ความยุติธรรม

๒๔๙. ความไม่ขัดแย้งกันระหว่างการทดสอบกับความยุติธรรม

หนึ่งในหลักการของความเชื่อคือ ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า อัล-กุรอานไม่เคยใช้คำว่า อัดลฺ ในความหมายของอะดาลัตของพระผู้เป็นเจ้าแม้แต่ครั้งเดียว แต่ได้อธิบายในเชิงปฏิเสธว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงกดขี่หรือเอาเปรียบบุคคลหรือสิ่งใดแม้แต่นิดเดียว อัลกุรอานกล่าวว่า

إِنَّ اللّهَ لاَ يَظْلِمُ النَّاسَ شَيْئًا وَلَكِنَّ النَّاسَ أَنفُسَهُمْ يَظْلِمُونَ

แท้จริงอัลลอฮฺไม่ทรงอธรรมแก่มนุษย์แต่อย่างฝใด แต่ว่ามนุษย์ต่างหากที่อธรรมตัวของพวกเขาเอง[๑]

การทดสอบต่าง ๆ ที่ได้เกิดกับมนุษย์ ไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าแม้แต่นิดเดียว เนื่องจากการทดสอบและบะลาอฺแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ

๑. บะลาอฺเกิดจากน้ำมือและการงานของมนุษย์อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَمَا أَصَابَكُم مِّن مُّصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَن كَثِيرٍ

และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว[๒]

ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ

ความอนาจารได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ จากน้ำมือของมนุษย์ที่ขวนขวายไว้ [๓]

๒. บะลาอฺบางอย่าง อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นผู้ประทานลงมา ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้

๒.๑. บะลาอฺสำหรับบรรดาพวกกดขี่ทั้งหลาย เพื่อเป็นการตักเตือนหรือเป็นทานบนเพื่อให้คิดอัล-กุรอานกล่าวว่า

كَذَلِكَ نَبْلُوهُم بِمَا كَانُوا يَفْسُقُونَ

ในทำนองนั้นแหละที่เราได้ทดสอบพวกเขา เนื่องจากพวกเขาได้ฝ่าฝืน[๔]

๒.๒. พระองค์ได้ประทานแก่บรรดาผู้ศรัทธาโดยมีประสงค์เพื่อการทดสอบ อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَلِيُبْلِيَ الْمُؤْمِنِينَ مِنْهُ بَلاء حَسَناً إِنَّ اللّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٌ

พระองค์จะทรงทดสอบบรรดาผู้ศรัทธาด้วยความดีงามจากพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยินทรงรอบรู้[๕]

๒.๓ พระองค์ทรงประทานแก่บรรดาเอาลิยาอฺของพระองค์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการยกระดับฐานันดรของพวกเขา อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَإِذِ ابْتَلَى إِبْرَاهِيمَ رَبُّهُ بِكَلِمَاتٍ فَأَتَمَّهُنَّ قَالَ إِنِّيجَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا

และจงรำลึกถึง ขณะที่พระผู้อภิบาลของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่าแท้จริงฉันจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ[๖]

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงการทดสอบทั้ง ๓ ประการว่า

البلاء للظالم أ دب و للمؤ من امتحان و للا نبياء درجة

บะลาอฺสำหรับผู้กดขี่คือการตักเตือน สำหรับมุอฺมินคือการทดสอบ และสำหรับอัมบิยะฮฺ (บรรดาศาสดา) คือฐานันดร

๒๕๐. พระผู้เป็นเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการกดขี่

وَمَا اللَّهُ يُرِيدُ ظُلْمًا لِّلْعِبَادِ

อัลลอฮฺ ไม่ประสงค์ที่จะกดขี่บ่าวคนใด[๗]

لَهُ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَإِلَى اللَّهِ تُرْجَعُ الأمُورُ

อำนาจอันเด็ดขาดแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นเป็นสิทธิ์ของพระองค์ และการงานทั้งหลายถูกให้กลับไปยังอัลลอฮ.เท่านั้น[๘]

โองการแรกได้กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงประสงค์ที่จะกดขี่ ส่วนโองการที่สองได้กล่าวถึงประเด็นหนึ่ง อันเป็นข้อคิดว่าการกดขี่และการเอาเปรียบทั้งหลาย จะไม่ออกมาจากพระองค์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากพระองค์คือผู้ทรงมีกรรมสิทธิ์เหนือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตบนโลกนี้ และพระองค์ทรงมีสิทธิ์ใช้สิ่งเหล่านั้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์ในฐานะของผู้ทรงสิทธิ์ดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ การกดขี่จึงไม่มีความหมายสำหรับพระองค์ เพราะการกดขี่ หรือการเอาเปรียบคือ การละเมิดสิทธิ์ใช้ทรัพย์สิน หรือสินของผู้อื่น ฉะนั้น การกดขี่และการเอาเปรียบจึงไม่มีความหมายสำหรับพระองค์

๒๕๑. ความชั่วทั้งหลายเกี่ยวข้องกับพระองค์ไหม

وَإِن تُصِبْهُمْ حَسَنَةٌ يَقُولُواْ هَـذِهِ مِنْ عِندِ اللّهِ وَإِن تُصِبْهُمْ سَيِّئَةٌ يَقُولُواْ هَـذِهِ مِنْ عِندِكَ قُلْ كُلًّ مِّنْ عِندِ اللّهِ

หากมีความดีใดประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็จะกล่าวว่าสิ่งนี้มาจากอัลลอฮฺ และหากมีความชั่วใดประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็จะกล่าวว่า สิ่งนี้มาจากเจ้า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ทุกอย่างนั้นมาจากอัลลอฮฺทั้งสิ้น[๙]

مَّا أَصَابَكَ مِنْ حَسَنَةٍ فَمِنَ اللّهِ وَمَا أَصَابَكَ مِن سَيِّئَةٍ فَمِن نَّفْسِكَ

ความดีใดที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ และความชั่วใดที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวของเจ้าเอง[๑๐]

คำถามทำไมโองการแรกจึงกล่าวว่าความดีและความชั่วทั้งหลายเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนโองการที่สองได้จำกัดว่าเฉพาะความดีเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ส่วนความชั่วเป็นของมนุษย์

คำตอบ ถ้าหากทำการวิเคราะห์ถึงความชั่วทั้งหลายจะเห็นว่ามีสองลักษณะ กล่าวคือความชั่วในเชิงบวก กับความชั่วในเชิงลบ ซึ่งในเชิงลบนั้นเองที่ได้ถ่ายทอดภาพลักษณ์ของความชั่วออกมาในภาพที่ น่ารังเกียจ น่ากลัว ตัวอย่าง จะเห็นว่ามนุษย์เราถูกฆ่าตายด้วยอาวุธร้ายแรง หรืออาวุธธรรมดาทั้งที่ไม่มีความผิด เหมือนกับว่าผู้คนเหล่านั้นได้กระทำความผิดพวกเขาจึงถูกฆ่าตาย ที่นี้ลองมาพิจารณาถึงตัวการ และสาเหตุที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ฆ่ากัน ซึ่งหนึ่งในตัวการเหล่านั้นคือ อำนาจและความคิดของมนุษย์ อำนาจของมนุษย์เป็นอาวุธร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าทั้งในเชิงบวกและลบ ความถูกต้อง การหยิบฉวยโอกาส ผลทีเกิดจากการยิงอาวุธออกไป ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นความชั่วในเชิงบวก เนื่องจากว่าสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและสังคมได้ และที่สำคัญถ้านำไปใช้อย่างถูกวิธีในที่ ๆ ของมัน แน่นอนสามารถแก้ใขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย

มีเพียงด้านเดียวที่เป็นความชั่วในเชิงลบ นั่นคืออำนาจ อาวุธ ตลอดจนสติปัญญาของมนุษย์ถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกที่ และไม่ถูกวิธี เช่น แทนที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นสื่อในการป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้าย หรือคนชั่วที่คิดจะสังหารชีวิตคนอื่นกับมาเป็นอันตรายที่คร่าชีวิตของผู้คนที่ไม่มีความผิด ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า การที่บอกว่าความดีงามทั้งหลายเกี่ยวข้องกับอัลลออฺ (ซบ.) นั้น เนื่องจากว่าแหล่งที่มาของอำนาจทั้งหลาย หรือแม้แต่อำนาจที่ใช้ไปในหนทางที่ไม่ถูกต้องก็มาจากพระองค์เช่นกัน ส่วนโองการที่สองที่กล่าวว่าความชั่วร้ายมาจากมนุษย์ นั้นต้องการบอกว่า ความชั่วในเชิงลบนั้นเกิดจากการนำอำนาจและความเมตตาของพระองค์ไปใช้ในทางลบสวนทางกับสิ่งที่เป็นพระประสงค์ของพระองค์

เหมื่อนกับพ่อได้เอาสตางค์ให้ลูกเพื่อนำไปสร้างอาคาร หรือที่อยู่อาศัย แต่ลูกกลับนำเอาสตางค์เหล่านั้นไปใช้ในหนทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นเที่ยวเตร่ หรือซื้อสิ่งมึ่นเมา หรือนำไปเสพยาเสพติดเป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้ ไม่มีความคลางแคลงใจว่าสตางค์นั้นมาจากพ่อ แต่การนำไปใช้ไม่ถูกหนทางและก่อให้เกิดความชั่วนั้นมาจากตัวเขาเอง

๒๕๒. ความชั่วของมนุษยืเป็นสาเหตุทำให้ถูกห้ามจากความดีงาม

อัลกรอานกล่าวว่า ความดีต่าง ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากอัลลอฮฺ ส่วนความชั่วต่าง ๆ ที่ประสบแก่เจ้านั้นมาจากตัวเจ้าเอง

ในทัศนะของพระผู้เป็นเจ้าสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งอย่างสวยงาม ส่วนในทัศนะของอัล-กุรอานทุกสรรพสิ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น สรรพสิ่ง (ซํยอุน) ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างจากพระองค์ทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระองค์คือ การสร้างของพระองค์จะไม่แยกออกจากสิ่งที่สวยงาม ส่วนสิ่งที่ไม่สวยงามและน่าเกียจนั้นเป็นเพราะว่าขาดความสมบูรณ์มิใช่การสร้างของพระองค์ และสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ถูกห้ามจากความดีงามทั้งหลายของพระองค์ นั้นมาจากมนุษย์และสังคม

การสร้างและความสวยงามเป็นสองสิ่งที่มีความสำคัญต่อกันและกัน ทุกสรรพสิ่งในฐานะที่เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ภาพลักษณ์ที่แท้จริงที่ปรากฏภายนอกคือความสวยงาม แม้ว่าจะมีความน่าเกียจผ่านมาบนสรรพสิ่งเหล่านั้นและมองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ นั่นเป็นเพราะว่าความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นที่มีต่อสิ่งอื่น ซึ่งอยู่นอกตัวตนของมัน และไม่เกี่ยวข้องกับสภาพการมีอยู่ที่แท้จริงเมื่อสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.)

เป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อใดก็ตามถ้าพระองค์กล่าวถึงความชั่ว การกดขี่ ความผิดทั้งหลายหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง หมายความว่า ไม่มีมนุษย์คนใดพร้อมความผิดของเขาเมื่อรวมกันแล้วเป็นสิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) เฉพาะตัวเขาเท่านั้นที่เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ส่วนความผิดของเขาไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์แต่อย่างใด

อีกนัยหนึ่ง ดังคำกล่าวของนักปราชญ์ที่ว่า โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่วนที่ตรงกับดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันที่มีความสว่างไสว ส่วนอีกด้านหนึ่งที่มืด นั่นเป็นเพราะว่าหันหลังให้ดวงอาทิตย์ ไม่ได้หมายความว่าดวงอาทิตย์ปราศจากแสง ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ตลอดเวลา และโลกที่สว่างก็เป็นเพราะว่าได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ได้มีแสงเป็นของตนเอง ส่วนความมืดของโลกเป็นเพราะความบกพร่องของโลกที่ไม่อาจรับแสงอาทิตย์ได้ ความสมบูรณ์ของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันได้รับมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ส่วนความบกพร่องเกิดจากตัวมนุษย์เอง

๒๕๓. ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับความยุติธรรม

وَرَفَعَ بَعْضَكُمْ فَوْقَ بَعْضٍ دَرَجَاتٍ لِّيَبْلُوَكُمْ فِي مَا آتَاكُمْ

และได้ทรงเทิดบางคนของพวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคนหลายขั้น เพื่อที่พระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พวกเจ้า[๑๑]

ไม่ความคลางแคลงใจที่ว่าในหมู่มนุษย์มีความแตกต่างและมีระดับชั้นไม่เหมือนกัน นั้นเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการได้เปรียบของชนกลุ่มหนึ่งทึ่มีต่อชนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น คนรวยกับคนยากจนในสังคม คนรวยย่อมมีโอกาสที่ดีกว่าไม่ว่าจะเป็นการเป็นอยู่ การศึกษา หรืออาชีพการงาน ส่วนคนจนย่อมด้อยโอกาสไปตามลำดับ แน่นอนสิ่งเหล่านี้ไม่มีวันที่จะเท่าเทียมกัน และไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า แม้ว่าในสังคมจะให้ความสำคัญกับความยุติธรรม กระนั้นคนในสังคมก็ยังไม่เท่าเทียมกันอยู่ดีไม่ว่าจะเป็นความสามารถ ความคิด หรือรสนิยม

ถ้าหากคนในสังคมอิสลามเท่าเทียมกัน หรือมีฐานะและความสามารถในระดับเดียวกัน ประหนึ่งภาชนะที่ออกมาจากโรงงานเดียวกันมีรูปร่างเหมือนกันทั้งหมด สังคมนั้นย่อมเปรียบเสมือนสังคมที่ตายแล้ว เพราะไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีจิตวิญญาณ และปราศจากความสมบูรณ์

๒๕๔. สาเหตุที่ไม่ลงโทษพวกกดขี่บนโลก

๑. เป็นเพราะว่าโลกไม่สามารถรองรับโทษกรรมของพวกกดขี่ได้ เนื่องจากการกดขี่ของคนบางพวกนั้นรุนแรงและเกินขอบเขตที่โลกจะรองรับได้ เช่น บางกลุ่มชนได้รับการกดขี่ถูกสังหารอย่างไม่เป็นธรรม หรือสิทธิของพวกเขาถูกฉ้อฉล เหมือนกับพีน้องมุสลิมในปาเสลไตน์ หรืออีรักที่ประสบอยู่ในปัจจบัน ดังนั้นถ้าจับตัวการคนเดียวมาลงโทษ สิทธิของคนอื่นก็จะถูกทำลายไปหมดสิ้น

๒. อัล-กุรอานกล่าวว่า ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลงโทษพวกกดขี่บนโลก จะไม่มีบุคคลใดหลงเหลืออยู่บนโลกอีกต่อไป โดยกล่าวว่า

وَلَوْ يُؤَاخِذُ اللّهُ النَّاسَ بِظُلْمِهِم مَّا تَرَكَ عَلَيْهَا مِن دَآبَّةٍ

และหากอัลลอฮฺจะทรงลงโทษมนุษย์เนื่องจากความอธรรมของพวกเขา พระองค์จะไม่ทรงให้เหลืออยู่บนโลก แม้สัตว์สักตัว[๑๒]

ถ้าหากพิจารณาถึงการกดขี่จะเห็นว่าไม่มีมนุษย์คนใดบนโลกที่ไม่กดขี่ ทุกคนล้วนเป็นคนกดขี่ทั้งสิ้นไม่กดขี่คนอื่น ก็กดขี่ตัวเองไปตามลำดับ ดังนั้น ถ้ามีการลงโทษอย่างเร่งด่วนจะไม่มีมนุษย์คนใดหลงเหลืออยู่อีกต่อไป นอกจากบรรดาศาสดา และอิมามผู้ปราศจากความผิดบาปเท่านั้น


[๑] ยูนุซ / ๔๔

[๒]อัซซูรอ / ๓๐

[๓] อัร-โรม / ๔๑

[๔] อัล-อะอฺรอฟ / ๑๖๓

[๕] อัมฟาล / ๑๗

[๖] อัล-บะเกาะเราะฮฺ / ๑๒๔

[๗] อัล-ฆอฟิร / ๓๑

[๘] อัล-ฮะดีด / ๕

[๙] อัน-นิซาอฺ / ๒๘

[๑๐] อัน-นิซาอฺ / ๒๙

[๑๑] อัน-อาม / ๑๖๕

[๑๒] อัน-นะฮฺลิ / ๖๑