') //-->
๖๕.ความโปรดปราน วะฮฺยู และนะบูวัต
و يعلّمكم ما لم تكونوا تعلمون
พระองค์จะสอนสูเจ้าในสิ่งที่สูเจ้าไม่รู้
บรรดาศาสดา (อ.) ได้สอนความรู้แก่ประชาชาติโดยใช้วะฮฺยู (ดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า) เป็นสื่อในการสอนหมายความว่า ถ้าหากไม่มีวะฮฺยูเป็นแบบอย่างในการชี้นำบรรดาศาสดา ไม่อาจจะสอนมนุษย์ถึงรายละเอียดทั้งหลายของความรู้เหล่านั้นได้เด็ดขาด อีกนัยหนี่ง ถ้าหากไม่มีวะฮฺยูและนะบูวัต มนุษย์จะตกอยู่ในความระส่ำระสายโดยไม่รู้ว่าเขาจะปฏิบัติหน้าที่ของเขากับศาสนาอย่างไร เริ่มต้นที่ใดและสิ้นสุดตรงไหน
๖๖.จุดประสงค์ของการประทานวะฮฺยู
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พระองค์ทรงปกป้องพวกเขาให้รอดพ้นจากภยันตรายต่าง ๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ทรงนำพวกเขาออกจากความมืดมิดไปสู่ความสว่างไสว อัล-กุรอาน กล่าวว่า..
اللّهُ وَلِيُّ الَّذِينَ آمَنُواْ يُخْرِجُهُم مِّنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّوُرِ
และอัลลอฮฺคือผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง
ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าเป้าหมายของการประทานวะฮฺยู คือ พระองค์ทรงประสงค์ให้บรรดาศาสดา (อ.) นำทางมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง อัล-กุรอาน ได้กล่าวถึงท่านศาสดามูซา (อ.) ว่า
وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا مُوسَى بِآيَاتِنَا أَنْ أَخْرِجْ قَوْمَكَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ
และแน่นอน เราได้ส่งมูซาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเรา (และสั่งกับมูซาว่า) จงนำกลุ่มชนของเจ้าออกจากความมืดมิดทั้งหลายไปสู่ความสว่าง (อิบรอฮีม/๕)
ภารกิจดังกล่าวพระองค์ได้มีบัญชาแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เช่นกันว่า
الر كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ لِتُخْرِجَ النَّاسَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ
อลีฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า เพื่อให้เจ้านำมนุษย์ออกจากความมืดมนทั้งหลายไปสู่ความสว่าง (อิบรอฮีม/๑)
ประเภทของวะฮฺยู
วะห์ได้ถูกประทานลงมาในรูปแบบที่แตกต่างกันแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังที่อัล-กุรอานได้อธิบายว่า
وَمَا كَانَ لِبَشَرٍ أَن يُكَلِّمَهُ اللَّهُ إِلَّا وَحْيًا أَوْ مِن وَرَاءِ حِجَابٍ أَوْ يُرْسِلَ رَسُولًا فَيُوحِيَ بِإِذْنِهِ مَا يَشَاءُ إِنَّهُ عَلِيٌّ حَكِيمٌ
และไม่เป็นการเหมาะสมสำหรับมนุษย์ที่อัลลอฮฺจะตรัสแก่เขา นอกเสียจากโดยผ่านวะฮียฺ หรือโดยทางเบื้องหลังม่าน หรือโดยการส่งทูตลงมา แล้วเขา (มะลัก) ก็จะนำวะฮียฺมาตามที่พระองค์ทรงประสงค์โดยบัญชาของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงปรีชาญาณ (ชูรอ/51)
สิ่งที่ได้จากโองการ
ประการที่หนึ่งคำว่า นอกเสียจากวะห์ฮียฺ นั้นหมายถึงการประทานวะห์ฮียฺโดยตรงโดยไม่ได้ผ่านสื่อ หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสกับท่านศาสดาของพระองค์โดยไม่มีสื่อกลาง ซึ่งศาสดาบางท่านมีฐานะพิเศษนั้น ท่านอัลลามะฮฺฏ่อบาฏ่อบาอีย์ ได้กล่าวตอนอธิบายโองการข้างต้นว่า วะห์ฮียฺประเภทดังกล่าวนั้น เรียกว่าเป็นการสนทนาโดยตรงระหว่างอัลลอฮฺ (ซบ.) กับท่านศาสดาโดยไม่ได้ผ่านสื่อกลางแม้แต่ญิบรออีล นักอธิบายกุรอานบางท่านกล่าวว่า สองโองการสุดท้าย ซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้รับโดยตรงจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะขึ้นมิอฺรอจ
ประการที่สอง ประโยคที่กล่าวว่า ทางเบื้องหลังม่าน (เอามินวะรออิหิญาบิ) บ่งบอกว่าการประทานวะห์ฮียฺนั้นมีสื่อ แต่สื่อนั้นไม่ได้เป็นผู้นำวะฮียฺมา วะฮียฺได้ถูกประทานมาจากเบื้องหลัง ซึ่งวะฮียฺ ณ ที่นี้สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้
บางครั้งท่านศาสดาสามารถเห็นความสัจจริงได้จากความฝัน หรือสามารถรับรู้สิ่งนั้นได้โดยตรง อย่างเช่น ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้รับคำสั่งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) จากการดลใจทางความฝันว่าให้นำบุตรชายของท่านไปเชือดพลี หลังจากนั้นท่านได้นำท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) ไปเชือดพลีตามพระประสงค์ของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قَالَ يَا بُنَيَّ إِنِّي أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ فَانظُرْ مَاذَا تَرَى
ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นไปไหนมาไหนกับเขา (อิบรอฮีม) ได้ อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า โอ้ลูกรัก แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่าพ่อได้เชือดเจ้า เจ้าลองพิจารณาดูเถิดว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร (ซอฟาต / ๑๐๒)
บางครั้ง ท่านศาสดาได้รับวะห์ฮียฺโดยผ่านคลื่นเสียง หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดเสียงขึ้นเพื่อสนทนากับท่านศาสดา อย่างเช่น ต้นไม้ที่ได้พูดกับท่านศาสดามูซา (อ.) ในที่นี้ต้นไม้นั้นเป็นสื่อ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสนทนาอยู่เบื้องหลังของมัน อัล-กุรอานกล่าวว่า..
وَرُسُلاً قَدْ قَصَصْنَاهُمْ عَلَيْكَ مِن قَبْلُ وَرُسُلاً لَّمْ نَقْصُصْهُمْ عَلَيْكَ وَكَلَّمَ اللّهُ مُوسَى تَكْلِيمًا
และมีบรรดาร่อซูล ซึ่งเราได้เล่าถึงพวกเขาแก่เจ้ามาก่อนหน้านั้น และมีบรรดาร่อซูลซึ่งเรามิได้เล่าแก่เจ้าเกี่ยวกับพวกเขาและอัลลอฮฺได้ตรัสแก่มูซาจริงๆ (นิซาอฺ/ ๑๖๔)
ประการที่สามประโยคที่กล่าวว่า โดยการส่งทูตลงมา (เอายุรฺซิละร่อซูลัน) บ่งบอกว่าวะห์ฮียฺในส่วนนี้ ได้ถูกประทานลงมาที่จิตของท่านศาสดา หมายถึงบางครั้งญิบรออีลได้จำแลงเป็นรูปร่างที่เฉพาะลงมา ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับวะฮียฺนั้นด้วยกับตัวของท่านเอง อัล-กุรอานกล่าวว่า..
قُلْ مَن كَانَ عَدُوًّا لِّجِبْرِيلَ فَإِنَّهُ نَزَّلَهُ عَلَى قَلْبِكَ بِإِذْنِ اللّهِ
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ใครที่เคยเป็นศัตรูต่อญิบรีลบ้าง แท้จริงเขาได้นำอัล-กรุอาน ทยอยลงมายังหัวใจจของเจ้าด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ (บะก่อเราะฮฺ / ๙๗)
๖๗. สาเหตุที่บรรดาศาสดาต้องการความมหัศจรรย์
บรรดาศาสดา (อ.) ได้กล่าวอ้างว่าท่านเป็นศาสนทูตที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ขณะเดียวกันได้มีคนโกหกกล่าวอ้างเช่นเดียวกันว่า พวกเขาเป็นศาสดาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้สร้างปัญหาให้แก่ประชาชนอย่างมาก เพราะต้องยอมรับบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นศาสดา หรือปฏิเสธทั้งหมดว่าไม่ใช่ศาสดา แต่ถ้ายอมรับทั้งหมดปัญหาก็จะเกิดขึ้นมากมาย หรือถ้าปฏิเสธทั้งหมดว่าไม่ใช่ประชาชนก็จะหลงทางและบั้นปลายสุดท้ายคือการถูกลงโทษในไฟนรก ด้วยเหตุนี้ บรรดาศาสดา (อ.) จึงจำเป็นต้องมีมุอ์ญะซะฮฺ (ความมหัศจรรย์) เพื่อเป็นสัญลักษณ์และเป็นเครื่องจำแนกการเป็นศาสดาของท่านจากบรรดาพวกที่กล่าวอ้างโกหกทั้งหลาย
๖๘. ความพิเศษของบรรดาศาสดา
อัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّ اللّهَ اصْطَفَى آدَمَ وَنُوحًا وَآلَ إِبْرَاهِيمَ وَآلَ عِمْرَانَ عَلَى الْعَالَمِينَ
แท้จริงอัลลอฮฺทรงคัดเลือกอาดัม นูฮฺ วงศ์วานของอิบรอฮีมและวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย (อาลิอิมรอน / ๓๓)
โองการได้บ่งบอกถึงความพิเศษของบรรดาศาสดา (อ.) ที่มีเหนือประชาชาติทั้งหลาย แต่อาจมีคำถามหนึ่งว่า ความพิเศษเหล่านี้นอกจากจะไม่สามารถบังคับให้ผู้คนปฏิบัติตามได้แล้ว ยังถือว่าเป็นการแบ่งแยกอีกต่างหาก
สามารถตอบได้ว่า การสร้างที่ถูกผสมผสานด้วยกับระบบที่ถูกต้องนั้นย่อมนำมาซึ่งความแตกต่าง อย่างเช่น ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างอย่างมีระบบ และเพื่อสนับสนุนคำพูดดังกล่าวเราสามารถดูความแตกต่างได้จากอวัยวะต่าง ๆ บนร่างกาย สมมติว่าเซลล์ทั้งร่างกายเหมือนกันทั้งหมดกล่าวคือ เซลล์ทั้งหมดมีความละเอียดอ่อนเหมือนกับเซลล์ของดวงตา หรือมีความแข็งแกร่งเหมือนกับเซลล์กระดูกหน้าแข้ง หรือมีความเฉียบไวเหมือนกับเซลล์สมอง แน่นอนร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้และไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวได้ว่า ทำไมร่างกายของเขาทั้งหมดจึงไม่เป็นเหมือนสมอง
นอกเหนือจากนี้แล้ว ความพิเศษดังกล่าวยังเป็นเหมือนฝาแฝดกับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่ได้รับมอบหมายมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) หมายความว่ามีความพิเศษมากเท่าไหร่ ภาระความรับผิดชอบก็มีมากเท่านั้น ส่วนคนอื่น ๆ ไม่มีความพิเศษภาระความรับผิดชอบของเขาก็มีน้อยลงไปตามลำดับ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงทำให้ทุกอย่างมีความสมดุลกันตามสถานภาพที่เป็นอยู่
๖๙. บรรดาศาสดากับการเคารพภักดี
คุณสมบัติที่ดีที่สุดของบรรดาศาสดาที่มีเหนือคุณสมบัติทั้งหลาย และสาเหตุที่บรรดาศาสดามีความสมบูรณ์ มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ และมีความประเสริฐมากกว่าบุคคลอื่นคือ การเคารพภักดีของท่านเมื่ออยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้ว่าอัลลอฮฺ ทรงเถิดเกียรติให้กับพวกเขาอย่างไร อัล-กุรอานกล่าวถึงท่านศาสดานูฮฺว่า
ذُرِّيَّةَ مَنْ حَمَلْنَا مَعَ نُوحٍ إِنَّهُ كَانَ عَبْدًا شَكُورًا
โอ้ บรรดาบุตรหลานผู้ที่อยู่กับนูฮฺ (ขึ้นอยูบนเรือ) แท้จริงเขาเป็นบ่าวผู้กตัญญู (พวกเจ้าจงเป็นเหมือนอย่างเขา) (อิสรอ / ๓)
พระองค์ตรัสกับท่านศาสดาอิบรอฮีม อิกฮาก และยะอฺกูบว่า
وَوَهَبْنَا لَهُ إِسْحَقَ وَيَعْقُوبَ نَافِلَةً وَكُلًّا جَعَلْنَا صَالِحِينَ وَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا وَأَوْحَيْنَا إِلَيْهِمْ فِعْلَالْخَيْرَاتِ وَإِقَامَ الصَّلوةِ وَإِيتَاءَ الزَّكَوةِ وَكَانُوا لَنَا عَابِدِينَ
และเราได้ให้บุตรชื่ออิกฮากแก่เขาและยะอฺกูบเป็นการเพิ่มพูน และเราได้ให้เป็นทั้งหมดเป็นผู้บริสุทธิ์ และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้นำทางที่ถูกต้องโดยคำสั่งของเรา และเราได้วะฮียฺแก่พวกเขาให้ปฏิบัติความดี และธำรงการนมาซ บริจาคซะกาต และพวกเขาเป็นผู้เคารพภักดีต่อเราเท่านั้น (อันบิยาอฺ /๗๒)
ถ้าสังเกตโองการจะเห็นว่าคำสรรพนาม ละฮู นั้นย้อนกลับไปหาท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.)
อัล-กุรอานกล่าวกับศาสดาอิลยาส (อ.) ว่า
سَلَامٌ عَلَى إِلْ يَاسِينَ إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ إِنَّهُ مِنْ عِبَادِنَا الْمُؤْمِنِينَ
ความสันติจงมีแด่วงศ์วานของยาซีน แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย แท้จริง เขาเป็นคนหนึ่งในปวงบ่าวของเราผู้ศรัทธา (ซอฟาต /๑๓๐-๑๓๒)
อัล-กุรอานกล่าวกับศาสดาอัยยูบว่า
نِعْمَ الْعَبْدُ إِنَّهُ أَوَّابٌ
เขา (อัยยูบ) เป็นผู้อดทน และบ่าวผู้ประเสริฐ (ซ็อด / ๔๔)
อัล-กุรอานกล่าวกับศาสดาดาวูด และศาสดาสุลัยมาน (อ.) ว่า
وَلَقَدْ آتَيْنَا دَاوُودَ وَسُلَيْمَانَ عِلْمًا وَقَالَا الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي فَضَّلَنَا عَلَى كَثِيرٍ مِّنْ عِبَادِهِ الْمُؤْمِنِينَ
และแน่นอนเราได้ให้ความรู้แก่ดาวูดและสุลัยมาน และเขาทั้งสองกล่าวว่า บรรดาการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้ทรงโปรดปรานแก่เรา มากยิ่งกว่าปวงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลายของพระองค์ (นัมลิ / ๑๕)
อัล-กุรอานกล่าวถึงท่านศาสดาอีซา (อ.) ว่า
قَالَ إِنِّي عَبْدُ اللَّهِ آتَانِيَ الْكِتَابَ وَجَعَلَنِي نَبِيًّا
เขา (อีซา) กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แก่ฉัน และทรงแต่งตั้งฉันให้เป็นนะบี (มัรยัม / ๓๐)
อัล-กุรอานกล่าวกับท่านศาสดามูซา และฮารูน (อ.) ว่า
سَلَامٌ عَلَى مُوسَى وَهَارُونَ إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ إِنَّهُمَا مِنْ عِبَادِنَا الْمُؤْمِنِينَ
ความสันติจงมีแด่มูซาและฮารูน แน่นอนเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย แท้จริง
เขาทั้งสองเป็นปวงบ่าวผู้ศรัทธาของเรา (ซอฟาต / ๑๒๐-๑๒๒)
อัล-กุรอานกล่าวกับท่านศาสดายุสุฟ(อ.) ว่า
كَذَلِكَ لِنَصْرِفَ عَنْهُ السُّوءَ وَالْفَحْشَاءَ إِنَّهُ مِنْ عِبَادِنَاالْمُخْلَصِينَ
และเช่นนั้นเพื่อเราจะได้ให้เลี่ยงไปจากเขาความชั่วและการลามก
แท้จริงเขาเป็นบ่าวผู้บริสุทธิ์ของเรา (ยูซุฟ / ๒๔)
อัล-กุรอานกล่าวกับท่านศาสดามุฮัมมัด(ซ็อล ฯ) ว่า
سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلاً مِّنَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ إِلَىالْمَسْجِدِ الأَقْصَى
มหาบริสุทธิ์แด่ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์เดินทางในเวลากลางคืน จากมัสยิดอัล-ฮะรอมไปยังมัสยิดอัล-อักซอ(อัสรอ / ๑)