٍ فَهُوَ لَكُمْ إِنْ أَجْرِيَ إِلَّا عَلَى اللَّهِ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ شَهِيدٌ
จงประกาศเถิด รางวัลที่ข้าขอจากพวกเจ้าก็เพื่อพวกเจ้า แท้จริงรางวัลของข้าอยู่ ณ อัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง (อัล-กุรอาน บทสะบาอฺ / 47)
3. ศาสดาบางท่านได้รับการแต่งตั้งอย่างอื่นจากพระเจ้าด้วย เช่น เป็นผู้ปกครองอาณาจักร ดังปรากฏในหมู่ของบรรดาศาสดาก่อนหน้านั้น เช่น ศาสดาดาวูด (อ.) และศาสดาสุลัยมาน (อ.) ดังนั้น ถ้าพิจารณาจากโองการที่ 4 บทอันนิซาอฺ ที่กล่าวว่าจำเป็น (วาญิบ) ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสดาโดยไม่มีเงื่อนไข แสดงให้เห็นว่าศาสดาทุกท่านมีตำแหน่งเหล่านี้อยู่ด้วย
4. ญินเป็นสรรพสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งของพระเจ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติและมีเจตนารมณ์เสรี ในยามปกติมนุษย์ไม่อาจมองเห็นญินได้ แต่จากคำเชิญชวนของศาสดาองค์หนึ่งทำให้ปรากฏชัดเจนออกมา และมีญินบางตนที่บริสุทธิ์อีกทั้งมีความสำรวมตนได้ปฏิบัติตามท่าน ดังจะพบได้จากกลุ่มชนที่เชื่อฟังปฏิบัติตามท่านศาสดามูซา (อ.) และศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) อัล-กุรอาน กล่าวว่า
จงรำลึกเมื่อเราได้ให้ญินจำนวนหนึ่งมุ่งไปยังเจ้าเพื่อฟังอัล-กุรอาน ครั้นเมื่อพวกเขามาปรากฏตัวพวกเขากล่าวแก่กันว่า เงียบและจงนิ่งฟังซิ เมื่อ (การอ่าน) จบลงแล้ว พวกเขาก็กลับไปยังหมู่ชนของพวกเขาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตักเตือน พวกเขากล่าวว่า โอ้ หมู่ชนของเราเอ๋ย แท้จริงเราได้ฟังคัมภีร์ (อัลกุรอาน) ถูกประทานลงมาหลังจากมูซา เป็นการยืนยันในสิ่งที่ได้มีมาก่อนอัล-กุรอาน เพื่อชี้แนะทางไปสู่สัจธรรม และแนวทางที่เที่ยงตรง โอ้ หมู่ชนของเราเอ๋ย จงตอบรับคำเชิญของผู้เรียกร้องแห่งอัลลอฮฺเถิด จงศรัทธาต่อเขา เพื่อพระองค์จะทรงอภัยโทษจากความผิดของพวกเจ้าแก่เจ้า และทรงให้พวกเจ้ารอดพ้นการลงโทษอันเจ็บปวด และผู้ใดที่ไม่ตอบรับผู้เรียกร้องแห่งอัลลอฮฺ เขาจะไม่รอดพ้นการลงโทษของพระเจ้าบนแผ่นดินนี้ และจะไม่มีผู้คุ้มครองอื่นจากพระองค์ ชนเหล่านี้อยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง (อัล-กุรอาน บท อะฮฺกอฟ 29-32)
และมีบางตนเชื่อฟังปฏิบัติตามอิบลีซ โดยหันหลังปฏิเสธศาสดาแห่งพระเจ้า อัล-กุรอานกล่าวว่า
จงกล่าวเถิดว่า ได้มีวะฮียฺมายังฉันซึ่งพวกญินจำนวนหนึ่งได้ฟังฉัน และพวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้ยินกุรอานที่แปลกประหลาดยิ่ง ชี้นำไปสู่ทางที่ถูกต้อง ดังนั้น พวกเราจึงศรัทธาต่ออัลกุรอาน และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระผู้อภิบาลของเรา แน่นอน นี่คือความยิ่งใหญ่และความสูงส่งแห่งพระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ไม่มีภริยาและไม่มีบุตร แท้จริงคนโง่ในหมู่พวกเรา (ชัยฎอน) ได้กล่าวร้ายต่ออัลลอฮฺอย่างเกินเหตุ แต่เราคาดคิดว่าทั้งมนุษย์และญินจะไม่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺเป็นอันขาด แท้จริงมนุษย์บางคนขอความคุ้มครองจากญินบางคน ดังนั้น พวกเขา (มนุษย์) จึงทำให้พวกเขา (ญิน)เพิ่มการหลงทางและหยิ่งจองหองยิ่งขึ้น แท้จริงพวกเขาคาดคิดเช่นเดียวกับที่พวกเจ้าคาดคิดว่า อัลลอฮฺ จะไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นศาสดาเด็ดขาด ทั้งที่เราได้ค้นคว้าหาข่าว ณ ชั้นฟ้า และเราได้พบ ณ ที่นั่นเต็มไปด้วยผู้พิทักษ์ที่เข้มแข็งและเปลวเพลิง แน่นอน เราเคยนั่งฟัง ณ สถานแห่งฟากฟ้ามาแล้ว แต่ขณะนี้ผู้ใดนั่งฟังเขาก็จะพบเปลวเพลิงถูกเตรียมไว้สำหรับเขา แท้จริงเราไม่รู้ดอกว่า มีประสงค์ให้ความชั่วร้ายเกิดขึ้นแก่ชาวดิน หรือว่าพระผู้อภิบาลของพวกเขาปรารถนาชี้นำทางพวกเขา แน่นอน ในหมู่พวกเรามีทั้งคนดีและไม่ดี ซึ่งพวกเราเป็นกลุ่มที่แตกต่างกัน แต่เราเชื่อว่าเราจะไม่สามารถครอบคลุมประสงค์ของอัลลอฮฺบนแผ่นดินได้ และเราไม่อาจหนีอำนาจของพระองค์ไปได้ เมื่อเราได้ยินคำแนะนำของอัล-กุรอานเราก็ศรัทธาต่อสิ่งนั้น ดังนั้น ผู้ใดศรัทธาต่อพระผู้อภิบาลของเขา เขาก็จะไม่หวั่นเกรงต่อการขาดทุนและการอยุติธรรม แน่นอน ในหมู่พวกเรามีผู้ที่เป็นมุสลิมและผู้อธรรม ดังนั้นผู้ใดยอมรับอิสลามพวกเขาได้เลือกแนวทางที่ถูกต้องแล้ว (อัล-กุรอาน บทญิน / 1-14)
คำถาม
1. จงอธิบายปรัชญาของการมีศาสดาจำนวนมาก
2. หน้าที่ของประชาชนต่อคำเชิญชวนของบรรดาศาสดา และคำสั่งของพวกท่านคืออะไร
3. ในกรณีใดที่การประทานศาสดาองค์ต่อมาถือว่าไม่จำเป็น
4. จงอธิบายจำนวนของศาสดาและเราะซูลมา
5. ความแตกต่างระหว่างนบีกับเราะซูลคืออะไร และความสัมพันธ์ในแง่ของความเข้าใจกับความหมายคืออะไร
6. บรรดาศาสดามีฐานันดรที่พระเจ้าทรงประทานให้มาอันใดวิเศษกว่ากัน
7. บรรดาศาสดาองค์ใดเป็นอูลิลอัซมิ และมีคุณสมบัติพิเศษอะไรบ้าง
8. ท่านรู้จักคุณลักษณะอันใดของบรรดาศาสดาบ้าง
9. เป็นไปได้ไหมในสมัยหนึ่งอาจมีศาสดาหลายองค์ สามารถยกตัวอย่างได้ไหม